คำขวัญไข้เลือดออก


54,215 ผู้ชม


คำขวัญไข้เลือดออก คำขวัญรณรงค์ไข้เลือดออก สาเหตุไข้เลือดออก

คำขวัญไข้เลือดออก

ข่าวประชาสัมพันธ์ "คำขวัญรณรงค์ ยุงลาย"

บริษัท เอส ซี ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงไบกอน ขอเชิญชวนนักเรียนในระดับประถม ศึกษาปีที่ 4-6 และระดับมัธยมศึกษาปีที่1-3  เข้าร่วมประกวดคำขวัญรณรงค์ร่วมต้านภัยไข้เลือดออก ในหัวข้อ "ครอบครัวของฉัน ปลอดภัยจากยุงลาย" ชิงทุนการศึกษารวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท โดยจะมีเอกสารของทางไบกอนแจกจ่ายไปตามโรงเรียนทั่วทุกเขตพื้นที่การศึกษา เยาวชนที่สนใจสามารถส่งคำขวัญมาได้ที่ ตู้ ปณ. 404 ปณจ. ลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10310 ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายนศกนี้ 
 
          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
          วิภาวริศ เกตุปมา   หรือ      จาจิญา เพ็งพันธ์
          บริษัท โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  02-951-9119, 081-890-3568 และ 084-155-1987

คำขวัญรณรงค์ ยุงลาย

ไข้เลือดออกมรณะ มีพาหะเป็นยุงลาย
เราทุกคนป้องกันได้ ช่วยทำลายแหล่งเพาะยุง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เด็กชายนพัตธร ช่วยบุญ ชั้น ป.5/8 ได้รับโล่รางวัลพร้อมเงินรางวัล 1,500 บาท
เจ้ายุงลาย ภัยร้าย ต้องระวัง
แหล่งน้ำมัน ถังโอ่ง ต้องปิดฝา
เพื่อป้องกัน แหล่งเพาะยุง ที่ตามมา
ยามนิทรา ควรกางมุ้ง กันยุงลาย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เด็กหญิงณัฐชา ศรีพาณิชย์พันธ์ ชั้นป.6/6 ได้รับโล่รางวัลพร้อมเงินรางวัล
1,000 บาท


ควรระวังอย่ายอมให้ยุงลายกัด จะเจ็บหนักถึงขั้นต้องล้มหมอน
เพราเป็นไข้เลือดออกสุดบั่นทอน จึงขอวอนให้กำจัดเจ้ายุงลาย    

    

คำขวัญรณรงค์ไข้เลือดออก

มอบเงินรางวัลประกวดคำขวัญรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
   วันที่  8  มิถุนายน  2555  นายไพฑูรย์  โพธิ์ทอง  นายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร  เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลประกวดคำขวัญ"โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก"  แก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่ได้ส่งคำขวัญเข้าประกวด  ซึ่งได้ทำพิธีมอบป้าย ประชาสัมพันธ์ที่ชนะเลิศการประกวดคำขวัญและซีดีประชาสัมพันธ์มอบแก่ตัวแทน โรงเรียนและตัวแทนชุมชนนำไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในสถานศึกษาและชุมชนต่อ ไป  โดยมีคณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการเป็นเกียรติในพิธี

สาเหตุไข้เลือดออก

ยุงลาย สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

ยุงเป็นแมลงขนาดเล็ก ที่มักทำให้เรารู้สึกรำคาญเวลาเห็นหรือได้ยินเสียงมันบินไปมาใกล้ๆ ทั้งนี้เพราะ เรารู้ว่าถ้าถูกยุงกัด นอกจากจะรู้สึกคันแล้ว เราอาจเป็นมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ หรือไข้เหลืองได้

โลกมียุงกว่า 3,000 ชนิด ยุงส่วนมากไม่นำโรคใดๆ สู่มนุษย์ จะมีประมาณ 100 ชนิดเท่านั้นที่สามารถฆ่าคนได้ นักชีววิทยาพบว่า ยุงที่กัดคนเป็นยุงตัวเมียเท่านั้น เพราะมันต้องการเลือดยามจะวางไข่ เวลากัด มันจะใช้จะงอยปากที่แหลมเหมือนเข็มฉีดยาเจาะเข้าไปในเส้นเลือดใต้ผิวหนัง แล้วปล่อยน้ำลายออกมาเพื่อไม่ให้เลือดที่มันกำลังดูดแข็งตัว และถ้ายุงตัวนั้นเป็นพาหะนำโรค เชื้อโรคที่แฝงอยู่ในน้ำลายก็จะเข้าสู่ร่างกายคน ส่วนสารเคมีที่มีในน้ำลายจะทำให้คนที่ถูกยุงกัดรู้สึกคัน จนบางคนมีอาการแพ้ หรือรู้สึกหน้ามืดจนหายใจไม่ออก เป็นต้น

นักชีววิทยาสนใจที่จะรู้ว่า ยุงหาอาหารอย่างไร เหตุใดบางคนจึงถูกยุงกัดบ่อย แต่บางคนยุงไม่ยุ่งด้วยเลย เหตุใดยุงก้นปล่อง (Anopheles gambiae) จึงชอบกัดบริเวณเท้าและข้อเท้าของคน แต่ยุง Anopheles atroparous กลับชอบกัดบริเวณใบหน้า และเราจะป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้อย่างไร เป็นต้น นักชีววิทยายังพบอีกว่า ในสายตายุง คนแต่ละคนมีโอกาสในการถูกกัดไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะร่างกายเรามีอุณหภูมิแตกต่างกัน อีกทั้งเวลาหายใจออกจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณไม่เท่ากัน และมีกลิ่นตัวที่แตกต่างกัน สำหรับวิธีป้องกันยุงกัด โดยทั่วไปอาจใช้สารเคมี N, N-diethyl-3-methyl-benzamide หรือครีม calamine และ caladril ทาตามผิวหนังเพื่อไล่ยุง และพร้อมกันนั้นเราก็ควรแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกยุงกัด

ยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นยุงที่ร้ายกาจและน่ากลัวรองจากยุงก้นปล่อง มันมีชื่อ ยุงลาย เพราะลำตัวมีลายขาวสลับดำ ยุงลายอยู่ในอันดับ Diptera ที่มีหลายวัฏจักรชีวิต โดยในแต่ละวัฏจักร รูปร่างและวิธีหาอาหารของมันจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ยุงลายจะเริ่มชีวิตในสภาพไข่ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง ไข่ที่ลอยที่ผิวน้ำจะฟักเป็นลูกน้ำ และใช้อวัยวะสำหรับหายใจที่อยู่ที่ปลายหางแตะผิวน้ำตลอดเวลา ลูกน้ำใช้ 95 เปอร์เซ็นต์ของเวลาในช่วงนี้หาอาหาร ซึ่งได้แก่ ไรน้ำ บักเตรี และพืชขนาดเล็ก ที่มีอุดมในน้ำที่สกปรก การกินอาหารอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา ทำให้ลูกน้ำเจริญเติบโตเร็วจนมีขา ปีก และปากปรากฏ จากนั้นก็เข้าสู่สภาพดักแด้ ซึ่งถ้าไม่มีอะไรมารบกวน มันก็จะลอยติดใต้ผิวน้ำตลอดไป แต่เวลามีเงามืดมาทาบ มันก็จะดำน้ำทันที ในช่วงเวลานี้มันจะไม่กินอาหารหรือขับถ่ายเลย จนกระทั่งกลายสภาพเป็นยุงลายอย่างสมบูรณ์ แม้ในระยะเริ่มต้นจะมีน้ำหวานจากดอกไม้มาวางอยู่ใกล้ๆ มันก็ไม่สนใจ แต่อีก 20-24 ชั่วโมงต่อมา ยุงหนุ่มหรือสาวจะเริ่มหิว โดยตัวผู้จะโผบินหาน้ำหวานดอกไม้ และจะไม่กัดคน แต่ชอบคลานไปบนผิวหนัง ส่วนยุงตัวเมียถ้าให้เลือกระหว่างน้ำหวานกับเลือด มันจะเลือกเลือด

ยุงลายที่โตเต็มมีสายตาแหลมคม และใช้หนวดในการดมกลิ่นคน ดังนั้นถ้าหนวดของยุงลายตัวเมียถูกตัด แม้จะหิวสักเพียงใด มันก็ไม่กัดคน ตามปกติมันชอบกัดคนในบ้านมากกว่านอกบ้าน ชอบแฝงตัวอยู่ตามผ้าสีทึบ และยุงตัวเมียไม่กัดคนตอนกลางคืน และถ้ามีมือที่อุ่นกับเย็นให้ยุงเลือกเกาะ มันจะเลือกมือที่อุ่น แต่ถ้ามีมือเย็นให้เลือกเพียงตัวเดียว มันก็เกาะมือเย็นอย่างไม่ยินดีนัก ยุงลายชอบเกาะมือที่แห้งมากกว่ามือที่เปียก ถ้าให้ยุงลายบินหาเหยื่อในภาชนะปิดที่มีปริมาตร 27,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร มันจะใช้เวลาตั้งแต่ 5-30 วินาทีในการบินถึงเหยื่อ ในกรณีแขนคน เมื่อบินเกาะผิวหนังแล้ว มันจะเดินอีกสองสามก้าวก่อนจะใช้จะงอยปากกดเอียงทำมุม 75 องศากับผิวหนัง ใช้ขาทั้งหกยันบนผิวหนัง แล้วใช้เวลาอีกประมาณ 50 วินาที ในการใช้ปากเจาะผ่านผิวหนัง 2.30 นาทีในการดูดเลือด และเพียง 5 วินาทีในการถอนจะงอยปากออก ดังนั้นในการดื่มเลือดครั้งหนึ่ง ยุงลายจะได้เลือดประมาณ 3 มิลลิกรัม และขณะดื่มเลือดเชื้อโรคต่างๆ ที่มีในตัวยุงลายก็จะเล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายของคนที่ถูกยุงลายนั้นกัดทันที และแม้ท่อน้ำลายของยุงลายจะถูกตัด มันก็ยังสามารถดูดเลือดได้ แต่ถ้าขาทั้งหกถูกตัด แม้มันจะยังบินได้ แต่ก็ไม่สามารถกัดคนได้ เพราะมันต้องการขาอย่างน้อยสามขาในการทรงตัวเวลากัดคน ส่วนเส้นประสาทที่เรียกว่า ventral nerve cord ที่ท้องยุงลาย ก็มีหน้าที่ควบคุมปริมาณการดื่มเลือด เพราะถ้าเส้นประสาทนี้ถูกตัดยุงลายจะดื่มเลือดจนท้องแตกตาย หรือถ้าไม่ตาย มันก็จะสลบ และจะตายในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา

ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhage Fever-DHF) มาสู่คน การที่แพทย์เรียกโรคชนิดนี้ว่า ไข้เลือดออก เพราะมันเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูงและมีเลือดออก คำว่า dengue มาจากคำ Danga ในภาษา West Indies และ Swahili ในแอฟริกาตะวันออก เพราะดินแดนแถบนั้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ถูกโรคที่ชาวบ้านเรียก Danga คุกคามหนัก ดังในปี 2336 แพทย์อเมริกันชื่อ Benjamin Rush ได้รายงานว่า มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในเมืองฟิลาเดลเฟีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาด้วย

แพทย์ปัจจุบันตระหนักดีว่า โรคไข้เลือดออกเกิดจากไวรัส dengue และผู้ป่วยอาจแสดงอาการของโรคได้สามแบบ คือ แบบแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ มีน้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดกระดูก และที่ผิวหนังมีผื่นขึ้น แต่ในที่สุดอาการเหล่านี้ก็จะหายเมื่อผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีได้ยา สำหรับแบบที่ 2 มักเกิดในหนุ่มสาวและผู้ใหญ่ โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง คือ มีอุณหภูมิร่างกายสูงประมาณ 39-41 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 4-5 วัน ใบหน้าแดง ตัวแดง รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว กระวนกระวาย ปวดศีรษะ อาเจียน ปวดกระดูก เจ็บคอ รู้สึกเพลีย มีอาการซึม เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อย ปวดท้อง คลื่นไส้ หรือมีเลือดออกตามไรฟัน จากนั้นไข้ก็จะลดเป็นเวลาสองวัน แล้วไข้ก็จะขึ้นสูงอีก 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะมีผื่นหรือจุดเลือด (petechiae) ตามผิวหนัง และจุดจะเริ่มปรากฏที่หลังมือหรือหลังเท้าก่อน จากนั้นจะแผ่บริเวณไปที่แขน ขา ลำตัว และคอ ตามปรกติผื่นอาจปรากฏนาน 2 ชั่วโมงหรือหลายวันก็ได้ ส่วนแบบที่ 3 นั้น ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในลำไส้และกระเพาะ หรืออาจอาเจียนเป็นเลือดสีกาแฟ และถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ นอกจากนี้จุดเลือดที่เกิดจากการตกเลือดใต้ผิวหนังก็จะปรากฏตามตัวทั่วร่าง เช่น บนเพดานปาก กระพุ้งแก้ม และลิ้นไก่ ซึ่งเป็นผลจากการที่ไวรัส dengue ทำให้น้ำเหลืองซึมออกจากเส้นเลือด จนเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายมีปริมาณน้อยลงๆ และถ้าการรั่วซึมนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีความดันเลือดต่ำ จนช็อกได้

 

ขั้นตอนการรักษาเบื้องต้น แพทย์แนะนำว่า ทันทีที่รู้ตัวว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ให้ผู้ป่วยกินยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามกินยาแอสไพริน เพราะแอสไพรินนอกจากจะทำให้เลือดออกมากขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้กระเพาะอาการอักเสบได้ด้วย จากนั้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อชดเชยกับการสูญเสียเลือด แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที หากแพทย์รักษาไม่ทัน 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะช็อกตาย เพราะอวัยวะของร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ไต ไม่มีเลือดหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ

สำหรับวิธีป้องกันการเป็นโรคไข้เลือดออก วิธีที่ดีคือ หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัดด้วยการนอนกางมุ้ง หรือติดมุ้งลวดที่หน้าต่างและประตูบ้าน กำจัดแหล่งน้ำขังนิ่งซึ่งเป็นที่ที่ยุงลายชอบวางไข่ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อให้กินลูกน้ำของยุงลาย

ณ วันนี้โลกยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่จะรู้ว่า ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย แปซิฟิกตะวันตก อเมริกาใต้ ประมาณปีละ 5 แสนคน ล้มป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก สถิติการสำรวจขององค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในแต่ละปีตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมานี้ ได้เพิ่มขึ้นถึง 30 เท่าตัว ดังนั้นโรคไข้เลือดออกจึงรุนแรงพอๆ กับโรคเอดส์ วัณโรค และไวรัสตับอักเสบสำหรับผู้คนในทวีปอเมริกาใต้ และร้ายกาจพอๆ กับมาลาเรียสำหรับผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้แพทย์จะมีวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ มากมายก็ตาม แต่การพัฒนาสร้างวัคซีนสำหรับโรคไข้เลือดออกก็ดำเนินไปได้ช้า ทั้งนี้เพราะไวรัส dengue มี 4 ชนิด แต่ละชนิดต่างสามารถทำให้คนล้มป่วยได้ ถึงคนไข้จะได้รับการรักษาด้วยยาจนหายจากไวรัส dengue ชนิดแรกแล้ว แต่เมื่อถูกไวรัสชนิดที่ 2 คุกคาม เขาก็มีสิทธิ์ป่วยได้อีก โดยอาการป่วยครั้งหลังนี้จะรุนแรงกว่าเดิมหลายเท่า เพราะ antibody ที่ร่างกายใช้ในการต่อสู้กับไวรัสชนิดที่ 2 จะไม่สามารถฆ่าให้ไวรัสตายได้ ดังนั้นไวรัสที่ยังมีชีวตอยู่จะไปทำร้ายเซลล์ภูมิคุ้มกันจนมีผลทำให้คนไข้ ป่วยหนักยิ่งขึ้นไปอีก และนี่คือเหตุผลที่ว่า เหตุใดเด็กจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจึงตาย ทั้งนี้เพราะเด็กที่กินนมแม่ ร่างกายอาจมี antibody สำหรับไวรัสชนิดหนึ่ง แต่เมื่อเด็กคนนั้นรับไวรัสต่างชนิดเข้าไป อาการไข้เลือดออกจึงรุนแรงมาก เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้หนทางหนึ่งที่แพทย์ผู้กำลังมุ่งมั่นสร้างวัคซีน ไข้เลือดออกคิดจะทำ คือ ผลิตวัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัส dengue ทั้ง 4 ชนิดได้พร้อมกัน ไม่ใช่ป้องกันชนิดหนึ่งชนิดใดแต่เพียงชนิดเดียว

แต่ปัญหาจึงมีต่ออีกว่า แพทย์ไม่มีสัตว์ที่จะใช้ทดลองวัคซีน เพราะหนูก็ไม่เคยป่วยเป็นโรคชนิดนี้และลิงก็ไม่ตกเลือด ดังนั้นแพทย์จึงต้องนำวัคซีนไปทดลองใช้กับคนโดยตรง และเมื่อตัวแปรในการทำให้คนล้มป่วยมีมากมาย ความสำเร็จในการผลิตวัคซีนโรคไข้เลือดออกจึงต้องใช้เวลาอีกนาน

ส่วนวิธีต่อสู้อีกหนทางหนึ่ง คือ เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของยุงลายมิให้มันเป็นพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มั่นใจว่า ยุงที่ได้รับการตัดต่อยีนจะมีชีวิตอยู่ได้นานพอที่จะแพร่พันธุ์ เพราะถ้ายุงตัวนั้นตายก่อน ปัญหาก็ไม่จบไม่สิ้น เพราะยุงที่เหลือมีมากนับอสงไขยตัว ดังนั้นวิธีที่ง่ายและมีราคาถูก คือ พยายามอย่าให้ยุงใดๆ กัด และทันทีที่รู้สึกว่าเป็นไข้ควรรีบไปหาหมอ

สาเหตุ อาการและการรักษาโรคไข้เลือดออก จากกรมประชาสัมพันธ์

ความน่ากลัวของอาการไข้เลือดออกนั้นอยู่ไหน อันที่จริงแล้วที่คนกลัวยุงนั้นมีสาเหตุค่ะ สาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกนั้น เกิดจากยุงเรารู้กันดีอยู่แล้ว แต่อาการของไข้เลือดออกนั้นบางครั้งเราไม่สามารถแยกกับการเป็นไข้หวัดได้เลย เรื่องนี้แหละค่ะคือ ความน่ากลัวของไข้เลือดออก และยังส่งผลให้การรักษาโรคไข้เลือดออกยากตามไปด้วย เมื่อสงสัยหรือรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงในช่วงก่อนที่จะเป็นไข้โปรดระวังตัวแทน ลูกน้อยของเราด้วยค่ะ ขอบคุณกรมประชาสัมพันธ์มา ณ ที่นี้ด้วยคะ
ไข้ เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมี ไข้
สาเหตุของไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสแดงกี่ จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่ จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสฯ มาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออก
ไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต
ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
ในรายที่ช็อกจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อกและเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกการผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญหาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุมวิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ การควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะลา ยาง กระป๋อง
หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกี่ จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด [Hct] เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000
ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ
1.มีไข้ มีปัญหาทางกระเพาะปัสสาวะ ปวดศีรษะเรื้อรัง มึนงงอย่างมาก และเบื่ออาหาร
2.มีแนวโน้มจะมีเลือดออก (ทูนิเกต์เทส ให้ผลบวก มีจ้ำขึ้นเอง มีเลือดออกทางเยื่อบุ เหงือก อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นเลือด)
3.เกล็ดเลือดต่ำ (น้อยกว่า 100,000 ตัวต่อหนึ่งไมโครลิตร หรือประมาณน้อยกว่า 3 ตัว ต่อหนึ่งมุมมองกล้องกำลังขยายสูง)
4.ปรากฏหลักฐานของการเสียพลาสมาจากหลอดเลือด (ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงสูงกว่าที่ประมาณไว้มากกว่าร้อยละ 20 หรือลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 ปรากฏมีของเหลวในเยื่อหุ้มปอด มีของเหลวในช่องท้อง หรือมีโปรตีนต่ำในกระแสเลือด) มีภาวะสมองอักเสบ
กลุ่มอาการไข้เลือดออกระยะช็อก นิยามโดยลักษณะของไข้เลือดออกข้างต้น เพิ่มอีก 3 ข้อ
1. ชีพจรเบา เร็ว
2. ผลต่างความดันแคบ (น้อยกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท)
3. ผิวหนังเย็น ชื้น และดูไม่สบายตัวการรักษา
- ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มากๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส ควรพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
- ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อกและมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลและดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
- ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพรินเพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติวิธีป้องกัน
- พยายามไม่ให้ยุงกัด
- ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
- รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการ ระบาดเพิ่ม
วิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
1. กำจัด ทำลาย ฝัง เผา เศษภาชนะที่ไม่ใช้ในบ้าน และบริเวณรอบบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง และเป็นแหล่งว่างไข่ของยุงลาย
2. ควรปิดฝาโอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ให้สนิท โดยคลุมด้วยผ้าขาวบางหรือใช้ผ้าพลาสติกผูกปากโอ่งกันยุงลายลงไปวางไข่
3. ใส่ผงซักฟอก หรือน้ำส้มสายชู หรือเหลือแกง ชันยาเรือ หรือขี้เถ้า ในจานรองขาตู้ หรือเทน้ำเดือดลงในจานรองขาตู้ทุกสัปดาห์
4. ใส่ปลาหางนกยูงเพื่อกินลูกน้ำในอ่างปลูกบัว
5. ขัดล้างภาชนะเก็บน้ำเพื่อขจัดไข่ยุงลาย
6. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ทุก ๗ วัน หรือใช้กระดาษ สำลี อุดปากแจกันเพื่อมิให้ยุงลายวางไข่
7.กำจัดเศษใบไม้ที่ค้างอยู่ในรางระบายน้ำฝนออกให้หมดเพื่อไม่ให้เกิดแอ่งน้ำที่จะเป็นแหล่งวางไข่ของยุงลาย
8. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบบ้าน-ชุมชนให้สะอาดรานี เทียนฤทธิเดช รายงาน

Link
https://www.thaipr.net/
https://www.soccersuck.com
https://www.kelangnakorn.go.th
https://www.happymomy.com
https://www.saranair.com

อัพเดทล่าสุด