การแก้ไขเหงือกดำ ด้วยเลเซอร์


2,267 ผู้ชม

รงควัตถุเมลานิน( Melanin pigments) นี้ถูกสร้างจากเซลล์เมลาโนไซต์ (melanocytes) ที่อยู่ในผิวหนังชั้น Stratum basale


  • ปัจจุบันนี้ เลเซอร์นอกจากจะนำมารักษาปัญหาด้านผิวพรรณและความสวยงามแล้ว ในแวดวงของทันตกรรมก็ได้การศึกษา โดยได้นำ�
��ลเซอร์มารักษาเหงือกที่มีการติดสีเข้มของรงควัตถุเมลานิน(Melanin pigments) ซึ่งนับว่า เป็นปัญหาด้านความสวยงามอีกปัญหาหนึ่งที่พบได้ในงานทันตกรรมด้วย
  • รงควัตถุเมลานิน( Melanin pigments) นี้ถูกสร้างจากเซลล์เมลาโนไซต์ (melanocytes) ที่อยู่ในผิวหนังชั้น Stratum basale ทำให้มองเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำในบริเวณเหงือก ซึ่งสาเหตุอาจมาจากกรรมพันธุ์ การกระตุ้นด้วยสารระคายเคือง เช่น บุหรี่ การแพ้ยาสีฟัน หรือการตอบสนองหลังการอักเสบของเหงือก (Post-inflammatory hyperpigmentation)
  • งานทันตกรรมเพื่อความงาม ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร ได้มีการทำการศึกษา โดยการนำเลเซอร์ชนิด UltraPulse CO2(Coherent Inc,Palo Alto,CA) มาใช้ในการแก้ปัญหาเหงือกดำ โดยมีหลักการในการแก้ไข โดยใช้ความร้อนจากเลเซอร์ชนิดนี้มาทำให้เกิดการระเหย ( vaporization ) ของเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเหงือก และสามารถควบคุมพลังงานและบริเวณที่ต้องการแก้ไขได้อย่างแม่นยำโดยมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากเลเซอร์น้อยมาก นอกจากนี้หลังทำการแก้ไข การสมานแผลจากผลของเลเซอร์ ก็ใช้เวลาไม่นานก็สามารถทำให้เหงือกกลับมาสภาพปกติได้
  • เทคนิคของการแก้ไขเหงือกดำนี้ ก็โดยได้มีการปรับตั้งเครื่องให้มีพลังงานประมาณ 200 มิลลิจูลต่อ 1 ครั้ง( pulse ) และมีระดับ พลังงานโดยเฉลี่ย 5 วัตต์ ในขบวนการนี้ใช้ handpiece ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตรเป็นตัวปล่อยลำแสงเลเซอร์ โดยการทำให้เกิดการระเหยของเนื้อเยื่อนี้จะจำกัดความลึกอยู่เพียงที่ ผิวหนังชั้น superficial papillary และทำการยิงเลเซอร์ที่บริเวณระหว่างฟันกรามน้อยซี่ที่ 2 ทั้งในขากรรไกรบนและล่าง หลังการทำไม่พบมีเลือดออก และการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ และอีก 2 สัปดาห์ถัดมา พบว่า เหงือกยึดที่เคยติดสีเข้มของรงควัตถุเมลานิน กลายเป็นสีชมพูเรียบ และแน่นแข็ง ผู้ป่วยมีความพึงพอใจกับผลการรักษาเป็นอย่างมาก
  • ผลการศึกษาในครั้งนี้ นับว่าเป็นวิทยาการที่ก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของวงการทันตกรรม นอกจากได้เคยมีการใช้เลเซอร์ฟอกสีฟันให้ขาวแล้ว ซึ่งนิยมทำในเมืองนอก ( ในเมืองไทยยังไม่นำเข้ามา) เหงือกที่เคยมีปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ด้วยเลเซอร์เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันเท่าที่ทราบ มีให้บริการแล้วที่คณะทันตแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ
  • ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง...................คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 
    เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ ...ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด...6 August,2005
 

ที่มา : https://www.clinicneo.co.th/detailcolumn.php?grp=9&sdata=&col_id=206

อัพเดทล่าสุด