Growth Hormone เพิ่มความสูงได้จริงหรือ วิตามินเพิ่มความสูงจากอเมริกา


1,434 ผู้ชม

หรืออาจจะคิดไปถึงว่าเมื่อ Growth Hormone มีส่วนเกี่ยวข้องกับกับความสูง จึงอยากจะฉีด Growth Hormone หรือหาวิธีที่จะเพิ่ม Growth Hormone ลองทำทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันหน่อยนะครับ


  • จากการที่ได้มีการถามกันบ่อยๆ ว่า ทำอย่างไร จึงจะเพิ่มความสูงได้ เพราะมีหลายคนที่คิดว่าการมีสรีระที่สูงกว่ามาตรฐ
านหรือสูงกว่าที่ควรจะเป็นในปัจจุบัน ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ ความสูง ทำให้มีความสง่างาม เป็นที่ดึงดูด ของเพศตรงข้าม และคิดว่าทำให้มีโอกาสทางสังคมได้มากกว่าคนเตี้ย มีการถามกันบ่อยๆ ว่าทำอย่างไร จึงจะสูงขึ้นได้มากกว่านี้ และก็มีผลิตภัณฑ์ออกมาหลากหลายอย่างที่มีการโฆษณากันว่า สามารถจะช่วยเพิ่มความสูงได้จริง หรืออาจจะคิดไปถึงว่าเมื่อ Growth Hormone มีส่วนเกี่ยวข้องกับกับความสูง จึงอยากจะฉีด Growth Hormone หรือหาวิธีที่จะเพิ่ม Growth Hormone ลองทำทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันหน่อยนะครับ
  • growth hormone (GH) ทำหน้าที่อะไร โกรทฮอร์โมน growth hormone (GH) เป็นฮอร์โมนชนิดโปรตีน หรือที่เรียกว่า Peptide Hormone เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Lobe of Pituitary Gland ) เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการ Metabolism ของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Somatotropin Hormone โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ 
    1. กระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกาย Growth Hormone ในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นการกระตุ้นตับและเนื้อเยื่ออื่นๆ ให้สร้าง IGF-I(insulin-like growth factor-I) IGF-I กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์สร้างกระดูกอ่อน ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของกระดูก นอกจากนี้ IGF-I จะกระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ โดยกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อให้แบ่งตัวเพื่อ ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงและเพิ่มจำนวนเซลล์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการนำกรดอะมิโนมาใช้ และกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ อีกด้วย ส่วน โกรทฮอร์โมนจะมีผลโดยตรงกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนเกิดการพัฒนาจำแนกชนิดต่อไป ทำให้เกิด การเจริญเติบโตของกระดูก 
    2. กระบวนการ Metabolism โดยมีผลดังนี้ 
    2.1 ผลต่อโปรตีน พบว่าโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน ลดปฏิกิริยาเผาผลาญโปรตีน และสามารถนำกรดอะมิโนมาใช้เพิ่มมากขึ้น โดยรวมถือเป็นการเพิ่มเมตาบอลิสซึมของโปรตีนในร่างกาย 
    2.2 ผลต่อไขมัน พบว่าโกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์เพิ่มการใช้ไขมัน กระตุ้นการสลายตัวของ Triglyceride และ ช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในเซลล์ไขมันชนิด Adipocyte 
    2.3 ผลต่อคาร์โบไฮเดรต พบว่าโกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฮอร์โมนอินซูลิน ตัวของมันเองยับยั้งฤทธิ์ของอินซูลินที่เนื้อเยื่อปลายทาง และยังกระตุ้นให้ตับสร้างกลูโคสออกมามากขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าเมื่อฉีดโกรทฮอร์โมนเข้าไปในร่างกาย จะทำให้การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มมากขึ้น และระดับอินซูลินจะเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • ก่อนอื่นผมอยากจะให้เข้าใจการเจริญเติบโตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงโตเต็มที่ว่ามีการพัฒนาของร่างกายอย่างไรบ้าง และมาตรฐานความสูงของคนไทยในวัยต่าง ๆ มีเกณฑ์มาตรฐานและการเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นอย่างไร 
    - การเจริญเติบโตในวัยเด็ก ในขวบปีแรก เด็กจะเจริญเติบโตมากที่สุด ในช่วง 4 เดือนแรก ความเพิ่มขึ้น 3 ซม./เดือน หลังอายุ 4 เดือน ถึง 12 เดือน ความยาวเพิ่มขึ้น1.5 ซม./เดือน อายุ 1 – 2 ปี เด็กจะมีความยาวเฉลี่ย 1 ซม./เดือน หลังอายุ 2 ปี จนถึงอายุ 10 ปี อัตราการเจริญเติบโตจะคงที่ ความสูงเพิ่มขึ้น 5 – 6 ซม./ปี 
    - การเจริญเติบโตในวัยรุ่น เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นการเจริญเติบโตในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกันชัดเจน เนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศ 
    - เด็กหญิงไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยสาว อายุ 10 – 10.5 ปี เริ่มมี growth spurt (โตอย่างรวดเร็ว) อายุ 11 ปี ความสูงเพิ่มขึ้น 7 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 14 – 15 ปี ความสูงลดลงเหลือเพียง 0.5 – 1 ซม./ปี ความสูงเฉลี่ยของผู้หญิงไทยขณะมีประจำเดือนครั้งแรก คือ 148.8 ซม. และสูงเต็มที่วัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 6.2 ซม. 
    - ในเพศชายเข้าสู่วัยรุ่นช้ากว่าเด็กผู้หญิง คือ อายุประมาณ 12 – 12.5 ปี เริ่มมีความสูงอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น 6 ซม./ปี อายุ 14 ปี เริ่มมีการเพิ่มความสูงมากที่สุด 8 ซม./ปี หลังจากนั้นความสูงช้าลง อายุ 17 – 18 ปี ความสูงของคนไทย โดยเฉลี่ย 169.6 ซม.
  • ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของคนเรา 
    1.กรรมพันธุ์ รูปร่างของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นตัวกำหนดโครงสร้างพื้นฐานของลูกหลาน หากพ่อแม่สูงหรือเตี้ย ลูกก็มีแนวโน้มที่จะมีรูปร่างแบบนั้น ความสูงของลูกสามารถกะคร่าวๆ ได้ ด้วยการนำความสูงของพ่อรวมกับของแม่ แล้วหารสอง (บวก-ลบ ได้ 10 เซนติเมตร) 
    2.ภาวะโภชนาการ อาหารมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ซึ่งกระดูกจะมีการพอกพูนให้มีความแข็งแกร่งได้ ต่างจากในช่วงวัยอื่น เช่น วัยหนุ่มสาว ซึ่งกระดูกจะไม่สามารถพอกพูนให้แข็งแรงได้มากกว่าเดิมอีก วัยเด็กตอนปลายต่อวัยรุ่นตอนต้นจะเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่อย่างพอเพียง สารอาหารที่สำคัญในการทำให้กระดูกแข็งแรง ก็คือแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม แต่บางคนดื่มนมแล้วท้องเสีย ก็ให้เลี่ยงไปรับประทานปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งก้าง กุ้งแห้ง ผักที่มีสีเขียวเข้มๆ ถั่วเหลือง และงา เป็นต้น 
    3.ฮอร์โมน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโต คือ 
    - Growth hormone จากการที่ฮอร์โมนตัวนี้ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าวข้างต้น คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้จะมี รูปร่างเตี้ยเล็กกว่าปกติ 
    ซึ่งจะทราบได้ ก็ต่อเมื่อมีการเจาะระดับฮอร์โมนตัวนี้ว่าต่ำกว่าปกติจริงหรือไม่ คนที่ขาดฮอร์โมนตัวนี้ หากได้รับการฉีด growth hormone ตั้งแต่เด็ก จะทำให้สูงขึ้นได้ แต่ในคนที่มีระดับฮอร์โมนตัวนี้ ปกติ ถึงแม้จะฉีด growth hormone ก็ไม่ได้ทำให้สูงขึ้นอีกแต่อย่างใด 
    - Thyroid hormone ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสร้างจากต่อมไทรอยด์ ก็มีผลต่อสมองและความสูงอย่างมาก ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้ มักจะมีพัฒนาการช้าและเตี้ย 
    - Sex hormone ฮอร์โมนเพศก็สำคัญเช่นกัน หากเด็กเป็นสาวเป็นหนุ่มเร็ว จะส่งผลให้กระดูกปิดเร็วและค่อยๆ หยุดเจริญเติบโตในที่สุด พบว่าเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สูง ส่วนมากเด็กหญิงที่มีประจำเดือนแล้ว 3 ปี และเด็กชายที่เสียงแตกมาแล้ว 3 ปี มักจะหยุดโตและหมดโอกาสที่จะสูงได้อีก นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนบางชนิดก็อาจทำให้เด็กเตี้ยได้ ได้แก่ การมีฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตมากเกินไป เด็กจะมีรูปร่างอ้วนเตี้ย 
    4. อาหารเสริมกลุ่ม Amino acid : พบว่าอาหารเสริมบางตัว สามารถที่จะเพิ่มระดับ GH ได้ แต่ควรจะทานช่วงที่ท้องว่าง หรือช่วงเช้า และ ก่อนนอน เพราะจะเพิ่มการออกฤทธิ์ได้ดีกว่า 
    4.1 Arginine : ขนาด 7-12 กรัมต่อวัน 
    4.2 Ornithine: ขนาด .5-8 กรัมต่อวัน 
    4.3 Lysine ขนาด 1-3 กรัมต่อวัน พบว่า อาหารเสริมในข้อ 3.1-3.3 มักจะเพิ่มระดับ GH ได้คนหนุ่มสาว อายุระหว่าง 20-35 ปี และพบว่าหลายยี่ห้อ ได้นำ กรดอะมิโนทั้ง 3 ตัว จะผสมกันเพื่อให้ทานง่าย บางคนเรียกว่า Tri-amino Acids ดู
    4.4 Glycine ขนาด 5-7 กรัมต่อวัน 
    4.5 L-tryptophan :ขนาด 5-10 กรัมต่อวัน 
    4.6 L-glutamine: ขนาด 2 กรัมต่อวัน จัดเป็นกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มระดับ GH ได้ทุกกลุ่มอายุ แม้แต่คนสูงอายุ ( 32-64 ปี) ตัวอย่างอาหารเสริมชนิดนี้ได้ที่นี่https://www.clinicneo.co.th/2007/main.php?module=prodetail&pid=103 
    5.การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่ง growth hormone ได้เหมือนกัน และยังกระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างเนื้อกระดูกดึงแคลเซียมจากเลือดมาสร้างกระดูก และสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกด้วย นอกจากนี้การได้รับแสงแดดอย่างพอเพียงในตอนเช้าหรือเย็น จะช่วยให้มีการสร้างวิตามินดีในร่างกาย เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้ คนที่เอาแต่นั่งๆ นอนๆ พัฒนาการของกระดูกจะช้ากว่าคนที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ 
    6.การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้สนิทและนานพอ จะทำให้ร่างกายหลั่ง growth hormone ออกมาได้อย่างเต็มที่ และพบว่าควรนอนก่อน 5 ทุ่ม เพราะจะเป็นช่วงที่ร่างกายจะหลั่ง growth hormone ออกมาได้สูงสุด การนอนดึกมีผลทำให้ hormone หลั่งออกมาน้อย และมีผลต่อความสูงได้ ในอนาคต 
    7.สุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพไม่ให้เจ็บป่วย จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยบ่อยๆ จะทำให้การเติบโตหยุดชะงัก การใช้ยาบางชนิดก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นตัวบั่นทอนการเจริญเติบโตได้เช่นกัน
  • ดังนั้น หลายคนมาที่นึกอยากสูงขึ้น เมื่ออายุเลยวัยรุ่นไปแล้ว จึงไม่สามารถจะทำได้ เพราะกระดูกได้ปิดไปแล้ว การที่จะฉีดกระตุ้น Growth hormone ในขณะที่ระดับฮอร์โมนตัวนี้ในร่างกายปกติ จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะมีผลกระทบต่อฮอร์โมนตัวอื่นๆ ในร่างกายให้ผิดปกติได้ และก็จะมีผลต่อระบบความดันโลหิตและหัวใจ ดังนั้น คนที่ยังอยู่ในวัยที่สร้างความสูงได้ ควรใส่ใจกับการสร้างความสูงและความแข็งแรงของกระดูกเสียตั้งแต่วัยเด็ก ดังปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก่อนจะสายเกินไป 
    เรียบเรียงและค้นคว้าโดย นพ.จรัสพล รินทระ…………..21 January 2009

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=10&sdata=&col_id=339

อัพเดทล่าสุด