อาการคนเป็นไข้เลือดออก อาการแทรกซ้อนของโรคไข้เลือดออก อาการเริ่มต้นไข้เลือดออก
อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออก
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยไข้เลือดออก(revision 2010)dengue fever (DF , DHF หรือ dengue hemorrhagic fever)
ผู้ป่วยไข้เลือดออกในวันแรกๆ อาการอาจไม่ชัดเจน คือจะเหมือนไข้ หรือไข้หวัดใหญ่ทั่วไปได้เช่น
อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออก มักจะสัมพันธ์ตามระดับความรุนแรงและระยะของการดำเนินโรค
- ไข้สูงลอย 2-7 วัน ในระยะแรก อาจมีอาการไข้อย่างเดียว ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร ตัวแดง หน้าแดง หรือที่เรียกว่า flushing โดยเฉพาะผู้ที่ผิวขาว ลักษณะที่เคยกล่าวในหนังสือว่า ไข้เลือดออกมักไม่มีอาการหวัดน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ หรือจาม นั้น ปัจจุบันพบว่า ไม่เสมอไป เพราะ มีหลายรายที่มีอาการหวัดร่วม อาการที่พบบ่อยและทำให้สงสัยเรื่องไข้เลือดออกคือ ไข้มักลอย ไม่ค่อยลง มีปวดกระบอกตา ปวดตามตัว ข้อ กระดูก เมื่อย และอาการเบื่ออาหารหรืออาเจียน ซึ่งเป็นอาการสำคัญเด่นในผู้ป่วยไข้เลือดออก ในระยะแรกๆของไข้เลือดออก อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้เพราะเหมือนกับไข้อย่างอื่น
- อาการผื่น ที่สำคัญแต่มักพบในระยะถัดมาคือ 2-5 วัน ผื่นจะเป็นจุดเลือดออกหรือ petechiae, อาการนี้เกิดในการดำเนินโรคในขั้นถัดไปคือมีการลดลงของเกร็ดเลือด ทำให้มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง สามารถแบ่งออกได้สองแบบคือ มีแนวโน้มเลือดออก ตรวจสอบโดยการรัดแขนหรือ tourniquet test กับเลือดออกเองหรือ spontaneous bleeding (ตามชื่อของโรค=hemorrhage) เช่นเลือดออกตามไรฟัน, เลือดกำเดาไหล ,อาเจียนเป็นเลือด,ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ, เป็นต้น ผื่นอีกชนิดที่พบในระยะท้ายๆหรือการหายของโรค จะเป็นผื่นปื้นเข้มสลับจางเป็นวงๆ เรียกว่าผื่นการหายหรือ convalescent rash
- อาการปวดท้อง ตับโต กดเจ็บ เป็นระยะถัดมาของการดำเนินโรค เป็นระยะที่มีการอักเสบของเส้นเลือดทั่วร่างกาย ทำให้สารน้ำ ไหลออกนอกเส้นเลือด ระยะนี้จะมีการบวมของตับ โต กดเจ็บ อาเจียน อาจมีน้ำท่วมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เป็นระยะเริ่มเข้าสู่อาการช็อค ถ้าได้รับสารน้ำไม่พอ จะเข้าสู่ระยะถัดไป ถ้าตรวจเลือดจะพบว่า ความเข้มของเม็ดเลือดสูงเนื่องจากการขาดน้ำ ทำให้เลือดข้น (high hematocrit HCT) ผู้ป่วยมักซึม
- อาการช็อค hypotension ความดันโลหิตต่ำ จากการที่มีสารน้ำไหลออกนอกเส้นเลือดทั่วร่างกาย เป็นระยะอันตรายที่สุดถ้ารักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ อาการเริ่มใน 24-48 ชม.หลังไข้ลง ผู้ป่วยที่เข้ามาในระยะนี้จะมีอาการกระสับกระส่าย ไข้ไม่มี แต่จะมีตัวเย็น มือเย็นเท้าเย็น ปากเขียว เหงื่อออก ชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็ว และอาจเสียชีวิต ภายใน 24 ชม. ผู้ป่วยอาจมีตับวาย ไตวาย หรือสมองบวมหมดสติได้
อาการที่พบไม่บ่อย เช่นอาการอ่อนแรงเฉียบพลันของกล้ามเนื้อ สมองอักเสบ ชักเกร็งเป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
- ไข้เลือดออก ,อาการ thaihealth.net https://www.thaihealth.net/h/content-51.html
- Schwartz, E, Mendelson, E, Sidi, Y. Dengue fever among travelers. Am J Med 1996; 101:516.
- Freedman, et al. Spectrum of disease and relation to place of exposure among ill returned travelers. N Engl J Med 2006; 354:119.
อาการแทรกซ้อนของโรคไข้เลือดออก
อาการเริ่มต้นไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอก จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
อาการของ ไข้เลือดออก
อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
ไข้เลือดออก
แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือ ข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือ ไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้
การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
ตรวจ สอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
หมั่น ตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของ ยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ
การป้องกันส่วนบุคคล
ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ
นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
การ ใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง
การใช้สารเคมีในการควบคุม
ใช้ ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
การ ใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
Link
https://selfcare.thaihealth.net
https://www.healthcorners.com
https://health.kapook.com