x-rayโรคหัวใจโต


5,414 ผู้ชม


x-rayโรคหัวใจโต โรคหัวใจโตต้องดูแลอย่างใรบ้าง อาการของคน โรคหัวใจโต

x-rayโรคหัวใจโต 

ผมมีปัญหาขอเรียนถามคุณหมอถึงสาเหตุของโรค “หัวใจโต” x-ray ครับ
1. หัวใจโตเกิดจากสาเหตุอะไร
2. จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ โตได้อย่างไร
3. เมื่อเกิดเป็นโรคหัวใจโตแล้ว จะมีวิธีปฏิบัติตนอย่างไร
4. การรักษาโรคหัวใจโต รักษาได้อย่างไร
5. คนที่เป็นโรคหัวใจโตจะมีอาการอย่างไรบ้าง
6. โรคหัวใจโตรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ขอความกรุณาคุณหมอช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
- นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ : ผู้ตอบ  x-ray
หัวใจ โตเป็นภาวะที่ห้องหัวใจ 4 ห้อง (ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้ายห้องบนขวา และห้องล่างขวา) ห้องใดห้องหนึ่ง หรือหลายห้องมีขนาดโตขึ้นกว่าปกติ ส่วนใหญ่แพทย์จะหมายถึงหัวใจห้องล่างซ้าย และ/หรือล่างขวาโต
การ ตรวจร่างกายมักจะบอกได้ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องล่างขวา หรือทั้ง 2 ห้องโต สำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography หรือECG) มักบอกได้ว่าหัวใจ 4 ห้องห้องใดโตบ้าง นอกจากนี้ ยังบอกได้ว่าผนังหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาหนากว่าปกติหรือไม่ การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (chest x-ray) x-ray สามารถบอกได้ว่าหัวใจ 4 ห้อง ห้องใดโตกว่าปกติบ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าวิธีการถ่ายเอกซเรย์ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ผู้ป่วยหายใจเข้าไม่เต็มที่ กลั้นหายใจไม่ได้ หรือมีภาวะที่ทำให้ช่องทรวงอกเล็กลง เช่น มีน้ำในช่องท้อง ทำให้กะบังลมถูกยกสูงเข้ามาในช่องทรวงอก จะทำให้ผลเอกซเรย์ทรวงอกมีลักษณะเงาหัวใจโต ซึ่งจริงๆแล้วขนาดของหัวใจไม่โตเลย ดังนั้น อาจจะต้องตรวจมากกว่า 1 อย่างข้างต้น เพื่อที่จะบอกว่ามีภาวะหัวใจโตจริง x-ray
ผู้ป่วยหลายรายที่ ผมเคยตรวจมักจะได้รับการบอกเล่าจากแพทย์ว่าหัวใจโตเล็กน้อย เพราะเอกซเรย์ทรวงอกดูเงาหัวใจโตขึ้นกว่าปกติ แต่เมื่อตรวจร่างกาย คลื่นหัวใจก็มักจะบอกได้ว่าหัวใจไม่ได้โตกว่าปกติเลย หรือถ้ายังสงสัย อาจตรวจวัดขนาดหัวใจโดยตรงด้วยวิธีพิเศษ เช่น การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหัวใจ (echocardiography หรืออัลตราซาวนด์หัวใจ) ว่าหัวใจโตจริง หรือไม่โตมากน้อยเพียงใด ถ้าหัวใจโตจริงควรจะต้องหาสาเหตุ และรีบแก้ไขครับ  x-ray
                                          
ขอตอบปัญหาคุณเป็นข้อๆดังนี้ครับ x-ray
1. สาเหตุของการเกิดหัวใจโต (หมายถึงหัวใจห้องล่างโต) มีมากมายครับ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรค กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้หัวใจบีบตัวน้อยลงกว่าปกติ ทำให้เลือดค้างในหัวใจมาก หัวใจจึงค่อยๆโตขึ้น หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว ทำให้มีเลือดย้อนกลับมาในห้องหัวใจมากขึ้น ทำให้หัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับสาเหตุในแต่ละบุคคลนั้นหากอยากทราบว่าเกิดจากอะไร คงต้องให้แพทย์ ถามประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติมครับ x-ray
 
2. การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจโตก็คือ การรักษาบรรเทาต้นเหตุที่ทำให้หัวใจโต เช่น ถ้าลิ้นหัวใจรั่วก็คงต้องกินยาที่ช่วยลดการรั่วของลิ้นหัวใจ และอาจต้องผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจที่รั่ว ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจากดื่มเหล้ามากเป็นเวลานาน หรือขาดวิตามินบี 1 การหยุดดื่มเหล้าและได้รับวิตามินบี 1 ก็ทำให้หัวใจเล็กลงได้  x-ray
3. เมื่อเกิดเป็นโรคหัวใจแล้วคงต้องตรวจดูให้รู้แน่ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วจึงบอกได้ว่าควรปฏิบัติ อย่างไรให้เหมาะสมกับโรคนั้น แต่โดยหลักทั่วๆไปในผู้ป่วยโรคหัวใจคือ ให้หัวใจได้พัก ไม่ต้องทำงานหนัก เช่น หลีกเลี่ยงการออกแรงมาก โมโห ฉุนเฉียว หรือดูหนังดูละคร เล่นเกมที่ตื่นเต้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว การทำให้จิตใจสงบ สบาย ปล่อยวางจากกิเลสตัณหา และความเครียดทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยการสวดมนต์ ไหว้พระ เจริญสติ สมาธิฟังเทศน์ ฟังธรรม ทำให้หัวใจทำงานเบาลง  x-ray
การ ออกกำลังที่เหมาะสมก็ คือการเดิน โดยเฉพาะเดินจงกรม วันละ 45 ถึง 60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ถึง 4 ครั้ง เรื่องอาหารการกินก็สำคัญควรกินอาหารไทยๆ ที่อุดมไปด้วยพืชผักธัญพืชและไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารจีนที่มีเนื้อสัตว์และไขมันมาก งดเว้นอาหารฝรั่ง ฟาสต์ฟู้ด หรือขนมนมเนยที่หวานมันจัด  x-ray
4. หัวใจโตไม่ใช่โรคโดยตรงแต่เป็นภาวะที่หัวใจขยายใหญ่ขึ้นจากโรคที่เกิดที่ หัวใจ ดังนั้นการรักษาคงต้องรักษาโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจโต เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากเหล้า ก็ต้องหยุดดื่มเหล้าโดยเด็ดขาด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส ยังไม่มียาฆ่าไวรัสโดยตรง ก็ต้องรักษาโดยการพักผ่อน ทั้งกายและจิตใจ กินอาหารให้ถูกต้อง เพื่อให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายกลับมาปกติ สามารถกำจัดการอักเสบจากเชื้อไวรัสได้  x-ray
5. อาการของภาวะหัวใจโตที่เกิดกับผู้ป่วย อาจเกิดจากสาเหตุของโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจโตเอง เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นกลางหน้าอก ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจโตขึ้นได้ หรืออาการอาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายโต เพราะบีบตัวน้อยลง เลือดจะคั่งอยู่ในปอด ทำให้เหนื่อยง่าย เพราะปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง เวลากลางคืนอาจต้องนอนยกหัวให้สูง นอนราบไม่ได้ เพราะจะแน่นหน้าอก ต้องลุกมานั่งจะดีขึ้น ถ้ามีหัวใจห้องล่างขวาโตทำให้เลือดคั่งอยู่ในตับและที่เท้า ทำให้แน่นจุกบริเวณลิ้นปี่เพราะตับโต และเท้าบวมได้ หรืออาการหัวใจโตอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ จนเกิดอาการใจสั่น เป็นลมหน้ามืด หมดสติ หรือแม้แต่เสียชีวิตเฉียบพลันได้  x-ray
6. ภาวะหัวใจโต โดยเฉพาะในระยะแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ในบางสาเหตุ เช่น หัวใจโตจากการดื่มเหล้ามาก หรือขาดวิตามินบี 1 แต่ในบางสาเหตุ หรือในระยะท้ายของโรคที่หัวใจมีขนาดใหญ่โตมาก อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจที่รั่วมาก  x-ray
การ รักษาด้วยยา (ยังไม่มียาที่ทำให้ลิ้นหัวใจหายรั่วได้) และการผ่าตัดแก้ไขอาจทำได้ในระยะต้นของภาวะหัวใจโต แต่ถ้าทิ้งไว้นานเกินไปโดยไม่ได้ตรวจรักษาสม่ำเสมอ อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แม้แต่ในการผ่าตัด ในกรณีเช่นนี้อาจจะถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในรายที่หัวใจโตมาก หรืออาการหัวใจวายมาก  x-ray
ดังนั้นผู้ป่วยที่หัวใจโต แม้ว่าอาการจะไม่มาก หรือไม่มีอาการ ควรจะต้องได้รับการตรวจดูแลรักษาและติดตามเป็นระยะสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าหัวใจโตมากขึ้นหรือไม่ ถึงเวลาจะต้องผ่าตัดหรือยัง เพราะถ้าทิ้งไว้จนหัวใจโตมากเกินไป การผ่าตัดในช่วงนั้นจะไม่ช่วยให้ดีขึ้น x-ray

โรคหัวใจโตต้องดูแลอย่างใรบ้าง

 อยากทราบวิธีการดูแล,ตารางอาหาร,ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจโตค่ะ
พ่อป่วยเป็นโรคหัวใจโตค่ะ..น่าจะเป็นผลสืบเนี่ยงมาจากที่เมื่อก่อนป่วยเป็น โรคนิ่วในไต(เคยผ่าตัดและสลายนิ่วแล้ว)..มีโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มด้วยค่ะ
อยาก ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหนบ้าง แล้วก็โรคนี้อันตรายมากรึเปล่าค่ะ...อีกอย่างพอจะทราบมาว่าชาเขียวจะช่วยลด คลอเรสโตรอลเลยซื้อให้พ่อชงเองที่บ้านไม่แน่ใจว่าจะดีรึเปล่า...รบกวนช่วย ตอบคำถามให้ด้วยนะคะ 
1. หัวใจโต เป็นอาการไม่ใช่โรคน่ะครับ สาเหตุมีมากมาย ไม่สามารถบอกได้เพียงประวัติเท่านี้ แต่หากข้อมูลแค่นี้ น่าจะมีสาเหตุหลักมาจากโรคความดันครับ ส่วนเรื่องนิ่วในไต ต้องมาดูอีกครับว่าชนิดไหน ตำแหน่งไหน เพราะความร้ายแรง/การรักษา ก็ไม่เหมือนกันอีก =)
2. ควรรับประทานอาหารแบบไหน ?  คำตอบด้านบนก็ถูกต้องครับ
   - หลีกเลี่ยง/เลิกของเค็ม และที่ใส่เกลือแม้ลิ้นจะบอกว่าไม่เค็ม
   - หลีกเลี่ยง/เลิกอาหารหวาน ผลไม้หวาน, อาหารมัน ทอด เนื้อหมูสามชั้น  เพราะเป็นการป้องกันเบาหวานและไขมันในเลือดสูงครับ
   - รับประทานผักผลไม้ (ที่ไม่หวานมาก) สัก 50% ของอาหารในแต่ละวัน ข้าวกล้อง ธัญพืช
   - บุหรี่ แอลกอฮอล์ ห้ามเลยครับ แม้นั่งใกล้ๆคนสูบบุหรี่ก็ห้าม (เพราะได้ผลไม่ต่างกับคนที่สูบเองครับ)
   - *** ต้อง *** ไปพบแพทย์เป็นระยะๆครับ ตามนัด เพื่อติดตามอาการ
3. อาการหัวใจโตอันรายมากหรือไม่ ? ต้องดูสาเหตุครับ บางอันก็อันตราย บางอันก็ไม่อันตรายมาก ข้อมูลเพียงเท่านี้บอกไม่ได้ครับ  คงต้องไปตรวจกับรพ.เป็นระยะๆนะครับ แต่ให้คิดไว้ก่อนว่าอันตราย จะได้ไม่ประมาทไงครับ =)
4. ชาเขียว ? จากข้อมูลทางการแพทย์โดยไม่ได้อิงผลประโยชน์ใดๆ เท่าที่ผมทราบ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนจ๋าๆนะครับ แต่ .. มีข้อมูลหลายๆที่บอกว่าการดื่มชาเขียว (ของจริง ไม่ใช่ที่ใส่ขวด 7/11) ช่วยลดไขมันได้ .... สรุปว่าถ้าเป็นคุณพ่อผมเอง คงให้ดื่มได้ครับ แต่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ไม่มากจนเกินไปนะครับ

หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆ ค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรโรคหัวใจโตจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมธัยรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

อาการของคน โรคหัวใจโต

โรคหัวใจ Heart Disease

โรคหัวใจ Heart Disease


โรคหัวใจ  อาการของคน โรคหัวใจโต


          ชั่วโมง การทำงานที่อัดแน่นด้วยความเครียด และการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและเกลือ กำลังคุกคามสุขภาพของคนยุคปัจจุบัน อีกไม่นาน... การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบนี้ อาจทำให้ โรคหัวใจ ระบาดทั่วเมือง...  อาการของคน โรคหัวใจโต

          หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน –ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน เปรียบเสมือนการทำงานปกติของ "หัวใจ" แต่ถ้าวันหนึ่ง... หัวใจเราเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร...?
          ทั้งนี้ นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข แพทย์จากหน่วย โรคหัวใจ และหลอดเลือด คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... อาการของคน โรคหัวใจโต

          คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้

           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่าง เพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติ หัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย...  อาการของคน โรคหัวใจโต

          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว อาการของคน โรคหัวใจโต
                
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง อาการของคน โรคหัวใจโต
 
 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย... อาการของคน โรคหัวใจโต

 
          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
 
 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
          
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด
 
 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ
           สังเกต ความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
                
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย
 
           ดูแล สุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น
 
           รับ ประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
                
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ
 
         อาการของคน โรคหัวใจโต  ... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

Link   
https://www.doctor.or.th
https://guru.google.co.th
https://siamhealth.net
https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด