อาการไข้เลือดออก เด็ก 1-2ปี


1,292 ผู้ชม


อาการไข้เลือดออก เด็ก 1-2ปี อาการไข้เลือดออก ในเด็กทารก อาการไข้เลือดออก ในผู้ใหญ่

อาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก 2 วันไข้ไม่ลดรีบพบแพทธ์

2 วันของอาการไข้ในช่วงแรกนั้นคุณแม่ต้องสังเกตุให้ดีค่ะ เพราะอาการไข้ของลูกน้อยนั้นอาจเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกก็เป็นได้ ระยะเวลา 2 วัน ถ้าหากไข้ยังไม่ลดนั้นให้รีบพาลูกน้อยไปพบแพทธ์ดู ได้เลยค่ะ เพื่อตรวจดูว่านั้นเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกหรือไม่นั้นเองค่ะ ภูมิต้านทานโรคของเด็กนั้นมีต่ำกว่าในผู้ใหญ่มากมายนักเวลา 2 วันของโรคไข้เลือดออกก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับอาการของโรคนี้

นพ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากปริมาณยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อ มีจำนวนมากกว่าฤดูกาลอื่น เพราะมีแหล่งน้ำขังเพาะพันธุ์ยุงจำนวนมาก จึงทำให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสถูกยุงลายกัด และเสี่ยงป่วยเป็นไข้เลือดออกได้เท่ากัน โดยเฉพาะ 2 กลุ่มเสี่ยงที่มีอันตรายสูง คือ เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกลุ่มที่อาจมีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ แล้ว เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หากป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2554 มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 23,324 ราย ผู้ป่วยที่พบกลุ่มใหญ่ที่สุดคือร้อยละ 52 อยู่ในกลุ่มอายุ 10-24 ปี โดยพบเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ป่วยจำนวน 647 รายส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ป่วย 190 ราย มีผู้เสียชีวิตรวม 13 ราย

"จากการสอบสวนโรค พบว่าทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมทุกปี จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงที่สุดในรอบปี กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการดำเนินการ 2 เรื่องหลัก มาตรการแรกคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้กำชับให้แพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด ให้ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด และมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ต้องนอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย" นพ.ไพจิตร์กล่าว


ศ.คลินิก พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ ผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านโรคไข้เลือดออกกล่าวว่า เชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์โดยกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการติดเชื้อไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นในเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกต่ำ หากติดเชื้อไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรง ส่วนกลุ่มของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการมักจะรุนแรงกว่าวัยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ดังนั้น หากมีไข้สูงติดต่อกันและไข้ไม่ลดลงภายใน 2 วัน ขอให้นึกถึงโรคไข้เลือดออกต้องไปพบแพทย์
พญ.ศิริเพ็ญกล่าวต่อว่า อาการป่วยของโรคไข้เลือดออกที่มีลักษณะพิเศษต่างจากโรคอื่นๆ ได้แก่ไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน แต่มักไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะดูแลยาก เด็กบางรายจะมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวร่วมด้วย ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิด คิดว่าเด็กมีปัญหาลำไส้อักเสบ และเด็กยังบอกอาการไม่ได้จึงต้องอาศัยการสังเกตอาการป่วยเป็นสำคัญ อาการที่ต้องสังเกตใกล้ชิดมี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่มีไข้สูง ตัวร้อนมาก หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้ว ไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนมขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และช่วงที่ 2 คือช่วงที่ไข้ลดวันที่ 3 หรือวันที่ 4 ประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์ ที่อาจมีอาการช็อก

อาการไข้เลือดออก ในเด็กทารก

มารู้จัก ไข้เลือดออกภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัว ตอนที่ 1 

รศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
อ. พญ. วนัทปรียา พงษ์สามารถ
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรคไข้เลือดอออก
            โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี พบระบาดเป็นครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พศ. 2497 จากนั้นพบมีการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พศ. 2501  โดยมีรายงานผู้ป่วย 2,158 ราย เสียชีวิตร้อยละ 13.90 และ จะระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน คือ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ แต่อัตราการเสียชีวิตน้อยลงอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
            สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจากสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัด และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม  พ.ศ. 2548 รวมทั้งสิ้น 7,215 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 11.64 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นอัตราเสียชีวิตร้อยละ 0.17


ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ มีจริงหรือไม่
            โรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งอาจพบได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และส่วนใหญ่ทุกปีจะพบสายพันธุ์ที่ 1 และ 3 มากกว่า แต่ปีนี้พบสายพันธุ์ที่ 4 มาเป็นอันดับ 1 ซึ่ง ส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีจะไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรงโดยเฉพาะถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก แต่หากเป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 อาจเป็นไข้เลือดออกที่รุนแรงได้จากทุกสายพันธุ์ แต่ยังไม่มีรายงานสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย
ไข้เลือดออกติดต่อได้อย่างไร
            เป็น โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจากคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่ คนอื่น ๆ ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ยุงลายจะออกหากินในตอนกลางวัน มักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในที่ๆมีน้ำขังในชุมชน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจะอยู่ตามโอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยาง รถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีรายงานทารกแรกเกิดติดเชื้อไวรัสเดงกีจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
 

โตแล้ว/เคยเป็นแล้ว จะเป็นไข้เลือดออกอีกได้หรือไม่
            แม้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกจะเป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 70)โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่เด็กอายุ 5-14 ปี อย่างไรก็ตามมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่อายุ 1 วันจนกระทั่งอายุมากกว่า 65 ปี  หลังหายจากไข้เลือกออกแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกทั้ง4 สายพันธุ์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เป็นจะมีอยู่ตลอดไป ส่วนภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นจะหมดไปหลังจาก 1ปี หากมีการติดเชื้อครั้งที่ 2 จากสายพันธุ์ที่ต่างไปจากครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออกที่รุนแรงได้
โรคไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร
            โดย ทั่วไปหลังได้รับเชื้อเดงกี เด็กๆส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเป็นไข้เพียงเล็กน้อยแล้วหายได้เอง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการของไข้เลือดออก โดยหลังจากถูกยุงกัด 5-8 วัน เด็กอาจมีอาการป่วยได้ตั้งแต่น้อยไปจนถึงมาก ส่วนใหญ่อาการจะมีเพียงกลุ่มอาการไวรัส คือ ไข้สูง หน้าแดง ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีผื่นเล็กน้อย 2-3 วัน ก็หายดี บางคนอาจมีอาการไข้เดงกี คือ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก อาจมีจุดเลือดออกได้ และเพลียอยู่หลายวัน
            เด็กที่มีอาการของไข้เลือดออกจะมีอาการเริ่มต้นเป็นไข้สูง เฉียบพลัน อาจสูงถึง 40-41 องศา เซลเซียสปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่มีอาการหวัดเด่นชัด เด็กๆ บางราย จะมีจุดเลือดออกขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้ว จึงเข้าสู่ระยะวิกฤติซึ่งไข้จะเริ่มลงพร้อมกับมีการรั่วของพลาสมา อาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ มักพบว่าเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยกลับมีอาการแย่ลง ในระยะวิกฤตินี้เด็กบางรายอาจมีอาการซึม ชีพจรเต้นเร็วและเบา ตัวเย็น กระสับกระส่าย บางรายอาจมีความดันโลหิตตกจนช็อก อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ บางรายอาจมีอาการหนักมากจนไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ระยะวิกฤติจะกินเวลาประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารได้ อาจมีผื่นเป็นวงสีขาวบนพื้นแดงที่ขาปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน
            หาก เด็กที่เป็นไข้เลือดออกรับประทานอาหารและน้ำได้ หรือมาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้นและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถทำให้ผู้ป่วยผ่านพ้นระยะวิกฤตไปได้โดยไม่มีอาการรุนแรง
 

จะรู้ได้อย่างไรว่าบุตรหลานเป็นโรคไข้เลือดออก
            เด็กๆ ที่มีอาการไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง หน้าแดงๆ หรือมีผื่นออกตามตัวให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกเสมอ โดยเฉพาะในช่วงใกล้หน้าฝนเช่นนี้ เพราะยุงเริ่มแพร่พันธุ์ได้มาก ควรนำมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจและรัดแขนเพื่อดูว่ามีจุดเลือดออกขึ้นไหม ถ้ามีจุดเลือดออกจะสงสัยไข้เลือดออกมากขึ้น  อย่างไรก็ดีอาการไข้ในช่วง 2-3 วัน แรกของโรคไข้เลือดออก จะแยกไม่ได้กับการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งพบได้ในเด็กเช่นกัน การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาจมีอาการไข้สูงเหมือนกับไข้เลือดออกในช่วงต้น แต่ไข้มักจะหายไปเองโดยเด็กดูสบายดีในเวลา 2-3 วัน ในขณะที่ถ้าเป็นไข้เลือดออกไข้จะยังคงมีอยู่ และเด็กจะดูอ่อนเพลีย ดังนั้นแพทย์มักจะต้องนัดผู้ป่วยมาติดตามดูอาการต่อไป การตรวจเลือดในวันที่ 1-2 ของไข้อาจไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ แต่การตรวจเลือดหลังวันที่ 3 ของ ไข้เพื่อดูความข้นของเลือด เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด มักจะพอบอกได้ว่าน่าจะเป็นไข้เลือดออก ดังนั้นแพทย์จะนัดผู้ป่วยที่ยังคงมีไข้หลัง 2-3 วันไปแล้ว มาทำการตรวจร่างกาย รัดแขน และตรวจเลือดด้วย

อาการไข้เลือดออก ในผู้ใหญ่

ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่

   เข้า-ออกโรงพยาบาล   ช่วงนี้ พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกมาก   โดยความเข้าใจของเรา ๆ มักจะพบว่าเป็นกับเด็ก ๆ    แต่ในความเป็นจริง  ผู้ใหญ่ ก็เป็นได้  และค่อนข้างจะหนัก เพราะเชื้อไข้เลือดออกปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง  และด้วยการวินิจฉัยโรค และการหาสมมุติฐานของโรคที่ไม่รัดกุมพอ  อาจมีการให้ยารักษาที่มีตัวยาบางอย่างไปกระตุ้นอาการป่วย  ให้ทรุดหนัก  และถึงชีวิตได้  ( ผมยืนยันได้เพราะมีหลานเสียชีวิตเนื่องมาจากสาเหตุ และการให้ยารักษาที่ผิดพลาด )  ที่พบผู้ป่วยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งไปรักษากับคลินิกเอกชน  จนเกือบจะพลาดเพราะการวินิจฉัย  และไม่ได้ตรวจเลือดของผู้ป่วย  นักเรียนได้เข้าห้อง  ICU 3 วัน  โชคเธอดี  ที่ได้รับการเยียวยาอย่างถูกวิธี  ปัจจุบัน เธอไปพักฟื้นที่ห้องพักผู้ป่วยประกันสังคม  ( ทำไมนักเรียนไปอยู่ที่ห้องประกันสังคมได้เพราะ ครอบครัวของเธอฐานะยากจน  เธอต้องไปทำงานที่ 7-eleven จึงได้สิทธิการรักษาตนเอง ) เธอโชคดี  ที่ออกจากห้อง ICU แล้ว และกำลังจะได้กลับบ้าน  โดยผู้ที่มาดูและเธอโดยตลอดคือ แม่ – พ่อ ของเธอ  ได้ไปคุยกับเธอบ้าง  เพราะวันแรกๆ ดูมีกังวล  เพราะกำลังจะสอบปลายภาค  และสอบ A –net และ O-net ก้อได้บอกเธอไปว่า  รักษาตนเองก่อน  เรื่องที่เรียนโรงเรียนจะดูแลให้ภายหลัง  วันนี้เธอโชคดีที่ได้รับการดูแลจาก หมอ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ดูแลคนไข้ ที่เอาใจใส่อย่างดี    
            กับนักเรียนคนนี้ที่ป่วย  ทำให้ได้แง่คิดว่าผู้ใหญ่มัวแต่ระวังเด็กไม่ให้ยุงกัด จะได้ไม่เป็นไข้เลือดออก    แต่กลับกันผู้ใหญ่โดนยุงกัดมาก ๆ เลยเป็นไข้เลือดออกซะเลย  และด้วยความที่หายาทานเองได้  ไปทานยาที่บางตัวแทนที่จะหายจากโรค   กลายเป็นผู้ใหญ่หายไปจากโลกซะเอง
            ที่กล่าวถึงตอนแรกไม่ได้หมายความว่า  คลินิกไม่ดี  เดี๋ยวหมอ  ว่าเราแย่เลย  ตรงนี้ขอให้แง่คิดว่าความรอบคอบและการมีประสบการณ์ที่จะช่วยผู้มารับการรักษา อยู่รอดและปลอดภัย


Link  

https://www.happymomy.com

https://www.si.mahidol.ac.th

https://www.gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด