โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ


10,667 ผู้ชม


โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ โรคหัวใจโตคืออะไร การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโต

โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ

วันหนึ่ง ผมเข้าไปในห้อง ICU เห็นผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นผู้หญิงวัยกลางคน ผมรู้สึกแปลกใจจนต้องหยิบแฟ้มมาดูว่าเธอมาทำอะไรที่นี่ ทำไมผมถึงแปลกใจ ก็เพราะผู้ป่วย ICU รพ.นี้ล้วนแต่อายุมากกว่า 70 ปี เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งนับรวมๆกันทั้งห้องก็เกือบ 1000 ปีเลยละครับ เมื่อการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น ผู้คนอายุยืนขึ้น ก็จะพบผู้ป่วยสูงอายุมากขึ้น แน่นอนว่าปัญหาโรคหัวใจ และ หลอดเลือดใน ผู้สูงอายุย่อมมีมากขึ้นด้วย โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ
โรคหลอดเลือดแดงเสื่อมและแข็งตัว
หากมีโอกาสคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอก(ด้านใน)หรือข้อมือของผู้สูง อายุดู จะพบว่าเป็นเส้นแข็ง ไม่ยืดหยุ่น เหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสม อยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้ หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ยิ่งมีหินปูนสะสมมากก็จะแข็งมาก (หินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้อง กับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับประทาน) ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “อายุ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและ เราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้ จะเกิดทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อม ก็จะเกิดการตีบตัน ของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม ล้วน แต่เป็นผลตามมาเนื่องจากหลอดเลือดแดงเสื่อมทั้งสิ้น แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร เป็นที่น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถหยุดอายุ หยุดความเสื่อมของ ร่างกายลงได้ ดังนั้นสิ่งนี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอเมื่ออายุมากขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ควรจะต้องระวังรักษาตัวให้ดี เพราะความเสื่อมนี้จะมา เยือนเร็วกว่าที่ควร โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ

ความดันโลหิตสูง
กล่าวกันว่า ความดันโลหิตสูงเป็นของคู่กันกับผู้สูงอายุ การที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก หลอดเลือดแดงแข็งตัว ผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง แต่ก่อนเราเชื่อว่าความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ เป็นของปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่วันนี้ความรู้นี้เปลี่ยนไปแล้ว ความดัน โลหิตสูงในผู้สูงอายุก็เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ เช่นเดียวกันกับความดันโลหิตสูงทั่วไป และ พบว่าการลดความดันโลหิต ที่สูงลงก็จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต (stroke) และลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือดด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ใน ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากหากลดความดันโลหิตลงมากเกินไป หรือ ลดลงเร็วเกินไป เลือดจะไป เลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และมีผลให้สมองขาดเลือด เกิดอัมพาตขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยสูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ควร ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ควรได้รับการวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ และ ควรวัดความดันโลหิตในขณะ ที่ผู้ป่วยนั่งและ ยืนด้วย โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ
ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ
ลิ้นหัวใจก็เช่นกัน ทำหน้าที่ปิด เปิด สะบัดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เคยพัก ย่อมเกิดการเสื่อมตามมา นั่นคือเริ่มมีหินปูน (แคลเซียม) สะสมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจที่เคยสะบัดพริ้ว ปิดแน่น เริ่มแข็งขึ้น สะบัดไม่ดี ปิดไม่สนิท เกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมา ในบางรายมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจอย่างมาก จนลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดได้เต็มที่ ก็เกิดปัญหาลิ้นหัวใจตีบขึ้น ซึ่งหากเป็นมากก็จะชักนำให้หัวใจ ทำงานหนักขึ้น จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ สำหรับเรื่องของ ลิ้นหัวใจนี้ หากเป็นไม่มาก ไม่ว่าจะตีบหรือรั่วก็ตาม ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะไม่มี การรักษาเฉพาะ มีแต่รักษาตามอาการ (ซึ่งถ้า เป็นน้อยจริง ก็ไม่น่าจะมีอาการ) แต่หากเป็นมาก การรักษาคือต้องแก้ที่ลิ้นหัวใจ เช่น อาจรักษาด้วยบอลลูน ถ่างลิ้นหัวใจ หรือ การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวสำหรับผู้สูงอายุ โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ

โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือด เลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน เป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ หากรุนแรงก็ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นบางส่วนได้ หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเสื่อมเกิดจากหลายปัจจัย รวมทั้งเรื่องของอายุด้วย ผู้สูงอายุ บางรายอาจไม่เคยมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือด (คือ อาการแน่นหน้าอก) มาก่อนเลยก็ได้ หรือมีอาการน้อยจนไม่สังเกต (เพราะ ไม่ค่อยได้ออกแรง) การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดที่ยังไม่มีอาการ จึงค่อน ข้างลำบากในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา รบกวน ทำให้การตรวจพิเศษต่างๆไม่สามารถทำได้เต็มที่ การตรวจที่ดีที่สุดขณะนี้ คือ การฉีดสีดู หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ แต่ก็ไม่ได้จำเป็นในผู้ป่วยสูงอายุทุกราย เพราะบางครั้งผลการตรวจไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษา ไม่ได้ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น แนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดในผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกันกับการรักษาในผู้ ป่วยอายุน้อยกว่า คือ รักษาด้วยยา ควบคุมปัจจัยเสี่ยง ต่างๆ การขยายหลอด เลือดด้วยบอลลูน และหากมีความจำเป็นจริงๆก็ต้องผ่าตัดบายพาส ซึ่งเรื่องของอายุ ไม่ได้เป็นข้อห้าม ในการผ่าตัด เพียงแต่โอกาสเสี่ยงจากการผ่าตัดสูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยสูงอายุบางราย การไม่ผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าการผ่าตัด เสียอีก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการพูดคุยกับแพทย์ที่รักษา อย่าลืมว่าแพทย์ทำหน้าที่ ให้คำแนะนำ ให้ความเห็นถึงแนวทางการรักษาที่ เขาคิดว่าดีที่สุด ในขณะที่ผู้ป่วยและญาติต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินใจ โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้สูงอายุบางรายพบว่าหัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะขึ้น โดยที่บางครั้งก็ไม่มีสาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆเกี่ยวข้อง นอกจากเรื่องของอายุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่พบบ่อยคือจากห้องบน หรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจ ขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด ความดันโลหิตสูง และพบบ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆเหล่านี้อาจหลุดลอย ไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ เป็นต้นเหตุของการเกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต ขึ้น การรักษาอาจแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ รักษาโดยเปลี่ยนให้หัวใจกลับมาเต้น อย่างปกติ (ด้วยยา ไฟฟ้า หรือ คลื่นวิทยุ) หรือ รักษาด้วยยาเพียงคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปเท่านั้น บางรายจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ การรักษาในแต่ละรายจะขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษาด้วย
ปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุเป็นเรื่องของความเสื่อมที่เราไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ก็จริง แต่ปัจจุบัน เราก็มีการรักษาต่างๆที่อาจ ช่วยบรรเทาอาการและลดปัญหาแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมนั้นๆลง ได้ อย่างไรก็ตามการรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ล้วนแต่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษทั้งสิ้น ต้องระวัง ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการรักษาด้วย  โรคหัวใจโตในผู้สูงอายุ

หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆ ค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรโรคหัวใจโตจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมธัยรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

  • สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาศในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์สั่งโดยเคร่งครัด
  • สำหรับโรคทางพันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคดดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกาาแพทย์

โรคหัวใจโตคืออะไร

หัวใจโต เกิดจากอะไร

หัวใจโตเกิด จากขนาดหัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโต ขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

หัวใจโตมีอาการอย่างไร

 

      ผู้ ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมิน อาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามัน เป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับ ท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน
การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น
บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจาก เอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก ก็เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

 

สาเหตุของหัวใจโต

       ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่
  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้น หัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต 
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูงก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานธาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมธาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติ เกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

  1. สำหรับท่านที่มี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น อ้วนไม่ได้ออกกำลัง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสในการเกิดความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีความดันโลหิตสูงแล้วท่านต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแพทย์ สั่งโดยเคร่งครัด
  2. สำหรับโรคทาง พันธุกรรมคงจะหลีกเลี่ยงยาก แต่ท่านอาจจะหยุดโรคโดยสอบประวัติครอบครัว หากภรรยา/สามี มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว ท่านควรปรึกษาแพทย์
  3. รักษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตรวจเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต
  • การตรวจรังสีปอดและหัวใจซึ่งจะบอกได้ว่าหัวใจโตหรือไม่ แต่ไม่ได้บอกสาเหตุของหัวใจโต เป็นการตรวจเบื้องต้นเท่านั้น
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะวัดไฟฟ้าหัวใจว่าหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ และกล้ามเนื้อหัวในหนาหรือไม่
  • การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การบีบตัวของหัวใจเป็นอย่างไร ยังสามารถดูลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • การตรวจ computer scan ซึ่งจะให้รายละเอียดของหัวใจค่อนข้างมาก
  • การเจาะเลือดตรวจ
  • ในรายที่จำเป็นอาจจะต้องฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อหัวใจส่งตรวจ
การรักษาหัวใจโต

การรักษาหัวใจโตจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาต้นเหตุ แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการก็จำเป็นต้องได้ยาเพื่อรักษาอาการ ยาที่มักจะใช้ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ยาที่สามารถเลือกใช้ได้แก่ furosemide, spironolactone ,hydrochlorothaizide ใช้ในกรณีที่มีอาการบวม และมีอาการของหัวใจวาย
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Angiotensin receptor blockers (ARBs)ใช้ลดความดันและรักษาอาการหัวใจวาย
  • Beta blockers ใช้ลดความดันและอาการหัวใจวาย
  • Digoxin ใช้รักษากรณีที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

การรักษาอื่นๆที่อาจจะมีความจำเป็น

  • สำหรับผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติก็อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการเต้นของหัวใจ
  • การผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นอกจากจะใช้ยาแล้วการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้ควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น

  • หยุดสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก
  • รับประทานอาหารจืด
  • ควบคุมเบาหวาน
  • ควบคุมความดันให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกาย
  • หลับพักอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับหัวใจโตได้ที่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี 

การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโต

ยารักษาใจ


โรค หัวใจ มีความหมายกว้างมาก และมีความสัมพันธ์กับโรคอื่นๆอย่างใกล้ชิด ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงฯลฯ ผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงมักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน นอกจากนั้น ยาแต่ละชนิด มีคุณสมบัติหลายอย่าง สามารถนำไปใช้รักษาในหลายโรค ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ซึ่งมักจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่น ยาขับปัสสาวะ นอกจากใช้เป็นยาขับน้ำและเกลือในผู้ที่บวมแล้ว ยังนำมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตอีกด้วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมักจะไม่เข้าใจ และ ถามว่าทำไมต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ ทั้งๆที่ปัสสาวะปกติไม่ต้องขับแต่อย่างใด บทความนี้จะกล่าวถึงการใช้ยาต่างๆในผู้ป่วยโรคหัวใจตามกลุ่มโรค แต่จะไม่ลงในรายละเอียดของยาแต่ละชนิด และ เลือกมาเฉพาะกลุ่มยาที่ใช้บ่อยเท่านั้น
ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ประโยชน์ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีดังนี้
Aspirin ยาแอสไพริน ขนาด 60 – 300 มิลลิกรัม เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือด ลดการเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ นำมาใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือ กำลังเกิด heart attack อยู่ ได้ผลดีในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วยควรได้รับยากลุ่มนี้ไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) ยกเว้นมีปัญหาจากการใช้ยา ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เลือดออกง่ายขึ้น แผลในกระเพาะอาหาร และ เลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้แม้จะใช้ขนาดต่ำก็ตาม
Ticlopidine หรือ Clopidogrel เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดอีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ร่วมกับแอสไพริน หรือ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานแอสไพรินได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด (stent) จำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้ร่วมกับ แอสไพริน ไประยะหนึ่ง การหยุดยานี้โดยไม่จำเป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้ถึงชีวิตได้ ต้องปรึกษาแพทย์หัวใจที่ดูแลอยู่ก่อนหยุดยาทุกครั้ง
Statins เป็นยาลดไขมันในเลือด ออกฤทธิ์โดยลดการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลที่ตับ นอกจากลดระดับไขมัน แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล ในเลือดแล้ว ยังช่วยให้ไขมันที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจไม่แตกปริง่ายๆ และไม่สะสมเพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงเป็นยาที่ได้ประโยชน์อย่างมากในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้ว่าระดับไขมันในเลือดจะไม่สูง ยานี้ควรรับประทานไปตลอดชีวิต ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ปวดกล้ามเนื้อ ตับอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งพบน้อยและส่วนมากไม่รุนแรง
Nitrates ไนเตรทเป็นยาที่ใช้กันมานาน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่รู้จักกันดีในรูปแบบ ยาอมใต้ลิ้น หรือในรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ยาไนเตรทช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจได้ชั่วคราว ช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่มิได้ช่วยป้องกันการเสียชีวิต จึงไม่ใช่ยาวิเศษ อย่างที่หลายท่านเข้าใจ ดังนั้น หากมีอาการแน่นหน้าอก และมียาอมใต้ลิ้นอยู่ แนะนำให้อมยา หากอาการไม่ดีขึ้นต้องมาโรงพยาบาลโดยเร็ว ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ เนื่องจากอาจเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เป็นลม หัวใจเต้นช้า ในบางราย สำหรับผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ ปวดศีรษะ
Beta-blockers ยาต้านเบต้า นอกจากช่วยลดความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยลดการบีบตัว และ อัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจใช้ออกซิเจนลดลง จึงช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ นอกจากนั้นยานี้ยังช่วยลดอัตราตายในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมา ก่อน
ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะ หัวใจล้มเหลว (heart failure) เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ อาการสำคัญ คือ หอบเหนื่อยง่าย ตับโต ขาบวม ดังนั้น ยาหลักที่ใช้ในการรักษา คือ ยาขับปัสสาวะ และ ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น
ยาขับปัสสาวะ เป็นยาขับน้ำและเกลือออกจากร่างกาย ทำให้สารน้ำที่สะสมอยู่ในปอด ตับ หรือ ร่างกายของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวลดลง ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายขึ้น เหนื่อยและบวมลดลง แต่หากขับปัสสาวะมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ จึงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ยากลุ่มนี้ช่วยให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น เนื่องจากแรงต้านต่อการบีบตัวของหัวใจลดลง ได้แก่ยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) และ Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) นอกจากนั้นยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว และลดการรับไว้รักษาใน ร.พ. เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย จึงเป็นยาที่จำเป็นมากและควรได้รับไปตลอด อย่างไรก็ตามยากลุ่มนี้มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ความดันโลหิตต่ำ ไตเสื่อมในบางราย ไอ (เฉพาะ ACEI )
Beta-blockers ยาต้านเบต้าบางขนิด นำมาใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ผลดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด

ยาลดความดันโลหิต
ภาวะ ความดันโลหิตสูง แม้จะไม่ใช่ โรคหัวใจ โดยตรงแต่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับโรคหัวใจมาก เนื่องจากความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่ อีกทั้งยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ยาลดความดันโลหิต อาจเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่แพทย์ให้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน
ยาขับ ปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะในขนาดต่ำเป็นยาลดความดันโลหิตที่ได้ผลดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม หรือ บวม นอกจากนั้นยังราคาถูก แต่ผลแทรกซ้อนที่ควรระวัง คือ เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ กรดยูริคและระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้กันมานาน ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ หลอดลมตีบในคนที่เป็นหอบหืดหรือสูบบุหรี่จัด อาการอ่อนเพลีย หย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย
Calcium channel blockers ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด ล้วนสามารถลดความดันโลหิตได้ดี ผลแทรกซ้อนที่พบบ่อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น เท้าบวม เป็นต้น ไม่มีผลเสียต่อไต หรือ ระดับน้ำตาลในเลือด
Alpha-blockers เป็นยาลดความดันโลหิตอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่มีผลเสียต่อไต หรือระดับน้ำตาลในเลือด และยังนำมาใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะขัดเนื่องจากต่อมลูกหมากโตอีกด้วย
Angiotensin Converting Enzyme Inhibitors (ACEI) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ปัจจุบันราคาไม่แพง ประสิทธิภาพดี แต่มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาการไอ มักจะไอแห้งๆคันคอ ไม่มีอาการหวัด ไอเป็นชุด คล้ายภูมิแพ้ อาการนี้พบได้บ่อยในคนเอเชีย ทำให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มอื่นแทน
Angiotensin II Receptor Blockers (ARB) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ผลแทรกซ้อนจากยามีน้อยมาก ไม่ควรใช้ในกรณีที่ไตเสื่อมอย่างมาก (ยกเว้นได้รับการฟอกไต) ข้อเสียสำคัญคือราคาแพง
จะเห็นได้ว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจมีมากมายหลายชนิด อีกทั้งยาบางชนิดใช้ในหลายโรค และ ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมีโรคอื่นๆร่วมด้วย มักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ผู้ป่วยควรจะต้องทราบว่ารับประทานยาอะไรอยู่บ้าง ขนาดยาเป็นอย่างไร โดยอาจจดชื่อยาและวิธีรับประทาน หรือ นำยาที่รับประทานอยู่ให้แพทย์ดูทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับยาซ้ำซ้อน และปฎิกริยาระหว่างยาด้วยกัน ซึ่งบางครั้งรุนแรงมาก

ใจใหญ่ ใจโต


“คุณหมอ คะ คุณแม่ดิฉันเป็นหัวใจโตคะ”
คำ ถามเหล่านี้ได้ยินกันเสมอในหมู่อายุรแพทย์ และ แพทย์โรคหัวใจ เป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มี “โรคหัวใจโต” มีแต่ “ภาวะหัวใจโต” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ หัวใจก็เป็นอวัยวะเช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ เมื่อต้องทำงาน หนักมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาอื่นๆ ก็อาจทำให้ขนาดหัวใจโตขึ้น ดังนั้น หัวใจที่โตขึ้นจึงไม่ใช่ “โรค” แต่เป็นผลตามมา เนื่องจากโรคอื่นๆ
หัวใจโต โตจากอะไร
ขนาด หัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นเดียวกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น แบบนี้น่าจะเรียกว่า “ใจใหญ่” มากกว่าหากเอกซเรย์ทรวงอกดู จะเห็นขนาดหัวใจใหญ่คับอกเลยทีเดียว มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต ที่พบประจำ คือ ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าหัวใจโต
ภาวะ หัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และ อาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็น คือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นเงาปอดและหัวใจ หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดงให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย
ใน ทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็ เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด
ตรวจวิธีไหนบอกหัวใจโต ได้ดีที่สุด
ไม่ มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocardiography) หลักการคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความ สามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร จึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)
ผู้ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ
หัวใจโต รักษาได้
การ รักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้ 

Link   
https://siamhealth.net
https://www.vejthani.com
https://thaismartheart.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด