เอนโดเมทริโอสิส (โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่) คืออะไร


1,331 ผู้ชม

ถ้าคุณต้องหน้านิ่วคิ้วขมวด หรือทนเจ็บปวดกับก่อนและหลังมีประจำเดือนเสมอ คุณมีโอกาสสูง ที่จะเป็น 9 ใน 10 ของโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และมันไม่ดีเลยที่จะทนไปตลอดชีวิต ในเมื่อมีทางรักษาที่สะดวกง่ายดายมาอ่าน ทำความรู้จักและรักษา เอนโดเมทริโอสิส (โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่) กันตอนนี้เลยค่ะ


โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ Endometriosis

Endometriosis รักษาง่ายดีกว่าทนเจ็บนาน (Women Plus)

หากคุณต้องเจ็บปวดกับก่อนและหลังมีประจำเดือนเสมอ รีบตรวจรักษาด่วน
          ถ้าคุณต้องหน้านิ่วคิ้วขมวด หรือทนเจ็บปวดกับก่อนและหลังมีประจำเดือนเสมอ คุณมีโอกาสสูง ที่จะเป็น 9 ใน 10 ของโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และมันไม่ดีเลยที่จะทนไปตลอดชีวิต ในเมื่อมีทางรักษาที่สะดวกง่ายดายมาอ่าน ทำความรู้จักและรักษา เอนโดเมทริโอสิส (โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่) กันตอนนี้เลยค่ะ
เอนโดเมทริโอสิส (โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่) คืออะไร
          ผลรายงานพบว่า 87% ในหญิงที่ยังไม่มีบุตรและมีอายุระหว่าง 25-44 ปี ที่มีปัญหาอาการปวดเรื้อรังในอุ้งเชิงกรานนั้นเกิดจากเอนโดเมทริโอสิส ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุแน่นอน แต่วินิจฉัยได้ว่า เอนโดเมทริโอสิสเกิดจากการเจริญนอกมดลูกของเนื้อเยื่อบุในโพรงมดลูก ส่วนใหญ่จะงอกที่รังไข่, ท่อนำไข่ รวมทั้งเอ็นต่างๆ ที่ยึดมดลูก และยังอาจเกิดในเยื่อบุช่องท้องหรือที่ส่วนนอกของกระเพาะปัสสาวะ บางตำแหน่งอาจจะพบฝังตัวเข้าไปในผนังลำไส้, ทวารหนัก หรือกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดท้องหรืออาการปวดเรื้อรังในอุ้งเชิงกรานที่สร้างความทุกข์ ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ
คุณเป็นโรคเอนโดเมทริโอสิสหรือเปล่า ถ้ามีสองอาการร่วมด้วยละก็ รีบตรวจและรักษาด่วน

         มีอาการปวดก่อนและระหว่างมีประจำเดือน
         มีอาการปวดระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์
         มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกตินอกเหนือจากการมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ และออกเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ
         มีบุตรยาก
         มีความเจ็บปวดขณะถ่ายอุจจาระ นอกจากนี้อาจจะมีการถ่ายท้องหรือท้องผูกร่วมด้วยก็ได้
เอนโดเมทริโอสิส รักษาง่าย และคุ้มค่ากว่าทนเจ็บ

          ปัจจุบันการรักษาโรคนี้ได้ก้าวหน้าไปมาก คุณสามารถเลือกได้ตามความสะดวกภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ในการผ่าตัดแพทย์จะทำการส่องกล้องเข้าไปดูในช่องท้อง ระหว่างการส่องกล้อง แพทย์จะสอดท่อใยแก้วที่ให้แสงซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นอวัยวะในช่องท้อง ทำให้แพทย์สามารถเห็นขนาดของก้อนเอนโดเมทริโอสิส จากนั้นจึงพยายามที่จะเอาก้อนนั้นออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
          แต่อย่างไรก็ตามเอนโดเมทริโอสิสที่บางตำแหน่งจะไม่สามารถเอาออกได้ เช่น ใต้มดลูก, ผนังลำไส้ จึงต้องใช้วิธีผสมผสานระหว่างศัลยกรรมและการให้ยาด้วยวิธีที่สอง
          ในกรณีที่แพทย์ทำการจี้ เอนโดเมทริโอสิสออก ในผู้ป่วยหลายกรณีต้องให้การรักษารอยโรคที่อาจยังเหลืออยู่ด้วย Hormone กลุ่มจีเอ็นอาร์เอชอนาล็อก (GnRHa) ซึ่งมีประสิทธิภาพชั่วคราวในการหยุดยั้งประจำเดือน และหยุดยั้งการสร้างเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่กระตุ้นการเจริญเติบ โตของก้อนเอนโดเมทริโอสิสเพื่อลดก้อนเอนโดเมทริโอสิสให้เล็กลง บรรเทาและกำจัดอาการปวดต่าง ๆ GnRHa เป็นยาแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มี 2 ขนาด คือฉีดเดือนละครั้งและฉีด 3 เดือนครั้ง ซึ่งจะช่วยลดขนาดของก้อนเอนโดเมทริโอสิ? และยังเป็นการลดอาการเจ็บปวดด้วย
          ในปัจจุบันมีผลงานวิจัยจำนวนมากขึ้นที่แนะนำให้ใช้ GnRHa รักษาผู้ป่วย โดยการสังเกตจากประวัติอาการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยไม่ต้องทำการผ่า ตัด หากใช้ยา GnRHa แล้วอาการดีขึ้น แพทย์จะให้ยาต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน โรคร้ายจะถูกกำจัดไปโดยสิ้นเชิง และไร้ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย

อัพเดทล่าสุด