โรคอุจจาระร่วง โรคใกล้ตัว ไม่ระวังก็ถึงตายได้เหมือนกัน


1,722 ผู้ชม

โรคอุจจาระร่วง โรคใกล้ตัวที่รู้จักกันดี อย่าคิดว่าโรคนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ระวัง รักษาไม่ถูก อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้...


โรคอุจจาระร่วง โรคใกล้ตัวที่รู้จักกันดี อย่าคิดว่าโรคนี้ทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ระวัง รักษาไม่ถูก อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้

 บางคนอาจคิดว่า "อาการอุจจาระร่วง" ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ก็แค่เพียงท้องเสียและอาเจียน หายารับประทาน ดื่มน้ำเกลือแร่ก็หาย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลยค่ะ เพราะโรคอุจจาระร่วงนั้น มีอาการที่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด และไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง หากมัวแต่ชะล่าใจก็อาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่อาจถึงแก่ชีว­­­ิตได้

ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคอุจจาระร่วงกันให้มากขึ้น­­­­­­ โดยมี น.อ.นพ.ธนาสนธิ์ ธรรมกุล หน่วยโรคติดเชื้อ กองอายุกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้ในนิตยสารหมอชาวบ้าน เพื่อบอกให้รู้ว่า โรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ไตวาน หรือถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ รู้ไว้ก่อนจะได้รักษาและป้องกันได้อย่างถูกทางค่ะ

 สาเหตุของอุจจาระร่วง

 อุจจาระร่วงมักเกิดจากสารพิษหรือเชื้อโรคซึ่งอาจจะมีอยู่ตั้งแต­­­่แรกในอาหารหรือน้ำที่เราดื่มหรือปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมือที่ปนเปื้อนแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อน­­­ปรุงหรือกินอาหาร ซึ่งเรามักเรียกกลุ่มอาการอุจจาระร่วงที่มีสาเหตุมาจากอาหารหรือ­น้ำว่า โรคอาหารเป็นพิษ

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้มีอาการอุจจาระร่วงได้ เช่น บางคนดื่มนมแล้วไม่ย่อย ยาบางชนิด เช่น ยาที่เป็นน้ำเชื่อม ยาปฏิชีวนะ หรือโรคลำไส้บางชนิดก็ทำให้มีอุจจาระร่วงได้ บางครั้งท่านอาจจะสงสัยว่าทั้ง ๆ ที่กินอาหารสุกแล้วก็ยังเกิดอาหารเป็นพิษทำให้ท้องเสียและอาเจี­­­ยนได้

ทั้งนี้ เพราะสารพิษบางชนิดที่ตกค้างอยู่ในอาหารหรือน้ำมีความทนทานต่อค­­­วามร้อน กรณีนี้มักพบในอาหารปรุงสุกแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้เป็นเวล­านานโดยไม่ได้เก็บรักษาให้เหมาะสม เช่น ข้าวผัดหลังผัดทิ้งไว้ค้างคืนโดยไม่ได้ใส่ตู้เย็นที่อุณหภูมิเห­­­มาะสมแล้วนำมาอุ่น เชื้อจุลชีพที่เจริญในระหว่างนี้อาจปล่อยสารพิษไว้ เมื่อนำมาอุ่นความร้อนสามารถทำลายเชื้อจุลชีพได้ แต่ไม่สามารถทำลายสารพิษที่ตกค้างได้

ดังนั้นนอกจากต้องใส่ใจกับความสุกความสะอาดของอาหารและสุขอนามั­­­ยของผู้ปรุงอาหารหรือบริการแล้ว ขั้นตอนในการเก็บรักษาอาหารเพื่อนำมาบริโภคซ้ำก็มีความสำคัญเช่­­­นกัน ในทางการแพทย์เราให้คำนิยามของอาการอุจจาระร่วงว่าคือการถ่ายอุ­­­จจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมงหรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้น

ผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วงอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง บางรายอาจมีไข้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเนื่องจากการขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ หน้ามืด ในรายที่มีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงอาจมีปัสสาวะออกน้­­­อย ซึมลง สับสน ความดันโลหิตต่ำได้

 อาการของอุจจาระร่วง

 อาการอุจจาระร่วงแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มที่มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น และกลุ่มที่มีอาการอุจจาระร่วงเป็นอาการเด่น

กลุ่มที่ 1 มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น มีสาเหตุใหญ่อยู่ 2 สาเหตุ คืออาการเป็นพิษจากสารพิษที่ทนความร้อนและการติดเชื้อไวรัสในระ­­­บบทางเดินอาหาร กรณีที่เกิดจากสารพิษที่ทนต่อความร้อน ผู้ป่วยมักมีอาการหลังกินอาหารประมาณ 6-24 ชั่วโมง โดยมักมีประวัติกินอาหารที่ทิ้งค้างไว้นาน ผู้ป่วยมักเริ่มต้นด้วยอาการอาเจียนมากร่วมกับปวดท้อง ต่อมาจึงถ่ายอุจจาระร่วงซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง
ส่วนกรณีของการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารมักพบในเด็ก ส่วนใหญ่ติดต่อทางน้ำดื่ม และอาหาร มีระยะฟักตัวประมาณ 18-72 ชั่วโมง มักเริ่มด้วยไข้ต่ำ ๆ ไอ หวัดเล็กน้อย ซึ่งมักเป็นอยู่ 1-2 วัน ต่อจากนั้นจะมีอาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย และมีอาการอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ แต่จะไม่มีมูกเลือด


 

กินยาอะไรใช้บรรเทาอาการ
ยาที่อาจกินได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ ยากลุ่มที่มีการออกฤทธิ์ดูดขับสารพิษ เช่น kaolin, pectin, activated charcoal ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัย แต่ลดปริมาณอุจจาระได้ไม่มาก ไม่ทำให้อุจจาระร่วงหายเร็วขึ้น แต่ทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นเนื้อมากขึ้น


ส่วนยากลุ่มที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ เช่น loperamide (lmodium) สามารถทำให้ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งลง ยานี้ห้ามใช้ในรายที่ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือมีไข้สูง อาจกินในรายที่ต้องทำงานต่อเนื่อง ไม่สามารถหยุดงานได้หรือต้องเดินทางไกล แต่ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้ท้องอืด แน่นท้อง จึงไม่ควรกินเกิน 1-2 เม็ดต่อวัน


กรณีที่กินแล้วไ

อัพเดทล่าสุด