โครงงานเรื่องโรคไข้เลือดออก


17,699 ผู้ชม


โครงงานเรื่องโรคไข้เลือดออก งานวิจัย เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก งานวิจัยโรคไข้เลือดออก

โครงงานเรื่องโรคไข้เลือดออก

          โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งและมียุงลายเป็น พาหะนำโรค มักพบในเด็กอายุ 5-10 ปี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันจำหน่าย

สาเหตุ
         โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน ไปเกาะที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก
          โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
อาการ
        
ระยะไข้สูง - มีอาการไข้ขึ้นสูง 2-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียนออกมามีสีน้ำตาลปนอยู่ ปวดศีรษะไข้ขึ้นสูง 38-40 องศาเซลเซียส ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ วันที่ 2-3 ผู้ป่วยมักซึมลงหน้าแดง ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต การตรวจ Tourniquet test ให้ผลบวก
          ระยะวิกฤติ (ระยะช็อคและเลือดออก)  -  ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตตก อาเจียนมาก ปวดท้อง
          ระยะฟื้น - อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันโลหิตและชีพจรกลับเป็นปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขา ปลายเท้า
ความรุนแรงของโรค
        ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ
     •Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
     •Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
     •Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
     •Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้
ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
           •ตับวาย  
           •ไตวาย  
           •สมองทำงานผิดปกติ

การรักษา
        -
ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ ควรมีสีใส
           - ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัด เพื่อเฝ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด
           - ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อคและมีอาการเลือดออก หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล
           - ให้ยาแก้ไข้พาราเซตามอล แต่ห้ามใช้แอสไพริน เพราะจะทำให้ระคายกระเพาะ มีโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย และทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ
วิธีป้องกันโรค
          1.พยายามไม่ให้ยุงกัด
          2.ปราบและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง
          3.ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้
          4.รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขจังหวัด  เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้นและควบคุมโรคก่อนที่จะมีการ ระบาดเพิ่ม
ที่มาของข้อมูล : https://th.wikipedia.org/
                        www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf.htm
                        www.inf.ku.ac.th/article/nurse/500129/deng.html
ที่มาของภาพ : https://health.giggog.com/113054
                      https://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=1015&filename=index

งานวิจัย เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ผลงานวิจัย ด้านกีฏวิทยาทางการแพทย์

 

จัดทำโดย : ฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มงานกีฏวิทยาทางการแพทย์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
โทร. 0-2589-9850-8 ต่อ 99245
e-mail : [email protected]
บรรณาธิการ : ดร. อุษาวดี ถาวระ
คณะผู้จัดทำ : นส. ศศิธร อยู่เสถียร
นส. ฤทัยรัตน์ ศรีธมรัตน์
นายอภิวัฏ ธวัชสิน
นายจิตติ จันทร์แสง
ดร. อุรุญากร จันทร์แสง
นายวิชัย คงงามสุข

คำนำ

        โรคต่างๆ ที่นำโดยแมลง ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย ตามหลักการในการป้องกันและกำจัดแมลงพาหะเหล่านี้ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับ ชีววิทยา ความสัมพันธ์ของแมลงกับโรคนั้นๆ ตลอดจนนิเวศวิทยาที่มีผลต่อศักยภาพของแมลงในการนำโรคในสภาพธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้สามารถหาแนวทางในการป้องกันกำจัดแมลงพาหะได้ อย่างเหมาะสม และสามารถวางแผนดำเนินการ แก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขในระยะยาวได้อย่างถูกต้องยั่งยืน

        หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการรวบรวมการศึกษาวิจัยอย่างครบวงจรเกี่ยวกับแมลงพาหะนำโรค ของฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2530 - 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมแมลงพาหะนำโรค ตลอดจน นักวิชาการ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และได้ผลคุ้มค่าแก่ประชาชน อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตทีดีต่อไป

                                      
                                    ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ
                                 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

                   

การเปิดจะต้องใช้โปรแกรม Acrobat Reader ถ้ายังไม่มีโปรแกรมดังกล่าว คลิกที่ Adobe Acrobat Reader เพื่อทำการติดตั้งในเครื่องของท่าน

งานวิจัยยุงพาหะโรคไข้สมองอักเสบ

งานวิจัยยุงพาหะโรคไข้เลือดออก

งานวิจัยยุงพาหะโรคฟิลาเรีย หรือโรคเท้าช้าง

งานวิจัยยุงพาหะหลายชนิด

งานวิจัยแมลงวันและแมลงกินได้

งานวิจัยเหา

งานวิจัยโรคไข้เลือดออก

กลุ่มวิจัยโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี่
- งานวิจัยด้านโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี ได้แก่ การศึกษาพยาธิกำเนิด และพยาธิสรีรวิทยาของโรคไข้เลือดออก การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมในการผลิตชุดตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือด ออก

ความสนใจของกลุ่มวิจัย

1. การศึกษาทางด้านสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดโรค เป็นงานวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อ การติดเชื้อไวรัสเด็งกี ทั้งในส่วนของภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ แอนติบอดี และระบบคอมพลิเมนต์ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และโปรตีนของไวรัสเพื่ออธิบายถึงกลไกในการทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
2. การศึกษาไวรัสเด็งกีในระดับอณู เป็นการศึกษาคุณสมบัติและกลไกการทำงานของโปรตีนบางชนิดของไวรัสเด็งกีซึ่ง เกี่ยวข้อง กับการเพิ่มจำนวนของไวรัส เช่น โปรตีน prM , NS1 และ C โดยการดัดแปลงสารพันธุกรรมบางตำแหน่งที่ควบคุมการสร้างโปรตีน ดังกล่าวใน infectious cDNA clone ซึ่งจะมีผลพลอยได้ในการสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจมีคุณสมบัติใช้เป็นวัคซีนโรคไข้เลือดออกได้
3. การพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก เน้นการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจหาระดับแอนติบอดี ไวรัสแอนติเจน และสารพันธุกรรม ของไวรัสเด็งกีในเลือดและสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย รวมถึงการผลิตรีคอมบิแนนต์โปรตีนของไวรัสเด็งกีและการผลิตโมโนโคลน อลแอนติบอดี ต่อโปรตีนซึ่งเป็นองค์ประกอบของไวรัส เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกการดำเนิน งานวิจัย โรคไข้เลือดออกของหน่วยฯประกอบด้วยกลุ่มวิจัยย่อย ที่ดำเนินการในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ได้แก่
- Pathophysiology เน้นการศึกษาบทบาทและกลไกการทำงานของโปรตีน NS1 ของไวรัสเด็งกีที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ชนิด complement ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดรูรั่วที่ผนังหลอดเลือด ที่เป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยไข้เลือดออก
- Molecular virology ทำการศึกษาหน้าที่และโครงสร้างระดับอณูของโปรตีนส่วนต่างๆ ของไวรัสเด็งกี เช่น NS1, prM และ C โดยการดัดแปลงยีนบางตำแหน่ง ที่ควบคุมการสร้างโปรตีนของไวรัสจาก infectious cDNA clone
- Protein-protein interaction ทำการคัดเลือกโปรตีนจากเซลล์เจ้าบ้านที่มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของไวรัสเด็ง กี โดยใช้เทคนิค Yeast two hybrid (Y2H) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจในกลไกการเพิ่มจำนวนไวรัสและการตายของเซลล์ที่ติด เชื้อไวรัส
- Monoclonal antibodies การสร้าง hybridoma clones ที่ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีนส่วนต่างๆของไวรัสเด็งกี รวมถึงการศึกษาคุณสมบัติของแอนติบอดีที่ได้ เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยพื้นฐานของกลุ่มวิจัยต่างๆ และการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาชุดตรวจ ไวรัสในหลากหลายรูปแบบ
- T-cell immune response ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกี โดยเน้นที่เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีลิมโฟซัยด์ของผู้ป่วย ไข้เลือดออก เพื่ออธิบายถึงกลไก ที่ทำให้เกิดโรคผ่านระบบภูมิคุ้มกันชนิดนี้
- Structural Biology เป็นการศึกษาโครงสร้างของไวรัสเด็งกี และโปรตีน NS1 ของไวรัส โดยใช้เทคนิค cryo-electron microscopy ซึ่งอาจนำไปสู่การอธิบายหน้าที่และบทบาทของโปรตีน /ไวรัสต่อการเพิ่มจำนวนและการทำให้เกิดโรคได้
- Proteomics เป็นงานวิจัยที่ใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ในการศึกษาการตอบสนองของเซลล์เพาะ เลี้ยงในระหว่าง การติดเชื้อไวรัสเด็งกี เพื่อตรวจหาโปรตีนที่แสดงออกในปริมาณที่มากขึ้นหรือน้อยลง โดยเน้นการตรวจหาระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อไวรัสเด็งกี เพื่อนำไป สู่การค้นหาหน้าที่ของโปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดพยาธิสภาพของโรค ไข้เลือดออก หรือโปรตีนที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีได้ Clinical database ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างซีรัมของผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสงขลาและขอนแก่น โดยตัวอย่างทั้งหมดได้จัดเก็บข้อมูลทางคลินิกร่วมกับข้อมูลทางห้องปฏิบัติ การอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาทางพยาธิวิทยาของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Bioinformatics ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสหรือลำดับกรด อะมิโนของไว รัสเด็งกีที่มีอยู่ในฐานข้อมูลกลาง และข้อมูลที่ได้ใหม่ที่ได้จากคนไข้ที่มีความรุนแรงต่างกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีนของไวรัสกับความรุนแรง ของโรคได้
ผลงานเด่นของกลุ่ม
1. งานวิจัยเรื่อง Characterization of dengue virus NS1 stably expressed in 293T cell lines เน้นถึงการศึกษาบทบาทและความสำคัญของโปรตีน NS1 ต่อเชื้อไวรัสเด็งกี เนื่องจากโปรตีนนี้พบได้หลายรูปแบบในเซลล์ที่มีการติดเชื้อและในพลาสมาของ ผู้ป่วยไข้เลือดออก ดังนั้นงานวิจัยจึงมุ่งเป้าเพื่อศึกษากลไกและกระบวนการสร้าง NS1 ภายในเซลล์เพื่อให้ได้โปรตีนในแบบต่างๆ กัน และบทบาทของโปรตีนในแต่ละรูปแบบต่อการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก และต่อระบบการตอบสนองของเซลล์ติดเชื้อ โดยคณะผู้วิจัยได้สร้างเซลล์ที่สามารถผลิต NS1 แบบต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และทำการศึกษาเซลล์ที่ได้ในด้านต่างๆ ดังนี้ ศึกษากลไกที่โปรตีน NS1 ไปปรากฎบนผิวเซลล์โดยเฉพาะแบบที่เชื่อมต่อกับ glycosylphosphatidylinositol (GPI) และศึกษาคุณสมบัติของ NS1 ในการกระตุ้น complement ในขณะเดียวกันคณะผู้วิจัยได้สร้างไวรัสชนิดกลายพันธุ์ (mutant virus) ที่มีความผิดปกติในตำแหน่งที่มีการเติมน้ำตาลของโปรตีน NS1 จำนวน 3 แห่ง ด้วยวิธี site-directed mutagenesis จาก full-length dengue cDNA clone และทดสอบคุณสมบัติในการเพิ่มจำนวนของไวรัสกลายพันธุ์ที่ได้ งานวิจัยนี้นอกจากเป็นการศึกษาถึงบทบาทของโปรตีน NS1 ในรูปแบบต่างๆ แล้ว ยังเอื้อประโยชน์ต่อการหาไวรัสกลายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในการใช้ทดสอบ vaccine candidate ในสัตว์ทดลอง และยังสามารถนำไวรัสกลายพันธุ์นี้เป็นฐานตั้งต้นในการผลิต NS1 แบบที่ไม่มีการเติมน้ำตาล เพื่อใช้ศึกษาความสามารถในการกระตุ้น complement และศึกษาลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของโปรตีนโดย electron microscopy ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโดย ผศ. ดร. ปนิษฎี อวิรุทธิ์นันท์ และ ดร. บรรพต ศิริเดชาดิลก
2. การพัฒนาชุดตรวจโรคไข้เลือดออก การพัฒนาชุดตรวจโปรตีน NS1 เพื่อพยากรณ์ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก โดยการวัดปริมาณของโปรตีน NS1 ร่วมกับระดับโปรตีนคอมพลิเมนต์ ชนิด sC5b-9 โดยวิธี ELISA หากผู้ป่วยให้ผลเป็นบวกต่อโปรตีนทั้ง 2 ชนิดจะมีโอกาสจะเป็นไข้เลือดออก ชุดตรวจนี้จะมีความแม่นยำประมาณ 80% ชุดตรวจนี้มีจุดเด่นคือ เป็นชุดตรวจชุดแรกของโลกที่สามารถทำนายว่าเป็นไข้เลือดออกได้ในขณะที่ผู้ ป่วยยังไม่เข้าสู่สภาวะช็อก ขณะนี้คณะนักวิจัยเรื่องนี้ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทย เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยศูนย์ประยุกต์และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการและออกค่าใช้จ่าย และมีแผนที่จะผลักให้เกิดเป็น commercial kit โดยร่วมลงทุนกับต่างประเทศ โดยมีบริษัทสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการ
3. การใช้ Yeast two hybrid ในการศึกษาโปรตีนของมนุษย์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกี คณะผู้วิจัยพบว่าโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกีมีปฏิสัมพันธ์กับโปรตีนของ มนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการตายของเซลล์ คือ โปรตีน Daxx ซึ่งปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ในเซลล์ตับที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกีโดย วิธี co-immunoprecipitation และการย้อมโปรตีนภายในเซลล์แบบ double immuno-fluorescence staining จากการย้อมเซลล์แบบดังกล่าวทำให้ทราบว่า โปรตีนส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันบริเวณนิวเคลียสของเซลล์ นอกจากนี้ในเซลล์ตับที่มีการสร้างโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็งกีสามารถกระตุ้น ให้มีการตายของเซลล์โดยกระบวนการ apoptosis ผ่านทางโปรตีน Fas การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนแคปซิดของไวรัสเด็ง กีกับโปรตีน Daxx ที่เกิดขึ้นในเซลล์ตับที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกีนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการ apoptosis  

Link
https://www.chaiwbi.com
https://webdb.dmsc.moph.go.th/
https://www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด