อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจโต


26,064 ผู้ชม


อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจโต อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตรักษาหายไหม

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจโต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

พลังงานที่ร่างกายต่อวัน | ปริมาณโปรตีนที่ต้องการ | ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต้องการ | ปริมาณไขมันที่ต้องการ | โซเดียม | เส้นใยอาหาร

 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน | เลือกบริโภคอาหารโปรตีนไขมันต่ำ | รับประทานผักและผลไม้ | เลือกรับประทานwhole grain |
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

      ในแต่ละวัน ร่างกายคนเราต้องการพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และไม่มีอาหารชนิดใดที่มีสารอาหารครบถ้วนทุกประเภทตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้น เราจึงต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นต่อร่างกาย

 พลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ประมาณ 1600-2800 คาลอรี่ต่อวัน
          มีหน่วยวัดเป็นคาลอรี่ ร่างกายต้องการพลังงานในแต่ละวันแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับกิจกรรม งานที่ทำ, ขนาดร่างกาย, อายุ, เพศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเราสามารถประมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ดังนี้
     1,600 คาลอรี่ สำหรับเด็กอายุ 2-6 ขวบ,ในผู้หญิงปกติ, ในผู้สูงอายุ
     2,000 คาลอรี่ สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป
     2,200 คาลอรี่ สำหรับเด็กโต, วัยรุ่นผู้หญิง, ผู้หญิงที่ทำงาน และในผู้ชายส่วนใหญ่
     2,800 คาลอรี่ สำหรับวัยรุ่นผู้ชาย, ในผู้ชายที่มีกิจกรรมหรือการทำงานหนัก
 ปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย รวมทั้งเนื่อเยื่อต่างๆมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้โปรตีนยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเลือด, ฮอร์โมน, เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกาย    ; โปรตีน พบได้ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์, ผลิตภัณฑ์จากนม, อาหารประเภทถั่ว
         ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ต่อวัน
 ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
         ร่างกายต้องการคาร์โบโฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ คาร์โบโฮเดรตพบได้ในอาหารประเภทแป้ง(เช่น ข้าว, ขนมปัง, ธัญพืช )และน้ำตาล
         ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน หรือประมาณ 130 กรัม
         เราควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างเชิงซับซ้อน เช่น จากอาหารประเภทแป้ง มากกว่าน้ำตาลธรรมดาซึ่งได้จากขนมหวาน, สารให้ความหวาน เพราะร่างกายจะดูดซึมคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้ช้ากว่า น้ำตาลธรรมดา ทำให้ร่างกายเรา มีพลังงานที่ได้ใน ระยะเวลานานขึ้น และนอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างซับซ้อน จะให้สารอาหารหลายอย่าง รวมทั้งเส้นใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกายด้วย
 ปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
          ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง(ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 คาลอรี่ เทียบกับโปรตีนและ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 คาลอรี่) และยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน ที่ต้องละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ , ดี, อี, เค (vitamin A, D, E, K)
          ไขมันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ และยังช่วยในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากสารที่จำเป็นในระบบภูมิคุ้มกัน จะมีไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนี้ ไขมันยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารควบคุมร่างกายที่เราเรียกว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุม ความดันโลหิต, อัตราการเต้นของหัวใจ, การหดตัวของเส้นเลือด, การแข็งตัวของเลือด และการทำงาน ของระบบประสาท
          แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ, เพิ่มความเสี่ยง การเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน และมะเร็งบางชนิด
          อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน จะมีไขมันที่สามารถแบ่งประเภทได้ ทั้งหมด 4 ประเภทคือ
   -ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) พบได้ในอาหารประเภท เนย, นม, ครีม, ไข่, เนื้อ, สัตว์ปีก, ช็อกโกแลต, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ได้แก่ น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันเมล็ดฝ้าย
   -ไขมันชนิด trans fat มักพบในอาหารประเภท เนยเทียม(margarine), สารประเภท shortening, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์
   -ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated มักพบในอาหารประเภท อโวคาโด, ถั่วลิสง, เกาลัด, มะกอก

           ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมดของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ซึ่งเราสามารถลดปริมาณไขมันในอาหารได้ โดยเลือกบริโภคอาหารจำพวกที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา, สัตว์ปีกไม่ติดหนัง, ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำตามธรรมชาติ เช่น ผักผลไม้, ธัญพืช เป็นต้น
 ไขมันอิ่มตัว ไม่ควรเกิน 10% ของพลังงานคาลอรี่ทั้งหมดที่บริโภคต่อวัน
ไขมันอิ่มตัว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โดยการจำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์, เนย, เนยแข็ง, นมสด, ครีม, ไข่ รวมทั้งอาหารที่ทำมาจากช็อคโกแลต, สารพวกshortening, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันหมู
      อาหารที่มาจากสัตว์ทั้งหมด จะมีโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์, ไข่แดง, ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมสด
      การจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอล ควรทำร่วมกับการจำกัดอาหารที่มี่ไขมันอิ่มตัวสูงด้วย ทั้งนี้เพราะ  ตัวการสำคัญที่ทำให้ ระดับ   โคเลสเตอรอล ในเลือดสูง คือ ไขมันอิ่มตัว นั่นเอง

 ไขมันชนิด trans fat
มีผลเหมือนกับไขมันอิ่มตัวคือทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ไขมันชนิด trans fat มีส่วนประกอบเป็น กรดไขมันชนิด trans-fatty acid เกิดจากกระบวนการทางเคมี โดยการเติม ไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช กระบวนการนี้เรียกว่า Hydrogenation ผลที่ได้คือ ทำให้ไขมันมีสถานะเป็นก้อนอยู่ได้ คงรูปร่างได้ ดีขึ้น และไม่เหม็นหืน เหมือนน้ำมันปกติ ประโยชน์ นำเอามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารจำพวก ขนมเค๊ก, คุกกี้, แครกเกอร์, โดนัท, เฟรนซ์ฟรายส์, สารshortenings, มาการีนบางชนิด
           ดังนั้น ทุกครั้งที่เลือกอาหารที่มีฉลากแสดงสารอาหาร ให้ดูว่ามีคำว่า Hydrogenated หรือ Partially hydrogenated หรือไม่ ซึ่งหมายถึงการมีไขมันชนิด trans fat อยู่ ให้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะบริโภค

 ไขมันไม่อิ่มตัว
ทั้งชนิด Polyunsaturated และ Monounsaturated สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

 โซเดียม
ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน คือ 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
สำหรับคนที่อายุมากกว่า 50 ปี, คนผิวดำ, คนที่โรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง, โรคเบาหวาน ควรจำกัดการบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 1500-2400 มิลลิกรัม/วัน
ส่วนใหญ่ของโซเดียมในอาหาร มาจากกระบวนการเตรียมและปรุงอาหาร, ซุปกระป๋อง, ผักกระป๋อง, อาหารกระป๋อง, อาหารแช่เข็ง, อาหารประเภทเบคอน, ไส้กรอก, แฮม
  เส้นใยอาหาร
          ควรบริโภคในปริมาณ 21-38กรัมต่อวัน
          เส้นใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายไม่ย่อยและดูดซึม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ พวกเส้นใยประเภท soluble กับ เส้นใยประเภท insoluble
 เส้นใยประเภท insoluble จะช่วยเพิ่มกากอุจจาระ และป้องกันท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้ในอาหารประเภท ผัก รำข้าว เมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
 เส้นใยประเภท soluble อาจช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดได้ พบได้ในอาหารประเภท ข้าวโอ๊ต, ฝักถั่ว, แอปเปิ้ล, ส้ม, สตรอเบอรี่, องุ่น
          ปริมาณเส้นใยอาหารที่แนะนำต่อวันคือ
              38 กรัมในผู้ชาย 25 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี
              30 กรัมในผู้ชาย 21 กรัมในผู้หญิง สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50ปี
สรุปคำแนะนำในการบริโภคอาหาร..................................................................
ปริมาณคาร์โบโฮเดรตที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 45-65 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณโปรตีนที่แนะนำในแต่ละวันคิดเป็น 10-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ปริมาณไขมันที่แนะนำในแต่ละวัน คิดเป็น 20-35 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันอิ่มตัว บวก ไขมัน trans fat 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดPolyunsaturated 10 % หรือน้อยกว่าของคาลอรี่ทั้งหมด
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดMonounsaturated 10- 15 % ของคาลอรี่ทั้งหมด
โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน


อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

         โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภค ของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ ได้ถูกอิทธิพลของสังคมตะวันตกเข้ามาครอบงำ นิยมการบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น พิซซา ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันในปริมาณที่สูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิด trans fat ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
         ผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้โรคหัวใจลุกลามเป็นมากขึ้น ดังนี้
1. จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
2. เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
3. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
4. เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
5. บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

 จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันที่เป็นอันตรายและโคเลสเตอรอล
          การจำกัดการบริโภคอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวและไขมัน ชนิด trans fat ร่วมกับจำกัดการบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ และเนื่องจากโคเลสเตอรอลในเลือดที่สูง เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเกิด โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจะทำให้เกิดการสะสมของ plaque(ส่วนของไขมันที่ไปเกาะตามผนังเส้นเลือด) ทำให้รูของเส้นเลือดแดงเล็กลง ทำให้เกิดโรคหัวใจวายและโรคอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบ
.......คำแนะนำสำหรับการบริโภคอาหารประเภทไขมัน
ไขมันอิ่มตัวและ trans fat ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Polyunsaturated ควรบริโภคไม่เกิน 10% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated ควรบริโภค 10%-15% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน
โคเลสเตอรอล ควรบริโภคน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน

          ดังนั้นจึงควรงดบริโภคอาหารประเภท เนย, มาการีนชนิดที่เป็น hydrogenated, สารที่ทำให้แป้งกรอบ,หลีกเลี่ยงการรับประทาน ครีม, เกรวี่ รวมทั้งในการประกอบอาหารก็ควรงดการใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว แต่เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
เลือกบริโภคอาหารโปรตีนประเภทที่มีไขมันต่ำ
          อาหารหลายประเภทเช่น เนื้อสัตว์, เป็ดไก่, ปลา, นม, ไข่ เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ให้โปรตีน แต่บางชนิดจะมีปริมาณ ไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารโปรตีน ควรเลือกในกลุ่มที่มีปริมาณไขมันต่ำ โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล
          ตัวอย่างเช่น ถ้าจะรับประทานนมก็ควรเลือกนมพร่องมันเนย, นมสูตรไขมันต่ำ(low fat) มากกว่าที่จะทานนมสด, การรับประทานเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานในส่วนที่ไม่ติดมัน, งดรับประทานในส่วนที่เป็นหนัง,งดการรับประทานเครื่องในสัตว์ เพราะมีปริมาณ โคเลสเตอรอลสูง การรับประทานไข่ก็ควรเลือกเฉพาะไข่ขาว งดรับประทานไข่แดงเนื่องจากมีปริมาณโคเลสเตอรอลสูง
          นอกจากนี้อาจเลือกรับประทานแหล่งอาหารที่เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เช่น อาหารประเภทถั่ว, ถั่วเหลือง, การรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ยังมีไขมันชนิดโอเมก้า-3 ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และป้องกันภาวะหัวใจวายได้ด้วย
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่เป็นแหล่งของวิตามิน, เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารที่เรียกว่า phytochemicals ซึ่งพบในพืช และช่วยป้องกันโรคหัวใจได้
       แนะนำบริโภค
– ผักผลไม้สดหรือแช่เย็น
- ผักกระป๋องชนิดที่มีเกลือโซเดียมต่ำ
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่อยู่ในน้ำผลไม้
      งดบริโภค
- มะพร้าว
- ผักที่ผ่านกระบวนการทอด
- ผลไม้กระป๋องชนิดที่แช่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น
เลือกรับประทานข้าวหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสีเอารำออก(whole grain)
whole grain จะเป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหาร และยังมีวิตามินเกลือแร่หลายชนิด ได้แก่ thiamine, riboflavin, niacin, folate, selenium, zinc, iron
      แนะนำบริโภค
– แป้งข้าวเจ้าที่ไม่ได้เอารำออก (whole wheat)
- ขนมปังชนิดที่ทำจาก whole grain หรือ whole wheat
- ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง
- พาสต้าชนิด whole grain
- ข้าวโอ๊ตบดหยาบ
       งดบริโภค
- มัฟฟิน
- วาฟเฟิล
- โดนัท บิสกิต ขนมเค็ก พาย เส้นหมี่ที่ทำจากไข่
- ข้าวโพดอบเนย
บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน
การบริโภคที่ไม่มากเกินไป ให้พอเหมาะและสมดุลกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินพอในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

 อาหารสําหรับคนเป็นโรคหัวใจโต

อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง

       ประเทศไทยได้มีการแนะนำอาหารหรือสมุนไพรเพื่อลดระดับความดันโลหิต เช่นการรับประทานกระเทียม ใบขึ่นช่าย หญ้าหนวดแมว หรืออีกหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้มีการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการวิจัยบทบาทของอาหารต่อความดันโลหิตท ี่เรียกว่า "The Approaches Dieatary Stop Hypertension" เป็นการศึกษาแผนการรับประทานอาหารร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ ซึ่งให้ผลดีต่อการรักษาความดันโลหิตสูง และยังป้องกันความดันโลหิต บทความนี้เป็นของต่างประเทศ ผู้เขียนจะไม่เปลี่ยนแปลงสูตรอาหาร ที่กล่าวไว้ ผู้อ่านต้องปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้สอดคล้องกับผลการวิจัย
ความดันโลหิตคืออะไร

     ความดันโลหิตเป็นแรงดันของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด จะวัดออกมาเป็นค่ามิลิเมตร ปรอทการวัดความดันจะวัดออกมา สองค่าคือ ค่าตัวบนหรือที่เรียกว่า Systolic เป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ส่วน Diastolic เป็นความดันตัวล่าง เป็นความดันโลหิตขณะที่ หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราจะขึ้นๆลงๆ เวลาหลับความดันโลหิตจะต่ำกว่าเวลาตื่นเต้น เวลาตกใจ กลัว ดีใจ เครียด เหนื่อย ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ความดันโลหิตที่สูงไม่ยอมลงเรียกความดันโลหิตสูง

     ความดันโลหิตสูงจะมีผลเสียต่อร่างกายคือ คนที่เป็นความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการ แต่หากไม่รักษาจะทำให้หัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด ผลจากความดันก็ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างไม่พอก็ทำให้ เกิดโรคกับอวัยวะนั้น เช่นโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เราสามารถที่จะควบคุมความดันโลหิตโดยวิธีการดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยผัก ผลไม้ และมีเกลือน้อย
  • ดื่มสุราให้ลดลง
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
 

ตารางแสดงระดับความดันโลหิตของผู้ใหญ่

ระดับความรุนแรง
ความดันSystolic มม.ปรอท
 
Diastolic มม.ปรอท
วิธีการปฏิบัติตัว
ปกติ
<120
และ
<80
ความดันโลหิตของคุณปกติ
Prehypertension
120-139
หรือ
80-89

ความดันโลหิตของคุณอาจจะมีปัญหา ให้คุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพ งดสุรา

Hypertension
>140
หรือ
>90
ปรึกษาแพทย์
อาหาร DASH คืออะไร

เป็นที่ทราบกันดีว่าระดับความดันโลหิตที่สูงกว่า 120/80 มมปรอทจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้มาก ยิ่งความดันโลหิตยิ่งสูงยิ่งเกิดโรคแทรกได้มาก ก่อนหน้านี้ก็มีความสนใจในเรื่องของสารอาหารต่อระดับความดันโลหิต แต่จะสนใจสารอาหารเป็นชนิดๆ เช่น แคลเซี่ยม โปแทสเซียม เป็นต้นการทดลองจะทำโดยการให้วิตามินเสริม สมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดของประเทศอเมริกาได้มีการทดลองที่เรียกว่า DASH พบว่าหากรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว{saturated fat} ต่ำ อาหารไขมันต่ำ และมีผักผลไม้มาก โดยเน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว โดยหลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง
การทดลองจะแบ่งคนไข้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกรับประทานอาหารปกติ กลุ่มที่สองรับประทานอาหารปกติแต่เพิ่มพวกผักและผลไม้ สาวนกลุ่มที่สามรับประทานอาหาร DASH แต่ละกลุ่มรับประทานเกลือเท่ากัน หลังจากรับประทานอาหารไปสองสัปดาห์ก็พบว่ากลุ่มที่รับประทานผักและผลไม้ และกลุ่มรับประทานอาหารDASH มีระดับความดันโลหิตลดลงชัดเจน

ยังมีการทดลองเพิ่มเติมโดยการให้รับประทาเกลือต่ำ พบว่าระดับความดันโลหิตลดลงทั้งสามกลุ่ม สำหรับกลุ่มที่รับประทานอาหาร DASH จะมีระดับความดันโลหิตลดลงมากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อรับประทานเกลือน้อยกว่า 1500 มิลิกรัม

 
ส่วนประกอบของอาหาร DASH
ตารางข้างล่างจะแสดงสัดส่วนของชนิดอาหารที่มีพลังงานเท่ากับ 2000 กิโลแคลอรี
 
ชนิดของอาหาร

ปริมาณที่ประทาน

(ส่วน)

ปริมาณอาหารหนึ่งส่วน
ตัวอย่างอาหาร
แหล่งของสารอาหาร
ธัญพืช

7-8 (วันหนึ่งจะรับประทาน

ข้าวไม่เกิน 7-8 ทัพพี

แบ่ง 3 มื้อ)

ขนมปัง 1 ชิ้น

corn flag 1 ถ้วยตวง

(ข้าวสุก ครึ่งถ้วย หรือ 1 ทัพพี

หรือ มะหมี่ 1 ก้อน

หรือขนมจีน 1 จับ)

ขนมปัง whole wheat, cereals

crackers, pop corn

(ข้าว มะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น)

เป็นแหล่งให้พลังงาน และใยอาหาร
ผัก 4-5

ผักสด 1 ถ้วย

ผักสุก ครึ่งถ้วย

น้ำผัก 240 มม.

มะเขือเทศ, มันฝรั่ง, แครอท

(อาหารไทยได้แก่ผักชนิดต่างๆ)

เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม,

แมกนีเซียม,ใยอาหาร

ผลไม้ 4-5

น้ำผลไม้ 180 ซีซี

ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล

ผลไม้แห้ง 1/4 ถ้วย

ผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย

ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งเกลือโปแทสเซียม, แมกนีเซียม,ใยอาหาร
นมไขมันต่ำ 2-3 นม 240 ซีซี โยเกตร์ 1 ถ้วยcheese 11/2 oz นมพร่องมันเนย, นมที่ไม่มีมัน เป็นแหล่งอาหารแคลเซียม และโปรตีน
เนื้อสัตว์ น้อยกว่า 2 ส่วน เนื้อสัตว์น้อยกว่า 3 oz

เลือกเนื้อที่ไม่มีมัน และเล็บมันออก

ให้อบ เผาแทนการทอด

นำหนังออกจากเนื้อ


เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และแมกนีเซียม
ถั่ว 4-5ส่วนต่อสัปดาห์ ถั่ว 1/3 ถ้วย เมล็ดพืช 2 ช้อนโต๊ะถัวลันเตา 1/2 ถ้วย

ถัวalmond ถั่วลิสง

มะม่วงหิมพานต์

เมล็ดทานตะวัน

เป็นแหล่งพลังงาน แมกนีเซียม

โปรตีน ใยอาหาร

น้ำมัน 2-3

น้ำมันพืช 1 ชต

สลัดน้ำข้น 1 ชต

สลัดน้ำใส 2 ชต

มาการีน 1 ชต

น้ำมันพืชได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด  
น้ำตาล 5 ส่วนต่อสัปดาห์

ตาล 1 ชต

น้ำมะนาว 240 ซีซี

แยม 1 ชต


น้ำน้ำตาล แยม ไอสครีม
 
รายการอาหารที่อยู่ในวงเล็บเป็นการดัดแปลง DASH เพื่อนำมาใช้กับคนไทยจะขอนำตัวอย่างอาหารสำหรับคนไทยตามแนวทางของ DASH แต่ละมื้อประกอบด้วยข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน)ไม่เกิน 2 ทัพพี ผักมื้อละจาน(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) เนื้อสัตว์4-5 ชิ้นคำ(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) ผลไม้ขนาดกลางมื้อละผล(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ)
 
ชนิดอาหาร
ปริมาณ
ข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน) ไม่เกิน 2ทัพพีต่อมื้อวันละ3 มื้อ
ผัก(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) มื้อละจาน
ผลไม้ขนาดกลาง(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ) มื้อละผล
เนื้อสัตว์(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) 4-5 ชิ้นคำต่อมื้อ
นม(ต้องเป็นชนิดพร่องมันเนย หรือโยเกตร์ วันละ 2 กล่อง
ถั่ว(ได้แก่ถั่ลิสง มะม่วงหิมพานต์ แอลมอนต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเขียว ฯลฯ) วันละส่วน
น้ำมัน(ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดแทนน้ำมันปามล์ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด ให้ใช้อบ ต้มหรือเผา
น้ำตาล หลีกเลี่ยงของหวานทุกชนิด
การนำเอา DASH มาใช้

จากตางรางข้างต้นเป็นรายการอาหารที่ให้พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี รายการอาหารดังกล่าวมิใช่อาหารลดน้ำหนัก แต่ท่านสามารถที่จะเพิ่มหรือลดพลังงานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับท่าน

หากท่านต้องการลดน้ำหนักท่านก็สามารถลดปริมาณพลังงานโดยมีหลักการดังนี้ การเพิ่มผักหรือผลไม้แทนอาหารพวกเนื้อสัตว์หรือน้ำมัน ดื่มนมไขมันต่ำแทนนมปกติ ตัวอย่างปริมาณอาหารที่มีพลังงาน 1600 และ 3100 แคลอรี

 
ชนิดอาหาร
1600แคลอรี/วัน(ส่วน)
3100แคลอรี/วัน(ส่วน)
ข้าวหรือธัญพืช
6
12-13
ผัก
3-4
6
ผลไม้
4
6
ขมไขมันต่ำ
2-3
3-4
เนื้อสัตว์
1-2
2-3
ถั่ว
3/สัปดาห์
1
ไขมัน
2
1
น้ำตาล
0
2
เกลือกับ DASH

ดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นว่าหากผู้ป่วยรับประทานอาหารตามแผนการ DASH จะช่วยลดความดันโลหิต การลดปริมาณเกลือจะลดความดันโลหิตได้ทั้งผู้ป่วยที่รับประทานอาหารปกติและผู้ที่รับประทานอาหาร DASH ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ให้รับประทานเกลือไม่เกินวันละ 1500 มิลิกรัม

     
 
เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม
 
 
เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม
 
     

หลายคนกลัวว่าหาก ไม่รับประทานเค็มจะทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่หรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย ในความเป็นจริงอาหารทุกชนิดที่เรารับประทานจะมีปริมาณเกลืออยู่แล้วทั้งสิ้น ซึ่งเพียงพอสำหรับร่างกายดังตารางข้างล่าง

 
ชนิดอาหาร
ปริมาณเกลือ(มิลิกรัม)
ธัญพืชและข้าว
-
ข้าว
0-5
อาหารธัญพืช 1 ถ้วย
100-200
ขนมปัง 1 ชิ้น
110-175
ผัก
-
ผักที่ทำสุกครึ่งถ้วยตวง
1-70
อาหารกระป๋อง ครึ่งถ้วย
140-460
น้ำมะเขือเทศ 3/4 ถ้วย
860
นม
-
นม 1 ถ้วย
120
โยเกตร์ 1 ถ้วย
160
cheeses 1 1/2oz
600
ผลไม้
-
ผลไม้สดหรือผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย
0-5
ถั่ว เมล็ดพืช
-
ถั่วลิสงคั่วเกลือ 1/3 ถ้วย
120
ถั่วลิสงไม่ใส่เกลือ 1/3 ถ้วย
0-5
เนื้อสัตว์
-
เนื้อสด 3 oz
30-90
ปลาทูน่าในน้ำมัน 3 oz
35-45
ปลาทูน่าในน้ำเกลือ 3 oz
250-350
แฮม
1020
การเริ่มต้นแผนอาหารแบบ DASH
เนื่องจากอาหารแบบ DASH จะมากด้วยผักและผลไม้ สำหรับผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อยเมื่อเริ่มต้นอาหาร DASH จะมีปัญหาเรื่องท้องอืด หรืออาจจะทำให้เกิดท้องร่วง ดังนั้นจึงต้องค่อยๆเริ่มต้นซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
  • หากท่านรับประทานผักวันละมื้อ ก็ให้เพิ่มผักจนครบทุกมื้อ
  • หากท่านไม่รับประทานผลไม้ แนะนำให้ท่านเริ่มดื่มน้ำผลไม้หลังอาหารเช้า และรับประทานผลไม้ทุกมื้อหลังอาหาร
  • ดื่มนมพร่องมันเนยหลังอาหารวันละ 2-3 ครั้ง
  • ให้อ่านสลากอาหารทุกครั้งโดยการลดเกลือและไขมันอิ่มตัว
  • ให้รับประทานเนื้อสัตว์วันละ 2 มื้อ
  • ให้รับประทานอาหารเจสัปดาห์ละ 2 มื้อ
  • ใช้ผลไม้เป็นอาหารว่างแทนอาหารที่ให้พลังงานสูง
ท่านลองสำรวจอาหารที่ท่านรับประทานแต่ละมื้อว่าเข้าเกณฑ์ DASH หรือไม่ ต้องเพิ่มหรือลดอะไรจากตารางข้างล่างนี้
ปริมาณที่รับประทาน
อาหาร
ปริมาณ
เกลือ
ธัญพืช
ผัก
ผลไม้
นม
เนื้อสัตว์
ถั่ว
น้ำมัน
น้ำตาล
อาหารเช้า
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
ข้าว
3ทัพพี
7+140+190
1 1/2
-
-
-
-
-
-
-
แกงจืดผัก
ผัก 1 ถ้วย
-
2
-
-
-
-
1
-
หมูกระเทียม
เนื้อหมู10 ชิ้น
-
-
-
-
2
-
-
-
เมื่อท่านรวบรวมอาหารที่รับประทานได้ครบหนึ่งวัน ท่านก็จะทราบว่าควรจะลดหรือเพิ่มอาหารประเภทไหน แต่ท่านไม่ต้องกังวลมากเกินโดยเฉพาะไปงานเลี้ยง ท่านอาจจะรับประทานอาหารที่ผิดจากแผน เช่นเกลือ หรือไขมัน หรือ เนื้อสัตว์อาจจะมากไปก็ไม่เป็นปัญหา หากท่านสามารถควบคุมอาหารได้เป็นอย่างดีในวันปกติ
สรุปส่งท้าย
สุขภาพของท่าน ท่านต้องดูแลด้วยตัวเองไม่มีใครช่วยท่านได้ ขั้นตอนในการดูแลมีดังนี้
  • สำรวจอาหารที่ท่านรับประทานอยู่ว่ามีอะไรที่เกินไป อะไรที่ขาดไป
  • เติมอาหารที่ขาด
  • ตัดอาหารที่เป็นส่วนเกิน
  • เป้าหมายให้ได้อัตราส่วนของอาหารตามแผนการ DASH 
โรคหัวใจโตรักษาหายไหม

หัวใจโตเกิด จากขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโต ขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

หัวใจโตมีอาการอย่างไร

 

      ผู้ ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมิน อาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามัน เป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน
การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น
บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจาก เอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก ก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

 

สาเหตุของหัวใจโต

       ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่
  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้น หัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต 
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูงก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานธาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมธาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติ เกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

  1. สำหรับท่านที่มี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์ สั่งโดยเคร่งครัด
  2. สำหรับโรคทาง พันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคโดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกษาแพทย์
  3. รักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต
  • การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
  • การเจาะเลือดตรวจ
  • ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ
การรักษาหัวใจโต

การรักษาหัวใจโตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป็น

  • สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก
  • รับประทานอาหารจืด
  • ควบคุมเบาหวาน
  • ควบคุมความดันให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย
  • หลับพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวใจโตได้ที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี

รายชื่อแพทย์ อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด

แพทย์โรคหัวใจ,อายุรกรรมโรคหัวใจ นพ.ปัญเกียรติ โตพิพัฒน์  ปรึกษาหมอโรคหัวใจ,หมอด้านโรคหัวใจ นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย
เเพทย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ,อาการโรคหัวใจ นพ.ไพศาล กอบเกื้อชัยพงษ์ อายุรกรรมโรคหัวใจ,โรคหัวใจเฉพาะทาง ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ
หมอโรคหัวใจ,หมอรักษาโรคหัวใจนพ.อัมพล อิทธิฤทนานนท์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจ,ศูนย์โรคหัวใจ นพ.สุขขุม รุจิชานันทกุล
หมอผ่าตัดโรคหัวใจ,แพทย์ด้านโรคหัวใจ พญ.ชาดา โชติพันธุ์วิทยากุล เเพทย์โรคหัวใจ,รู้จักโรคหัวใจ นพ.วัฒนา บุญสม
โรคหัวใจและหลอดเลิอด,อาการโรคหัวใจ นพ.ปริวัตร เพ็งแก้ว โรคหัวใจรักษาได้,ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ นพ.ขจร ขาวไพศาล
หมอโรคหัวใจ,โรคหัวใจ พญ.วรนุช จุนพึ่งพระเกียรติ เเพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ,สาเหตุโรคหัวใจ นพ.วิทยา ไชยธีระพันธ์
การรักษาโรคหัวใจ,หมอด้านโรคหัวใจ นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู ความเสี่ยงของโรคหัวใจ,หมอรักษาโรคหัวใจ นพ.วันจักร พงษ์สิทธิศักดิ์
โรคหัวใจ,ผ่าตัดโรคหัวใจ นพ.นาวิน สุรภักดี

Link   
https://www.thaiheartclinic.com/
https://pioneer.netserv.chula.ac.th/
https://www.vejthani.com

อัพเดทล่าสุด