อาการไข้เลือดออกในเด็ก11เดือน อาการไข้เลือดออกในเด็ก1ขวบ อาการไข้เลือดออกในเด็กอ่อน
อาการไข้เลือดออกในเด็ก11เดือน
โรคไข้เลือดออก โรคที่มาพร้อมฤดูฝน
ช่วงนี้เป็นช่วงของฤดูฝน ท่านที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหนทุกวัน ก็ออกจะลำบากเล็กน้อย นอกจากลำบากแล้วยังต้องระวังเรื่องของสุขภาพด้วย ฤดูฝนนี้โรคที่มากับฤดูฝนคงหนีไม่พ้นโรคนี้ “โรคไข้เลือดออก” ถึงแม้ว่าสายฝนจะไม่ใช่พาหะนำโรคไข้เลือดออกโดยตรง แต่ตัวพาหะนำโรคนี้มีการเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝนค่…มาดูรายระเอียดของไข้ เลือดออกกันเลยค่ะ….
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลื อดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
อุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออก
เมื่อ คศ 1970 มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
- ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
- เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
- บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้ ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม
วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
- กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
- หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
- ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็น แล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ
อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ ติดเชื้อไวรัสแดงกิวมีอาการได้ 3 แบบคือ
- การติดเชื้อไข้แดงกิ่ว Denque Fever
- ไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
- สำหรับไข้เลือดออกแดงกิวที่ช็อก Denque Shock Syndrome DSS
ความรุนแรงของโรค ข้อสำคัญของไข้เลือดออก
- ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออกหรือทำ touniquet test
- หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
- ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกร็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิด
- ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
- หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
- ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่าทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
- การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
- การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
- การเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกิว จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด[Hct]เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกร็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ
ระดับ 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
ระดับ 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
ระดับ 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
ระดับ 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้
การดูแลผู้ป่วย
เมื่อไรจะให้กลับบ้าน
- ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
- ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
– ความเข้มของเลือดคงที่
- 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
- เกร็ดเลือดมากกว่า 50000
- ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
- ตับวาย
- ไตวาย
- สมองทำงานผิดปกติ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
- วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย
- ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
- ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
- สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
- จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
- กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
- จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก
อย่างไรก็ตามสิ่ง ที่สามารถป้องกันโรคได้เกือบทุกโรคคือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ท่านปรับชีวิตประจำวันของท่านให้เอื้อต่อการป้องกันโรค ได้ นั่นคือทานอาหารครบ 5 หมู่ การนอนหลับพักผ่อนให้ได้ 8 ชั่วโมง/วัน และออกกำลังกายตามที่ท่านชอบประมาณ 3-5 วัน/สัปดาห์ แค่นี้ท่านก็จะมีภูมิคุ้มกันที่ดีทีเดียวค่ะ…ลองดูนะค่ะ…
ที่มาข้อมูล : https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf.htmอาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก 2 วันไข้ไม่ลดรีบพบแพทธ์
2 วันของอาการไข้ในช่วงแรกนั้นคุณแม่ต้องสังเกตุให้ดีค่ะ เพราะอาการไข้ของลูกน้อยนั้นอาจเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกก็เป็นได้ ระยะเวลา 2 วัน ถ้าหากไข้ยังไม่ลดนั้นให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทธ์ดู ได้เลยค่ะ เพื่อตรวจดูว่านั้นเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกหรือไม่นั้นเองค่ะ ภูมิต้านทานโรคของเด็กนั้นมีต่ำกว่าในผู้ใหญ่มากมายนักเวลา 2 วันของโรคไข้เลือดออกก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับอาการของโรคนี้
นพ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากปริมาณยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อ มีจำนวนมากกว่าฤดูกาลอื่น เพราะมีแหล่งน้ำขังเพาะพันธุ์ยุงจำนวนมาก จึงทำให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสถูกยุงลายกัด และเสี่ยงป่วยเป็นไข้เลือดออกได้เท่ากัน โดยเฉพาะ 2 กลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูง คือ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ แล้ว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2554 มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 23,324 ราย ผู้ป่วยที่พบกลุ่มใหญ่ที่สุดคือร้อยละ 52 อยู่ในกลุ่มอายุ 10-24 ปี โดยพบเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยจำนวน 647 รายส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วย 190 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 13 ราย
"จากการสอบสวนโรค พบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมทุกปี จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงที่สุดในรอบปี กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการ 2 เรื่องหลัก มาตรการแรกคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้กำชับให้แพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด ให้ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด และมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ต้องนอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย" นพ.ไพจิตร์กล่าว
ศ.คลินิก พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ ผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านโรคไข้เลือดออกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์โดยกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการติดเชื้อไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกต่ำ หากติดเชื้อไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง ส่วนกลุ่มของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักจะรุนแรงกว่าวัยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีไข้สูงติดต่อกันและไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วัน ขอให้นึกถึงโรคไข้เลือดออกต้องไปพบแพทย์
พญ.ศิริเพ็ญกล่าวต่อว่า อาการป่วยของโรคไข้เลือดออกที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ ได้แก่ไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน แต่มักไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะดูแลยาก เด็กบางรายจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวร่วมด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิด คิดว่าเด็กมีปัญหาลำไส้อักเสบ และเด็กยังบอกอาการไม่ได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการป่วยเป็นสำคัญ อาการที่ต้องสังเกตใกล้ชิดมี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่มีไข้สูง ตัวร้อนมาก หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนมขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และช่วงที่ 2 คือช่วงที่ไข้ลดวันที่ 3 หรือวันที่ 4 ประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่อาจมีอาการช็อก
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
อาการไข้เลือดออกในเด็ก1ขวบ
อาการไข้เลือดออกในเด็กอ่อน
วิธีสังเกตุ..อาการไข้เลือดออกแบบง่ายๆในเด็ก
ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร
fever dengue ยุง mosquito , ยุงลาย petachiae
ปกติ คนที่โดนยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดครั้งแรก อย่างมากจะเกิดเป็นไข้ เดงกิ่ว(Dengue Fever ) ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่มีช้อค แต่ถ้า ในปีถัดๆ มาโดนยุงที่มีเชื้อกัดอีก อาจจะทำให้เกิดปฏิกริยาเป็นไข้เลือดออกได้ เพราะฉะนั้นเด็กเล็กๆโดยเฉพาะต่ำกว่าขวบจึงไม่ค่อยเป็นไข้เลือดออก ครับ
อาการไข้เลือดออก จะเริ่มด้วยไข้สูงๆ มากๆๆ ประมาณ สามสี่วัน อาจจะมีตาแดงๆ ท้องอื่ด ปวดท้อง อาเจียน(มักมีปวดท้องอาเจียนร่วมด้วยเกือบทุกคน) ไข้จะสูงลอยกินยาไม่ค่อยลดง่ายๆ
บางคนอาจจะมีจุดเลือดออกตามตัวให้เห็นหรือ มีเลือดกำเดาออก อาเจียรเป็นเลือดสีกาแฟดำ ให้เห็น(มักจะเป็นตอนวันท้ายที่เป็นมากแล้ว)
ไข้จะสูงอยู่ สี่วันหลังจากนั้น จะเข้าระยะไข้ลด ระยะนี้เป็นช่วงที่น่ากลัว ความดันจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ช็อค ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้ทัน อาจจะเสียชีวิตได้
ที่ว่าไข้เลือดออกตัวร้อนตัวเย็น ไม่ใช่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็นนะครับ หมายถึงร้อนจัดๆๆไม่ค่อยลด สี่วันก่อน ลดลง ตอนวันที่สี่ ย่างเข้าวันที่ห้า ตอนหนักนี่แหละครับ
Link
https://www.happymomy.com
https://www.healthcorners.com
https://www.oknation.net
https://meecm.wordpress.com