โรคไข้เลือดออก กระปุก อาการเบื้องต้นของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก อาการ
โรคไข้เลือดออก กระปุก
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอก จากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
อาการของ ไข้เลือดออก
อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
ไข้เลือดออก
แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือ ข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือ ไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้
การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
ตรวจ สอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
หมั่น ตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของ ยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ
การป้องกันส่วนบุคคล
ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ
นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
การ ใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง
การใช้สารเคมีในการควบคุม
ใช้ ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
การ ใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
อาการเบื้องต้นของโรคไข้เลือดออก
อาการของโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสในระยะเริ่มต้น
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มียุงลายตัวเมียชนิด Aedes aegypti พาหะนำเชื้อไวรัสชนิด Dengue virus และ Chiikungunya virus ไวรัสชนิดแรกทำให้เกิดการป่วยที่มีอาการรุนแรงกว่าชนิดหลัง ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก จะเจริญอยู่ในกระเพาะอาหารของยุงจนกระทั่งมีปริมาณมากขึ้นจำทำให้อยู่ในต่อม น้ำลายของยุง เมื่อยุงไปกัดมนุษย์ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสเข้าไปในกระแสเลือด การเกิดโรคไข้เลือดออกมักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มากกว่าในผู้ใหญ่
อาการของโรคไข้เลือดออก
อาการของโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัส Dengue virus คือเมื่อพ้นระยะฟักตัวของเชื้อในร่างกาย จะมีอาการไข้สูง นานประมาณ 4-5 วัน หน้าและตาแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว แขนและขา เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย เซื่องซึม ท้องผูก อาเจียน อาจมีอาการเจ็บคอ ปวดท้อง ตับโต เมื่อมีอาการไข้นานประมาณ 2-3 วันจะเริ่มมีจุดแดงๆ คล้ายตุ่มหรือรอยจ้ำเลือดอยู่ใต้ผิวหนังตามแขน ขา รักแร้ และหน้าหรือลำตัว บางรายผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการไม่รุนแรงซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างดี แล้ว อาจทำให้ถึงตายได้ เนื่องมาจากการเสียเลือด เพราะจะมีเลือดออกทางระบบทางเดินอาหาร ทำให้ความดันเลือดต่ำ จะเกิดอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ชีพจรเต้นเบาและเร็ว จนกระทั่งถึงหมดสติ
โรคไข้เลือดออก อาการ
อาการของโรคไข้เลือดออก
อาการของโรคไข้เลือดออก
- มีไข้สูง2-7วัน หน้าแดง ตัวแดง ไม่มีน้ำมูก ไม่มีอาการคัดจมูก กระสับกระส่าย ถ้าเป็นเด็กจะซึมผู้ใหญ่จะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
- วันที่3-5 จะมีจุดเลือดสีแดงที่ผิวหนังบริเวณลำตัวและแขน และอาจมีอาการเหล่านี้ คือ เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อาเจียนดำ ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ
- อาการช็อก ตัวเย็นเหงื่อออก มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก ปัสสาวะน้อยลง
- ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา คล้ำไม่ชัดหรือคล้ำไม่ได้
การปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
- ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามอาการจนพ้นระยะอันตราย
- ถ้าไม่จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ต้องดูแลดังนี้
- การลดไข้ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำธรรมดา ให้ยาพาราเซตามอล(10 มก. ต่อ น้ำหนัก 1 กก. ต่อครั้ง) เวลาไข้สูงเกิน 39 องศา เซลเซียส, ไม่ให้ยาแอสไพริน, ยาที่ผสมแอสไพริน, ยาชุด, ยาไอบูโพรเฟน หรือ ยาอื่นที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง
- อาหาร ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย, นม, น้ำผลไม้, น้ำเกลือแร่ทางปาก, ถ้าดื่มได้ไม่ต้องให้ทางเส้นเลือด
ถ้ามีอาการดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
- มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง
- เลือดออกผิดปกติ เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ
- อาเจียนมาก
- ปวดท้องมาก
- ซึม
- ไม่ดื่มน้ำหรือกระหายน้ำตลอดเวลา
- กระสับกระส่าย
- เอะอะโวยวาย
- ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
- ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เพ้อ, พูดไม่รู้เรื่อง
- ตัวเย็น, เหงื่อออก, ตัวลาย
- ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง
Link
https://health.kapook.com
https://www.thaieditorial.com
https://www.a4s-thai.com