สถานการณ์การระบาดไข้หวัดมรณะ 2009 ยังไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงยิ่ง รัฐบาลไม่ประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อ…ผู้เสียชีวิตรายวัน ด้านหนึ่ง ประชาชนก็เหมือนถูกปิดหูปิดตา ไม่รู้ว่าสถานการณ์รุนแรงเกินเยียวยา
สถานการณ์การระบาดไข้หวัดมรณะ 2009 ยังไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนแรงยิ่ง รัฐบาลไม่ประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อ…ผู้เสียชีวิตรายวัน ด้านหนึ่ง ประชาชนก็เหมือนถูกปิดหูปิดตา ไม่รู้ว่าสถานการณ์รุนแรงเกินเยียวยา แค่ไหนที่ทำได้ คนไทยต้องป้องกันการติดเชื้อ หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง นอกจากออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ล่าสุดยังมีข่าว…สมุนไพรไทยช่วยป้องกันหวัด 2009 ได้ “วันนี้ สมุนไพรไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ…ฟ้าทลายโจร”
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี บอก สมุนไพร ฟ้าทลายโจร มีการศึกษามานานในเรื่องป้องกันหวัด ปัจจุบันมีชื่ออยู่ในบัญชีหลักแห่งชาติ เป็นสมุนไพรตัวเดียวที่มีข้อบ่งใช้ชัดเจน สรรพคุณมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และยับยั้งความสามารถการเกาะผนังเซลล์ ของเชื้อไวรัส
ที่สำคัญทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง มีคุณประโยชน์เป็นยาลดการอักเสบ
ภญ. ดร.สุภาภรณ์ ย้ำว่า การที่เราติดเชื้อไวรัส จะทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจอักเสบ ฟ้าทลายโจรช่วยได้ เหมาะแก่การเป็นยาป้องกันและรักษาหวัด
การรับประทานเพื่อการป้องกัน รับประทาน 1-2 เม็ด อย่ามาก เนื่องจากเป็นยาเย็น หากรู้สึกหนาวก็รับประทานน้ำขิงร้อนๆ… ถ้ารับประทานในการรักษา รับประทานตั้งแต่ 1.5 กรัม ถึง 3 กรัม หรือประมาณ 1-3 เม็ด หรือ 2 เม็ด…3 เวลา ” ใครปลูกฟ้าทลายโจรอยู่แล้ว สามารถรับประทานสดได้ ต้มน้ำดื่ม ตากแห้ง ชงเป็นชา…เป็นตัวยาเหมือนกันได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายก็ช่วยยับยั้งได้ อีกทางหนึ่ง”
อภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐาน ชีวภาพ เสริมว่า มีใครสักกี่คน…ที่ตระหนักว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ล้วนมีความสำคัญต่อการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งโดยทางตรง…ทางอ้อม รูปธรรมที่ชัดเจน สิ่งมีชีวิตนานาชนิดล้วนเป็นทรัพยากรตามธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับปัจจัยสี่ …อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
พืชและสัตว์พบในประเทศไทย แต่ไม่พบที่อื่นในโลก มีไม่ต่ำกว่า 2,000 ชนิด…แม้ประเทศไทยมีพื้นที่ 0.34% ของพื้นที่บนโลก แต่มีจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตถึงร้อยละ 6�10 ของสิ่งมีชีวิตบนโลก
ใน จำนวนพันธุ์พืชที่ค้นพบในแผ่นดินไทยไม่ต่ำกว่า 15,000 ชนิดนี้ เป็นเฟิร์นประมาณ 693 ชนิด…กล้วยไม้มากกว่า 1,000 ชนิด…เห็ด รา มากกว่า 3,000 ชนิด และเป็นสมุนไพรที่ถูกใช้เป็นยารักษาโรคในท้องถิ่นมากกว่า 1,000 ชนิด
คำ พูดของคนโบราณ “ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ” สะท้อนว่า ประเทศไทยร่ำรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติ บรรพชนไทยใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอยู่ดีมีสุขมาเป็นเวลายาวนาน จนเกิดฐานคิดจิตวิญญาณ วัฒนธรรมการใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
” ทรัพย์ในดิน” มีนัยสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้หมายความว่า ในดินมีเงินมีทอง หรือมีธาตุที่จะนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรม แต่หมายถึงดินดี อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่พืชต้องการเพื่อการเจริญเติบโต
“การทำ เกษตรกรรมจึงกลายเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมประจำถิ่น…คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา จนได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ”
กล่าวได้อย่างภาคภูมิใจว่า…เกษตรกร ชุมชนชาวไทยเป็นผู้ปลูกความหลากหลายให้งอกงาม
” ความหลากหลายของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ยังผลให้เกิดความหลากหลายของสัตว์นานาชนิด มีผลให้เกิดความหลากหลายของพืชด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการร่วม…ตามกาลเทศะ”
ดังนั้น…ทรัพย์สินทางชีวภาพที่หลากหลายคือ ความมั่นคงทางอาหาร
ความมั่นคงของมนุษย์ และความยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น…ของชาติ
สิ่ง มีชีวิตมีสมบัติเหนือกว่าสรรพสิ่งอื่นๆ สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดสายพันธุ์ได้ยั่งยืนยาวนาน ยิ่งไปกว่านั้น ในดินยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายหลากหลายชนิดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อรา
“สินในน้ำ” เมืองไทยมีสินในน้ำที่เป็นสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายชนิด ทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา สาหร่าย ไดอะตอม แมลง สัตว์น้ำมากมายมหาศาลที่ดำรงชีวิตร่วมกันเป็นระบบนิเวศทางน้ำแต่ละท้องถิ่น
มี ปลาน้ำจืดไม่น้อยกว่า 560 ชนิด เป็นปลาเฉพาะถิ่นประมาณ 10% ส่วน ปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อยมีอย่างน้อย 1,200 ชนิด มีเต่าน้ำจืด 13 ชนิด ในจำนวนทั้งหมด 27 ชนิด…สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พวกกบและเขียดไม่น้อยกว่า 110 ชนิด
ใครที่สนใจฐานองค์ความรู้ทาง ชีวภาพที่หลากหลายเหล่านี้ อภิวัฒน์ เศรษฐรักษ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ประชาสัมพันธ์ให้ไปร่วมงานสัมมนาเชิงนโยบาย “ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเศรษฐกิจไทย” ระหว่างวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2552 ที่ MCC Hall ชั้น 4 เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
ภายในงานประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก…การจัดสัมมนาและรับฟังความคิดเห็นเชิงวิชาการ นิทรรศการทรัพยากรฐานชีวภาพ
ส่วนที่สอง…การแสดงผลงานจากฐานชีวภาพ 35 ชุมชน จาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ รวมไปถึงผลงานจากฐานชีวภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 30 หน่วยงาน
หัว ข้อบรรยายพิเศษที่น่าสนใจ “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย” โดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพในกระแสโลก” ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และวงเสวนา “นโยบายเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ”
อภิวัฒน์ บอกอีกว่า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นองค์การมหาชนที่เฝ้าติดตามวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่ มีอยู่มากมายในโลกปัจจุบัน
โดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก จนนำไปสู่ความซับซ้อนทางชีวภาพที่มีความยืดหยุ่น แต่เปราะบาง “หากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม การสูญเสียถิ่นอาศัยจากการทำลายป่า ดิน น้ำ ย่อมจะส่งผลต่อความมั่นคงทางชีวภาพ”
ข้อมูล การศึกษาวิจัยและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่มีผลกระทบและคุกคามต่อความมั่นคงทางชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงแห่งชาติ ด้านสาธารณสุข
ผลกระทบจากการ พัฒนาของเชื้อก่อโรคต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส ที่เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ได้แก่ โรคเอดส์ โรคซาร์ส รวมถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือ…โรคติด เชื้ออุบัติซ้ำ อย่างเชื้อไข้มาลาเรีย เชื้อวัณโรคชนิดรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ซึ่งเราจะต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ถ้าเราไม่ตั้งรับให้ดี
ศ. ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2538 และ 2542 เป็นผู้หนึ่งที่อุทิศตัวทำงานวิจัยด้านชีววิทยามากว่า 30 ปี ให้ข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพยิ่งขึ้นว่า…
“ในช่วง 10 กว่าปีมานี้ เชื้อ HIV ไวรัสสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ คองโกในทวีปแอฟริกา แพร่ระบาดมาทางยุโรป อเมริกา และเอเชีย ได้ปรับตัว ทางพันธุกรรมเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ต่างจากสายพันธุ์ต้นกำเนิด”
หมายความว่า …ไวรัสสายพันธุ์เดิมปรับตัวทางพันธุกรรมให้เข้ากับสภาพชีววิทยาของมนุษย์ ทำให้เกิดเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่…พัฒนา รุดหน้าต่อไปอย่าแปลกใจเกี่ยวกับการอุบัติของโรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก เพราะเชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์ไปตามธรรมชาติ
” ถ้าเราพยายามคิดที่จะควบคุมเชื้อไวรัสด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า 99.9 เปอร์เซ็นต์…มันจะตาย แต่ที่เหลืออีก 0.1 เปอร์เซ็นต์…มันก็จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และกลายพันธุ์อีก… รอเพียงแต่ว่า เมื่อใดเท่านั้น”
เท่าที่มนุษย์พึงจะทำได้ คือการดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการทางชีวภาพที่หลากหลาย หากปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ โอกาสอยู่รอดก็สูง.
ที่มา https://xn--2009-9dovd4bzj9ac8d4lh8dh.thaihealth.net/article10-ฟ้าทลายโจร+สู้หวัดใหญ่2009.html