การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา เสียงเพลงดีเอ็นเอ


1,005 ผู้ชม

เมื่อ สร้างเสียงเพลงจากดีเอ็นเอขึ้นได้ ก็เท่ากับว่าทุกคนสามารถมีเพลงประจำชีวิตของตัวเองได้ และเนื่องจากโค้ดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพลงที่ได้ของแต่ละคนจึงจะมีเสียงต่างกัน ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเสียงเพลงจากรหัสชีวิต


เป็นที่ทราบกันดีว่า ดีเอ็นเอ รหัสแห่งชีวิตประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ตัว คือ เอ (อะดินีน) adenine ที (ไธมีน) thymine ซี (ไซโตซีน) cytosine และจี (กัวนีน) guanine         เป็นที่ทราบกันดีว่า ดีเอ็นเอ รหัสแห่งชีวิตประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ตัว คือ เอ (อะดินีน) adenine ที (ไธมีน) thymine ซี (ไซโตซีน) cytosine และจี (กัวนีน) guanine 

ถูกค้นพบเมื่อ 50 ปีก่อน โดยสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งล้วนมีดีเอ็นเอเฉพาะเป็นของตัวเอง เมื่อสร้างเสียงเพลงจากดีเอ็นเอขึ้นได้ ก็เท่ากับว่าทุกคนสามารถมีเพลงประจำชีวิตของตัวเองได้ และเนื่องจากโค้ดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพลงที่ได้ของแต่ละคนจึงจะมีเสียงต่างกัน ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเสียงเพลงจากรหัสชีวิต

ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ นักวิชาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ค้นพบว่าในดีเอ็นเอ Deoxyribonucleic acid มีเสียงเพลง ความคิดเริ่มแรกมาจากเมื่อครบรอบ 50 ปีของการคิดค้นดีเอ็นเอนั้น ไบโอเทคได้ทำละครวิทยาศาสตร์เรื่องไขปริศนารหัสแห่งชีวิต เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวกับการค้นพบดีเอ็นเอขึ้น ซึ่งเมื่อทำละคร ก็ต้องการมีเพลงประกอบละคร ที่ต้องเป็นเพลงที่สื่อจากดีเอ็นเอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการสร้างเสียงเพลงจากดีเอ็นเอขึ้น

imageเพลงแรกได้นำ ดีเอ็นเอ ซีเควนซ์ DNA sequence หรือลำดับเบส base sequence ของไวรัสตับอักเสบที่มีรหัส 5,000 ตัว มาจับคู่กัน ดีเอ็นเอ มีฟอสเฟต phosphate เป็นตัวหลัก แล้วมีน้ำตาล และเบส base ซึ่งเบสคือตัวจับคู่กันของสายเกลียว ปกติจะเป็นการจับคู่กัน ระหว่างเอที A-T และ ซีจี C-G เสมอ แต่การถอดรหัสทำเพลงนี้จะไม่เกี่ยวกัน จากดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบ ผมมาจับรหัสใหม่ เป็นคู่ และแทนด้วยโน้ตแต่ละตัว คือ ซีที ซีซี เอซี เอเอ ซีเอ ทีที เป็น 2,500 คู่ สำหรับตัวโน้ตที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำไปเทียบเสียงเพลง เช่น เอเอ ได้เสียงโดต่ำ เอที ได้เรต่ำ เอซี ได้มีต่ำ เอจี ได้ฟาต่ำ ซึ่งความเป็นไปได้ทั้งหมดคือ 16 คู่ หรือ 16 ตัวโน้ต

นอกจากนี้ ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ยังเล่าเพิ่มเติมว่ากำลังคิดจะทำเพลงของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ให้สามารถมีเพลงของตัวเองได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นคนนี่มี 3,000 ล้านเบส ถ้าทำเป็นเพลงจะยาวมาก คงไม่สามารถทำทั้งหมดได้ ก็ต้องทำเฉพาะส่วนๆ ไป เช่น เพลงยีนควบคุมเม็ดเลือดดำ ยีนใจเย็น เจาะแยกชนิดไป หรือจะเป็นพืช หรือสัตว์ ก็แยกเป็นชนิดไป อย่างเพลงจากไวรัสตับอักเสบนี่ยาว 8 นาทีครึ่ง เพลงต่อไปที่จะทำก็เป็นยีนข้าวหอมมะลิ มีประมาณ 500 คู่ จับคู่แล้วจะเหลือ 250ตัวโน้ต ความยาวคงประมาณ 3 นาทีครึ่ง

imageเพลงเย็นๆ ทุกเพลง ส่วนใหญ่พอคนฟังก็จะทำให้อารมณ์เย็นตามลักษณะทำนองเพลงอยู่แล้ว ส่วนทำนองเนื้อเพลงที่ออกมาก็อยู่ที่คนทำเพลงอยู่แล้วว่าจะให้ออกมาในลักษณะไหนอย่างเพลงแร็พ หรือเพลงดิสโก้ก็จะดูกระฉับกระเฉง สำหรับแนวเพลงที่ทำมาจะออกมาในลักษณะรีแล็กซ์ ถ้าทำเพลงข้าวหอมมะลิก็จะใส่กลิ่นอายของความเป็นไทย ฟังแล้วจะรู้สึกว่า ทำไมข้าวหอมมะลิถึงได้หอมเช่นนี้ ก็เพราะยีนตัวที่นำมาทำนี่เอง

คิดจะทำทั้งหมดสัก 4-5 เพลงให้ได้ 1 ชั่วโมง แต่ไม่แน่ ขึ้นกับจำนวนความยาวของดีเอ็นเอด้วย ต้องดูจากธนาคารดีเอ็นเอว่า มีดีเอ็นเอ ซีเควนซ์ DNA sequence อะไรบ้าง ตัวต่อๆ ไปอาจจะเป็นกล้วยไม้ สัตว์ และคน ต้องการเพลงที่ไม่เกิน 500 ตัวโน้ต

ปัญหาที่พบจากการทำเพลงจากดีเอ็นเออยู่ที่ว่า ยังไม่สามารถสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ว่าเพลงสื่อออกมาจากชีวิต ทั้งๆ ที่เมื่อคิดค้นการเทียบรหัสดีเอ็นเอ กับตัวโน้ตแล้ว ต้องไปจ้างนักดนตรีเรียบเรียง แบ่งช่องไฟ ใส่แบ็คกราวนด์ และจังหวะ เป็นหมื่นบาท ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการทำเพลงออกมา
ที่มา https://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=844&sub_id=13&ref_main_id=3

อัพเดทล่าสุด