อาหารคนเป็นโรคหัวใจโต อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจโต ยาลมโรคหัวใจโต
อาหารคนเป็นโรคหัวใจโต
อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง |
ประเทศไทยได้มีการแนะนำอาหารหรือสมุนไพรเพื่อลดระดับความดันโลหิต เช่นการรับประทานกระเทียม ใบขึ่นช่าย หญ้าหนวดแมว หรืออีกหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการวิจัยบทบาทของอาหารต่อความดันโลหิตท ี่เรียกว่า "The Approaches Dieatary Stop Hypertension" เป็นการศึกษาแผนการรับประทานอาหารร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ซึ่งให้ผลดีต่อการรักษาความดันโลหิตสูง และยังป้องกันความดันโลหิต บทความนี้เป็นของต่างประเทศ ผู้เขียนจะไม่เปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร ที่กล่าวไว้ ผู้อ่านต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้สอดคล้องกับผลการวิจัย |
ความดันโลหิตคืออะไร |
ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่ามิลิเมตร ปรอทการวัดความดันจะวัดออกมา สองค่าคือ ค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตขณะที่ หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่นเต้น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงจะมีผลเสียต่อร่างกายคือ คนที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการ แต่หากไม่รักษาจะทำให้หัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด ผลจากความดันก็ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างไม่พอก็ทำให้ เกิดโรคกับอวัยวะนั้น เช่นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เราสามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตโดยวิธีการดังนี้ |
|
ตารางแสดงระดับความดันโลหิตของผู้ใหญ่ | ||||
ระดับความรุนแรง | ความดันSystolic มม.ปรอท | Diastolic มม.ปรอท | วิธีการปฏิบัติตัว | |
ปกติ | <120 | และ | <80 | ความดันโลหิตของคุณปกติ |
Prehypertension | 120-139 | หรือ | 80-89 | ความดันโลหิตของคุณอาจจะมีปัญหา ให้คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ งดสุรา |
Hypertension | >140 | หรือ | >90 | ปรึกษาแพทย์ |
อาหาร DASH คืออะไร |
เป็นที่ทราบกันดีว่าระดับความดันโลหิตที่สูงกว่า 120/80 มมปรอทจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก ยิ่งความดันโลหิตยิ่งสูงยิ่งเกิดโรคแทรกได้มาก ก่อนหน้านี้ก็มีความสนใจในเรื่องของสารอาหารต่อระดับความดันโลหิต แต่จะสนใจสารอาหารเป็นชนิดๆ เช่น แคลเซี่ยม โปแทสเซียม เป็นต้นการทดลองจะทำโดยการให้วิตามินเสริม สมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดของประเทศอเมริกาได้มีการทดลองที่เรียกว่า DASH พบว่าหากรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว{saturated fat} ต่ำ อาหารไขมันต่ำ และมีผักผลไม้มาก โดยเน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว โดยหลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง ยังมีการทดลองเพิ่มเติมโดยการให้รับประทาเกลือต่ำ พบว่าระดับความดันโลหิตลดลงทั้งสามกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่รับประทานอาหาร DASH จะมีระดับความดันโลหิตลดลงมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อรับประทานเกลือน้อยกว่า 1500 มิลิกรัม |
ส่วนประกอบของอาหาร DASH |
ตารางข้างล่างจะแสดงสัดส่วนของชนิดอาหารที่มีพลังงานเท่ากับ 2000 กิโลแคลอรี |
ชนิดของอาหาร | ปริมาณที่ประทาน (ส่วน) | ปริมาณอาหารหนึ่งส่วน | ตัวอย่างอาหาร | แหล่งของสารอาหาร |
ธัญพืช | 7-8 (วันหนึ่งจะรับประทาน ข้าวไม่เกิน 7-8 ทัพพี แบ่ง 3 มื้อ) | ขนมปัง 1 ชิ้น corn flag 1 ถ้วยตวง (ข้าวสุก ครึ่งถ้วย หรือ 1 ทัพพี หรือ มะหมี่ 1 ก้อน หรือขนมจีน 1 จับ) | ขนมปัง whole wheat, cereals crackers, pop corn (ข้าว มะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น) | เป็นแหล่งให้พลังงาน และใยอาหาร |
ผัก | 4-5 | ผักสด 1 ถ้วย ผักสุก ครึ่งถ้วย น้ำผัก 240 มม. | มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, แครอท (อาหารไทยได้แก่ผักชนิดต่างๆ) | เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม, แมกนีเซียม,ใยอาหาร |
ผลไม้ | 4-5 | น้ำผลไม้ 180 ซีซี ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล ผลไม้แห้ง 1/4 ถ้วย ผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย | ผลไม้ชนิดต่าง ๆ | เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม, แมกนีเซียม,ใยอาหาร |
นมไขมันต่ำ | 2-3 | นม 240 ซีซี โยเกตร์ 1 ถ้วยcheese 11/2 oz | นมพร่องมันเนย, นมที่ไม่มีมัน | เป็นแหล่งอาหารแคลเซียม และโปรตีน |
เนื้อสัตว์ | น้อยกว่า 2 ส่วน | เนื้อสัตว์น้อยกว่า 3 oz | เลือกเนื้อที่ไม่มีมัน และเล็บมันออก ให้อบ เผาแทนการทอด นำหนังออกจากเนื้อ | เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และแมกนีเซียม |
ถั่ว | 4-5ส่วนต่อสัปดาห์ | ถั่ว 1/3 ถ้วย เมล็ดพืช 2 ช้อนโต๊ะถัวลันเตา 1/2 ถ้วย | ถัวalmond ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน | เป็นแหล่งพลังงาน แมกนีเซียม โปรตีน ใยอาหาร |
น้ำมัน | 2-3 | น้ำมันพืช 1 ชต สลัดน้ำข้น 1 ชต สลัดน้ำใส 2 ชต มาการีน 1 ชต | น้ำมันพืชได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด | |
น้ำตาล | 5 ส่วนต่อสัปดาห์ | ตาล 1 ชต น้ำมะนาว 240 ซีซี แยม 1 ชต | น้ำน้ำตาล แยม ไอสครีม |
รายการอาหารที่อยู่ในวงเล็บเป็นการดัดแปลง DASH เพื่อนำมาใช้กับคนไทยจะขอนำตัวอย่างอาหารสำหรับคนไทยตามแนวทางของ DASH แต่ละมื้อประกอบด้วยข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน)ไม่เกิน 2 ทัพพี ผักมื้อละจาน(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) เนื้อสัตว์4-5 ชิ้นคำ(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) ผลไม้ขนาดกลางมื้อละผล(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ) |
ชนิดอาหาร | ปริมาณ |
ข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน) | ไม่เกิน 2ทัพพีต่อมื้อวันละ3 มื้อ |
ผัก(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) | มื้อละจาน |
ผลไม้ขนาดกลาง(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ) | มื้อละผล |
เนื้อสัตว์(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) | 4-5 ชิ้นคำต่อมื้อ |
นม(ต้องเป็นชนิดพร่องมันเนย หรือโยเกตร์ | วันละ 2 กล่อง |
ถั่ว(ได้แก่ถั่ลิสง มะม่วงหิมพานต์ แอลมอนต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเขียว ฯลฯ) | วันละส่วน |
น้ำมัน(ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดแทนน้ำมันปามล์ | พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด ให้ใช้อบ ต้มหรือเผา |
น้ำตาล | หลีกเลี่ยงของหวานทุกชนิด |
การนำเอา DASH มาใช้ |
จากตางรางข้างต้นเป็นรายการอาหารที่ให้พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี รายการอาหารดังกล่าวมิใช่อาหารลดน้ำหนัก แต่ท่านสามารถที่จะเพิ่มหรือลดพลังงานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับท่าน หากท่านต้องการลดน้ำหนักท่านก็สามารถลดปริมาณพลังงานโดยมีหลักการดังนี้ การเพิ่มผักหรือผลไม้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์หรือน้ำมัน ดื่มนมไขมันต่ำแทนนมปกติ ตัวอย่างปริมาณอาหารที่มีพลังงาน 1600 และ 3100 แคลอรี |
ชนิดอาหาร | 1600แคลอรี/วัน(ส่วน) | 3100แคลอรี/วัน(ส่วน) |
ข้าวหรือธัญพืช | 6 | 12-13 |
ผัก | 3-4 | 6 |
ผลไม้ | 4 | 6 |
ขมไขมันต่ำ | 2-3 | 3-4 |
เนื้อสัตว์ | 1-2 | 2-3 |
ถั่ว | 3/สัปดาห์ | 1 |
ไขมัน | 2 | 1 |
น้ำตาล | 0 | 2 |
เกลือกับ DASH |
ดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่าหากผู้ป่วยรับประทานอาหารตามแผนการ DASH จะช่วยลดความดันโลหิต การลดปริมาณเกลือจะลดความดันโลหิตได้ทั้งผู้ป่วยที่รับประทานอาหารปกติและผู้ที่รับประทานอาหาร DASH ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ให้รับประทานเกลือไม่เกินวันละ 1500 มิลิกรัม |
เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม | ||
เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม | ||
เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม | ||
เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม | ||
หลายคนกลัวว่าหาก ไม่รับประทานเค็มจะทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ในความเป็นจริงอาหารทุกชนิดที่เรารับประทานจะมีปริมาณเกลืออยู่แล้วทั้งสิ้น ซึ่งเพียงพอสำหรับร่างกายดังตารางข้างล่าง | ||
ชนิดอาหาร | ปริมาณเกลือ(มิลิกรัม) |
ธัญพืชและข้าว | - |
ข้าว | 0-5 |
อาหารธัญพืช 1 ถ้วย | 100-200 |
ขนมปัง 1 ชิ้น | 110-175 |
ผัก | - |
ผักที่ทำสุกครึ่งถ้วยตวง | 1-70 |
อาหารกระป๋อง ครึ่งถ้วย | 140-460 |
น้ำมะเขือเทศ 3/4 ถ้วย | 860 |
นม | - |
นม 1 ถ้วย | 120 |
โยเกตร์ 1 ถ้วย | 160 |
cheeses 1 1/2oz | 600 |
ผลไม้ | - |
ผลไม้สดหรือผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย | 0-5 |
ถั่ว เมล็ดพืช | - |
ถั่วลิสงคั่วเกลือ 1/3 ถ้วย | 120 |
ถั่วลิสงไม่ใส่เกลือ 1/3 ถ้วย | 0-5 |
เนื้อสัตว์ | - |
เนื้อสด 3 oz | 30-90 |
ปลาทูน่าในน้ำมัน 3 oz | 35-45 |
ปลาทูน่าในน้ำเกลือ 3 oz | 250-350 |
แฮม | 1020 |
การเริ่มต้นแผนอาหารแบบ DASH |
เนื่องจากอาหารแบบ DASH จะมากด้วยผักและผลไม้ สำหรับผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อยเมื่อเริ่มต้นอาหาร DASH จะมีปัญหาเรื่องท้องอืด หรืออาจจะทำให้เกิดท้องร่วง ดังนั้นจึงต้องค่อยๆเริ่มต้นซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้ |
|
ท่านลองสำรวจอาหารที่ท่านรับประทานแต่ละมื้อว่าเข้าเกณฑ์ DASH หรือไม่ ต้องเพิ่มหรือลดอะไรจากตารางข้างล่างนี้ |
ปริมาณที่รับประทาน | ||||||||||
อาหาร | ปริมาณ | เกลือ | ธัญพืช | ผัก | ผลไม้ | นม | เนื้อสัตว์ | ถั่ว | น้ำมัน | น้ำตาล |
อาหารเช้า | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
ข้าว | 3ทัพพี | 7+140+190 | 1 1/2 | - | - | - | - | - | - | - |
แกงจืดผัก | ผัก 1 ถ้วย | - | 2 | - | - | - | - | 1 | - | |
หมูกระเทียม | เนื้อหมู10 ชิ้น | - | - | - | - | 2 | - | - | - |
เมื่อท่านรวบรวมอาหารที่รับประทานได้ครบหนึ่งวัน ท่านก็จะทราบว่าควรจะลดหรือเพิ่มอาหารประเภทไหน แต่ท่านไม่ต้องกังวลมากเกินโดยเฉพาะไปงานเลี้ยง ท่านอาจจะรับประทานอาหารที่ผิดจากแผน เช่นเกลือ หรือไขมัน หรือ เนื้อสัตว์อาจจะมากไปก็ไม่เป็นปัญหา หากท่านสามารถควบคุมอาหารได้เป็นอย่างดีในวันปกติ |
สรุปส่งท้าย |
สุขภาพของท่าน ท่านต้องดูแลด้วยตัวเองไม่มีใครช่วยท่านได้ ขั้นตอนในการดูแลมีดังนี้ |
|
อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจโต
หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน |
หัวใจ โต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ...
อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่
- ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
- โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
- โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
- โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
- โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ
อาการ
ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น
ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
สามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้
ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
การรักษา
หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น
นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้
สาเหตุเกิดจาก
1.ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด
2.ความดันโลหิตสูง เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ หรือลิ้นหัวใจอักเสบ
3.หลอดเลือดหัวใจตีบ อันเนื่องมาจากไขมันในเลือดสูง เพราะอ้วน
4.กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอันเนื่องมาจากโรค พยาธิหนอนหัวใจ(จากยุงกัด)
5.เกิด จากการติดเชื้อไวรัสมาก่อน เช่น ลำไส้อักเสบพาร์โวไวรัส ถึงแม้โรคจะหาย แต่รอยโรคที่คงเหลือไว้คือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ,เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อาการ
ซึม, เบื่ออาหาร ,ไอ ,หอบ ,ท้องมาน( มีน้ำในช่องท้อง) เหนื่อยง่าย, นน.ลด, เหงือกซีดหมาเป็นมานาน
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของหัวใจได้
สุนัข ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะพบว่าเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) และน้ำในร่างกายจะสูง ของเหลวอาจสะสมในปอดและในช่องท้องซึ่งนำไปสู่ภาวะท้องบวมโต, ไอ,หายใจลำบาก และ distension ท้อง ถ้าหัวใจไม่ทำงาน การไหลเวียนของเลือดในร่างกายจะลดลงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและเหงือกซีด , หอบ
อาจรวมถึง :
การเปลี่ยนแปลงในสายตาเช่นตาบอดทันทีเมื่อเกิดการแตกเรือในเลือดหลัง (จอตา) ของตาหรือจอตา detaches --
-- มีเลือดออกในปัสสาวะจากความเสียหายของไต
-- ชัก
-- เลือดไหลทางจมูก
การรักษาแบบธรรมชาติบำบัด
1.ถ้าสุนัขมีภาวะหัวใจโต ร่วมกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ จะต้องรักษาควบคู่กันไป
2.ถ้าเกิดภาวะหัวใจโตจากสาเหตุอื่นๆ โดยไม่มีพยาธิหนอนหัวใจ
- โภชนาการ จะต้องให้สารอาหารที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ งดอาหารลดเค็ม และลดอาหารเม็ดลง
- เพิ่มคลอโรฟิลล์ อาจจะใช้น้ำคั้นจากใบเตย เพราะคลอโรฟิลล์จะช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อได้
- หากไม่แน่ใจว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง หรือคอเลสเตอรอลด้วยหรือเปล่า ก็อาจให้กินน้ำมันงาชนิดหีบเย็น วันละ 1 ช้อนชา จะช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดไขมัน ลดความดันเนื่องจากลดภาวะเลือดข้นได้
- ใช้ยาหอมบำรุงหัวใจ แทนการใช้ยากระตุ้นหัวใจ(ยาแผนปัจจุบัน) เพราะจะเพิ่มการไหลเวียนเลือดทั้งระบบ แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่กระตุ้นมากเกิน จะช่วยให้น้ำในช่องท้องลดได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องใช้ยาขับปัสสาวะ(อันตรายกับไต)
3.งดการออกกำลังแบบหักโหม ไม่ควรให้วิ่ง
4.นวดบำบัด จะช่วยให้ผ่อนคลาย และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
Link
https://www.thaiheartclinic.com/
https://www.108health.com
https://www.bloggang.com