โฟม กล่องโฟม ถ้วยโฟม ภัยอันตรายจากกล่องโฟม


5,044 ผู้ชม

โดยปกติแล้วกล่องโฟม ถ้วยโฟมประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะทำมาจากพลาสติกขนิดที่มีชื่อว่า โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam หรือ PS foam หรือ Styrofoam) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ (polymer) จำพวกหนึ่ง


โฟม กล่องโฟม ถ้วยโฟม ภัยอันตรายจากกล่องโฟม

โดยปกติแล้วกล่องโฟม ถ้วยโฟมประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะทำมาจากพลาสติกขนิดที่มีชื่อว่า โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam หรือ PS foam หรือ Styrofoam) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ (polymer) จำพวกหนึ่ง

กรรมวิธีผลิตก็คือ เอา PS foam นั้นไปผ่านการให้ความร้อนด้วยไอน้ำ จากนั้นจะถูกนำไปรีดให้เป็นแผ่น เรียกว่า แผ่นโพลิ-สไตรีน โฟม (Polystyrene Paper Foam หรือย่อว่า PSP) ก่อนที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นภาชนะบรรจุอาหารรูปร่างต่างๆ ตามต้องการ อย่างที่เราเห็นๆ และใช้กันอย่างหลากหลายในท้องตลาดอยู่ทุกวันนี้

ถ้าถาม ว่ามีอาหารประเภทไหนที่นำไปบรรจุในภาชนะโฟม แล้วจะเกิดอันตรายบ้าง?

คำตอบ คือ หากใช้บรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูง หรือที่เรียกง่ายๆว่า อาหารร้อนๆ รวมทั้งอาหารที่มีไขมันหรือแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดการปลดปล่อยสารสไตรีน (styrene) ออกมา ซึ่งสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ ออกมาปะปนกับอาหารที่เราทาน โดยที่เรามองไม่เห็น และไม่รู้ตัว

ซึ่งปริมาณของสารสไตรีนที่หลุดออกมาปะปนในอาหาร จะขึ้นกับสามปัจจัยหลักได้แก่ 1.อุณหภูมิของอาหารที่บรรจุ 2.ปริมาณไขมันในอาหาร และ 3.ระยะเวลาที่ภาชนะโฟมสัมผัสอาหาร

หลักการ คือ สารดังกล่าวจะละลายได้ดีในน้ำมันและแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่มันๆทั้งหลาย ยิ่งถ้าเป็นของปรุงใหม่ๆร้อนๆ แล้วมีการตักหรือบรรจุ ทิ้งให้อาหารสัมผัสกับภาชนะโฟมเป็นเวลานานด้วยแล้ว ยิ่งมีการปลดปล่อยสารสไตรีนออกมาสู่อาหารได้มากขึ้น

ไม่แต่เฉพาะของร้อน แม้แต่อาหารที่เป็นของแข็งที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หรือ เนยแข็งที่บรรจุอยู่ในถาดโฟมในซุปเปอร์มาร์เก็ตเอง ก็ถูกปนเปื้อนด้วยสารสไตรีนจากถาดโฟมที่บรรจุอยู่ได้เช่นเดียวกัน

ไม่เพียงแค่ต้องระวังการใช้โฟมกับอาหารเท่านั้น เนื่องจากส่วนผสมบางอย่างในเครื่องดื่ม เช่นแอลกอฮอล์ หรือกรดในชามะนาวเอง ก็มีผลให้การละลายของ สารสไตรีนลงสู่อาหารที่บรรจุอยู่ได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน


อ้างอิง:ข้อมูลจาก สสส.

อัพเดทล่าสุด