คำถามเกี่ยวกับไข้เลือดออก


22,414 ผู้ชม


คำถามเกี่ยวกับไข้เลือดออก คำถามเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก เฉลย,ข้อสอบโรคไข้เลือดออก

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและยุงลาย 

  1. ทรายกำจัดลูกน้ำจำเป็นหรือไม่ที่ต้องห่อผ้าก่อนใส่ลงในภาชนะน้ำใช้

ตอบ  ไม่จำเป็น

        การห่อทรายกำจัดลูกน้ำด้วยผ้าก่อนใส่ลงในภาชนะเก็บน้ำ มีข้อดี คือ ให้ความสะดวกเมื่อต้องการเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะนั้นๆ โดยสามารถนำห่อทรายออกจากภาชนะได้ทันที ผ้าที่เหมาะสำหรับใช้ห่อทราย เช่น ผ้าขาวบาง ผ้ามุ้ง ตาข่ายไนล่อนชนิดถี่ หรือผ้าอื่นๆที่เนื้อผ้าโปร่ง แต่สามารถห่อหุ้มเม็ดทรายไว้ได้ และควรห่อทรายไว้แบบหลวมๆ ให้น้ำสามารถซึมผ่านเม็ดทรายได้สะดวกและทั่วถึง การใช้ผ้าที่มีเนื้อแน่นเกินไป หรือผ้าหนาเกินไป จะทำให้สารเคมีออกมาได้น้อย ไม่สามารถออกฤทธิ์กำจัดลูกน้ำได้อย่างเต็มที่

     2.  ทรายกำจัดลูกน้ำมีฤทธิ์คงทนเท่าใด

ตอบ  ทรายกำจัดลูกน้ำที่มีคุณภาพดี ควรออกฤทธิ์ควบคุมลูกน้ำได้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนในภาชนะเก็บน้ำถาวร (เช่น โอ่งเก็บน้ำในฤดูฝน สำหรับเปิดใช้เมื่อถึงฤดูแล้ง) จากการศึกษาของกลุ่มงานอนุกรมวิธาน สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง พบว่า การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำชนิด 1% ในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตรในภาชนะเก็บน้ำถาวร สามารถควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องได้นานประมาณ 27 สัปดาห์ (6 เดือน 3 สัปดาห์) และจากการศึกษาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขพบว่าทรายกำจัดลูกน้ำชนิด 1% ออกฤทธิ์นานกว่า 6.5 เดือน

           สำหรับภาชนะที่มีการใช้น้ำหมุนเวียน (คือ มีการใช้น้ำและเติมน้ำใหม่อยู่เสมอ) ระยะเวลาที่ทรายออกฤทธิ์ควบคุมลูกน้ำจะลดน้อยลงตามความถี่ของการใช้น้ำ ตลอดจนปริมาณน้ำที่ใช้ไปและเติมใหม่ในแต่ละครั้ง เนื่องจากมีผลทำให้ปริมาณของสารเคมีในน้ำลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ทรายกำจัดลูกน้ำที่มีคุณภาพดีควรออกฤทธิ์ควบคุมลูกน้ำในภาชนะที่มีการใช้น้ำหมุนเวียนได้นานไม่น้อยกว่า 1.5 เดือน

     3.  สารเคมีที่อยู่ในทราย จะถูกปล่อยหมดไปภายใน 1 สัปดาห์หรือไม่ สามารถตักทรายทิ้งเลยได้จริงหรือ

ตอบ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำมากมายหลายชื่อการค้า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นทรายเคลือบสารเคมีทีมีฟอส บางผลิตภัณฑ์ใช้ซีโอไลท์แทนเม็ดทราย เมื่อใส่ทรายกำจัดลูกน้ำลงในภาชนะ สารเคมีจะค่อยๆละลายออกมาในน้ำ และลูกน้ำมักจะตายหมดภายใน 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำบางชนิดจะปลดปล่อยสารเคมีออกมาอย่างช้าๆ ซึ่งจะทำให้ลูกน้ำตายหมดภายใน 24 ชั่วโมง  เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตของบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายแตกต่างกัน ระยะเวลาในการปลดปล่อยสารเคมีของผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำแต่ละชนิดจึงยาวนานไม่เท่ากัน ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำที่มีคุณภาพดีจะปลดปล่อยสารเคมีออกมาเป็นระยะๆ จึงไม่ควรตักทรายทิ้ง ให้รอจนกว่าจะพบลูกน้ำรอดชีวิตจึงนำทรายเดิมออกแล้วใส่ทรายใหม่ลงไป

     4.  สารเคมีที่อยู่ในทรายกำจัดลูกน้ำ เมื่อใส่ลงไปในน้ำแล้วจะไปเกาะตามขอบๆภาชนะจริงหรือ และการขัดขอบๆภาชนะเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่

ตอบ  เมื่อใส่ทรายกำจัดลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ สารเคมีทีมีฟอสจะค่อยๆละลายออกมาในน้ำ วัสดุที่มีรูพรุน (เช่น ภาชนะดินเผา) มีผิวหยาบขรุขระ (เช่น โอ่งซีเมนต์) และตะไคร่น้ำ (เช่น ที่เกาะอยู่ตามผิวด้านในของภาชนะเก็บน้ำ) สามารถซึมซับสารเคมีบางส่วนไว้ได้ เนื่องจากลูกน้ำกินตะไคร่น้ำ แบคทีเรีย เชื้อรา ไข่หนอนน้ำ ตลอดจนอินทรียสารอื่นๆที่อยู่ในน้ำ จึงได้รับสารเคมีเข้าไปด้วย การขัดผิวด้านในของภาชนะมีข้อดี คือ หากมีไข่ของยุงลายเกาะติดอยู่ ไข่ก็จะถูกกำจัดไป  โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้ที่สามารถปิดฝาให้มิดชิดได้ ควรปิดฝาแต่ไม่ควรใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ ทั้งนี้ เพื่อลดความสิ้นเปลืองในการใช้ทรายกำจัดลูกน้ำ ในกรณีนี้ เมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในโอ่งดังกล่าว จึงควรขัดล้างผิวด้านในของโอ่งเพื่อขจัดตะไคร่น้ำ สิ่งสกปรก และไข่ยุงลายที่อาจติดอยู่ออกไป  สำหรับบ่อซีเมนต์ในห้องน้ำและห้องส้วมที่ไม่สามารถปิดฝาให้มิดชิดได้ จำเป็นต้องใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาด หากประสงค์จะขัดผิวด้านในเพื่อขจัดตะไคร่น้ำและคราบสิ่งสกปรกก็สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ ขอให้พิจารณาเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยเป็นหลัก

 การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค
เรื่อง โรคไข้เลือดออก

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือพาหะนำโรคไข้เลือกออก

    ก.  ยุงดำ
    ข.  
    ยุงลาย
    ค.  
    ยุงเท้าช้าง
    ง.  
    ยุงก้นปล้อง
2. ข้อใดคืออาการ ในการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกครั้งแรก
    ก.  ช็อก
    ข.  
    จะค่อยๆมีอาการเลือดออก
    ค.  
    จะมีไข้สูงลอย เหมือนไข้หวัดใหญ่
    ง.   
    ถูกทุกข้อ
3. การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกควรทำอย่างไร

    ก.  ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
    ข.  
    เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
    ค.  
    เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
    ง.  
    ถูกทุกข้อ

4. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดใด

    ก.  ยาแอสไพริน
    ข.  
    พาราเซทตามอล
    ค.  
    ยาพวกไอบรูโพรเฟน
    ง.  
    ถูกทั้งข้อ ก และ ค

5. ถ้าผู้ป่วยอ่อนเพลีย ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย แสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ระยะใด

    ก.  ระยะไข้สูง
    ข.  
    ระยะไข้สูง
    ค.  
    ระยะฟื้น
    ง.  
    ผิดทุกข้อ

6. ผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มในข้อใด

    ก.  นม
    ข.  
    ข้าวต้ม
    ค.  
    ช็อคโกแลต
    ง.  
    ไอศครีม

7. อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณใด

    ก.  ผิวหนัง
    ข.  
    ช่องปาก
    ค.  
    กระเพาะอาหาร
    ง.  
    เล็บมือ เล็บเท้า

8. วัสดุในข้อใดเป็นที่อาศัยของพาหะของโรคไข้เลือดออก

    ก.  กระป๋อง
    ข.  
    ยางรถยนต์เก่า
    ค.  
    กะลา
    ง.  
    ถูกทุกข้อ

9. ข้อใดไม่ใช่วิธีการกำจัดพาหะของโรคไข้เลือกออก

    ก.  ใส่น้ำตาลที่จานรองขาตู้
    ข.  
    ใส่ทรายอะเบทในน้ำขัง
    ค.  
    การพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภาย
    ง.  
    ใส่น้ำส้มสายชูจานรองกระถางต้นไม้

10. ข้อใดไม่เป็นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือกออก

    ก. ควรนอนในมุ้งหรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย
    ข.
    ควรเล่นในที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
    ค.
    ควรมีแสงสว่างส่องได้ทั่วถึง  มีลมพัดผ่านได้สะดวก
    ง.
    ไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน

ข้อสอบไข้เลือดออกในเด็ก ฝากมาจากหมอเด็ก

ข้อสอบไข้เลือดออกในเด็ก ฝากมาจากหมอเด็ก
1. ข้อใดเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยใกล้จะเข้าสู่ระยะวิกฤติ(Critical stage)แล้ว
ก. Wbc น้อยกว่า 7000
ข. Platelet น้อยกว่า 100,000
ค. Hct rising 10-20%
ง. ถูกทุกข้อ
2. บอกวิธีการทำ Tourniquet test ข้อใดผิด
ก. ขนาดcuff กว้างประมาณ2/3ของความยาวต้นแขนส่วนบน
ข. ใช้ความดันกึ่งกลางค่า systolic และdiastolic
ค. นาน 5 นาที และรออ่านผลอีก 3 นาทีหลังคลายcuff
ง. ผลบวกคือมีจุดเลือดอกมากกว่า 10จุด/ตารางนิ้ว
3. ค่าSystolic BP โดยประมาณสำหรับเด็กอายุ 7 ปี ได้แก่
ก. 70 mmHg
ข. 75 mmHg
ค. 80 mmHg
ง. 85 mmHg
4. ผู้ป่วยรายใดจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงของโรคไข้เลือดออก
ก. ด.ญ.เรยา อายุ 3 ปี BW 22 kg. มีประวัติเป็น Intussusception ตอนอายุ 1 ปี ได้รับการผ่าตัดคลายลำไส้ หลังจากนั้นอาการปกติดี แพทย์ไม่นัดแล้ว
ข. ด.ญ.วิชชุดา อายุ 8 ปี BW 25 kg. มีประวัติเป็นVSD ตอนอายุ 1 ปี ได้รับการผ่าตัดปิดรูรั่ว แพทย์บอกว่าปิดหมดแล้ว จึงไม่นัดอีก
ค. ด.ช.ประจักษ์ อายุ 6 ปี BW 20 kg. มีประวัติเหลืองตอนแรกคลอด แพทย์บอกว่าเป็นG6PD หลังจากนั้นไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แพทย์ไม่เคยนัดตรวจอีก
5. ด.ญ.วนิดา อายุ 7 ปี กำลังนอนรักษาใน รพ. และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่4 และ เริ่มลงตั้งแต่เวรดึก ยังรับประทานอาหารได้น้อย CBC(เช้า) Hct 40% Wbc 1,800/mm3 Plt 50,000/mm3 การประเมิน V/S ในผู้ป่วยไข้เลือดออกรายนี้ ควรทำอย่างน้อยทุก.........
ก. 30 นาที
ข. 1-2 ชั่วโมง
ค. 2-4 ชั่วโมง
ง. 4-6 ชั่วโมง
6. ด.ช.มืด อายุ 2 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่3 V/S: BT 38.5 ํC BP 90/60 mmHg PR 110/min , CBC: Hct 40% Wbc 2,500/mm3 Plt 90,000/mm3
ชนิดของสารน้ำที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. 5%D/N/3
ข. 5%D/N/2
ค. 5%D/NSS
ง. 0.9%NSS
7. ด.ญ.เด่นจันทร์ อายุ 5 ปี มารดาให้ประวัติว่า มีไข้สูงมา 4 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย มารดาพามาพบแพทย์เมื่อ 2 วันที่แล้ว แพทย์ตรวจเลือด CBC: Hct 36% Wbc 4,500/mm3 Plt 145,000/mm3 จึงนัดมาตรวจซ้ำอีกครั้งในวันนี้ แต่มารดาเห็นว่าไข้ลงจึงไม่ได้พามา แต่เด็กยังดูอ่อนเพลียมาก นอนซึม จึงพามาERตอนกลางดึก V/S: BT 36.5 ํC BP80/60 mmHg PR 130/min TT-negative ชนิดของสารน้ำที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. 5%D/N/3
ข. 5%D/N/2
ค. 5%D/NSS
ง. 0.9%NSS
8. ตี๋น้อย อายุ 18 ปี ไม่มีโรคประจำตัว BW 80 kg มีไข้สูงมา 5 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย วันนี้ไข้ลง มาที่ERตอนกลางคืน เนื่องจากมารดาเห็นว่าซึมลง อ่อนเพลียมาก มือเท้าเย็น มีจุดpetechiaeตามตัว BT 36.5 ํC BP 90/70 mmHg , PR 130/min ภายหลังจากเปิดเส้น เจาะHct, DTX, CBC และเก็บเลือดเผื่อlabอื่นๆไว้แล้ว ท่านจะให้ IV แบบใดเหมาะสมที่สุด
ก. 0.9%NSS 800 ml iv drip in 1 hr.
ข. 5%/DNSS 500 ml iv drip in 1 hr.
ค. 0.9%NSS 500 ml iv drip in 15 min.
ง. 5%/DNSS 800 ml iv drip in 15 min.
9. ด.ญ.แป๋วแหวว อายุ 5 ปี BW 18 kg ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่4 และเริ่มลงตอนบ่าย ยังรับประทานอาหารได้น้อย CBC(เช้า) Hct 40% Wbc 1,800/mm3 Plt 60,000/mm3 แพทย์ให้ iv เป็น 5%D/NSS 90 ml/hr (5ml/kg/hr) ท่านมาขึ้นเวรดึกพบเด็กดูกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น BP 80/65 mmHg , PR 140/min-weak pulse พยายามรายงานแพทย์เวรแล้ว ยังติดต่อไม่ได้ ท่านจะทำอย่างไรต่อไป
ก. เจาะดูHct, Load 5%D/NSS 180 ml in 15 min, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ข. เจาะดูHct, Load 0.9%NSS 180 ml in 15 min, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ค. เจาะดูHct, Load 5%D/NSS 180 ml/hr, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ง. เจาะดูHct, Load 0.9%NSS 180 ml/hr, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
10.ด.ช.ก้องเกียรติ อายุ 6 ปี ไม่มีโรคประจำตัว BW 20 kg มีไข้สูงมา 5 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย วันนี้ไข้ลง มาที่ERตอนกลางคืน เนื่องจากมารดาเห็นว่าซึมลง อ่อนเพลียมาก ตัวเย็น BP วัดไม่ได้ , PR 160/min คลำได้เบาๆ ภายหลังจากเปิดเส้น เจาะHct, DTX, CBC และเก็บเลือดเผื่อlabอื่นๆไว้แล้ว ท่านจะให้ IV แบบใดเหมาะสมที่สุด
ก. 0.9%NSS 200 ml iv drip in 1 hr.
ข. 5%/DNSS 200 ml iv drip in 1 hr.
ค. 0.9%NSS 200 ml iv drip in 15 min.
ง. 5%/DNSS 200 ml iv drip in 15 min.
เฉลย

1. ข้อใดเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยใกล้จะเข้าสู่ระยะวิกฤติ(Critical stage)แล้ว
ก. Wbc น้อยกว่า 7000
ข. Platelet น้อยกว่า 100,000
ค. Hct rising 10-20%
ง. ถูกทุกข้อ
ที่ไม่ตอบถูกทุกข้อเพราะ WBC ต้องใช้ค่าอ้างอิงที่ 5,000, ส่วน Hct rising 10-20%จะเข้าภาวะวิกฤกติแล้ว
2. บอกวิธีการทำ Tourniquet test ข้อใดผิด
ก. ขนาดcuff กว้างประมาณ2/3ของความยาวต้นแขนส่วนบน
ข. ใช้ความดันกึ่งกลางค่า systolic และdiastolic
ค. นาน 5 นาที และรออ่านผลอีก 3 นาทีหลังคลายcuff
ง. ผลบวกคือมีจุดเลือดออกมากกว่า 10จุด/ตารางนิ้ว
ต้องเป็น 1 นาที
3. ค่าSystolic BP โดยประมาณสำหรับเด็กอายุ 7 ปี ได้แก่
ก. 70 mmHg
ข. 75 mmHg
ค. 80 mmHg
ง. 85 mmHg
ค่าต่ำสุดที่ยอมรับได้ของความดัน systolic [70 + (2 X age in years)]
= 84
4. ผู้ป่วยรายใดจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงของโรคไข้เลือดออก
ก. ด.ญ.เรยา อายุ 3 ปี BW 22 kg. มีประวัติเป็น Intussusception ตอนอายุ 1 ปี ได้รับการผ่าตัดคลายลำไส้ หลังจากนั้นอาการปกติดี แพทย์ไม่นัดแล้ว
ข. ด.ญ.วิชชุดา อายุ 8 ปี BW 25 kg. มีประวัติเป็นVSD ตอนอายุ 1 ปี ได้รับการผ่าตัดปิดรูรั่ว แพทย์บอกว่าปิดหมดแล้ว จึงไม่นัดอีก
ค. ด.ช.ประจักษ์ อายุ 6 ปี BW 20 kg. มีประวัติเหลืองตอนแรกคลอด แพทย์บอกว่าเป็นG6PD หลังจากนั้นไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แพทย์ไม่เคยนัดตรวจอีก
ข้อนี้ตอบได้ 2 ข้อ แต่โจทย์ไม่ได้บอก งั้นตอบข้อเดียวก็ถือว่าถูก
โดย ด.ญ.เรยา มี นน. เกินและด.ช.ประจักษ์ เป็นG6PD def. ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง
ส่วน VSD ที่ปิดแล้วไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยง
5. ด.ญ.วนิดา อายุ 7 ปี กำลังนอนรักษาใน รพ. และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่4 และ เริ่มลงตั้งแต่เวรดึก ยังรับประทานอาหารได้น้อย CBC(เช้า) Hct 40% Wbc 1,800/mm3 Plt 50,000/mm3 การประเมิน V/S ในผู้ป่วยไข้เลือดออกรายนี้ ควรทำอย่างน้อยทุก.........
ก. 30 นาที
ข. 1-2 ชั่วโมง
ค. 2-4 ชั่วโมง
ง. 4-6 ชั่วโมง
ใน Critical stage ต้องประเมิน อย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง
6. ด.ช.มืด อายุ 2 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่3 V/S: BT 38.5 ํC BP 90/60 mmHg PR 110/min , CBC: Hct 40% Wbc 2,500/mm3 Plt 90,000/mm3
ชนิดของสารน้ำที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. 5%D/N/3
ข. 5%D/N/2
ค. 5%D/NSS
ง. 0.9%NSS
Plt ต่ำแล้วควรให้เป็น5%D/NSS โดยสามารถมีน้ำตาลได้
7. ด.ญ.เด่นจันทร์ อายุ 5 ปี มารดาให้ประวัติว่า มีไข้สูงมา 4 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย มารดาพามาพบแพทย์เมื่อ 2 วันที่แล้ว แพทย์ตรวจเลือด CBC: Hct 36% Wbc 4,500/mm3 Plt 145,000/mm3 จึงนัดมาตรวจซ้ำอีกครั้งในวันนี้ แต่มารดาเห็นว่าไข้ลงจึงไม่ได้พามา แต่เด็กยังดูอ่อนเพลียมาก นอนซึม จึงพามาERตอนกลางดึก V/S: BT 36.5 ํC BP80/60 mmHg PR 130/min TT-negative ชนิดของสารน้ำที่เหมาะสมในผู้ป่วยรายนี้ คือ
ก. 5%D/N/3
ข. 5%D/N/2
ค. 5%D/NSS
ง. 0.9%NSS
CBC เมื่อ 2 วันก่อน สงสัยไข้เลือดออก วันนี้จึง R/O
ไม่ได้ Pulse pressure แคบ HR เร็ว เข้าได้กับ critical stage 3 ควร 5%D/NSS
8. ตี๋น้อย อายุ 18 ปี ไม่มีโรคประจำตัว BW 80 kg มีไข้สูงมา 5 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย วันนี้ไข้ลง มาที่ERตอนกลางคืน เนื่องจากมารดาเห็นว่าซึมลง อ่อนเพลียมาก มือเท้าเย็น มีจุดpetechiaeตามตัว BT 36.5 ํC BP 90/70 mmHg , PR 130/min ภายหลังจากเปิดเส้น เจาะHct, DTX, CBC และเก็บเลือดเผื่อlabอื่นๆไว้แล้ว ท่านจะให้ IV แบบใดเหมาะสมที่สุด
ก. 0.9%NSS 800 ml iv drip in 1 hr.
ข. 5%/DNSS 500 ml iv drip in 1 hr.
ค. 0.9%NSS 500 ml iv drip in 15 min
ง. 5%/DNSS 800 ml iv drip in 15 min.
Pulse pressure แคบ HR เร็ว เข้าได้กับ critical stage 3 ควร 5%D/NSS 10 ml/kg lading ใน 1hr แต่ถ้า BW เกิน 50 kg. ให้คิดแค่ 50 kg.
9. ด.ญ.แป๋วแหวว อายุ 5 ปี BW 18 kg ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก วันนี้ไข้วันที่4 และเริ่มลงตอนบ่าย ยังรับประทานอาหารได้น้อย CBC(เช้า) Hct 40% Wbc 1,800/mm3 Plt 60,000/mm3 แพทย์ให้ iv เป็น 5%D/NSS 90 ml/hr (5ml/kg/hr) ท่านมาขึ้นเวรดึกพบเด็กดูกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น BP 80/65 mmHg , PR 140/min-weak pulse พยายามรายงานแพทย์เวรแล้ว ยังติดต่อไม่ได้ ท่านจะทำอย่างไรต่อไป
ก. เจาะดูHct, Load 5%D/NSS 180 ml in 15 min, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ข. เจาะดูHct, Load 0.9%NSS 180 ml in 15 min, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ค. เจาะดูHct, Load 5%D/NSS 180 ml/hr, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
ง. เจาะดูHct, Load 0.9%NSS 180 ml/hr, Consultแพทย์เด็ก, รอแพทย์มา
Pulse pressure แคบ HR เร็ว เข้าได้กับ critical stage 3 ควร 5%D/NSS 10 ml/kg loading ใน 1hr
10.ด.ช.ก้องเกียรติ อายุ 6 ปี ไม่มีโรคประจำตัว BW 20 kg มีไข้สูงมา 5 วัน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กินได้น้อย วันนี้ไข้ลง มาที่ERตอนกลางคืน เนื่องจากมารดาเห็นว่าซึมลง อ่อนเพลียมาก ตัวเย็น BP วัดไม่ได้ , PR 160/min คลำได้เบาๆ ภายหลังจากเปิดเส้น เจาะHct, DTX, CBC และเก็บเลือดเผื่อlabอื่นๆไว้แล้ว ท่านจะให้ IV แบบใดเหมาะสมที่สุด
ก. 0.9%NSS 200 ml iv drip in 1 hr.
ข. 5%/DNSS 200 ml iv drip in 1 hr.
ค. 0.9%NSS 200 ml iv drip in 15 min.
ง. 5%/DNSS 200 ml iv drip in 15 min. 

Link
dhf.ddc.moph.go.th/
https://www.thaigoodview.com
https://www.phimaimedicine.org

อัพเดทล่าสุด