อาการไข้เลือดออกเบื้องต้น


1,173 ผู้ชม


อาการไข้เลือดออกเบื้องต้น อาการไข้เลือดออกเป็นใหม่ๆ อาการไข้เลือดออกสายพันใหม่ในเด็ก

อาการไข้เลือดออกเบื้องต้น

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไป นี้

อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific

ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1

สาเหตุไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต

การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ

ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็น แล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ

อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแดงกิ่วมีอาการได้ 3 แบบคือ

การดำเนินของโรค

ความรุนแรงของโรค

ข้อสำคัญของไข้เลือดออก
  • ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออกหรือทำ touniquet test
  • หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิด
  • ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  • หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
  • ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
  • การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
  • การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
  • การเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกิว จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด[Hct]เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ

  • Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
  • Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
  • Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้

การดูแลผู้ป่วย

เมื่อไรจะให้กลับบ้าน

  • ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • ความเข้มของเลือดคงที่
  • 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
  • เกล็ดเลือดมากกว่า 50000
  • ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด

ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

  • ตับวาย
  • ไตวาย
  • สมองทำงานผิดปกติ

การป้องกันไข้เลือดออก

วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย

  • ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
  • ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำ ในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
  • สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
  • จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
  • กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
  • จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet ยุง การระบาด ผลเลือด

อาการไข้เลือดออกเป็นใหม่ๆ

ไข้เลือดออก ข้อมูล โรคไข้เลือดออก

กระแสพระราชดำรัสในหลวง
ไข้เลือดออก


บทความและภาพประกอบโดย
นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ 
          ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย 
          แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย... ?
 
          หน้าห้องไอซียู... แม่ของเด็กหญิง เดินไปมาอย่างกระสับกระส่าย นางบ่นกับญาติว่า
          "ทำไม ไปหาหมอไม่รู้กี่ครั้ง หมอไม่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก มารู้ ก็จวนแย่แล้ว"
          "ถ้าลูกชั้นเป็นอะไร ฉันจะฟ้องหมอ ฟ้องโรงพยาบาล..."
          นางเอ่ยถึงชื่อคลินิก และโรงพยาบาล ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าลูกสาวเป็นโรคไข้เลือดออก ...

          โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่สร้างความสับสนให้กับทั้งแพทย์และคนไข้มากที่สุด ด้วยอาการที่เริ่มต้นด้วยลักษณะเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงไข้หวัดใหญ่ หรืออาจมีอาการไข้อย่างเดียวนำมาก่อน โดยไม่มีการออกอาการเฉพาะใดๆ ในวันแรกๆ หมอทั้งร้อยคน หากตรวจวินิจฉัยตามตำราย่อมแยกออกแทบไม่ได้ ต้องอาศัยการติดตาม ตัวคนไข้ว่าหากรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น นัดตรวจ ติดตามดูอาการอื่นๆ ที่จะปรากฏร่วมเช่น คลื่นไส้อาเจียน จนถึงปวดท้อง (ซึ่งก็คล้ายกับไข้หวัดลงกระเพาะลำไส้ อยู่ดี) ในระยะนี้ บางทีก็จะชวนสงสัยได้ยาก แม้รัดแขนก็อาจไม่สามารถบ่งได้ว่าเป็นไข้เลือดออก
 

ไข้เลือดออก


          กว่าจะมีอาการ "จำเพาะ" ของกลุ่มไวรัสนี้ก็เช่น เกร็ดเลือดต่ำ มีจุดเลือดออก หรือมีเลือดออกที่ต่างๆ ในร่างกาย ก็เป็นระยะท้ายๆ ที่มักมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก แต่ยังโชคดีที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็น ไข้เด็งกี่ (Dengue Fever) แล้วกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยไม่เข้าสู่สภาวะช็อก ที่เรียกว่า เด็งกี่ช็อกซินโดรม (Dengue Shock Syndrome- DSS) ที่เป็นเหตุให้เสียชีวิต ทำให้แพทย์ต้องเฝ้าใกล้ชิดในไอซียู แก้ปัญหาช็อกและต่อสู้กับกลไกเลือดออกไม่ หยุด ด้วยการที่สมดุลน้ำเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมถึงให้เกร็ดเลือด (ซึ่งหาได้ยาก-แม้ กาชาดเองหรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกรุงเทพ ที่จะพอเหมาะเข้ากันได้กับคนไข้ ซ้ำยังต้องใช้ปริมาณมหาศาล และอาจหาไม่ได้เลยในรพ.ต่างจังหวัด) 
          ขณะช็อกคนไข้ต้องการน้ำเพื่อพยุงความดัน แต่หากกระบวนการช๊อกหยุด น้ำที่ให้เพื่อแก้อาการช๊อกเป็นลิตรๆ ที่กู้ให้หัวใจไม่ล้มเหลวตายในระหว่างช๊อก จะพร้อมใจกันกลับเข้าเส้นเลือดจนท่วมท้นปอดหัวใจ
          โดย เฉพาะในเด็กเล็ก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่าย (แม้จะมีแพทย์จะเฝ้าอยู่ข้างเตียง ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ทัน)ไม่รวมถึงการมีเลือดออกในสมองและอวัยวะต่างๆ ที่ถึงจะให้เกร็ดเลือดไปก็อาจไม่ทำงาน โดยโรคเอง ด้วยซ้ำ ทั้งนี้รวมถึงในระดับโรงเรียนแพทย์ ไม่ว่า จุฬาฯ ศิริราชฯ หรือรามาฯ เอง ก็เคยมีเสียชีวิตในลักษณะนี้มาแล้วทั้งสิ้น 
          ปัญหาของโรคนี้ ในสังคมเมื่อเกิดขึ้นแล้วคือ 
 1."ทำไมหมอไม่บอกตั้งแต่แรกว่าเป็นไข้เลือดออก" การวินิจฉัยช่วงแรกเป็นได้ยาก อาการไม่โดยเฉพาะ เนื่องจาก ไปยืมอาการของโรคอื่นๆ เช่นไข้หวัด มาปะปนกันไปหมด หมอผู้เชี่ยวชาญเอง ก็ลำบากที่จะตัดสินใจว่าเป็นโรคนี้ในวันแรกๆของการป่วยโดยเฉพาะ ซึ่งอาการส่วนใหญ่อาจกลายไปเป็นโรคอื่นๆ ทำให้กว่าหมอจะให้การวินิจฉัย ได้ก็เมื่อมีอาการเฉพาะปรากฎ เป็นข้อจำกัดของโรค (ซึ่งหลายครั้ง คนไข้ก็จะแย่แล้ว...)  
 2. "การวินิจฉัยวันแรกๆโดยเจาะเลือดไม่ได้หรือ" ขอเรียนว่ายากครับ โรคที่เกี่ยวกับไข้หวัดธรรมดาที่เกิดจากไวรัส กับไวรัสเด็งกี่นั้นเป็นกลุ่มแบบพี่น้องกัน ถึงแม้เจาะเลือดธรรมดาที่ทำกันทั่วไปนั้น อาจแยกจากกันไม่ได้ การดูเกร็ดเลือดระยะแรกก็อาจไม่ต่ำ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็น (ทั้งที่อีก1-2วันถึงออกอาการว่าเป็น) การเจาะเลือดที่เฉพาะกว่าคือการตรวจ ภูมิต่อไวรัส เด็งกี่ เรียกว่าเด็งกี่ไตเตอร์ ซึ่งทำได้เฉพาะใน โรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ใช้เวลาหลายวัน บางทีผลกลับมา ซึ่งคนไข้กว่า90%หายจากอาการก่อนแล้ว ยกเว้นกรณีอาการร้ายแรง หรือ ช๊อก จึงจะทันได้ใช้ประโยชน์ 

ไข้เลือดออก


 3. "คนไข้ที่เป็นแล้วต้องเลือดออก ช็อกถึงตายทุกคนหรือไม่" อันนี้ตอบได้ว่าไม่มาก แต่มีความสำคัญ ตัวเลขจากกรมควบคุมโรค ดูย้อนหลังเป็นดังนี้ครับ

 ปี - พศ.

  ป่วย (คน)

  ตาย (คน)         

 อัตราป่วยเสียชีวิต (%)

 2550

  62,999      

  90 

 0.14% 

 2549

  42,456      

    59   

 0.14% 

 2548 

  44,725      

 82 

0.18%

 2547

  37,316      

 49 

 0.13% 

 2546

   62,526      

 78 

0.13%


          สังเกตว่าในประเทศไทย ในรอบ 4 ปี มีป่วยเพิ่มขึ้นและตายเพิ่มขึ้น การเสียชีวิตจะมาหลังอาการช็อก เป็นส่วนใหญ่ นั่นแปลว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ช็อกและตาย ประมาณ 0.13-0.18% หรือ 1-2 ต่อ 1,000 คนป่วย ซึ่งนับว่ามาก โดยต้องไม่ลืมว่าส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ช็อกนี้ แพทย์ต้อง "เฝ้า" ปรับสมดุลของสารน้ำ และเลือดจนกลับมาปกติ และความน่าทึ่งของโรคนี้คือ ยามช็อกนั้น...
          เด็กๆ หรือผู้ป่วยเหนื่อยแน่น ซึม ทุรนทุราย ราวมีเพียงเส้นบางๆขั้นชีวิตกับมัจจุราช แต่ตอนหาย "เด็กกลับสดใสร่าเริงในวันถัดกันราวกับไม่เคยป่วยมาก่อน"
 
 4. "คนไทย..ป่วยกันมากน้อยเพียงใด" จากข้อมูลเบื้องต้น เห็นว่า ปี 2550 นั้นมีคนป่วย 62,699 คนจาก 60ล้านคน เป็นสัดส่วน 1ต่อ 1,000 คน ประชากร ซึ่งถือว่าเยอะมาก แสดงว่ามีคนป่วยด้วยไข้เลือดออก เฉลี่ยถึงวันละ 170 คน หากในความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะเดือนระบาดหนักๆ นั้น อาจมากถึง 2 เท่าทีเดียว

ไข้เลือดออก


 5. "ปีนี้สถานะการณ์ไข้เลือดออกจะเป็นอย่างไร" ขอให้ลองดูข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคอีกครั้งจะพบว่า ปีนี้เริ่มมาต้นปี ถึง 10 พฤษภาคม 2551 (19 สัปดาห์) ป่วยไปแล้ว 13,943 ราย ตายไปแล้ว 16 ราย มากกว่าทุกปีที่มีสถิติมาเทียบ และมากกว่าปีก่อน 1.7 เท่า (2550 มกราคม - พฤษภาคม ป่วย 8,094 และตาย 9 คน ที่เดือนเดียวกัน) นั่นแปลว่า สถานการณ์ปีนี้รุนแรงมาก ตั้งแต่ต้นปี ทั้งที่ยังไม่เข้าวาระ "ระบาดทางคลินิก" ซึ่งจะรุนแรงในช่วง พฤษภาคม - สิงหาคม ของทุกปี  
          มีความเชื่อกันว่ายุงลายทำให้โรคระบาดมากขึ้นเพราะสิ่งแวดล้อมโลก เช่นภาวะ โรคร้อน ฤดูกาล ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง สับสน หากหยุดยั้งไม่ได้ การเจ็บป่วยโรคนี้ในปีนี้อาจเป็นถึง เกือบ 2 เท่า คนตายอาจต้องมากตามไปด้วย แปลว่า ต้องมีครอบครัวผู้ได้รับความเสียใจมากขึ้น และแพทย์ก็จะต้องถูกเป็นจำเลยมากขึ้น...จากพฤติกรรมของยุง และสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ต้องสงสัย...
          ที่น่าสังเกตคือวงรอบความรุนแรง คล้ายเป็น 4 ปีครั้ง เพราะการนำโรคจาก "ยุงลาย" ที่ทุกท่านทราบดี  
 6. "โศกนาฏกรรม จากยุงลาย" ยุงลายนั้นทำให้เกิดโศกนาฏกรรม ใน 3 ระดับคือ 
          1. ระดับครอบครัวที่ต้องสูญเสียบุตรหลาน ปีนี้คาดว่าลูกหลานน่ารักของท่าน อาจกว่าร้อยคนต้องถูกส่งไปสังเวยโศกนาฏกรรมนี้ ขณะที่อีกกว่า 6 หมื่นคนต้องเจ็บป่วย หยุดงานไปจนถึงนอนโรงพยาบาล ขาดรายได้ ขาดเรียน ขาดงาน...ตีมูลค่าความเสียหายไม่ได้
          2. ระดับรัฐ ต้องเสียค่ารักษาจากงบประมาณของรัฐ อีกหลายสิบล้านบาท เพิ่มภาระงาน โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมอ พยาบาล และซ้ำร้าย เป็นโรคที่มีกลไกเข้าใจยาก  ผู้ที่สูญเสียที่มิได้เตรียมใจย่อมเป็นทุกข์ ก่อให้เกิดประโยค ตอนต้นของบทความนี้ และในยุคที่การฟ้องร้องมากมาย
          3. ระดับที่ คือความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ที่ไม่เข้าใจกัน ความผิดหวังที่รับไม่ได้ในกรณีเสียชีวิตของบุตรหลาน การฟ้องร้องที่จะเกิด จากยุงที่เป็นฆาตกรหลักที่ลอยนวล อาจเปลี่ยนเป็นแพทย์ผู้รักษาโรคต้องถูกพิจารณาเป็นจำเลยหากคนไข้เสียชีวิต เช่นเดียวกับฆาตกร โดยที่สังคมและชุมชนรอบๆ ตัวผู้ป่วยอาจยังไม่เคย หรือละเลยในการกำจัดยุงลายด้วยซ้ำไป ...

          ลักษณะโรคที่เป็นเช่นนี้ ญาติผู้ป่วยย่อม โกรธ เสียใจ ผิดหวัง นำไปสู่กระบวนการดังกล่าวได้โดยง่าย สัมพันธภาพผู้ป่วยและแพทย์ภาครัฐที่เปราะบาง ยอมหวั่นไหว สัญชาติญาณ การรักตน รักครอบครัว กลัวการฟ้องร้อง อาจทำให้แพทย์ต้องรั่วออกจากระบบที่ขาดแคลนกว่า 2,000 คน ไปอีกหรือไม่ กระทรวงสาธารณสุขเจ้าภาพจะเตรียมแก้ไขปัญหาเพื่อคุ้มครองประชาชนอย่างไร?? กองทุนต่างๆ การไกล่เกลี่ย เยียวยา สังคม และดูแลบุคลากรของท่าน พร้อมหรือไม่...
          หากถามว่าควรจะแก้ไขได้อย่างไร? ต้องย้อนกลับไปดูกระแสพระราชดำรัสว่า 
          "โครงการปราบยุงลายคั่งค้างมานานแล้ว และอันตรายยังมีอยู่มาก อยากให้ปราบปรามอย่างจริงจัง อันตรายจากโรคไข้เลือดออกจะได้ทุเลาลง"
          พระราชทาน ณ วังไกลกังวล 24 สิงหาคม 2542 แสดงความห่วงใยของในหลวง ในสถานการณ์และแสดงแนวทางการแก้ไขชัดเจน...

ไข้เลือดออก

          ส่วนวิธีการทั้งหลาย นั้นผมขออนุญาตไม่กล่าวถึงในที่นี้ครับ เพราะมีการรณรงค์ทั่วไปหมดแล้ว ท่านหาอ่านได้ไม่ยาก และหากต้องการความรู้เพิ่มเติม และสถิติการป่วยและตายทุกสัปดาห์ อ่านได้จาก https://dhf.ddc.moph.go.th/ ครับ 
          ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยคุณหมอ กิตติ ปรมัตถผล ท่านทำไว้ดีมาก และแนวทางการรักษานั้นก็โหลดสามารถดูได้ที่ https://dhf.ddc.moph.go.th/project/student/Pagiranaka.zip

 บทสรุปคือ

          "อย่าปล่อยให้ฆาตกร (ร้อยศพ) ลอยนวล"
          ก่อนโศกนาฏกรรมบทใหม่จะเริ่มบรรเลง 
          ท้ายสุดบุคคลในครอบครัวที่ท่านรัก...ประชาชน และบุคคลากรการแพทย์กลับต้องเป็นผู้สูญเสีย...
          เริ่มจัดการ "ยุงลาย" ในบ้านท่าน..เสียแต่วันนี้เถอะครับ

          ด้วยความปรารถนาดี
          นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ
          ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  

อาการไข้เลือดออกสายพันใหม่ในเด็ก

อาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก 2 วันไข้ไม่ลดรีบพบแพทธ์

2 วันของอาการไข้ในช่วงแรกนั้นคุณแม่ต้องสังเกตุให้ดีค่ะ เพราะอาการไข้ของลูกน้อยนั้นอาจเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกก็เป็นได้ ระยะเวลา 2 วัน ถ้าหากไข้ยังไม่ลดนั้นให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทธ์ดู ได้เลยค่ะ เพื่อตรวจดูว่านั้นเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกหรือไม่นั้นเองค่ะ ภูมิต้านทานโรคของเด็กนั้นมีต่ำกว่าในผู้ใหญ่มากมายนักเวลา 2 วันของโรคไข้เลือดออกก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับอาการของโรคนี้

นพ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากปริมาณยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อ มีจำนวนมากกว่าฤดูกาลอื่น เพราะมีแหล่งน้ำขังเพาะพันธุ์ยุงจำนวนมาก จึงทำให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสถูกยุงลายกัด และเสี่ยงป่วยเป็นไข้เลือดออกได้เท่ากัน โดยเฉพาะ 2 กลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูง คือ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ แล้ว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2554 มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 23,324 ราย ผู้ป่วยที่พบกลุ่มใหญ่ที่สุดคือร้อยละ 52 อยู่ในกลุ่มอายุ 10-24 ปี โดยพบเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยจำนวน 647 รายส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วย 190 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 13 ราย

"จากการสอบสวนโรค พบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมทุกปี จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงที่สุดในรอบปี กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการ 2 เรื่องหลัก มาตรการแรกคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้กำชับให้แพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด ให้ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด และมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ต้องนอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย" นพ.ไพจิตร์กล่าว


ศ.คลินิก พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ ผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านโรคไข้เลือดออกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์โดยกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการติดเชื้อไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกต่ำ หากติดเชื้อไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง ส่วนกลุ่มของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักจะรุนแรงกว่าวัยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีไข้สูงติดต่อกันและไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วัน ขอให้นึกถึงโรคไข้เลือดออกต้องไปพบแพทย์
พญ.ศิริเพ็ญกล่าวต่อว่า อาการป่วยของโรคไข้เลือดออกที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ ได้แก่ไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน แต่มักไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะดูแลยาก เด็กบางรายจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวร่วมด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิด คิดว่าเด็กมีปัญหาลำไส้อักเสบ และเด็กยังบอกอาการไม่ได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการป่วยเป็นสำคัญ อาการที่ต้องสังเกตใกล้ชิดมี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่มีไข้สูง ตัวร้อนมาก หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนมขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และช่วงที่ 2 คือช่วงที่ไข้ลดวันที่ 3 หรือวันที่ 4 ประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่อาจมีอาการช็อก


Link
https://www.siamhealth.net
https://hilight.kapook.com
https://www.happymomy.com

อัพเดทล่าสุด