โครงงานวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก


5,916 ผู้ชม


โครงงานวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก งานวิจัยโรคไข้เลือดออก อาการเริ่มแรกของไข้เลือดออก

โครงงานวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออ

โครงงานวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ธูปไล่ยุงจากเปลือกส้ม

จัดทำโดย

1. นางสาวทับทิม วงษ์อ่อน ชั้น ม.6/4 เลขที่ 22

2. นางสาวพัชรีภรณ์ ฤทธิ์นอก ชั้น ม.6/4 เลขที่ 30

3. นางสาวภารุณี เจริญชีพ ชั้น ม.6/4 เลขที่ 32

อาจารย์ที่ปรึกษา

ว่าที่ ร.ต. สราวุธ โคตรมา

บทคัดย่อ

เนื่องจากในยุคปัจจุบันนี้ยากันยุงที่ทำมาจากสารเคมีนั้นมีประโยชน์ที่ทำ ให้ยุงนั้นตายแต่ก็มีข้อเสียสำหรับมนุษย์ซึ่งสารเคมีนั้นอาจเข้าไปทำลายระบบ ประสาทในร่างกายหากเราสูดดมเข้าไปมากๆดังนั้นทางผู้จัดทำจึงได้คิดค้นที่จะ ทำธูปไล่ยุงจากเปลือกส้มซึ่งเป็นส่วนผสมของธรรมชาติไร้สารเคมีทั้งไม่มีโทษ กับร่างกายและยังราคาไม่แพงด้วย

.

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้สำเร็จลุล่วงได้ก็เพราะว่าการร่วมมือของ สมาชิกในกลุ่มและการให้ความรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษา คือ คุณครูสราวุธ โคตรมา และได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จาก นางสาวทับทิม วงษ์อ่อน หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มทำโครงงานนี้ จึงขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ที่มาและความสำคัญ

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ซึ่งจะมีโอกาสเกิดโรคที่ร้ายแรงทางผู้จัดทำได้เห็นความสำคัญในการเกิดโรคไข้ เลือดออก 1ในโรคต่างๆที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ จึงคิดที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องธูปไล่ยุงจากเปลือกส้มขึ้นมา และทำมาจากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรกับมนุษย์ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และยังสามารถหาวัสดุอุปกรณ์ได้ง่ายและราคาไม่แพงด้วย หากมีการคิดค้นทำธูปไล่ยุงจากเปลือกส้ม จะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและสารเคมีในชีวิตประจำวันได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาวิธีการไล่ยุงโดยไม่ใช้สารเคมี

2. เพื่อศึกษาวิธีการทำธูปไล่ยุงและคุณสมบัติของเปลือกส้ม

สมมติฐาน

1. ธูปไล่ยุงที่ทำขึ้นสามารถไล่ยุงได้ดี

2. กลิ่นของเปลือกส้มมีผลทำให้สามารถไล่ยุงได้จริง

วัสดุอุปกรณ์

1. กาว

 

2. เปลือกส้มตากแห้ง

 

3. ธูป

4. เครื่องปั่นผลไม้

 

วิธีดำเนินงาน

1. นำเปลือกส้มแห้งมาปั่นให้ละเอียด

 

2. นำก้านธูปมาทากาว

3. นำก้านธูปที่ทากาวแล้วคลุกกับเปลือกส้มที่ปั่นละเอียด แล้วนำไปตากแห้ง 1-2 วัน ก็จะได้ธูปไล่ยุงจากเปลือกส้ม

 

สรุปผล

ธูปที่ทำมาจากเปลือกส้มสามารถไล่ยุงได้ดีเพราะเปลือกส้มมีกลิ่นฉุนทำให้ยุงไม่อยากเข้าใกล้

 

อ้างอิง

https://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=58590&mode=threaded&pid=781824

https://www.thaitambon.com/tambon/tprdsdesc.asp?Prod=021217111516&ID=551403&SME=02121711244

 งานวิจัยโรคไข้เลือดออก

กลุ่มวิจัยโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี่
- งานวิจัยด้านโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี ได้แก่ การศึกษาพยาธิกำเนิด และพยาธิสรีรวิทยาของโรคไข้เลือดออก การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมในการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือด ออก

ความสนใจของกลุ่มวิจัย

1. การศึกษาทางด้านสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดโรค เป็นงานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อ การติดเชื้อไวรัสเด็งกี ทั้งในส่วนของภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ แอนติบอดี และระบบคอมพลิเมนต์ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และโปรตีนของไวรัสเพื่ออธิบายถึงกลไกในการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
2. การศึกษาไวรัสเด็งกีในระดับอณู เป็นการศึกษาคุณสมบัติและกลไกการทำงานของโปรตีนบางชนิดของไวรัสเด็งกีซึ่ง เกี่ยวข้อง กับการเพิ่มจำนวนของไวรัส เช่น โปรตีน prM , NS1 และ C โดยการดัดแปลงสารพันธุกรรมบางตำแหน่งที่ควบคุมการสร้างโปรตีน ดังกล่าวใน infectious cDNA clone ซึ่งจะมีผลพลอยได้ในการสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจมีคุณสมบัติใช้เป็นวัคซีนโรคไข้เลือดออกได้
3. การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก เน้นการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจหาระดับแอนติบอดี ไวรัสแอนติเจน และสารพันธุกรรม ของไวรัสเด็งกีในเลือดและสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย รวมถึงการผลิตรีคอมบิแนนต์โปรตีนของไวรัสเด็งกีและการผลิตโมโนโคลน อลแอนติบอดี ต่อโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบของไวรัส เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกการดำเนิน งานวิจัย โรคไข้เลือดออกของหน่วยฯประกอบด้วยกลุ่มวิจัยย่อย ที่ดำเนินการในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ได้แก่
- Pathophysiology เน้นการศึกษาบทบาทและกลไกการทำงานของโปรตีน NS1 ของไวรัสเด็งกีที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ชนิด complement ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดรูรั่วที่ผนังหลอดเลือด ที่เป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยไข้เลือดออก
- Molecular virology ทำการศึกษาหน้าที่และโครงสร้างระดับอณูของโปรตีนส่วนต่างๆ ของไวรัสเด็งกี เช่น NS1, prM และ C โดยการดัดแปลงยีนบางตำแหน่ง ที่ควบคุมการสร้างโปรตีนของไวรัสจาก infectious cDNA clone
- Protein-protein interaction ทำการคัดเลือกโปรตีนจากเซลล์เจ้าบ้านที่มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของไวรัสเด็ง กี โดยใช้เทคนิค Yeast two hybrid (Y2H) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจในกลไกการเพิ่มจำนวนไวรัสและการตายของเซลล์ที่ติด เชื้อไวรัส
- Monoclonal antibodies การสร้าง hybridoma clones ที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีนส่วนต่างๆของไวรัสเด็งกี รวมถึงการศึกษาคุณสมบัติของแอนติบอดีที่ได้ เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยพื้นฐานของกลุ่มวิจัยต่างๆ และการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุดตรวจ ไวรัสในหลากหลายรูปแบบ
- T-cell immune response ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกี โดยเน้นที่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีลิมโฟซัยด์ของผู้ป่วย ไข้เลือดออก เพื่ออธิบายถึงกลไก ที่ทำให้เกิดโรคผ่านระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้
- Structural Biology เป็นการศึกษาโครงสร้างของไวรัสเด็งกี และโปรตีน NS1 ของไวรัส โดยใช้เทคนิค cryo-electron microscopy ซึ่งอาจนำไปสู่การอธิบายหน้าที่และบทบาทของโปรตีน /ไวรัสต่อการเพิ่มจำนวนและการทำให้เกิดโรคได้
- Proteomics เป็นงานวิจัยที่ใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ในการศึกษาการตอบสนองของเซลล์เพาะ เลี้ยงในระหว่าง การติดเชื้อไวรัสเด็งกี เพื่อตรวจหาโปรตีนที่แสดงออกในปริมาณที่มากขึ้นหรือน้อยลง โดยเน้นการตรวจหาระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อไวรัสเด็งกี เพื่อนำไป สู่การค้นหาหน้าที่ของโปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดพยาธิสภาพของโรค ไข้เลือดออก หรือโปรตีนที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีได้ Clinical database ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างซีรัมของผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสงขลาและขอนแก่น โดยตัวอย่างทั้งหมดได้จัดเก็บข้อมูลทางคลินิกร่วมกับข้อมูลทางห้องปฏิบัติ การอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาทางพยาธิวิทยาของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bioinformatics ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสหรือลำดับกรด อะมิโนของไว รัสเด็งกีที่มีอยู่ในฐานข้อมูลกลาง และข้อมูลที่ได้ใหม่ที่ได้จากคนไข้ที่มีความรุนแรงต่างกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีนของไวรัสกับความรุนแรง ของโรคได้
ผลงานเด่นของกลุ่ม
1. งานวิจัยเรื่อง Characterization of dengue virus NS1 stably expressed in 293T cell lines เน้นถึงการศึกษาบทบาทและความสำคัญของโปรตีน NS1 ต่อเชื้อไวรัสเด็งกี เนื่องจากโปรตีนนี้พบได้หลายรูปแบบในเซลล์ที่มีการติดเชื้อและในพลาสมาของ ผู้ป่วยไข้เลือดออก ดังนั้นงานวิจัยจึงมุ่งเป้าเพื่อศึกษากลไกและกระบวนการสร้าง NS1 ภายในเซลล์เพื่อให้ได้โปรตีนในแบบต่างๆ กัน และบทบาทของโปรตีนในแต่ละรูปแบบต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก และต่อระบบการตอบสนองของเซลล์ติดเชื้อ โดยคณะผู้วิจัยได้สร้างเซลล์ที่สามารถผลิต NS1 แบบต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และทำการศึกษาเซลล์ที่ได้ในด้านต่างๆ ดังนี้ ศึกษากลไกที่โปรตีน NS1 ไปปรากฎบนผิวเซลล์โดยเฉพาะแบบที่เชื่อมต่อกับ glycosylphosphatidylinositol (GPI) และศึกษาคุณสมบัติของ NS1 ในการกระตุ้น complement ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัยได้สร้างไวรัสชนิดกลายพันธุ์ (mutant virus) ที่มีความผิดปกติในตำแหน่งที่มีการเติมน้ำตาลของโปรตีน NS1 จำนวน 3 แห่ง ด้วยวิธี site-directed mutagenesis จาก full-length dengue cDNA clone และทดสอบคุณสมบัติในการเพิ่มจำนวนของไวรัสกลายพันธุ์ที่ได้ งานวิจัยนี้นอกจากเป็นการศึกษาถึงบทบาทของโปรตีน NS1 ในรูปแบบต่างๆ แล้ว ยังเอื้อประโยชน์ต่อการหาไวรัสกลายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในการใช้ทดสอบ vaccine candidate ในสัตว์ทดลอง และยังสามารถนำไวรัสกลายพันธุ์นี้เป็นฐานตั้งต้นในการผลิต NS1 แบบที่ไม่มีการเติมน้ำตาล เพื่อใช้ศึกษาความสามารถในการกระตุ้น complement และศึกษาลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของโปรตีนโดย electron microscopy ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโดย ผศ. ดร. ปนิษฎี อวิรุทธิ์นันท์ และ ดร. บรรพต ศิริเดชาดิลก
2. การพัฒนาชุดตรวจโรคไข้เลือดออก การพัฒนาชุดตรวจโปรตีน NS1 เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก โดยการวัดปริมาณของโปรตีน NS1 ร่วมกับระดับโปรตีนคอมพลิเมนต์ ชนิด sC5b-9 โดยวิธี ELISA หากผู้ป่วยให้ผลเป็นบวกต่อโปรตีนทั้ง 2 ชนิดจะมีโอกาสจะเป็นไข้เลือดออก ชุดตรวจนี้จะมีความแม่นยำประมาณ 80% ชุดตรวจนี้มีจุดเด่นคือ เป็นชุดตรวจชุดแรกของโลกที่สามารถทำนายว่าเป็นไข้เลือดออกได้ในขณะที่ผู้ ป่วยยังไม่เข้าสู่สภาวะช็อก ขณะนี้คณะนักวิจัยเรื่องนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทย เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการและออกค่าใช้จ่าย และมีแผนที่จะผลักให้เกิดเป็น commercial kit โดยร่วมลงทุนกับต่างประเทศ โดยมีบริษัทสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการ
3. การใช้ Yeast two hybrid ในการศึกษาโปรตีนของมนุษย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกี คณะผู้วิจัยพบว่าโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกีมีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของ มนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการตายของเซลล์ คือ โปรตีน Daxx ซึ่งปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ในเซลล์ตับที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกีโดย วิธี co-immunoprecipitation และการย้อมโปรตีนภายในเซลล์แบบ double immuno-fluorescence staining จากการย้อมเซลล์แบบดังกล่าวทำให้ทราบว่า โปรตีนส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันบริเวณนิวเคลียสของเซลล์ นอกจากนี้ในเซลล์ตับที่มีการสร้างโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกีสามารถกระตุ้น ให้มีการตายของเซลล์โดยกระบวนการ apoptosis ผ่านทางโปรตีน Fas การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็ง กีกับโปรตีน Daxx ที่เกิดขึ้นในเซลล์ตับที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกีนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการ apoptosis  

อาการเริ่มแรกของไข้เลือดออก

มารู้จัก ไข้เลือดออกภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัว ตอนที่ 1 

รศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
อ. พญ. วนัทปรียา พงษ์สามารถ
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

โรคไข้เลือดอออก
            โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี พบระบาดเป็นครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์ ในปี พศ. 2497 จากนั้นพบมีการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พศ. 2501  โดยมีรายงานผู้ป่วย 2,158 ราย เสียชีวิตร้อยละ 13.90 และ จะระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน คือ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อยๆ แต่อัตราการเสียชีวิตน้อยลงอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
            สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจากสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัด และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม  พ.ศ. 2548 รวมทั้งสิ้น 7,215 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 11.64 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 12 ราย คิดเป็นอัตราเสียชีวิตร้อยละ 0.17


ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ มีจริงหรือไม่
            โรคไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งอาจพบได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และส่วนใหญ่ทุกปีจะพบสายพันธุ์ที่ 1 และ 3 มากกว่า แต่ปีนี้พบสายพันธุ์ที่ 4 มาเป็นอันดับ 1 ซึ่ง ส่วนใหญ่เด็กที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีจะไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรงโดยเฉพาะถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก แต่หากเป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 อาจเป็นไข้เลือดออกที่รุนแรงได้จากทุกสายพันธุ์ แต่ยังไม่มีรายงานสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทย
ไข้เลือดออกติดต่อได้อย่างไร
            เป็น โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจากคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่ คนอื่น ๆ ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ยุงลายจะออกหากินในตอนกลางวัน มักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในที่ๆมีน้ำขังในชุมชน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจะอยู่ตามโอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยาง รถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีรายงานทารกแรกเกิดติดเชื้อไวรัสเดงกีจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
 

โตแล้ว/เคยเป็นแล้ว จะเป็นไข้เลือดออกอีกได้หรือไม่
            แม้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกจะเป็นผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 70)โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด ได้แก่เด็กอายุ 5-14 ปี อย่างไรก็ตามมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่อายุ 1 วันจนกระทั่งอายุมากกว่า 65 ปี  หลังหายจากไข้เลือกออกแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกทั้ง4 สายพันธุ์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ที่เป็นจะมีอยู่ตลอดไป ส่วนภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นจะหมดไปหลังจาก 1ปี หากมีการติดเชื้อครั้งที่ 2 จากสายพันธุ์ที่ต่างไปจากครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออกที่รุนแรงได้
โรคไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร
            โดย ทั่วไปหลังได้รับเชื้อเดงกี เด็กๆส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการเป็นไข้เพียงเล็กน้อยแล้วหายได้เอง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีอาการของไข้เลือดออก โดยหลังจากถูกยุงกัด 5-8 วัน เด็กอาจมีอาการป่วยได้ตั้งแต่น้อยไปจนถึงมาก ส่วนใหญ่อาการจะมีเพียงกลุ่มอาการไวรัส คือ ไข้สูง หน้าแดง ปวดท้อง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีผื่นเล็กน้อย 2-3 วัน ก็หายดี บางคนอาจมีอาการไข้เดงกี คือ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก อาจมีจุดเลือดออกได้ และเพลียอยู่หลายวัน
            เด็กที่มีอาการของไข้เลือดออกจะมีอาการเริ่มต้นเป็นไข้สูง เฉียบพลัน อาจสูงถึง 40-41 องศา เซลเซียสปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แต่ไม่มีอาการหวัดเด่นชัด เด็กๆ บางราย จะมีจุดเลือดออกขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้ว จึงเข้าสู่ระยะวิกฤติซึ่งไข้จะเริ่มลงพร้อมกับมีการรั่วของพลาสมา อาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ มักพบว่าเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยกลับมีอาการแย่ลง ในระยะวิกฤตินี้เด็กบางรายอาจมีอาการซึม ชีพจรเต้นเร็วและเบา ตัวเย็น กระสับกระส่าย บางรายอาจมีความดันโลหิตตกจนช็อก อาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ บางรายอาจมีอาการหนักมากจนไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ระยะวิกฤติจะกินเวลาประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารได้ อาจมีผื่นเป็นวงสีขาวบนพื้นแดงที่ขาปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน
            หาก เด็กที่เป็นไข้เลือดออกรับประทานอาหารและน้ำได้ หรือมาพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้นและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถทำให้ผู้ป่วยผ่านพ้นระยะวิกฤตไปได้โดยไม่มีอาการรุนแรง
 

จะรู้ได้อย่างไรว่าบุตรหลานเป็นโรคไข้เลือดออก
            เด็กๆ ที่มีอาการไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดท้อง หน้าแดงๆ หรือมีผื่นออกตามตัวให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกเสมอ โดยเฉพาะในช่วงใกล้หน้าฝนเช่นนี้ เพราะยุงเริ่มแพร่พันธุ์ได้มาก ควรนำมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจและรัดแขนเพื่อดูว่ามีจุดเลือดออกขึ้นไหม ถ้ามีจุดเลือดออกจะสงสัยไข้เลือดออกมากขึ้น  อย่างไรก็ดีอาการไข้ในช่วง 2-3 วัน แรกของโรคไข้เลือดออก จะแยกไม่ได้กับการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ซึ่งพบได้ในเด็กเช่นกัน การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาจมีอาการไข้สูงเหมือนกับไข้เลือดออกในช่วงต้น แต่ไข้มักจะหายไปเองโดยเด็กดูสบายดีในเวลา 2-3 วัน ในขณะที่ถ้าเป็นไข้เลือดออกไข้จะยังคงมีอยู่ และเด็กจะดูอ่อนเพลีย ดังนั้นแพทย์มักจะต้องนัดผู้ป่วยมาติดตามดูอาการต่อไป การตรวจเลือดในวันที่ 1-2 ของไข้อาจไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ แต่การตรวจเลือดหลังวันที่ 3 ของ ไข้เพื่อดูความข้นของเลือด เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด มักจะพอบอกได้ว่าน่าจะเป็นไข้เลือดออก ดังนั้นแพทย์จะนัดผู้ป่วยที่ยังคงมีไข้หลัง 2-3 วันไปแล้ว มาทำการตรวจร่างกาย รัดแขน และตรวจเลือดด้วย

Link
https://www.learners.in.th
https://www.si.mahidol.ac.th
https://www.si.mahidol.ac.th


อัพเดทล่าสุด