ไข้เลือดออกอีโบลา


3,546 ผู้ชม


ไข้เลือดออกอีโบลา ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก นิยามโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกอีโบลา

 ไข้เลือดออกอีโบลา
<

ปี พ.ศ.2519 มีการระบาด 2 ครั้งในทางตอนใต้ของประเทศซูดาน และทางตอนเหนือของประเทศซาร์อี ไวรัสที่เป็นสาเหตุของการระบาดพบว่า มีรูปร่างคล้ายกับ Marburg virus แต่มีความแตกต่างกันที่แอนติเจน จากการระบาดครั้งนี้พบว่า อัตราการป่วยตายในประเทศซาร์อีสูงกว่าประเทศซูดานมาก เมื่อศึกษาพบว่า ไวรัสที่พบในทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกันทางโครงสร้าง Polypeptide จึงตั้งชื่อว่า Ebola-Z และ Ebola-S ผู้ป่วยที่พบในประเทศซูดานรายแรกเป็นคนงานโรงงานฝ้าย และผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรก ๆ สำหรับประเทศซาอีร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าติดเชื้อทางเข็มฉีดยาในโรงพยาบาล และการสัมผัสผู้ป่วยรายแรก ๆ

ปี พ.ศ.2522 มีการระบาดทางตอนใต้ของประเทศซูดาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ใกล้ชิด ดูแลผู้ป่วย และสัมผัสกับเลือดหรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วย

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

Ebola virus เป็นสาเหตุของ Ebola Hemorrhagic Fever (EHF) ซึ่งมี 2 Strains คือ Ebola-S และ Ebola-Z ไวรัสนี้อยู่ใน Family Filovaridae

อาการและอาการแสดง

ระยะฟักตัวประมาณ 1-21 วัน

อาการแสดงคล้ายกับ Marburg virus คือ เริ่มมีอาการอย่างทันทีทันใดด้วยไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และเบื่ออาหาร ตามด้วยปวดท้อง เจ็บคอ คลื่นไส้ ไอ ปวดข้อ และมักมีอาการท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกใส ในรายที่มีอาการรุนแรงอุจจาระเป็นสีดำคล้ายน้ำมันดินหรือเป็นเลือด

จากการตรวจร่างกายจะพบว่า ผู้ป่วยมีลักษณะขาดน้ำ ซึม หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว เยื่อบุลำคอและเยื่อบุตาแดง บางครั้งอาจพบมีหนองหรือแผลบริเวณเยื่อบุลำคอ การการตรวจพบเสียง rales ที่บริเวณชายปอดทั้ง 2 ข้าง กดเจ็บบริเวณท้อง ตัวเหลือง หรือบวม อาจพบได้ในบางราย การติดเชื้อ Ebora virus มักไม่พบว่ามีตับโต หรือต่อมน้ำเหลืองโต แต่การติดเชื้อ Marburg virus อาจพบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย ผู้ป่วยพบว่ามีผื่นแดง (Maculopapular rash) แต่ไม่มีอาการคัน ขึ้นที่บริเวณลำตัว และแขนขา รวมไปถึงบริเวณถุงอัณฑะ หรือ Labia majora ด้วย ในประมาณวันที่ 5-7 หลังเริ่มแสดงอาการ ซึ่งต่อมาจะมีผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกได้ (desquamate) ภาวะเลือดออกพบได้ค่อนข้างบ่อย และจะเป็นในช่วงที่โรคมีอาการรุนแรงที่สุด การมีภาวะเลือดออกที่รุนแรงบ่งบอกถึงอวัยวะที่พบว่ามีเลือดออกบ่อย คือ ระบบทางเดินอาหาร รองลงมาคือการมีจุดเลือดออกตามเยื่อบุต่าง ๆ หรือบริเวณที่เจาะเลือด การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว ชาตามร่างกาย และมีคอแข็ง หลังแข็ง (Nuchal rigidity) บ่งบอกถึงการบกวนระบบประสาทส่วนกลาง และมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี

ในรายที่ไม่เสียชีวิต อาการไข้มักมีอยู่นานประมาณ 5-9 วัน ในรายที่เสียชีวิต อาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นเร็ว และมักจะเสียชีวิตในช่วงวันที่ 6-16 ด้วยอาการของ intractable shock โรคนี้มีอัตราตายค่อนข้างสูงคือ 90% ในการติดเชื้อ Ebo-Z 50-60% ในการติดเชื้อ Ebo-S และ 30% ในการติดเชื้อ Marburg virus อาจพบมีอาการลูกอัณฑะอักเสบร่วมด้วยได้ทั้งในช่วงที่กำลังป่วย และหลังจากที่หายแล้ว ระยะฟื้นตัว (Convalescence) ของโรคกินเวลานานเป็นสัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายมีอาการ myelitis, recurrent hepatitis, psychosis หรือ uveitis ในช่วงที่หายแล้ว การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูงขึ้น และจากการระบาดที่ประเทศซาร์อี พบว่าเด็กที่มารดาติดเชื้อ Ebola virus เสียชีวิตทุกราย

จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบมี leukopenia shift to the left ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก อาจพบว่าเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000/ml และตามมาด้วยมีการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าเกิดจาก Secondary bacterial infection รวมทั้งเกล็ดเลือดต่ำ (50,000-100,000/ml) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาวะไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัส PT และ PTT จะ prolong ระดับ fibrinogen ในพลาสม่า พบได้ทั้งต่ำกว่าปกติ ปกติ หรือสูงกว่าปกติ serum transaminase สูงกว่าปกติ เช่น อาจอยู่ในช่วงเกินกว่า 100 หรือหลายพันธ์ unit/ml ภาวะตัวเหลืองและ bilirubin สูงพบได้ค่อนข้างน้อย Creatine phosphokinase ปกติ Amylase สูง พบในผู้ป่วยบางรายซึ่งมีอาการตับอ่อนอักเสบ โปรตีนในปัสสาวะพบได้บ่อย

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยแยกโรคเหมือนกับโรคไข้เลือดออกอื่น ๆ ประวัติการเดิทางหรือได้รับการฉีดยาจากโรงพยาบาลในเขตที่มีโรคระบาดอยู่หรือ สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยมีความสำคัญมาก การสัมผัสกับลิงทั้งจากการปฏิบัติงานหรือจากการท่องเที่ยวมีความสำคัญในผู้ ที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ มักจะรุนแรงกว่าไข้เลือดออกอื่น ๆ มักมีอาการท้องเสียและมีผื่นแดง

การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการทำได้โดยการแยกเชื้อไวรัสจากเลือดของผู้ ป่วยในช่วงที่มีไข้ ลักษณะของเซลล์ที่ติดเชื้อสามารถเห็นได้จาก ultracentifuged serum หรือ infected vero cellsหรือตัวไวรัส โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อีเล็คตรอนด้วยการย้อม IFA สำหรับการแยกเชื้อไวรัส African Hemorrhagic Fever (Marburg virus & Evola virus) นิยมใช้ vero cells ในการเพาะเชื้อ สิ่งส่งตรวจต่าง ๆ เช่น Serum blood หรือ Liver tissue ที่ใช้ในการแยกเชื้อไวรัส ควรเก็บโดยการแช่แข็งใน dry ice หรืออย่างน้อยที่สุดควรแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำแข็ง และการตรวจยืนยันการวินิฉัยโดยการแยกเชื้อไวรัส ต้องทำในห้องปฏิบัติการที่มีการป้องกันการติดเชื้อเป็นอย่างดี

พยาธิวิทยาและการเกิดโรค

ในผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักพบมีเลือดออกอยู่ทั่วไปในอวัยวะหลายระบบ และมีเนื้อตาย(necrosis) เป็นหย่อม ๆ กระจายอยู่ทั่วไปโดยไม่มีลักษณะของการอักเสบ (inflammation) ในตับก็พบมีเนื้อตายเป็นหย่อม ๆ แต่ก็ไม่รุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต Renal tubular necrosis ก็พบได้บ่อย เนื้อตายในระบบต่อมน้ำเหลืองพบได้บ่อยและเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ การเกิดภาวะ DIC (disseminated intravascular coagulation) สามารถตรวจพบได้โดยตรงจากชิ้นเนื้อของตับ ไต ต่อมหมวกไต และม้าม โดยย้อมวิธี IFA หรืออาจเห็นได้โดยตรงจาก EM

ลักษณะของการก่อพยาธิสภาพจากการติดเชื้อ virus นี้ เหมือนกันทั้งในคนและในลิงจากลักษณะอาการทางคลินิกและการตรวจทางเคมีของ เลือด พบว่า ความสามารถในการทำงานของตับลดลงแต่ไม่ถึงกับมีลักษณะของตับวาย ไตถูกทำลายโดยมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด และมีการกระตุ้นให้เกิด DIC ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะเลือดออกจากการติดเชื้อ Filovirus แม้ว่าเหตุที่ชักนำให้เกิด DIC จะยังไม่ทราบก็ตาม

การรักษา

การให้การรักษาแบบประคับประคองมีความสำคัญที่สุดในการรักษาโรค โดยการให้สารน้ำประเภท coliod เช่น serum albumin, fresh frozen plasma เพื่อรักษาระดับ effective blood volume แต่ต้องระวังภาวะเกินการรักษาความสมดุลย์ของ electrolyte โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Potassium ซึ่งสูญเสียไปกับอาการท้องเสียและอาเจียน ในผู้ป่วยบางรายที่มีไตวาย มีความจำเป็นในการทำ Dialysis ต้องระวังภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งอาจดูได้จากอาการทางคลินิกและการมีเม็ดเลือดขาวเพิ่มเขึ้น

การป้องกันและควบคุมโรค

การติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบจากการระบาดในอัฟริกา เกิดจากการใช้เข็มหรือ syringe ที่ไม่สะอาด Syringe ที่เป็นพลาสติกไม่ควรนำมาใช้ซ้ำแม้ว่าจะผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแล้วก็ ตาม เมื่อใดก็ตามที่พบผู้ป่วยต้องระวังการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะจากการสัมผัสกับเลือดหรือสิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วย และควรป้องกันการแพร่กระจายทางการหายใจด้วยจากประสพการณ์ของการระบาดในอัฟ ริกา พบว่า เทคนิคการทำให้ปลอดเชื้อตามปกติ และการให้การพยาบาลด้วยความระมัดระวัง และมีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น ถุงมือ ผ้าปิดปาก เสื้อคลุมสามารถป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาลได้

ไข้เลือดออกอีโบลามี ความร้ายแรงถึงเสียชีวิตเนื่องจากยังไม่มีวัคซีน ที่สามารถใช้ป้องกันและรักษาได้ นอกจากถูกจัดด้านการระมัดระวังไว้ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพไว้ที่ระดับ 4 แล้ว อีโบลา ยังถูกจัดเป็นตัวการที่อาจใช้ "ก่อการร้ายทางชีวภาพประเภท ก" (Category A bioterrorism) อีกด้วยโดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ขององค์การอนามัยโรคด้วย ไวรัสอีโบลามีศักยภาพที่จะนำมาใช้พัฒนาเป็นอาวุธได้ในสงครามชีวภาพทั้งโดย ฝ่ายสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ ประสิทธิภาพของอีโบลาได้แก่ความร้ายแรงที่สูงมากและความรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้กับหมู่บ้านเล็กๆ หรือโรงพยาบาลซึ่งเมื่อฆ่าประชากรทั้งหมดก็จะเผาทำลายให้หยุดก่อนระบาดเข้า ไปในชุมชนที่ใหญ่

ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก


เป็นการติดเชื้อไวรัส มีเชื้ออยู่สองชนิดใหญ่ๆที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก คือเชื้อ เดงกี่ (dengue) และชิกุนกุนย่า(chigunkunya) มากกว่า 90% เกิดจากเชื้อตัวแรก เชื้อเดนกี่มี 4 พันธ์ โดยทั่วไป ในการรับเชื้อครั้งแรก มักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงมากนัก ซึ่งสามารถเกิดในเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การติดเชื้อครั้งต่อไปจะรุนแรงขึ้น และภูมิคุ้มกันที่มีจะไม่ช่วยป้องกันไม่ให้เราเป็น แต่กลับทำให้การติดเชื้อครั้งหลังรุนแรงขึ้น หมายความว่าเป็นแล้ว เป็นอีกได้



พาหะ ยุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรค ยุงนี้จะกัดคนที่เป็นโรค และไปกัดคนอื่น ๆ ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร ยุงนี้ชอบแพร่พันธ์ในน้ำนิ่ง หลุม โอ่งน้ำขัง และจะออกหากินในเวลากลางวัน



อาการ ในการติด เชื้อครั้งแรก มักจะมีอาการไข้สูงลอย เหมือนไข้หวัดใหญ่ และจะไม่ค่อยมีอาการเลือดออกหรือช๊อคต่อมา ถ้าได้รับเชื้อซ้ำ ซึ่งอาจเป็นพันธุ์เดียวกัน หรือคนละพันธ์ ก็จะมีการกระตุ้นเกิดปฏิกิริยา จำไว้ว่า คนเป็นไข้เลือดออก แย่จากภูมิคุ้มกันของเขาเอง ที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ก่อให้เกิดอาการเลือดออก การบวมจากสารน้ำไหลออกจากหลอดเลือดที่โดนทำลาย อาจมีน้ำในปอด ตับ ลำไส้ กระเพาะ และช๊อคได้ โดยทั่วไป การติดเชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง มักตามหลังการติดเชื้อครั้งแรก ไม่เกิน 5 ปี นั่นคือ เราพบว่า มันเป็นโรคของเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 10 ขวบ แต่ปัจจุบัน พบว่า มีการกลายพันธ์ของไข้เลือดออก ทำให้เป็นรุนแรงในผู้ใหญ่ได้


 


อาการของการติดเชื้อซ้ำ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ



  • ระยะไข้สูง จะมีไข้สูงลอย ไม่ยอมลง หน้าแดง ปวดหัว เมื่อย ดื่มน้ำบ่อย มักมีอาเจียน เบื่ออาหาร มักไม่ค่อยมีอาการหวัด คัดจมูก ไอ หรือเจ็บคอ แต่บางคนก็มี อาจมีท้องเสีย หรือท้องผูกราว ๆ 3 วันจะมีผื่นขึ้นตามตัว จุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามหน้า ซอกรักแร้ แขน ขา อาจมีปวดท้องในช่วงนี้ ถ้าทำการทดสอบที่เรียกว่า ทูร์นิเคต์(Tourniquet) โดยรัดแขนด้วยเชือกหรือเครื่องวัดความดันประมาณ 5 นาที จะพบจุดเลือดออกมากกว่า 20 จุด ในวงกลมที่วาดไว้ที่ท้องแขนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ถ้าไม่เป็นหนัก จะดีขึ้นใน 3-7 วันและเข้าสู่ระยะหาย
  • ระยะช๊อคและเลือดออก มักจะเกิดในวันที่ 3-7 ในระยะนี้ เด็กไข้ลง แต่แทนที่อาการจะดี พบว่า อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม กระสับกระส่าย ตัวเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะเข้ม ออกน้อย ชีพจรเต้นเบาเร็ว ความดันต่ำ ถ้าไม่รีบรักษาจะช๊อคและเสียชีวิตได้ ภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น จ้ำตามผิวหนัง อาเจียน ถ่าย เลือดกำเดา ประจำเดือนเป็นเลือดมาก ระยะนี้จะกินเวลา 2-3 วันและจะเข้าสู่ระยะต่อไป
  • ระยะฟื้นตัว  อาการจะดีขึ้น อาการแรกที่บ่งว่าหายคือ จะเริ่มอยากกินอาหาร มีผื่นของการหาย  ที่เป็นแดงสลับขาวแผ่ตามแขนขา ตัว

อาการอันตราย


เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง  ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล


1.       ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง


2.       คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา


3.       ปวดท้องมาก 


4.       มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ


5.       กระสับกระส่าย หงุดหงิด


6.       พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ


7.       กระหายน้ำตลอดเวลา


8.       ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก


9.       ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลายๆ


10.    ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน


การรักษา ไม่มียา เฉพาะ รักษาตามอาการ พยายามให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้ามีความสงสัย ว่าไข้ยังสูง มีตัวแดง เกิดในหน้าฝน ต้องรีบนำไปเทสต์ทันที


 


การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกควรปฏิบัติดังต่อไปนี้



  1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดๆ  ลูบเบาๆบริเวณหน้า ลำตัว แขน และขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก  ซอกคอ รักแร้  แผ่นอก  แผ่นหลัง และขาหนีบ  ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที  แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่ไม่หนามาก หรือห่มผ้าบางๆ นอนพักผ่อน  ระหว่างการเช็ดตัวถ้าผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ด  แล้วให้ผู้ป่วยห่ม ผ้า พอหายหนาวสั่นจึงค่อยเช็ดต่อ
  3. ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซทตามอลเวลามีไข้สูง  ตัวร้อนจัด หรือปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัวมาก โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4  ชั่วโมง  ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่นโดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น 
    หมายเหตุ ใน ระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลดลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้  การเช็ดตัวลดไข้ จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
  5. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS)  หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย   ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน   ไม่สามารถดื่มน้ำได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว  อาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศกรีม ข้าวต้ม เป็นต้น ควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสีแดง  ดำ  หรือสีน้ำตาล
  6. มาพบแพทย์ตามนัด  เพื่อตรวจเลือด

การป้องกัน


1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด



  • การนอน  ควรนอนในมุ้งหรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย
  • การเล่น  ไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน
  • ห้องเรียนหรือห้องทำงาน  ควรมีแสงสว่างส่องได้ ทั่วถึง  มีลมพัดผ่านได้สะดวก  และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง  เช่น  แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน พลูด่างควรปลูกในดิน

2. กำจัดยุง



  • ด้วยการพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภายในบ้าน  ตู้เสื้อผ้า  และบริเวณรอบๆบ้านทุกสัปดาห์
  • กำจัดลูกน้ำ ภาชนะใส่น้ำภายในบ้านปิดฝาให้มิดชิด ถ้าไม่สามารถปิดได้  ให้ใส่ทรายอะเบท  หรือใส่ปลาหางนกยูง จานรองขาตู้กับข้าวใส่เกลือ น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก จานรองกระถางต้นไม้
  • ใส่ทรายลงไปเพื่อดูดซับน้ำส่วนเกิน

3. วัสดุที่เหลือใช้รอบๆบ้าน  เช่น  กระป๋อง  กะลา  ยางรถยนต์เก่า ฯลฯ  ให้เผาหรือทำลายเสีย


ข้อสำคัญ
ถ้าผู้ป่วยอ่อนเพลีย ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย
แสดงว่าเข้าสู่ระยะช็อก  (ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สติดี พูดจารู้เรื่อง)
เป็นระยะอันตรายของโรค ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
ระหว่างการเดินทางพยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผล

นิยามโรคไข้เลือดออก

สาเหตุ
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่จะ เพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
อาการ
ระยะไข้สูง
มีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 °c ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourniquet test ให้ผลบวก
ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)
ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง
ระยะฟื้น
อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า ป ขี้กากขึ้นมือลายมือ
การวินิจฉัย
ส่วน ใหญ่มักวินิจฉัยจากอาการ อาการที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือการมีไข้สูงโดยไม่ปรากฏตำแหน่งที่ทำให้เกิดไข้ ชัดเจน มีผื่นขึ้น มีเกล็ดเลือดต่ำ และเม็ดเลือดขาวต่ำ ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพื่อแยกจากโรคตับระยะสุดท้ายเนื่องจากมีลักษณะ คล้ายกัน
นิยามของโรคไข้เลือดออกโดยองค์การอนามัยโลกนั้นใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 โดยต้องมีลักษณะครบทั้ง 4 ประการ
มีไข้ มีปัญหาทางกระเพาะปัสสาวะ ปวดศีรษะเรื้อรัง มึนงงอย่างมาก และเบื่ออาหาร
มี แนวโน้มจะมีเลือดออก (ทูนิเกต์เทสท์ให้ผลบวก มีจ้ำขึ้นเอง มีเลือดออกทางเยื่อบุ เหงือก แผลเจาะ ฯลฯ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด)
เกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 100,000 ตัวต่อหนึ่งไมโครลิตร หรือประมาณน้อยกว่า 3 ตัว ต่อหนึ่งมุมมองกล้องกำลังขยายสูง)
ปรากฏ หลักฐานของการเสียพลาสมาจากหลอดเลือด (ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงสูงกว่าที่ประมาณไว้มากกว่าร้อยละ 20 หรือลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 ปรากฏมีของเหลวในเยื่อหุ้มปอด มีของเหลวในช่องท้อง หรือมีโปรตีนต่ำในกระแสเลือด)
มีภาวะสมองอักเสบ
กลุ่มอาการไข้เลือดออกระยะช็อค นิยามโดยลักษณะของไข้เลือดออกข้างต้น เพิ่มอีก 3 ข้อ
ชีพจรเบา เร็ว
ผลต่างความดันแคบ (น้อยกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท)
ผิวหนังเย็น ชื้น และดูไม่สบายตัว
การตรวจทางน้ำเหลืองและการใช้ PCR สามารถใช้ยืนยันการวินิจฉัยได้หากมีลักษณะอาการที่
การรักษา
ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส
ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
ถ้า อาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ
วิธีป้องกัน
พยายามไม่ให้ยุงกัด
ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่ม

Link
https://www.vcharkarn.com
https://203.157.115.14/web_com/other_view.php?o_id=9
https://guru.google.co.th

อัพเดทล่าสุด