รู้มั้ย! 7 พฤติกรรมพ่อแม่ ทำร้ายลูก


8,516 ผู้ชม

บางที่เราอาจไม่รู้ตัวหรอกว่า สิ่งที่พูด สิ่งที่ทำหรือแสดงออกต่อลูกนั้น กลายเป็นพฤติกรรมทำร้ายจิตใจ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผล ต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย มาสำรวจกันค่ะ ว่าพฤติกรรม เข้าข่ายยี้มีอะไรบ้าง...


รู้มั้ย! 7 พฤติกรรมพ่อแม่ ทำร้ายลูก 

บางที่เราอาจไม่รู้ตัวหรอกว่า สิ่งที่พูด สิ่งที่ทำหรือแสดงออกต่อลูกนั้น กลายเป็นพฤติกรรมทำร้ายจิตใจ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผล ต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย มาสำรวจกันค่ะ ว่าพฤติกรรม เข้าข่ายยี้มีอะไรบ้าง 

ไม่ให้ทำ

พูดง่ายๆ ก็คือ คุณคือผู้จัดการบริหารทุกสิ่งอย่าง (แม่ทำเอง) โดยที่ลูกไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้ลงมือทำอะไรเลย ซึ่งการทำแบบนี้เท่ากับเป็นการตัดวงจรการเรียนรู้ของเด็กในมิติต่างๆ ทำให้ทักษะในการช่วยเหลือตัวเองลดลง ลูกขาดความมั่นใจในตัวเอง เป็นต้น

ไม่มีขอบเขต

ก็คือตามใจลูกทุกอย่าง โดยลืมสิ่งผิดสิ่งถูก อะไรควรไม่ควร ด้วยความคิดที่ว่าลูกยังเด็กผลกระทบคือ เมื่อลูกออกสู่สังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นก็กลายเป็นเด็กปรับตัวยาก เอาแต่ใจตัวเอง ขาดความอดทน มีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นไม่ราบรื่น และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

ไม่ยืดหยุ่น

เพราะคุณต้องการให้ทุกอย่างดี ถูก (เป๊ะเว่อร์) ตลอด ยิ่งลูกทำไม่ได้ดังใจ ก็โกรธก็ตำหนิ เพียงเรื่องเล็กๆ ก็แปลงสารเป็นเรื่องใหญ่ การทำแบบนี้จะทำให้พัฒนาการที่ควรเป็นไปของลูกแย่ลง เพราะด้วยความรู้สึกผิดหวัง รู้สึกว่า ตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถ ทำอะไรก็ไม่เคยถูกใจพ่อแม่

ไม่ยอมรับความจริง

การที่คุณมักวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ตีตนไปก่อนไข้ ย้ำถามย้ำปฏิบัติกับลูก เช่น ไม่ให้ลูกไปไหนมาไหนกับเพื่อน เพราะกลัวลูกจะได้รับอุบัติเหตุ กลัวลูกจะถูกหลอก ไม่ให้ออกนอกบ้าน กลัวลูกจะไม่สบาย นี่แหละคือปัญหาในอนาคตที่ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กวิตกกังวลได้ง่าย หวาดกลัวจนไม่มีความสุขและขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

ไม่ปกป้อง

เรื่องความปลอดภัยนั่นเองค่ะ เพราะหลายๆ ครั้ง มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น มีสถิติตัวเลขอุบัติเหตุสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ทันระมัดระวัง เช่น ลืมปิดประตูบ้าน คุยโทรศัพท์จนเพลิน หรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คของพ่อแม่เอง อย่าลืมว่า สิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญไม่เป็นรองใคร

ไม่ชื่นชม

มีแต่คำตำหนิติเตียน คำปรามาสต่างๆ เพราะไม่เชื่อว่าลูกจะมีความสามารถทำได้ ไม่เชื่อว่าลูกจะทำสำเร็จ พฤติกรรมที่เอ่ยมา เป็นเหมือนอาวุธที่ทำร้ายจิตใจทำลายความคิดดีๆ ของลูก ทำให้ลูกของคุณขาดความมั่นใจ ความภูมิใจ บอกเลยว่าแค่คิดก็ผิดแล้วค่ะ

ไม่เข้าใจลูก 

เพราะคุณคิดว่า ทำไมลูกทำได้ ไม่เก่งเหมือนเด็กคนอื่น ที่จริงแล้ว เด็กทุกคนมีตัวตนของตัวเอง มีอุปนิสัย ความสามารถแตกต่างกัน คุณจึงไม่ควรเปรียบเทียบลูก เพราะเป็นการสร้างความรู้สึกต่ำต้อย ด้อยค่าให้เกิดขึ้นกับลูก

ผลร้ายที่หนักกว่าคือ อาจทำให้เด็กรู้สึกเจ็บปวด ยอมแพ้ ละความพยายามหรือเกิดความคิดสวนทางกลั่นแกล้งคู่แข่งของตัวเอง คุณควรชื่นชมในสิ่งที่ลูกเป็น สนับสนุนในสิ่งที่ลูกสนใจหรือชื่นชอบดีกว่า

ที่มา: www.motherandcare.in.th

อัพเดทล่าสุด