ผลงานวิจัยโรคไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกในเด็กเล็ก อาการของโรคไข้เลือดออก
ผลงานวิจัยโรคไข้เลือดออก
งานวิจัยโรคไข้เลือดออก
อาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออก
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ (dengue fever หรือ DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อกและถึงเสียชีวิตได้ โรคไข้เลือดออกมีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังดังนี้
1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
3. มีตับโต กดเจ็บ
4. มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลว/ภาวะช็อก
อาการไข้ผู้ ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40-41 องศาเซลเซียส ซึ่งบางรายอาจมีชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน หรือในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) และตรวจดูคอก็อาจพบมี injected pharynx ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากโรคหัดในระยะแรกและโรคระบบทางเดินหายใจได้ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา ในระยะไข้นี้ อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดทั่วๆไปและอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 15 อาจมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน และบางรายไข้จะเป็นแบบ biphasic ได้ อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้
อาการเลือดออกที่ พบบ่อยที่สุดคือที่ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าเส้นเลือดเปราะ แตกง่าย โดยการทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) อาการเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อกในรายที่มีภาวะช็อก อยู่นาน
ตับโต ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ตับจะนุ่มและกดเจ็บ ภาวะช็อกประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้องมาก เกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบา เร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงโดยมี pulse pressure แคบเท่ากับหรือน้อยกว่า 20 มม.ปรอท (ปกติ 30-40 มม.ปรอท) ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีความรู้สติ พูดรู้เรื่อง อาจบ่นกระหายน้ำ บางรายอาจมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดเป็นภาวะทางศัลยกรรม ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง รอบปากเขียว ผิวสีม่วงๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ (profound shock) ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงทีและถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ ระยะ profound shock ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อยร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของ ชีพจรและความดันเลือด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากการรั่วของพลาสมาออกไปแต่ไม่มากจนทำให้เกิดภาวะช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออก การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรคและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมี nursing care ที่ดีตลอดระยะเวลาวิกฤตประมาณ 24-48 ชั่วโมงที่มีการรั่วของพลาสมา
การดูแลรักษาผู้ป่วย มีหลักปฏิบัติดังนี้
1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีการชักได้ถ้าไข้สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญอาจทำให้เกิด Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น (เพื่อให้ไข้ที่สูงมากลดลงเหลือน้อยกว่า 39 องศาเซลเซียส) การใช้ยาลดไข้มากไปจะมีภาวะเป็นพิษต่อตับได้ ควรจะใช้การเช็ดตัวช่วยลดไข้ด้วย
2. ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือ สารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ
3. จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลงประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วยเป็นต้นไป ทั้งนี้แล้วแต่ระยะเวลาที่เป็นไข้ ถ้าไข้ 7 วันก็อาจช็อกวันที่ 8 ได้ ควรแนะนำให้พ่อแม่ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอาการเบื่ออาหารมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเลย หรือมีอาการถ่ายปัสสาวะน้อยลง มีอาการปวดท้องอย่างกะทันหัน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ควรแนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้
4. เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้ แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกร็ดเลือดและ hematocrit และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกร็ดเลือดเริ่มลดลงและ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
5. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการแสดงอาการช็อก ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา
สธ.วิจัยพบยีนยุงลายดื้อยา ยุงปากน้ำโพครองแชมป์ยอดดื้อ ร้อยละ 73.3 ทำยาฆ่ายุงใช้ไม่ได้ผล เสี่ยงโรคไข้เลือดออกระบาดหนัก อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยเทียบกับปีก่อน พบผู้ป่วยแล้วมากกว่า 2 เท่า ขณะที่ แพทย์ศิริราชเผยแมลงวันเพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน เตือนระวังโรคระบาดหลังสงครามกลับมาระบาดใหม่ ทั้งไข้เลือดออกและอหิวาต์ พบวัณโรคดื้อยาภาคอีสานสูงถึงร้อยละ 3
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน มีการประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 16 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี นางอุรุญากร จันทร์แสง และคณะจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออก ด้านความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลง พบว่า จากการเก็บตัวอย่างยุงลายจากจังหวัดที่มีการรายงานการระบาดของโรคไข้เลือด ออก ได้แก่ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี กระบี่ สุราษฎร์ธานี ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และนครสวรรค์
จากการตรวจสอบพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงระดับยีนที่ทำให้ยุงลายเกิดความต้านทานต่อสารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ ด้วยวิธี PCR-RFLP พบ ว่า ยุงลายจาก จ.นนทบุรี มีอัตราการดื้อสารเคมี 27% ยุงลายฉะเชิงเทรามีอัตราการดื้อ 58.5% ชลบุรี 59% จันทบุรี 30% ราชบุรี 60% กระบี่ 26% สุราษฎร์ธานี 36% ตาก 30% สุโขทัย 16.7% กำแพงเพชร 50% และนครสวรรค์ 73.3%
ผลการศึกษายังพบด้วยว่า การตรวจด้วยวิธีดังกล่าวยังพบกลุ่มของยุงลายรุ่นต่อๆ ไปที่เป็นยุงลายดื้อยาได้ เนื่องจากพบยีนดื้อแฝงอยู่ในยุงลายกลุ่มนั้น ผลการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกใช้สารเคมีได้ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป
"ยุงลายที่ดื้อยาสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ยุงในรุ่นลูกดื้อยาได้ ทางแก้ควรจะใช้จุลินทรีย์แก้ไขหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง" นางอุรุญากร กล่าว
ดร.สุธียกสร้าง โครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ยุงพัฒนาตัวเองจนสามารถต้านทานยาฆ่าแมลงได้เหมือนคนที่ดื้อยา เรียกว่าขณะนี้วิธีการฉีดสเปรย์พ่นยุงใช้ไม่ได้ผลแล้ว จะต้องหาแนวทางใหม่ในการกำจัดยุง อย่างไรก็ตามการปรับตัวของพันธุกรรมยุงเป็นไปในทิศทางการต้านทานยาฆ่าแมลง เท่านั้น แต่ไม่ได้ปรับตัวในการนำเชื้อโรคที่รุนแรงขึ้น
"ยุงไม่ได้ปรับพันธุกรรมในการนำเชื้อโรคที่รุนแรงขึ้น แต่เป็นพาหะของโรคเช่นเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปคือยาฆ่าแมลงไม่สามารถปราบยุงได้ หรือหากปราบได้ผลก็แค่ชั่วคราวเท่านั้น จึงจะต้องหาวิธีการกำจัดแบบอื่น" ดร.สุธี กล่าว
ทั้งนี้ การดื้อยาของยุงลายอาจทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น ดร.สุธี ยอมรับว่า เป็นไปได้ว่าจำนวนยุงที่เพิ่มขึ้น เพราะยาฆ่าแมลงปราบไม่ได้จะส่งผลให้มีพาหะนำโรคเพิ่มขึ้น และโรคไข้เลือดออกอาจจะเพิ่มขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของเชื้อโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งจำนวนยุง โลกร้อน และพฤติกรรมของมนุษย์เอง
ด้าน นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นองค์ความรู้ที่มีมานานเกี่ยวกับการดื้อต่อสารเคมียา ฆ่าแมลงของยุง เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันป้องกัน โดยประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรื่องให้ความรู้เกี่ยวกับการพ่นสาร เคมียาฆ่าแมลงในพื้นที่ หากมีการใช้สารเคมีตัวเดิมพ่นติดต่อกันเป็นเวลานาน 4-10 ปี จะทำให้ยุงเหล่านี้ดื้อต่อสารเคมีได้ ที่ผ่านมาทางกรมได้ให้ความรู้ว่า จะต้องเปลี่ยนสารเคมีในการฉีดพ่น ไม่ว่าจะเป็นยุงหรือแมลงชนิดอื่นๆ ทุก 2 ปี เพื่อไม่ให้แมลงทนต่อสารเคมีเหล่านั้น โดยได้ออกเป็นแนวทางปฏิบัติ ส่วนพื้นที่ใดจะทำตามหรือไม่นั้น กรมไม่สามารถเข้าไปบังคับได้
นพ.ธวัช กล่าวต่อว่า เดิมทีก่อนที่จะมีการกระจายอำนาจโอนภารกิจกระทรวงให้แก่ท้องถิ่น กรมจะเป็นหน่วยงานลงไปดูแลในการควบคุมยุงและแมลง เพื่อป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ โดยเป็นผู้กำหนดสารเคมีที่ต้องฉีดพ่น และให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยฉีดพ่นให้ แต่เมื่อมี พ.ร.บ.การกระจายอำนาจแล้ว จึงส่งมอบให้แก่ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง หากท้องถิ่นใดมีความเข้าใจก็จะเปลี่ยนสารเคมีฉีดพ่นไม่ให้เกิดปัญหา แต่ในบางพื้นที่ที่มีการเลือกตั้งใหม่ มีการเปลี่ยนถ่ายผู้บริหาร และอาจไม่มีการสานต่อหรือไม่ก็ไม่ทราบ
"หากยุงดื้อต่อสารเคมีย่อมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากโรคไข้เลือดออกมียุงเป็นพาหะนำโรค หากสารเคมีที่ฉีดพ่นไม่สามารถทำลายยุงตัวแก่ที่วางไข่ได้แล้ว ก็จะทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการนำเสนอผลงานวิจัย กรมควบคุมโรคได้ประสานกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงวิธีการกำจัดยุงที่ถูกต้องแล้ว" นพ.ธวัชกล่าว
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2551 จนถึงขณะนี้พบผู้ป่วยเป็น 2 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2550 โดยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศทั้งสิ้น 21,080 ราย เสียชีวิต 28 ราย ในจำนวนนี้อยู่ใน กทม. 4 ราย ขณะที่ภาคกลางพบผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ สาเหตุการแพร่ระบาดในปีนี้ เนื่องจากเป็นช่วงครบวงจรการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งจะระบาด 1 ปี เว้น 2 ปี ขณะเดียวกันปีนี้ยังมีฝนตกลงมามากผิดปกติ ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้มีแหล่งเพาะโรคมากขึ้น ประกอบกับภาวะโลกร้อน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หนุนน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูง ก่อให้เกิดน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ ส่วนการดื้อต่อสารเคมียาฆ่าแมลงในยุงนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น สามารถชี้แจงให้หน่วยงานในพื้นที่แก้ปัญหาได้
ขณะที่ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นประโยชน์ต่อการกำจัดยุงลาย พาหะโรคไข้เลือดออกอย่างเหมาะสม เพราะรู้ว่าพื้นที่ใดยุงลายดื้อกลุ่มไพรีทรอยด์ จะได้เลือกใช้สารเคมีกลุ่มอื่นมาทดแทน อีกทั้งหากพบยุงดื้อยากำจัดแมลงหลายพื้นที่ มาตรการควบคุมโรคจะต้องพิจารณาอย่างเหมาะสม และเพิ่มการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การใช้สารเคมีกำจัดยุง เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถควบคุมโรคได้ทั้งหมด ต้องดำเนินการควบคู่กับการกำจัดยุงอื่นๆ ด้วย เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
นพ.บัวเรศ ศรีประทักษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกในนครสวรรค์ยังอยู่ในค่าเฉลี่ย ปกติของประเทศ บางปีก็ระบาดมากบางปีก็ระบาดน้อย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละปี ส่วนจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เสียชีวิตนั้นก็ประมาณร้อยละ 0.2 หากมีผู้ป่วยประมาณ 500 คน จะเสียชีวิต 1 คน ซึ่งตนยังไม่เคยทราบข้อมูลมาก่อนว่ายุงลายของนครสวรรค์ มีความต้านทานต่อสารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ มากถึงร้อยละ 73 หากเป็นความจริงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องมาพูดคุยกัน ว่า ควรจะเปลี่ยนไปใช้สารเคมีกลุ่มใดในการกำจัดยุงลาย เพราะกลุ่มไพรีทรอยด์ถือเป็นกลุ่มที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์มากที่สุด หรืออาจยังใช้กลุ่มไพรีทรอยด์เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสูตรสารเคมีที่ใช้
"ทุกปีนครสวรรค์จะมีการรณรงค์ให้กำจัดยุงลาย โดยเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคม จะเป็นช่วงที่กวาดล้างแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ส่วนระยะที่ไข้เลือดออกระบาดจะอยู่ในช่วงนี้คือช่วงฤดูฝน และปีที่แล้วก็มีการสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ เพื่อกำจัดยุงลายไปแล้ว ส่วนปีต่อไปคงต้องมีการพิจารณากันใหม่ตามผลวิจัยที่ออกมา ทั้งนี้ การที่ยุงลายดื้อต่อสารเคมีตัวใดนั้นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในต่อมน้ำลายของยุงลาย มนุษย์ไม่ได้สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับสารเคมีตัวนี้ผ่านทางยุงลายแต่อย่างใด" นพ.บัวเรศกล่าว
ทั้งนี้ เว็บไซต์ด้านสาธารณสุขได้สรุปข้อมูลเรื่องสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้กันแพร่ หลายว่ามี 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มคลอริเนต หรือกลุ่มดีดีที (Chlorinated hydrocarbon compounds) เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน (H), คาร์บอน (C), และคลอรีน (Cl) สาร เคมีกลุ่มนี้มีการสลายตัวช้าและพบว่ามีการสะสมอยู่ตามดิน น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร่างกายของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง สารเคมีที่รู้จักกันดีและใช้กันมากได้แก่ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน (toxaphene), คลอเดน (chlordane), ลินเดน (lindane) และแกมม่า เอชซีเอช (gamma HCH) เป็นต้น
2.กลุ่มฟอสฟอรัส (Organo-phosphorus compounds) หลัง จากที่พบว่ากลุ่มที่ 1 มีการสะสมและมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดมลภาวะแก่ดินและน้ำ การใช้สารเคมีกำจัดแมลงจึงได้เปลี่ยนไปใช้พวกสารประกอบที่มีฟอสฟอรัสเป็นตัว หลักมากขึ้น และในขณะนี้เป็นยุคที่มีการใช้สารเคมีกลุ่มนี้มาก ทั้งในด้านการเกษตรและในวงการสาธารณสุข แต่การเป็นพิษเกิดขึ้นได้เร็วกว่ากลุ่มที่ 1 และสลายตัวก็เร็วกว่า สารเคมีในกลุ่มนี้ที่ใช้กันมาก ได้แก่ มาลาไธออน (malathion), เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล (pirimiphos methyl) และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น
3.กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate compounds) เป็น สารประกอบอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการกำจัดแมลง อาการเป็นพิษเกิดขึ้นได้เร็วและสลายตัวเร็ว สารเคมีกลุ่มนี้มีคาร์บาริลกรุ๊ปเป็นตัวหลักที่สำคัญ ที่รู้จักกันมากคือ โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ (bendiocarb) และแลนดริน (landrin) เป็นต้น และกลุ่ม 4.กลุ่มไพรีทรอยด์ (Synthetic pyrethroids) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นต่ำ สกัดได้จากดอกเบญจมาศ (pyrethrum) อย่างไรก็ตาม สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับสารเคมีกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักและใช้กันมากในขณะนี้ ได้แก่ เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน (resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (bioresmethrin) เป็นต้น
วัน เดียวกันนี้ ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจุลชีววิทยา กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำหลายชนิด ที่น่าเป็นห่วงคือโรคระบาดจากแมลง อย่างอหิวาตกโรคและไข้เลือดออก ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงอาจจะทำให้ผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 1 หลังจากที่ไทยเคยควบคุมให้อยู่ในระดับต่ำกว่านี้มาแล้ว ส่วนอัตราการดื้อยาของโรคก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย จากการสำรวจพบว่าผู้ป่วยวัณโรคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราการดื้อยาถึงร้อยละ 3 และมีแนวโน้มดื้อยาเพิ่มขึ้น หากผู้ป่วยรายหนึ่งแพร่ไปยังอีกรายหนึ่ง ความรุนแรงของการดื้อยาก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า โรคที่น่าห่วงที่สุดคือการกลับมาระบาดอีกครั้งของโรคที่เคยเกิดหลังสงคราม จากภาวะขาดแคลนน้ำ อาหาร รวมทั้งโรคลีเจียนแนร์จากเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาร์ ต้นเหตุของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบรุนแรง โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาศัยและเจริญเติบโตได้ดีในน้ำอุ่น ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 35-36 องศาเซลเซียส พบมากในโรงแรมที่ระบบหล่อเย็นไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจายไปทั่วห้องพัก สปา น้ำพุประดับ เครื่องพ่นละอองฝอย เครื่องผลิตความชื้น น้ำพุร้อน และน้ำในแหล่งน้ำที่ร้อน เป็นต้น โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายไปไกลไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
"โลกร้อนทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตเร็วขึ้น โรคระบาดนำโดยแมลง พวกยุง แมลงวัน จะก่อโรคระบาดทั้งไข้เลือดออก อหิวาตกโรค ระบาดได้รวดเร็ว เพราะพาหะนำโรคมีมากขึ้น แพร่โรคได้เร็วขึ้น แต่เชื้อไม่ได้รุนแรงขึ้น" ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าวและว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้วงจรชีวิตแมลงวันสั้นลงเหมือนยุงหรือไม่นั้น ไม่แน่ใจ แต่เท่าที่เห็นแมลงวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น
Link
https://www.gotoknow.org
https://healthy.moph.go.th
https://www.a4s-thai.com/