อาการไข้เลือดออกของเด็กเล็ก


2,757 ผู้ชม


อาการไข้เลือดออกของเด็กเล็ก อาการไข้เลือดออกของเด็ดอ่อน อาการไข้เลือดออกเด็กเล็ก

กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายไข้เลือดออกในผู้สูงอายุ เด็กเล็กหากมีไข้สูงและไม่ลดใน2วันต้องรีบพบแพทย์

กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายไข้เลือดออกในผู้สูงอายุ เด็กเล็กหากมีไข้สูงและไม่ลดใน2วันต้องรีบพบแพทย์
 
กระทรวง สาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปี 2554 จนถึงเดือนมิถุนายน ทั่วประเทศมีรายงานป่วยกว่า 2 หมื่นราย เสียชีวิต13ราย ประชาชนทุกคนมีโอกาสเสี่ยง ป่วยไข้เลือดออกเท่ากัน กลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูง คือ ผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า1ขวบ แนะนำหากมีไข้สูงและไข้ไม่ลง ภายใน 2 วัน หรือเมื่อไข้เริ่มลงแล้วแต่ยังมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง หรือเด็กเล็กมีอาการร้องกวน ซึมไม่ดูดนม อาเจียน ให้สงสัยอาจเป็นไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์ทันที
 
นาย แพทย์ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากปริมาณยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อ มีจำนวนมากกว่าฤดูกาลอื่น เพราะมีแหล่งน้ำขังเพาะพันธุ์ยุงจำนวนมาก จึงทำให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสถูกยุงลายกัด และเสี่ยงป่วยเป็นไข้เลือดออกได้เท่ากัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูงคือ เด็กเล็กอายุ ต่ำกว่า1ขวบ และกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่แล้ว เช่นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2554 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จำนวน 23,324ราย ผู้ป่วยที่พบกลุ่มใหญ่ที่สุดคือร้อยละ52 อยู่ในกลุ่มอายุ10-24 ปี โดยพบเด็กอายุต่ำกว่า1 ขวบป่วยจำนวน 647ราย ส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วย 190 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม13ราย จากการสอบสวนโรค พบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม- สิงหาคมทุกปี จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงที่สุดในรอบปี กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้กำชับให้แพทย์ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด และมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะผู้ที่นอนกลางวัน เช่นเด็กเล็ก ผู้ที่ทำงานช่วงกลางคืน ต้องนอนในมุ้ง หรือนอนให้ห้องมีที่มีมุ้งลวด เนื่องจากยุงลาย ออกหากินเวลากลางวัน และการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านและรอบๆบ้านทุก7วัน กลุ่มของผู้สูงอายุ เมื่อเกิดการติดเชื้อ อาการมักจะรุนแรงกว่าวัยทั่วๆไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หากมีไข้สูงติดต่อกันและไข้ไม่ลดลงภายใน2วัน ขอให้นึกถึงโรคไข้เลือดออก ต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและรักษาได้ อย่างทันท่วงที อาการป่วยของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงติดต่อกัน 2-7วัน แต่มักไม่มีอาการไอไม่มีน้ำมูกไหลเด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะดูแลยาก เด็กบางรายจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวร่วมด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิด คิดว่าเด็กมีปัญหาลำไส้อักเสบ และเด็กยังบอกอาการไม่ได้ จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการป่วยเป็นสำคัญ อาการที่ต้องสังเกตใกล้ชิดมี 2 ช่วง ได้แก่ช่วงที่มีไข้สูง ตัวร้อนมาก หากหลังให้กินยาลดไข้ คือ ยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน2วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนม ขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และช่วงที่ 2 คือช่วงที่ไข้ลดลงหลังมีไข้ประมาณวันที่ 3 หรือวันที่ 4 ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการสดชื่นขึ้น กินอาหารได้ แต่จะมีประมาณ 2-5 เปอร์เซนต์ ที่อาจมีอาการช๊อก โดยมีสัญญาณ ดังนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง เบื่ออาหาร มีอาการเพลียมาก ปวดท้อง อาเจียน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ถ่ายปัสสาวะน้อยลง สัญญาณในเด็กเล็กคือไม่ดูดนม ร้องกวนตลอดเวลาขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูฝนนี้มีโรคหลายโรคที่มีอาจมีอาการใกล้เคียงกับไข้เลือดออก เช่นโรคฉี่หนู โรคมือเท้าปาก ไข้หวัดใหญ่ โรคดังกล่าวจะเริ่มจากมีไข้สูง ยาลดไข้ที่แนะนำให้ใช้ได้คือ พาราเซตามอล ให้กินเฉพาะเวลาที่มีไข้สูง ถ้าไข้ไม่ลงให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา และให้ดื่มน้ำเกลือแร่มากๆ ยาลดไข้ที่ห้ามใช้ได้แก่ ยาแอสไพริน ยาที่มีฤทธิ์ลดไข้บรรเทาอาการปวดเมื่อย เช่น บรูเฟน ยาที่มี สเตียรอยด์เป็นส่วนประกอบ เนื่องจากยาดังกล่าวระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง หากเป็นไข้เลือดออกอาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการไข้เลือดออกของเด็ดอ่อน

อาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก 2 วันไข้ไม่ลดรีบพบแพทธ์

2 วันของอาการไข้ในช่วงแรกนั้นคุณแม่ต้องสังเกตุให้ดีค่ะ เพราะอาการไข้ของลูกน้อยนั้นอาจเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกก็เป็นได้ ระยะเวลา 2 วัน ถ้าหากไข้ยังไม่ลดนั้นให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทธ์ดู ได้เลยค่ะ เพื่อตรวจดูว่านั้นเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกหรือไม่นั้นเองค่ะ ภูมิต้านทานโรคของเด็กนั้นมีต่ำกว่าในผู้ใหญ่มากมายนักเวลา 2 วันของโรคไข้เลือดออกก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับอาการของโรคนี้

นพ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากปริมาณยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อ มีจำนวนมากกว่าฤดูกาลอื่น เพราะมีแหล่งน้ำขังเพาะพันธุ์ยุงจำนวนมาก จึงทำให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสถูกยุงลายกัด และเสี่ยงป่วยเป็นไข้เลือดออกได้เท่ากัน โดยเฉพาะ 2 กลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูง คือ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ แล้ว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2554 มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 23,324 ราย ผู้ป่วยที่พบกลุ่มใหญ่ที่สุดคือร้อยละ 52 อยู่ในกลุ่มอายุ 10-24 ปี โดยพบเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยจำนวน 647 รายส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วย 190 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 13 ราย

"จากการสอบสวนโรค พบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมทุกปี จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงที่สุดในรอบปี กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการ 2 เรื่องหลัก มาตรการแรกคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้กำชับให้แพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด ให้ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด และมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ต้องนอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย" นพ.ไพจิตร์กล่าว


ศ.คลินิก พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ ผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านโรคไข้เลือดออกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์โดยกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการติดเชื้อไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกต่ำ หากติดเชื้อไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง ส่วนกลุ่มของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักจะรุนแรงกว่าวัยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีไข้สูงติดต่อกันและไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วัน ขอให้นึกถึงโรคไข้เลือดออกต้องไปพบแพทย์
พญ.ศิริเพ็ญกล่าวต่อว่า อาการป่วยของโรคไข้เลือดออกที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ ได้แก่ไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน แต่มักไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะดูแลยาก เด็กบางรายจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวร่วมด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิด คิดว่าเด็กมีปัญหาลำไส้อักเสบ และเด็กยังบอกอาการไม่ได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการป่วยเป็นสำคัญ อาการที่ต้องสังเกตใกล้ชิดมี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่มีไข้สูง ตัวร้อนมาก หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนมขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และช่วงที่ 2 คือช่วงที่ไข้ลดวันที่ 3 หรือวันที่ 4 ประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่อาจมีอาการช็อก

อาการไข้เลือดออกเด็กเล็ก

วิธีสังเกตุ..อาการไข้เลือดออกแบบง่ายๆในเด็ก

ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร 

ปกติ คนที่โดนยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดครั้งแรก อย่างมากจะเกิดเป็นไข้ เดงกิ่ว(Dengue Fever ) ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่มีช้อค แต่ถ้า ในปีถัดๆ มาโดนยุงที่มีเชื้อกัดอีก อาจจะทำให้เกิดปฏิกริยาเป็นไข้เลือดออกได้ เพราะฉะนั้นเด็กเล็กๆโดยเฉพาะต่ำกว่าขวบจึงไม่ค่อยเป็นไข้เลือดออก ครับ 
อาการไข้เลือดออก จะเริ่มด้วยไข้สูงๆ มากๆๆ ประมาณ สามสี่วัน อาจจะมีตาแดงๆ ท้องอื่ด ปวดท้อง อาเจียน(มักมีปวดท้องอาเจียนร่วมด้วยเกือบทุกคน) ไข้จะสูงลอยกินยาไม่ค่อยลดง่ายๆ
 
บางคนอาจจะมีจุดเลือดออกตามตัวให้เห็นหรือ มีเลือดกำเดาออก อาเจียรเป็นเลือดสีกาแฟดำ ให้เห็น(มักจะเป็นตอนวันท้ายที่เป็นมากแล้ว)
 
ไข้จะสูงอยู่ สี่วันหลังจากนั้น จะเข้าระยะไข้ลด ระยะนี้เป็นช่วงที่น่ากลัว ความดันจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ช็อค ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้ทัน อาจจะเสียชีวิตได้
 
ที่ว่าไข้เลือดออกตัวร้อนตัวเย็น ไม่ใช่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็นนะครับ หมายถึงร้อนจัดๆๆไม่ค่อยลด สี่วันก่อน ลดลง ตอนวันที่สี่ ย่างเข้าวันที่ห้า ตอนหนักนี่แหละครับ  

เตือนระวัง!! ภาวะช็อกนาน อันตรายผู้ป่วยไข้เลือดออก

คลิกเพื่อดูขนาดจริง
ในช่วงฤดูฝนนี้ “ไข้เลือดออก” เป็นอีกโรคหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ป่วยคนใดตกอยู่ในภาวะช็อกนาน อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้!!
นับแต่ต้นปีจวบจนปัจจุบัน ผ่านมาแล้ว 6 เดือนเต็ม แต่จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งนี้จากสถิติสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึง กลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 22,831 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิต 24 ราย ยิ่งเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝนคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น!!
ศาสตราจารย์คลินิก (พิเศษ) แพทย์หญิง ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ กุมารแพทย์ ผอ.ศูนย์ความร่วมมือในการรักษาโรคไข้เลือดออก ระหว่างองค์การอนามัยโลก และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกว่า เป็นโรคที่เกิดจาก เชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค เมื่อยุงลายกัดผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเนื่องจากได้รับเชื้อไวรัสจากยุง ตัวนั้น หลังจากระยะฟักตัว 3-11 วัน โดยยุงตัวเดียวกันนั้นยังสามารถแพร่ เชื้อไวรัสไปยังคนอื่น ๆ ได้อีกตลอดชีวิตของยุง ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์
“ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกจะมีอาการในเบื้องต้น คือมีไข้สูง แม้จะทานยาลดไข้แล้วแต่ก็ยังคงมีไข้อยู่แต่อาจจะต่ำลง ปวดศีรษะ อาจมีอาการปวดบริเวณกระบอกตา ปวดตามตัว เช่น ปวดกระดูก หรือกล้ามเนื้อ มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกตามไรฟัน บางรายมีผื่น ส่วนอาการทั่วไปอื่น ๆ ที่พบ คือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารและปวดท้อง”
สิ่งที่ทำให้โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ต้องพึงระวัง เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะช็อกนานได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยแพทย์จะต้องวัดความดันหรือการจับชีพจรถึงจะทราบ โดยจะพบว่า ชีพจรเต้นเบามากหรือคลำหาชีพจรไม่เจอ รวมทั้งไม่สามารถวัดความดันของคนไข้ได้ หากดูสภาพผู้ป่วยจากภายนอกแล้ว คนปกติทั่วไปจะไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยกำลังตกอยู่ในภาวะช็อกนาน แม้แต่หมอหรือพยาบาลที่ไม่มีประสบการณ์มากพอก็จะดูอาการไม่ออก เพราะคนไข้ยังมีสติ และพูดจารู้เรื่อง
ภาวะช็อกนานนี้ จะเกิดขึ้น เมื่อเวลาไข้ลดหรือไม่มีไข้แล้ว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ยังมีอาการเพลีย ไม่มีแรง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงจะทำ อยากจะนอนสักพักคิดว่าคงจะดีขึ้น ส่วนในเด็กจะเพลีย นอนซึม โดยอาการเหล่านี้ มักจะ เข้าใจว่าไม่เป็นไรเพราะไข้ลดลงแล้ว คงใกล้หายแล้วก็ไม่ได้สนใจ ทำให้ บางครั้งการมาโรงพยาบาลของคนไข้บางรายมาด้วยอาการที่รุนแรงแล้ว เช่น ชีพจรวัดไม่ได้ ตัวเขียว รวมทั้ง มีอาการแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย ซึ่งการรักษาทำได้ลำบากและเป็นไปได้ยาก
“นอกจากอาการเพลียแล้วอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ตัวเย็น เหงื่อออก กระสับกระส่าย มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ รวมทั้ง กระหายน้ำตลอดเวลา ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะนานเกิน 4-6 ชั่วโมง เนื่องจากภาวะช็อกนานในผู้ป่วย ที่เป็นไข้เลือดออกจะไม่ใช่อาการชัก หรือหมดสติ ไม่รู้ตัว แต่เป็นอาการที่ค่อย ๆ เพลียไปเรื่อย ๆ จนหมดแรง ในรายที่เป็นผู้ใหญ่บางรายเพลียจนเดินไม่ไหวต้องนั่งรถเข็น ทั้ง ๆ ที่บางคนเคยเป็น นักกีฬาที่ร่างกายแข็งแรงมาก่อน”
การสังเกตภาวะช็อกนานที่อาจเกิดขึ้นทำได้โดย ดูการไหลเวียนของเลือดที่ปลายมือ หรือ ปลายเท้า โดยการกดลงไป ถ้าเลือดกลับมาแดงภายใน 2-3 วินาที แสดงว่าระบบการไหลเวียนของเลือดยังเป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อกดลงไปแล้วนานกว่าปลายนิ้วจะกลับมาแดงเหมือนเดิม รวมทั้งกลับมาแดงอย่างช้า ๆ แสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้นแล้ว แต่การสังเกตนี้จะต้องอยู่ในอุณหภูมิปกติจึงจะได้ผลดี
ภาวะดังกล่าว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกเมื่อไข้ลดลงจะเกิดปฏิกิริยาในร่างกาย โดยมีสารชนิดหนึ่งหลั่งออกมาทำให้เส้นเลือดเกิดการรั่ว โดยในเลือดจะประกอบไปด้วย น้ำเหลืองและเม็ดเลือด แต่น้ำเหลืองเท่านั้นที่จะรั่วออกมาแล้วไหลเข้าไปอยู่ในท้องและปอด
“เมื่อน้ำเหลืองรั่วออกมา ในระบบไหลเวียนของร่างกายก็จะมีแต่เม็ดเลือด จึงมีลักษณะข้นและหนืด ทำให้ระบบไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ อาทิ ตับ ไต สมอง ไม่ได้รับเลือด ถ้ารั่วออกมาก ๆ จะเกิดอาการท้องอืดและหายใจลำบาก เพลีย ปวดท้อง คลื่นไส้ เพราะน้ำเหลืองเข้ามาแทรกอยู่ในช่องปอดและท้อง”
ในรายที่ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้เกินครึ่งของปกติและดื่มน้ำเกลือแร่ได้ บ้าง แนะนำให้ดูแลที่บ้าน ได้ในระยะ 2 วันแรกที่มีไข้ โดยให้ยาพาราเซตามอล ในขนาดที่ถูกต้อง และหากผู้ป่วยยังมีไข้สูงอยู่ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็น เพราะจะทำให้ผู้ป่วยหนาวสั่น และไม่ควรให้ยาลดไข้ถี่เกินกว่า 4 ชั่วโมง ควรให้เฉพาะเวลาที่มีไข้สูงเท่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้
ถ้าสงสัยว่าจะเกิดภาวะช็อกนานกับคนไข้สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนนำส่งโรง พยาบาลได้โดย หาน้ำเกลือแร่ให้ดื่ม หรือผลไม้ อย่างน้ำมะพร้าว หรือน้ำส้ม แต่ถ้าเป็นผลไม้ที่เป็น สีแดงหรือสีดำควรหลีกเลี่ยง อย่างน้ำกระเจี๊ยบ เพราะอาการไข้เลือดออกจะมีอาการเลือดออกด้วย จะทำให้สังเกต อาการคนไข้ได้ยากหากเกิดอาการอาเจียนจะแยกไม่ออก หรืออาจจะเป็นน้ำอัดลม อย่างสไปรท์ก็ได้แต่ต้องเขย่าเอาฟองออกก่อน
“โดยให้คนไข้ค่อย ๆ ดื่มทีละน้อย ๆ อย่าให้ดื่มทีเดียวหมดแก้ว ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ ก็ป้อนทีละ 1-2 ช้อน แล้วทิ้งไปสัก 10 นาทีแล้วค่อยให้ดื่มใหม่ อย่าลืมว่า ต้องไม่ให้ดื่มน้ำเปล่าเพราะจะทำให้สมดุลเกลือแร่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้มีอาการชักตามมาได้ จากนั้นให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที”
คนไข้ที่เป็นไข้เลือดออกทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสเกิดภาวะช็อกนานได้ ทั้งนั้น แต่ผู้ที่มีรูปร่างท้วมและอ้วน รวมทั้งคนท้องและเด็กทารกที่ยัง เดินไม่ได้ อายุต่ำกว่า 1 ขวบ และผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจจะมีโอกาสเป็นได้ง่ายกว่าคนปกติ ฉะนั้นหากผู้ป่วยมีไข้ เกิน 3 วัน ควรพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายโดยละเอียด มีการรัดแขนแน่น ๆ เพื่อหาจุดเลือดออก รวมทั้ง ตรวจเลือดเบื้องต้น เพื่อการวินิจฉัยและติดตามอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ต้องพามาตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ด้วย โดย ในการตรวจติดตามอาจต้องมีการตรวจเลือดซ้ำ ๆ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยจะปลอดภัยจากภาวะช็อกของโรคไข้เลือดออก ก็ต่อเมื่อไข้ลงอย่างน้อย 24 ชั่วโมงโดยไม่ใช้ยาลดไข้
สำหรับการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำนั้น ไม่จำเป็นในระยะไข้ และอาจเป็นผลร้ายในระยะหลังได้ การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ โดยแพทย์จะพิจารณาให้ เฉพาะรายที่อยู่ในระยะวิกฤติของโรคหรือเมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น
การสร้างความรู้และความเข้าใจให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลบุตรหลาน และบุคคลในครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมทั้ง สังเกตอาการผู้ป่วยและรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้แนวโน้มการอุบัติของโรคนี้ลดลงได้ และที่สำคัญ อย่าชะล่าใจเด็ดขาด เมื่อไข้ลดลงแต่ผู้ป่วยยังมีอาการอ่อนเพลีย หรือร้องกวนไม่หยุดในเด็กเล็ก. 

Link
https://region2.prd.go.th
https://www.happymomy.com
https://www.healthcorners.com

อัพเดทล่าสุด