การใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ยาที่สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน


1,493 ผู้ชม

การเลือกใช้ยาในสตรีมีครรภ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากยาหรือสารเคมีที่มารดาได้รับสามารถผ่านเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้โดยผ่านทางรก ซึ่งยาบางชนิดอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นสตรีมีครรภ์จึงต้อง


การเลือกใช้ยาในสตรีมีครรภ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากยาหรือสารเคมีที่มารดาได้รับสามารถผ่านเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้โดยผ่านทางรก ซึ่งยาบางชนิดอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นสตรีมีครรภ์จึงต้อง         การเลือกใช้ยาในสตรีมีครรภ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากยาหรือสารเคมีที่มารดาได้รับสามารถผ่านเข้าสู่ทารกในครรภ์ได้โดยผ่านทางรก ซึ่งยาบางชนิดอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นสตรีมีครรภ์จึงต้อง 

ระมัดระวังในการที่จะเลือกใช้ยาต่างๆ รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องมีการประเมินการตั้งครรภ์ก่อนที่จะใช้ยาบางชนิดด้วย

การใช้ยาในสตรีมีครรภ์มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายประการได้แก่

  1. ช่วงอายุครรภ์ที่ได้รับยาหรือสารเคมี การตั้งครรภ์แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่
    • ไตรมาสที่ 1 คืออายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 0-3
    • ไตรมาสที่ 2 คืออายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 4-6
    • ไตรมาสที่ 3 คืออายุครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 7-9

    ซึ่งยาและสารเคมีก็ส่งผลต่อทารกในครรภ์แต่ละไตรมาสแตกต่างกันไป ยาบางชนิดอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ไตรมาสใดไตรมาสหนึ่ง หรืออาจมีผลสำหรับทุกไตรมาสก็ได้ อย่างไรก็ตามก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ระหว่างไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

  2. ชนิดและปริมาณของยาหรือสารเคมีที่ได้รับ สตรีมีครรภ์ควรใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดที่ให้ผลในการรักษาในระหว่างการตั้งครรภ์และใช้ในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดพร้อมกันหรือการใช้ยาสูตรผสมในการรักษาโรคหรืออาการต่างๆ
  3. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
  4. ภาวะของมารดา เช่น อายุภาวะโภชนาการ หรือโรคประจำตัว
  5. สตรีมีครรภ์ควรเลือกวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาเป็นอันดับแรก เมื่อไม่ได้ผลจึงจะพิจารณาใช้ยาโดยควบคู่ไปกับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเพื่อให้มีการใช้ยาน้อยที่สุดและเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็นที่มีข้อมูลความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์มากที่สุด
  6. การใช้ยาทุกชนิดในสตีมีครรภ์ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรอย่างใกล้ชิด

การจัดกลุ่มยาตามความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ โดยจัดแบ่งตามขององค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ซึ่งแบ่งประเภทของยาออกเป็น 5 ประเภทคือ Pregnancy Category A, B, C, D และ X

  1. Pregnancy Category A จากการศึกษาในมนุษย์พบว่าไม่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสแรก และไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่แสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ3 ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สตรีมีครรภ์จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
  2. Pregnancy Category B จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
  3. Pregnancy Category C จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้นการจะใช้ยาในประเภทนี้ควรใช้เมื่อมีการประเมินจากแพทย์ระหว่างประโยชน์ที่ได้จากการใช้ยาและความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ว่าเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  4. Pregnancy Category D ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาแล้วว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ซึ่งมักจะเป็นการใช้ยาเพื่อช่วยชีวิตมารดาหรือเป็นการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่สามารถใช้ยาที่ปลอดภัยมากกว่าได้หรือไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
  5. Pregnancy Category X จากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์พบว่ายาที่จัดอยู่ในประเภทนี้ทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ และมีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากยา ดังนั้นยาในประเภทนี้จัดเป็นยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์หรือในสตีที่มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์

ตัวอย่างรายการยาที่จัดอยู่ใน Pregnancy Category D และ X

  1. Pregnancy Category D
    • ยาต้านอาการชัก
      • Carbamazepine
      • Phenobarbital
      • Phenytoin
      • Valproic acid
      • Primidone
    • ยารักษาโรคไทรอยด์
      • Methimazole
      • Propylthiouracil
    • ยาปฏิชีวนะ
      • Cotrimoxazole (เมื่อใช้ในช่วงใกล้คลอด)
      • Sulfadiazine (เมื่อใช้ในช่วงใกล้คลอด)
      • Neomycin
      • Amikacin
      • Gentamicin
      • Kanamycin
      • Netilmicin
      • Streptomycin
      • Tetracycline
      • Doxycycline
      • Chlortetracycline
      • Oxytetracycline
      • Voriconazole
    • ยาลดความดัน (เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3)
      • Candesartan
      • Irbesartan
      • Losartan
      • Telmisartan
      • Valsartan
      • Candesartan
      • Captopril
      • Enalapril
      • Fosinopril
      • Lisinopril
      • Perindopril
      • Quinapril
      • Ramipril
      • Cilazapril
      • Benazepril
      • Atenolol
      • Bisoprolol
      • Carteolol
      • Carvedilol
      • Labetalol
      • Metoprolol
      • Nadolol
      • Pindolol
      • Propranolol
    • ยาขับปัสสาวะ
      • Hydrochlorothiazide
      • Indapamide
      • Amiloride
      • Furosemide
      • Spironolactone
    • ยารักษาโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
      • Amiodarone
      • Sotalol
    • ยาระงับปวด (เมื่อใช้ในขนาดสูง หรือใช้เป็นระยะเวลานาน)
      • Codeine
      • Fentanyl
      • Methadone
      • Morphine
      • Pentazocine
      • Pethidine
    • ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรอยด์ (เมื่อใช้ในช่วงไตรมาสที่ 3)
      • Aspirin (เมื่อใช้ขนาดสูง)
      • Diclofenac
      • Flurbiprofen
      • Ibuprofen
      • Fenoprofen
      • Indomethacin
      • Ketoprofen
      • Naproxen
      • Sulindac
      • Celecoxib
      • Diflunisal
      • Etodolac
      • Ketorolac
      • Mefenamic acid
      • Meloxicam
      • Nabumetone
      • Piroxicam
      • Phenylbutazone
    • ยาต้านอาการซึมเศร้า
      • Amitriptyline
      • Nortriptyline
      • Imipramine
      • Paroxetine
    • ยาคลายกังวล และยานอนหลับ
      • Alprazolam
      • Chlordiazepoxide
      • Clonazepam
      • Clorazepate
      • Diazepam
      • Lorazepam
      • Flunitrazepam
      • Midazolam
    • ยาจิตเวช
      • Lithium
    • ยากดภูมิคุ้มกัน
      • Azathioprine
    • ยาเคมีบำบัด & ยาต้านมะเร็ง
      • Bleomycin
      • Carboplatin
      • Cisplatin
      • Oxaliplatin
      • Chlorambucil
      • Cytarabine
      • Cyclophosphamide
      • Ifosfamide
      • Daunorubicin
      • Doxorubicin
      • Epirubicin
      • Idarubicin
      • Etoposide
      • Gemcitabine
      • Irinotecan
      • Bortezomib
      • Erlotinib
      • Gefitinib
      • Imatinib mesylate
      • Exemestane
      • Flutamide
      • Hydroxyurea
      • Melphalan
      • Mercaptopurine
      • Paclitaxel
      • Tamoxifen
      • Tretinoin
      • Vinblastine
      • Vincristine
      • Vinorelbine
    • ยาฮอร์โมน
      • Lynestrenol
    • ยากลุ่มสเตียรอยด์ (เมื่อใช้ในช่วงไตรมาศที่ 1).
      • Betamethasone
      • Cortisone
      • Dexamethasone
      • Hydrocortisone
      • Prednisolone
      • Triamcinolone
    • ยากลุ่มอื่นๆ
      • Colchicine
      • Iodine
      • Povidone iodine
      • Potassium iodide
      • Sodium iodide
      • Penicillamine
      • Pamidronic acid
      • Zoledronic acid
      • Pentobarbitone
      • Sulfasalazine (เมื่อใช้ในช่วงใกล้คลอด)
      • Terpin hydrate
  2. Pregnancy Category X
    • ยารักษาสิว
      • Isotretinoin
    • ยารักษาโรคมาลาเรีย
      • Quinine
    • ยารักษาไมเกรน
      • Ergotamine tartrate
        Dihydroergotamine
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
      • Warfarin
    • ยานอนหลับ
      • Flurazepam
      • Temazepam
      • Triazolam
      • Estazolam
    • ยาลดไขมันในเลือด
      • Atorvastatin
      • Cerivastatin
      • Fluvastatin
      • Lovastatin
      • Pravastatin
      • Rosuvastatin
      • Simvastatin
    • ยาฮอร์โมน
      • Clomiphene
      • Chorionic gonadotrophin
      • Desogestrel
      • Danazol
      • Diethylstilbestrol
      • Dienestrol
      • Estradiol
      • Estrone
      • Ethinyl estradiol
      • Gestodene
      • Goserelin
      • Leuprorelin
      • Nafarelin
      • Norethisterone
      • Levonorgestrel
      • Medroxyprogesterone
      • Megestrol
      • Mestranol
      • Methyltestosterone
      • Norgestrel
      • Fluoxymesterone
      • Follitropin alfa
      • Follitropin beta
      • Urofollitropin
      • Ganirelix
      • Oxandrolone
      • Testosterone
    • ยาเคมีบำบัด & ยาต้านมะเร็ง
      • Fluorouracil
      • Methotrexate
    • ยากลุ่มอื่นๆ
      • Acitretin
      • Finasteride
      • Dutasteride
      • Alprostadil
      • Bosentan
      • Ergometrine
      • Fluorescein
      • Leflunomide
      • Misoprostol
      • Nandrolone
      • Oxymetholone
      • Oxytocin
      • Nicotine
      • Raloxifene
      • Ribavirin
      • Thalidomide
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=202&sub_id=1&ref_main_id=2

อัพเดทล่าสุด