อาหารสําหรับหญิงตั้งครรภ์ อาหารที่มีธาตุเหล็กสําหรับคนท้อง ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง


1,295 ผู้ชม


ช่วงตั้งครรภ์ ทั้งตัวคุณแม่ คุณพ่อ และคนใกล้ชิดจะใส่ใจเลือกสรรอาหารดีๆ มีประโยชน์เป็นหลัก โดยสารอาหารหนึ่งที่ลืมและขาดไม่ได้เลย ก็คือธาตุเหล็กค่ะ         ช่วงตั้งครรภ์ ทั้งตัวคุณแม่ คุณพ่อ และคนใกล้ชิดจะใส่ใจเลือกสรรอาหารดีๆ มีประโยชน์เป็นหลัก โดยสารอาหารหนึ่งที่ลืมและขาดไม่ได้เลย ก็คือธาตุเหล็กค่ะ 
ธาตุเหล็ก...ของสำคัญสำหรับแม่และลูกน้อย ธาตุเหล็กมีความสำคัญกับเราทุกคนค่ะ ยิ่งถ้าเป็นแม่ท้องที่มีอีกหนึ่งชีวิตมาร่วมแบ่งปันอาหารไปด้วยแล้ว ธาตุเหล็กยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอีก เพราะช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะเป็นตัวนำอาหารและออกซิเจนมาให้ลูกน้อย ทำให้แม่ท้องต้องการปริมาณธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เพราะถ้าลูกได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ได้รับอาหารและออกซิเจนน้อยตามไปด้วย ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีฮอร์โมนที่ทำให้น้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น จนคุณแม่ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล แต่เมื่อน้ำเพิ่มขึ้นความเข้มข้นของเลือดก็ลดลงค่ะ ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือด และการนำอาหารและออกซิเจนต่างๆ มาให้ลูก ด้วยเหตุนี้ธาตุเหล็กจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่ท้องขาดไม่ได้เลย ธาตุเหล็กในแม่ท้อง...เท่าไรจึงพอ โดยเฉลี่ยแล้วแม่ท้องต้องการธาตุเหล็กประมาณ 1,000 มิลลิกรัม โดยแบ่งเป็นของ ลูกน้อยและรกประมาณ 300 มิลลิกรัม ส่วนของคุณแม่ที่ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น 500 มิลลิกรัม และยังมีธาตุเหล็กที่ถูกขับออกมาประมาณ 200 มิลลิกรัม รวมๆ แล้วคุณแม่จึงต้องการธาตุเหล็กประมาณ 1,000 มิลลิกรัมตลอดการตั้งครรภ์ ซึ่งหากแบ่งเฉลี่ยปริมาณธาตุเหล็กที่คุณแม่ต้องการในแต่ละวัน ก็ประมาณ 6 มิลลิกรัมค่ะ แต่ถ้าคุณแม่มีครรภ์แฝดก็ต้องกินธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากครรภ์ปกติ 6 มิลลิกรัมต่อวัน ครรภ์แฝดต้องเพิ่มถึง 10 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอค่ะ ปกติในการไปฝากครรภ์ คุณหมอจะตรวจเลือดเพื่อเช็คสุขภาพคุณแม่อยู่แล้ว และจะเป็นผู้ให้ธาตุเหล็กเสริมเพื่อให้เพียงพอต่อวัน แต่ธาตุเหล็กที่ร่างกายได้รับจะมีการแตกตัวเพื่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธาตุเหล็กแต่ละชนิดด้วย แต่แม้ว่าจะได้รับธาตุเหล็กเสริมแล้ว คุณหมอก็ยังแนะนำให้แม่ท้องกินอาหารที่มีธาตุเหล็กด้วย เพราะหากปริมาณธาตุเหล็กที่ได้รับเกิน 6 มิลลิกรัมต่อวัน ร่างกายจะขับส่วนที่เกินออกมาเองค่ะ แต่ถ้าได้น้อยสิคะ ไม่ดีแน่ๆ เลย อาการแบบนี้…ขาดธาตุเหล็ก 

ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่ขาดธาตุเหล็กก็เหมือนเลือดในร่างกายลดลง โดยจะมีอาการที่สังเกตทางร่างกายได้ง่ายๆ เลยก็คือหน้าซีดขาว ปากซีด ตัวซีดหรือขาวอมเหลือง ลิ้นจะมีลักษณะเลี่ยนๆ (ไม่มีเม็ดนูนๆ ขึ้นที่ผิวลิ้น) และจะมีแผลปากเปื่อยได้ง่ายค่ะ ส่วนอาการอื่นๆ ก็จะเหนื่อยง่าย เป็นลมง่าย ลุกขึ้นยืนเร็วๆ ก็จะวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ซึ่งเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่วนเจ้าตัวเล็กก็จะได้รับผลเสียจากการขาดธาตุเหล็กทางอ้อม คือได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ รวมถึงส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดและภาวะเติบโตช้าในครรภ์ค่ะ แต่ผลกระทบต่อคุณแม่มีมากกว่า ทั้งภาวะเสี่ยงตอนคลอด เช่น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพราะเนื้อเยื่อต่างๆ มีภูมิต้านทานน้อยลง ออกซิเจนที่จะมาซ่อมแซมแผลหรือส่วนที่สึกหรอก็ลดลง แผลจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ขั้นร้ายแรงสุดก็คืออาการช็อก ในบางกรณีที่ตกเลือด คุณแม่ที่ไม่ได้กินธาตุเหล็กสะสมเอาไว้ จนอยู่ในภาวะโลหิตจาง อาจจะมีความดันโลหิตต่ำถึงขั้นช็อกได้ค่ะ เมื่อร่างกายช็อก ผลที่ตามมาก็คือเลือดไปเลี้ยงร่างกายบางส่วนไม่พอ เนื่องจากธรรมชาติจะเอาเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญเพื่อการดำรงชีวิตก่อน เช่น สมอง ตับ ไต ปอด หัวใจ โดยมดลูกมีความสำคัญน้อยลงมา ทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงน้อย มดลูกก็จะไม่บีบตัว ก็ยิ่งตกเลือดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ อาหาร แหล่งอุดมธาตุเหล็ก แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสามารถหาได้จากเนื้อสัตว์และผักผลไม้หลายชนิดค่ะ จำพวก เนื้อแดง ตับวัว ตับไก่ เครื่องในสัตว์ นมสด ไข่แดง ส่วนในผักผลไม้ก็จะเป็น ผักใบเขียว สาหร่าย ผักโขม ผักบุ้ง ตำลึง ดอกแค ใบชะพลู ถั่วเหลือง ข้าวกล้อง และเมล็ดธัญพืชต่างๆ โดยในแต่ละวันควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้หลากหลายชนิดทั้งผักและผลไม้ควบคู่กันไป ไม่ต้องกังวลว่าจะกินธาตุเหล็กเกินปริมาณที่แนะนำต่อวัน เพราะยิ่งได้ความเข้มข้นของเลือดมากเท่าไร ก็ยิ่งดีต่อต่อคุณแม่และลูกน้อยค่ะ ธาตุเหล็กหลังคลอด ถึงเจ้าตัวเล็กจะลืมตาดูโลกแล้ว แต่คุณแม่ก็ยังไม่ควรเลิกกินธาตุเหล็กนะคะ ควรกินต่อไปอย่างน้อย 1 เดือนหลังคลอด เพราะคุณแม่ได้สูญเสียเลือดไปจำนวนมากในช่วงคลอด จึงควรกินธาตุเหล็กต่อในช่วงหลังคลอดเพื่อทดแทนเลือดที่สูญเสียไปค่ะ ยกเว้นในกรณีที่คุณแม่เป็นโรคโลหิตจาง ต้องกินธาตุเหล็กต่อไปอีกประมาณ 3 เดือน และต้องมาตรวจเช็กร่างกายเป็นระยะตามที่คุณหมอนัดอย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ 
ที่มา  https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=460&sub_id=43&ref_main_id=11

อัพเดทล่าสุด