อาการเหนื่อยของคนเป็นโรคหัวใจโต


8,830 ผู้ชม


อาการเหนื่อยของคนเป็นโรคหัวใจโต วิธีกินอาหารคนเป็นโรคหัวใจโต โรคหัวใจโต จากโรตความดันโลหิตสูง

อาการเหนื่อยของคนเป็นโรคหัวใจโต

โรคหัวใจ Heart Disease  อาการเหนื่อยของคนเป็นโรคหัวใจโต


โรคหัวใจ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ชั่วโมง การทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง... 

          หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
          ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

          คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่าง เพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติ หัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 

          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว 
                
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง
 
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...

 
          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
 
 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
          
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
 
 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
           สังเกต ความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
                
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
 
           ดูแล สุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
 
           รับ ประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
                
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ
 
          ... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

วิธีกินอาหารคนเป็นโรคหัวใจโต

1. หัวใจโต เป็นอาการไม่ใช่โรคน่ะครับ สาเหตุมีมากมาย ไม่สามารถบอกได้เพียงประวัติเท่านี้ แต่หากข้อมูลแค่นี้ น่าจะมีสาเหตุหลักมาจากโรคความดันครับ ส่วนเรื่องนิ่วในไต ต้องมาดูอีกครับว่าชนิดไหน ตำแหน่งไหน เพราะความร้ายแรง/การรักษา ก็ไม่เหมือนกันอีก =)
2. ควรรับประทานอาหารแบบไหน ?  คำตอบด้านบนก็ถูกต้องครับ
   - หลีกเลี่ยง/เลิกของเค็ม และที่ใส่เกลือแม้ลิ้นจะบอกว่าไม่เค็ม
   - หลีกเลี่ยง/เลิกอาหารหวาน ผลไม้หวาน, อาหารมัน ทอด เนื้อหมูสามชั้น  เพราะเป็นการป้องกันเบาหวานและไขมันในเลือดสูงครับ
   - รับประทานผักผลไม้ (ที่ไม่หวานมาก) สัก 50% ของอาหารในแต่ละวัน ข้าวกล้อง ธัญพืช
   - บุหรี่ แอลกอฮอล์ ห้ามเลยครับ แม้นั่งใกล้ๆคนสูบบุหรี่ก็ห้าม (เพราะได้ผลไม่ต่างกับคนที่สูบเองครับ)
   - *** ต้อง *** ไปพบแพทย์เป็นระยะๆครับ ตามนัด เพื่อติดตามอาการ
3. อาการหัวใจโตอันรายมากหรือไม่ ? ต้องดูสาเหตุครับ บางอันก็อันตราย บางอันก็ไม่อันตรายมาก ข้อมูลเพียงเท่านี้บอกไม่ได้ครับ  คงต้องไปตรวจกับรพ.เป็นระยะๆนะครับ แต่ให้คิดไว้ก่อนว่าอันตราย จะได้ไม่ประมาทไงครับ =)
4. ชาเขียว ? จากข้อมูลทางการแพทย์โดยไม่ได้อิงผลประโยชน์ใดๆ เท่าที่ผมทราบ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนจ๋าๆนะครับ แต่ .. มีข้อมูลหลายๆที่บอกว่าการดื่มชาเขียว (ของจริง ไม่ใช่ที่ใส่ขวด 7/11) ช่วยลดไขมันได้ .... สรุปว่าถ้าเป็นคุณพ่อผมเอง คงให้ดื่มได้ครับ แต่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่มากจนเกินไปนะครับ

 โรคหัวใจแก้ไขได้ถ้ารู้วิธี

1. รับประทานผักให้มากเข้าไว้
การ เลือกรับประทานอาหารมีผลต่อโรคหัวใจ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยกว่า 20%  การรับประทานผักจึงเป็นสิ่งดี เพราะมีไขมันไม่มาก  ผักสดและผักใบเขียวมีสารแอนตี้ออกซิเดชั่น ช่วยลดอัตราการเกิดไขมันพอกผิวในหลอดเลือด จึงช่วยลดการตีบตันของหลอดเลือดได้
2. รู้จักพักบ้าง
การทำงานประจำบางครั้งทำให้ เรามีความเครียด เราจึงควรเปลี่ยนบรรยากาศ ไปพักผ่อน หรือผ่อนคลายควมเครียดเป็นระยะๆ เพราะความเครียดเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหดตัว  การพักผ่อน หรือหางานอดิเรกทำ เป็นวิธีในการผ่อนคลายความเครียดและเปลี่ยนอิริยาบถจากความจำเจทั้งหลาย
3. ทำใจให้สงบนิ่ง
การผ่อนคลายที่ได้ผลดีที่ สุด ต้องเข้าถึงจิตใจ จึงจำเป็นต้องหาวิธีทำจิตใจให้สงบ อาจโดยปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา เช่น การนั่งสมาธิ เดินจงกรม แล้วแต่ว่าวิธีไหนที่ถูกกับจริตของเรา เมื่อพักกายแล้ว ต้องฝึกพักใจด้วย ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมากมาย
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็น ประจำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายและหัวใจ  เราควรเลือกการออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ถูกวิธี และสม่ำเสมอสำหรับตนเอง สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดูแลให้ได้รับการออกกำลังกายที่เหมาะสม  เพราะขนาดและประเภทของการออกกำลังในผู้เป็นโรคหัวใจเป็นยาอย่างหนึ่งที่จะ ต้องเลือกและกำหนดขนาด ถ้ามากไปอาจเป็นอันตรายได้

หัวใจโตเกิด จากขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโต ขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

หัวใจโตมีอาการอย่างไร

 

      ผู้ ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมิน อาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามัน เป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน
การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น
บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจาก เอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก ก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

 

สาเหตุของหัวใจโต

       ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่
  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้น หัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต 
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูงก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานธาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมธาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติ เกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

  1. สำหรับท่านที่มี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์ สั่งโดยเคร่งครัด
  2. สำหรับโรคทาง พันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคโดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกษาแพทย์
  3. รักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต
  • การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
  • การเจาะเลือดตรวจ
  • ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ
การรักษาหัวใจโต

การรักษาหัวใจโตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป็น

  • สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก
  • รับประทานอาหารจืด
  • ควบคุมเบาหวาน
  • ควบคุมความดันให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย
  • หลับพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวใจโตได้ที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี 

หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น
 
ที่มา : https://www.peninsulacardiology.com.au/uploads/images/page/heart_failure.jpg
สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่
1. ความดันโลหิตสูง ขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หากหัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
2.โรคลิ้น หัวใจตีบหรือรั่ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
3.โรค หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
4.โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
5.โรค กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะสำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
6.โรคหัวใจ จากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอกจากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ
 
ที่มา : https://www.pattayadailynews.com/images_feature/005_th/0000000826/p6.jpg
 
ที่มา : https://www.hangdong.com/picweb/lung05.jpg
อาการของโรคหัวใจโต
ภาวะ หัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และ อาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็น คือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นเงาปอดและหัวใจ หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดงให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย
 
ใน ทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็ เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด
 
 
ที่มา : https://images.healthcentersonline.com/heart/images/article/i19Enlargev2.jpg
การวินิจฉัย
สามารถ ให้ การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน
การ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้
ภาพรังสีทรวงอกบอกขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา
การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่งช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ
 
 
ที่มา : https://www.trf.or.th/picture/newspr/temp2522/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%8C.jpg
 
ที่มา : https://nu.kku.ac.th/site/250262/p2.gif
วิธีรักษาหัวใจโต
ไม่ มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocardiography) หลัก การคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร จึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)
ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ
 
ที่มา : https://www.ngthai.com/0702/images/feat_heart.jpg
หัวใจโต รักษาได้
การ รักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้
 
 
ที่มา : https://www.mmc.co.th/mmcj/images/stories/other/istock_000008734499small.jpg
การป้องกัน ก็จะเหมือนกับการดูแลป้องกันโรคหัวใจ
1.หยุดสูบบุหรี่
หาก ท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจาก การสูบบุหรี่มือสอง
บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
2.การออกกำลังกาย
ทุก ท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่นจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออก กำลังกายทำให้หัวใจแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น ลดระดับความดันโลหิต ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์
การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออก กำลังกายแบบแอร์โรบิค {aerobic} การรับประทานอาหารคุณภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำร้ายหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน มักจะได้รับคำแนะนำจากคนทั่วไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความเป็นจริงคนที่เป็นโรคหัวใจก็มีความหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่มีโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนการออกกำลังกาย หลายท่านที่เป็นโรคหัวใจมักจะหาอาหาร หรือยาเพื่อบำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มียาหรืออาหารที่บำรุงหัวใจ อาหารจะมีบทบาทในแง่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่หัวใจ เช่นอาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ อาหารผักและผลไม้จะมีพวกสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือด แข็ง(อ่านอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจที่นี่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ต้องแสวงหาอาหารหรือยาที่บำรุงหัวใจ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้หัวใจท่านแข็งแรง
ผู้ป่วยโรค หัวใจวายเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอย่างพอเพียงโดย เฉพาะเวลาออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ บทความที่จะนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
3.การรับประทานอาหารสุขภาพ
หลักการรับประทานอาหารสุขภาพง่ายมีดังนี้
-หลีก เลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ,Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน
-ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
-รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid 
4.รักษาน้ำหนัก
คน อ้วนจะทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค
5.มั่นตรวจสุขภาพ
ท่าน ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาล
 
สะท้อนความคิดเห็น โรคหัวใจโตเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอลล์ รวมทั้งความตึงเครียดต่างๆที่เกิดขึ้น จะส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนัก เราอาจจะไม่รู้ตัวถ้าไม่สังเกตตัวเอง อาจปล่อยมันไป อาการก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาก็อาจจะส่งผลต่อการเสี่ยงชีวิตได้ ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพ และเอาใจใส่เสมอ รวมทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความเครียดได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ก็จะทำให้เราลดอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโตได้
 แหล่งข้อมูล : https://www.hbwellness.info/health/896

โรคแทรกซ้อนของหัวใจโต

โรคแทรกว้อนของหัวใจโตขึ้นกับว่าหัวใจโตมากน้อยแค่ไหน การทำงานของหัวใจว่ายังทำงานปกติหรือเริ่มมีอาการหัวใจวาย และขึ้นกับโรคพื้นฐาน โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • หัวใจวาย หัวใจที่โตและไม่สามารถบีบตัวไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • มีลิ่มเลือดในหัวใจซึ่งอาจจะลอยไปอุกหลอดเลือดในสมอง ซึ่งหากมีลิ่มเลือดจะต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
  • ลิ้วหัวใจรั่ว หัวใจที่โตมากๆจะมีลิ้นหัวใจรั่วซึ่งจะทำให้โรคกำเริบเร็วขึ้น
  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ผู้ที่หัวใจโตจะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

เมื่อจะไปพบแพทย์จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

คนทั่วไปเมื่อแพทย์บอกว่าเป็นหัวใจโตจะเกิดความกังวล แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยกล้าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นอยู่ มักจะไปพูดคุยหรือขอข้อมูลกับคนที่เคยเป็นโรคนี้มากก่อนทำให้ได้ข้อมูลที่ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทำให้การดูแลรักาาไม่ได้ผลดี การเตรียมตัวพบแพทย์ควรจะวางแผนดังนี้

เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์

ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมก่อนพบแพทย์จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการรักษาท่าต้องเตรียมข้อมูลดังนี้

  • อาการของท่านเกิดเมื่อไร ความรุนแรง ระยะเวลาที่เกิดอาการ ความถี่ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ทำอย่างไรอาการถึงจะหาย
  • ประวัติโรคที่ท่านเป็นอยู่ มีทั้งหมดกี่โรค แต่ละโรคเป็นมานานแค่ไหน และมีโรคแทรกว้อนอะไรบ้าง ประวัติโรคในครอบครัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ เสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
  • ประวัติการรับประทานยา ยาที่รับประทานปัจจุบัน ยาที่เคยรับประทาน หากมีการเปลี่ยนยาก็ระบุสาเหตุของการเปลี่ยนยา
  • ควรจะมีญาติหรือเพื่อนไปด้วยจะได้จำข้อมูล
  • ปรึกษาเรื่องการดูแลตัวเอง เช่นการออกกำลังกาย อาหาร น้ำหนัก

เตรียมข้อมูลสำหรับถามแพทย์

  • สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดหัวใจโต
  • การตรวจหาสาเหตุของโรคต้องตรวจอะไรบ้าง
  • การรักษามีกี่วิธี ข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละวิธี
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง
  • การออกกำลังกายมีข้อจำกัดหรือไม่ ออกกำลังกายอะไรได้บ้าง ไม่ควรออกกำลังกายอะไร
  • จะต้องตรวจหาเบาหวาน หรือไขมันในเลือดหรือไม่
  • จะต้องมาตรวจหัวใจบ่อยแค่ไหน
  • หากมีโรคประจำตัวอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะรับประทานยาร่วมกันได้หรือไม่
  • ต้องพบผู้เชี่ยวชาญหรือไม่
  • โรคดังกล่าวเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่

Link   
https://health.kapook.com
https://siamhealth.net
https://www.doctor.or.th
https://www.marinerthai.com

อัพเดทล่าสุด