โรคลําไส้อักเสบในลูกสุนัข โรคลําไส้อักเสบในสุนัข โรคลําไส้อักเสบในหมา
โรคลําไส้อักเสบในลูกสุนัข
โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
อาการ ท้องเสียหรือถ่ายเหลวในสุนัขนั้น ความจริงแล้วมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เกิดจากเชื้อโปรโตซัว (บิด) เชื้อแบคทีเรีย พยาธิในลำไส้ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนชนิดของอาหารและน้ำดื่ม อาการท้องเสียที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวเบื้อต้นนั้นม ีวิธีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ยกเว้นแต่อาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มียารักษาหรือฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และเชื้อไวรัสยังมีความรุนแรงทำให้สุนัขที่ป่วยเป็นอ ันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคไวรัสลำไส้อักเสบในสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิดเรียงลำดังตามความรุนแรงดังนี้คือ
1. เชื้อพาร์โวไวรัส (canine parvovirus)
2. เชื้อโคโรน่าไวรัส (canine coronavirus)
3. เชื้อโรต่าไวรัส (rotavirus)
อาการของสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จะคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงความรุนแรง และลักษณะการเกิดโรค
1. เชื้อพาร์โวไวรัส
เป็น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข แบบเฉียบพลันและรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ การติดเชื้อพาร์โวไวรัสสามารถเกิดกับสุนัขทุก ๆ ช่วงอายุ แต่ในลูกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะมีความไวต่อการติดเชื้อ อาการของโรคจะรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น ร็อตไวเลอร์ โดเบอร์แมนพิชเชอร์ พิตบลูเทอเรีย เยอร์มนเชิพเพอร์ด และ ลาบาดอร์รีทรีฟเวอร์ มีความไวต่อเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และพบว่าลูกสุนัขที่ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เนื่องจากไม่มีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง
การติดต่อ
โดยการ กินเชื้อไวรัสที่ออกมากับอุจจาระและปนเปื้อนใน อาหาร น้ำหรือ สิ่งแวดล้อม (เชื้อพาร์โวไวรัสจะคงทน และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหลายเดือน)
กลไกการติดเชื้อ
ระยะ ฟักตัวของเชื้อ (ติดเชื้อโดยไม่มีการแสดงอาการ) นาน 4-7 วัน จากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่กระจาย ไปยังอวัยวะเป้าหมาย เช่น เนื้อเยื่อของลำไส้ ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง และจะมีการแบ่งตัวทำอันตรายอวัยวะเหล่านั้น โดยทำให้เซลล์ของลำไส้เสียหาย ตายและลอกหลุดไป ทำให้สุนัขท้องเสียแบบรุนแรงและมีเลือดปน มีไข้สูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสยังทำลายและกดไขกระดูก ทำให้ระดับเม็กเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลงร่วมกับกา รทำอันตรายระบบน้ำเหลือง ทำให้สุนัขจะมีภาวโลหิตจางและภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ ำ
2. เชื้อโคโรน่าไวรัส
เชื้อ โคโรน่าไวรัสทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข ได้แบบเฉียบพลับเช่นเดียวกับพาร์โวไวรัส แต่ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปแบ่งตัวและทำลายเนื้อเยื่อของลำ ไส้ เป็นผลทำให้เซลล์ของลำไส้ถูกทำลาย ลอกหลุด ฝ่อตัวและบางส่วนจะตายลง เป็นเหตุให้สุนัขท้องเสียรุนแรง มีเลือดปน โดยที่เชื้อโคโรน่าไวรัสจะมีการติดต่อ อาการและกลไลการเกิดโรคล้าย ๆ กับพาร์โวไวรัส เพียงแต่จะไม่ทำให้เกิดไข้สูง ไม่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าหากได้รับการรักษาอย่า งทันท่วงที
3. เชื้อโรต่าไวรัส
เชื้อ โรต่าไวรัสเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสียไ ด้ทั้งในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งนก แต่พบว่าในสุนัขจะมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ค่อยข้าง น้อย และอาการไม่รุนแรง และจากการศึกษายังพบว่าสุนัขร้อยละ 79 ที่ติดเชื้อไวรัสนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการรักษา ถ้าหากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน
การวินิจฉัยโรค
1. ประวัติการทำวัคซีน อาการของโรค
2. ตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยแยกแยะออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว พยาธิในลำไส้ฯ
3. ตรวจโลหิตวิทยา เพื่อดูระดับของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
4. ตรวจค่าเคมีในเลือด และระดับอิเลคโตรไลท์
5. เอ็กซ์เรย์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยแยกแยะการอุดตัน ของสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร ลำไส้บิด หรือลำไส้กลืนกัน
6. การตรวจหาเชื้อไวรัสในอุจจาระ ซึ่งในปัจจุบันมีชุดตรวจพิเศษซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อพ าร์โวไวรัสได้
การรักษา
การ รักษาลำไส้อักเสบติดต่อนั้นไม่มีการรักษาแบบเฉพาะ เจาะจง จึงมีเพียงการรักษาแบบพยุงอาการ และควบคุมการติดเชื้อแทรกซ้อน ดังนี้ คือ
1. การให้น้ำ สารอาหาร และแร่ธาตุอิเลคโตรไลท์เข้าทางหลอดเลือดดำ ใต้ผิวหนัง และทางปาก เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ สารอาหารและแร่ธาตุ เนื่องมาจากสัตว์เบื่ออาหารร่วมกับอาการถ่ายเหลว และอาเจียน
2. ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
3. การจัดการด้านโภชนาการ ในระยะแรกที่สัตว์มีอาเจียนและถ่ายเหลวมาก ๆ ควรมีการงดน้ำงดอาหารทางปากอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยการให้สารอาหารเข้าทางกระแสเลือดทดแทน เพื่อให้ทางเดินอาหารได้พัก และปรับสภาพ หลังจากนั้นค่อยให้สุนัขรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย โดยแบ่งให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ส่วนที่ไม่มันต้อมหรือคลุกกับข้าว หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีขายเช่น Hill prescription i/d และ Waltham intestinal formula จนกระทั่งการทำงานของลำไส้กลับมาเป็นปกติ จึงกลับมารับประทานอาหารตามปกติ
4. ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน และยาลดกรดในทางเดินอาหาร เพื่อลดการสูญเสียน้ำและอิเลคโตรไลท์ และลดการระคายเคืองของทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
5. ยาแก้ท้องเสีย โดยทั่วไปแล้วมักไม่นิยมใช้กับการท้องเสียเนื่องมาจา กการติดเชื้อ
6. การให้เลือด ในกรณีที่มีการถ่ายเหลวแบบมีมูกเลือดรุนแรง เป็นเหตุให้มีภาวะโลหิตจางตามมา
การป้องกันโรค
การ ทำวัคซีนป้องกันโรค เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันนอกจากนั้นอาจแยกสัตว์ ป่วยออกจากตัวอื่น ๆ ในฝูงเพื่อลดการติดเชื้อ รวมทั้งมีการจัดการที่ดีเก็บล้างทำความสะอาด อุจจาระและบริเวณที่สัตว์นอน
โรคลําไส้อักเสบในสุนัข
โรคลำไส้อักเสบ ในสุนัข
"โรคลำไส้อักเสบ"
โดย สัตวแพทย์ อิทธิเดช วิเชียรรัตน์
สวัสดีครับ ท่านเจ้าของสัตว์ทุกท่าน อยากนำเสนอเรื่อง
โรคติดต่อในสุนัข ที่เจอบ่อย
ความจริงทางโรงพยาบาลสัตว์ เคยนำเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว
แต่ยังมีลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าบางท่าน ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่
และมีลูกค้าหลายท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่
ต่อไปนี้หวังว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยง คงได้ความรู้เพิ่มขึ้น
โรคติดต่อในสุนัขที่เจอบ่อย ที่ รพ.สัตว์นครศรีธรรมราช
อาจรวมถึงที่อื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ
1.โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส (canine viral enteritis หรือ cve )
เป็นโรคติดต่อที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน แล้วมีการติดเชื้อเป็น
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง) โคโลน่าไวรัส
(ไม่รุนแรง) โรทาไวรัสหรืออาจติดเชื้อร่วมกัน
ซึ่งจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น (ติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัส)
การติดต่อ เกิดจากการ กินหรือเลียสิ่งคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายจากสุนัข
ตัวที่เป็นโรค ได้แก่ อุจจาระ (มากที่สุด) , ปัสสาวะ , น้ำลาย
อาการ สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ใช้เวลาฟักตัวนาน 37
วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มปริมาณ ในร่างกายสัตว์ เมื่อสัตว์แสดงอาการ
อาการวันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน เป็นอยู่ประมาณ 2 วัน
วันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด ไข้สูง (หรือไข้ขึ้น ตั้งแต่วันแรกแล้ว)
อาการ ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน ยังมีอยู่ ตำแหน่งที่เชื้อไปอยู่ที่
ร่างกายสัตว์ที่สำคัญ คือ ที่ เยื่อบุส่วนที่ทำหน้าที่ ดูดซึมอาหาร หรือ
ที่เรียกว่า วิลไล (villi) ได้แก่เชื้อโคโรน่าไวรัส
และโรทาไวรัส ส่วนเชื้อพาโวไวรัสจะอาสัยอยู่ที่ฐานของวิลไล
หรือที่เรียกว่า คริปท์ (crypt of liverkhun)
เฉพาะบางครั้งเวลาสุนัขเป็นโรคนี้ จะถ่ายออกมาเป็นมูก
หรือเป็นมูกแบบมีเลือด ปนเล็กน้อย อาการจะเป็นไม่รุนแรงยังร่าเริง
แสดงว่าสุนัขติดเชื้อ โรทา หรือโคโรนาไวรัส (หรือเชื้อชนิดไม่รุนแรงอื่นๆ เช่นเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือโปรโตซัว ) ส่วนกรณีย์ติดเชื้อพาโวไรรัส ร่วมด้วยจะพบว่ามีอาการสุนัขถ่ายเป็นเลือดสดๆ
และจะเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง สัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน
มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล
ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย
มีความต้านทานต่อโรคนี้สูงกว่า
การักษา ไม่มียารักษา สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมาได้เลย
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องรักษาตามอาการเหมือนกัน ได้แก่ให้สารน้ำคือน้ำเกลือ
ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือยบลำไส้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
สัตว์ตัวที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี ตัวที่หายมักใช้เวลา
เฉลี่ย 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน
หลังจากถ่ายเป็นเลือด การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ร่วมด้วยการให้ยาฉีด
ซึ่งบางชนิดอาจฉีดวันละ 3- 4 ครั้งเช่นยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้
เพราะฉะนั้น สุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสหายสูงกว่า
สุนัขที่ได้รับน้ำเกลือทางเข้าผิวหนัง หรือไม่ได้รับน้ำเกลือเลย
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน- 1 ปี
โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบติดต่อมาเลย
เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัข โต หรืออายุมาก
แต่สุนัขโตก็มี
โอกาสเป็นได้ ส่วนสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน
มีภูมิจากน้ำนมแม่อยู่จะทำให้ไม่เกิดโรค
และโอกาสได้รับเชื้อน้อยกว่าเนื่องจากอยู่กับแม่
การป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อพาโวไวรัส
วัคซีนบางยี่ห้อ มีป้องกันโคโรน่าไวรัสด้วย
แต่อย่างน้อยต้องป้องกันเชื้อพาโวไวรัสได้
เนื่องจากเชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นแล้วรักษาหาย แต่ถ้าติดเชื้อพาโวไวรัส
เปอร์เซนต์การตายสูงมาก โดยเฉพาะสัตว์สายพันธุ์ที่ไวต่อโรค
และสัตว์ที่อ่อนแอ หรือสัตว์ที่เป็นพยาธิร่วมด้วย เช่นพยาธิปากขอ
หรือพยาธิไส้เดือน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เริ่มฉีดตั้งแต่สุนัขอายุได้
45 วัน แต่ถ้าสุนัขอายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วมักฉีดใน รูปของวัคซีนรวม
ที่ประกอบด้วย โรคลำไส้อักเสบ ไข้หัดสุนัข ตับอักเสบและโรคเลปโตสไปโรซีส
(ฉี่หนู) อยู่ในเข็มเดียวกัน อยู่ในเข็มเดียวกัน แต่การฉีดนั้นต้องฉีด 2
ครั้ง ห่างกัน 1เดือน
เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงเพียวพอที่จะป้องกันโรค
และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
นอกจากการทำวัคซีนแล้วการฆ่า เชื้อบริเวณคอก หรือกรงสัตว์เลี้ยง
ช่วยควบคุมการแพร่โรคได้ แต่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของสาร
โซเดียม ไฮโปคลอไรท์
ซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่ในน้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์
นั้นเอง อาจเทใส่ ฟอกกี้ แล้วฉีดพ่นกรง
แล้วนำกรงไปตากแดดหรือใช้ราดบริเวณคอกได้ ส่วนยาฆ่าเชื้ออื่นๆเช่น
เดทตอล หรือ แอลกอฮอล์
ไม่สามารถฆ่าเชื้อพาโวไวรัสได้
สุนัขตัวที่เป็นโรคเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาแล้ว เชื้ออยู่ได้นาน 5- 6 เดือน
ในสิ่งแวดล้อมโดยที่เชื้อไม่ตาย
เพราะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรคนี้ถึงพบได้บ่อย พบได้ตลอดปี
แต่ช่วงฤดูฝนพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเชื้อกระจายได้ง่าย
สาเหตุที่ทำให้โรคนี้ติดต่อและระบาดได้ ทั่วไปคือ
สุนัขจนจัด และ สัตว์อายุมาก ที่เป็นแหล่งอมโรค
คือมีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เนื่องจากทนต่อโรคมากกว่าลูกสุนัข
บางครั้งพบว่าการที่สุนัขบางตัวชอบเลียรองเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้
ทั้งที่ไม่เคยออกนอกบ้านเลย เนื่องจากเจ้าของเดินไปเหยียบย่ำที่ต่างๆ
อาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่
อ้างอิง https://www.thaivet.org
โรคลําไส้อักเสบในหมา
โรคติดต่อที่พบบ่อยในสุนัขและเป็นโรคที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด คือ โรคลำไส้อักเสบซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง) โคโลน่าไวรัส (ไม่รุนแรง) หากติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัสจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น
สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ต้องใช้เวลาฟักตัวนาน 3–7 วัน อาการวันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน จะเป็นอยู่ประมาณ 2 วัน พอถึงวันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด และมีไข้สูง ในสัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย มีความต้านทานต่อโรคนี้สูง
สิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับโรคลำไส้อักเสบคือไม่มียาสำหรับฆ่าเชื้อไวรัส สามารถรักษาได้เพียง ให้น้ำเกลือ ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้ ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน สุนัขที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี โดยใช้เวลาฟื้นตัวในกรณีสุนัขที่อาการดีขึ้นประมาณ 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน หลังจากถ่ายเป็นเลือด
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน - 1 ปี โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบ เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัขโต แต่สุนัขโตก็มีโอกาสเป็นได้ ส่วนสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน มีภูมิจากน้ำนมแม่จะทำให้ไม่เกิดโรค และโอกาสได้รับเชื้อน้อยกว่าเนื่องจากอยู่กับแม่
จากการสัมภาษณ์คุณหมอชูศักดิ์ เชาว์วิวัฒน์ แห่งสถานพยาบาลสัตว์ปฏิญญาสัตวแพทย์ จังหวัดอุดรธานี เกี่ยวกับโรคลำไส้อักเสบในสุนัข ด้วยการรักษาโดยวิธีการฉีด HIS : Hyper Immune Serum ซึ่งเป็นรักษาแบบทางเลือกอีกหนึ่งทาง การให้ HIS นั้นจะเป็นการให้ตามน้ำหนักตัวของสุนัข 1 กิโลกรัม ต่อ 1 CC เป็นเซรุ่มที่คุณหมอศึกษาและคิดค้นขึ้นเพื่อรักษาโรคลำไส้อักเสบโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการรักษาทางกายภาพด้วยการจัดให้สุนัขได้นอนอาบแดดในตอนเช้าของทุกๆ วัน เพื่อให้ร่างกายให้ได้รับวิตามินและธาตุบางอย่างจากแสงแดด และให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด ส่วนอาหารที่คุณหมอแนะนำหลังจากหายจากโรคคือ นมรสหวาน ทองหยอด และโยเกิร์ต ของหวานเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของไข่แดง นม เนยและวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่จะทำให้หมาแข็งแรง
Link
https://www.bloggang.com
https://disease.108dog.com
https://dogtime.exteen.com