สุนัขเป็นโรคลําไส้อักเสบ


4,740 ผู้ชม


สุนัขเป็นโรคลําไส้อักเสบ หมาเป็นโรคลําไส้ หมาเป็นโรคลําไส้อักเสบ

สุนัขเป็นโรคลําไส้อักเสบ

โรคลำไส้อักเสบ ในสุนัข

line dogline dogline dogline dog

"โรคลำไส้อักเสบ"
โดย สัตวแพทย์ อิทธิเดช วิเชียรรัตน์
สวัสดีครับ ท่านเจ้าของสัตว์ทุกท่าน อยากนำเสนอเรื่อง
โรคติดต่อในสุนัข ที่เจอบ่อย
ความจริงทางโรงพยาบาลสัตว์ เคยนำเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว
แต่ยังมีลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าบางท่าน ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่
และมีลูกค้าหลายท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่
ต่อไปนี้หวังว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยง คงได้ความรู้เพิ่มขึ้น
โรคติดต่อในสุนัขที่เจอบ่อย ที่ รพ.สัตว์นครศรีธรรมราช
อาจรวมถึงที่อื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ
1.โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส (canine viral enteritis หรือ cve )
เป็นโรคติดต่อที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน แล้วมีการติดเชื้อเป็น
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง) โคโลน่าไวรัส
(ไม่รุนแรง) โรทาไวรัสหรืออาจติดเชื้อร่วมกัน
ซึ่งจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น (ติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัส)
การติดต่อ เกิดจากการ กินหรือเลียสิ่งคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายจากสุนัข
ตัวที่เป็นโรค ได้แก่ อุจจาระ (มากที่สุด) , ปัสสาวะ , น้ำลาย
อาการ สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ใช้เวลาฟักตัวนาน 37
วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มปริมาณ ในร่างกายสัตว์ เมื่อสัตว์แสดงอาการ
อาการวันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน เป็นอยู่ประมาณ 2 วัน
วันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด ไข้สูง (หรือไข้ขึ้น ตั้งแต่วันแรกแล้ว)
อาการ ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน ยังมีอยู่ ตำแหน่งที่เชื้อไปอยู่ที่
ร่างกายสัตว์ที่สำคัญ คือ ที่ เยื่อบุส่วนที่ทำหน้าที่ ดูดซึมอาหาร หรือ
ที่เรียกว่า วิลไล (villi) ได้แก่เชื้อโคโรน่าไวรัส
และโรทาไวรัส ส่วนเชื้อพาโวไวรัสจะอาสัยอยู่ที่ฐานของวิลไล
หรือที่เรียกว่า คริปท์ (crypt of liverkhun)
เฉพาะบางครั้งเวลาสุนัขเป็นโรคนี้ จะถ่ายออกมาเป็นมูก
หรือเป็นมูกแบบมีเลือด ปนเล็กน้อย อาการจะเป็นไม่รุนแรงยังร่าเริง
แสดงว่าสุนัขติดเชื้อ โรทา หรือโคโรนาไวรัส (หรือเชื้อชนิดไม่รุนแรงอื่นๆ เช่นเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือโปรโตซัว ) ส่วนกรณีย์ติดเชื้อพาโวไรรัส ร่วมด้วยจะพบว่ามีอาการสุนัขถ่ายเป็นเลือดสดๆ
และจะเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง สัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน
มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล
ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย
มีความต้านทานต่อโรคนี้สูงกว่า
การักษา ไม่มียารักษา สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมาได้เลย
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องรักษาตามอาการเหมือนกัน ได้แก่ให้สารน้ำคือน้ำเกลือ
ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือยบลำไส้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
สัตว์ตัวที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี ตัวที่หายมักใช้เวลา
เฉลี่ย 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน
หลังจากถ่ายเป็นเลือด การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ร่วมด้วยการให้ยาฉีด
ซึ่งบางชนิดอาจฉีดวันละ 3- 4 ครั้งเช่นยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้
เพราะฉะนั้น สุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสหายสูงกว่า
สุนัขที่ได้รับน้ำเกลือทางเข้าผิวหนัง หรือไม่ได้รับน้ำเกลือเลย
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน- 1 ปี
โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบติดต่อมาเลย
เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัข โต หรืออายุมาก
แต่สุนัขโตก็มี
โอกาสเป็นได้ ส่วนสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน
มีภูมิจากน้ำนมแม่อยู่จะทำให้ไม่เกิดโรค
และโอกาสได้รับเชื้อน้อยกว่าเนื่องจากอยู่กับแม่
การป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อพาโวไวรัส
วัคซีนบางยี่ห้อ มีป้องกันโคโรน่าไวรัสด้วย
แต่อย่างน้อยต้องป้องกันเชื้อพาโวไวรัสได้
เนื่องจากเชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นแล้วรักษาหาย แต่ถ้าติดเชื้อพาโวไวรัส
เปอร์เซนต์การตายสูงมาก โดยเฉพาะสัตว์สายพันธุ์ที่ไวต่อโรค
และสัตว์ที่อ่อนแอ หรือสัตว์ที่เป็นพยาธิร่วมด้วย เช่นพยาธิปากขอ
หรือพยาธิไส้เดือน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เริ่มฉีดตั้งแต่สุนัขอายุได้
45 วัน แต่ถ้าสุนัขอายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วมักฉีดใน รูปของวัคซีนรวม
ที่ประกอบด้วย โรคลำไส้อักเสบ ไข้หัดสุนัข ตับอักเสบและโรคเลปโตสไปโรซีส
(ฉี่หนู) อยู่ในเข็มเดียวกัน อยู่ในเข็มเดียวกัน แต่การฉีดนั้นต้องฉีด 2
ครั้ง ห่างกัน 1เดือน
เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงเพียวพอที่จะป้องกันโรค
และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
นอกจากการทำวัคซีนแล้วการฆ่า เชื้อบริเวณคอก หรือกรงสัตว์เลี้ยง
ช่วยควบคุมการแพร่โรคได้ แต่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของสาร
โซเดียม ไฮโปคลอไรท์
ซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่ในน้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์
นั้นเอง อาจเทใส่ ฟอกกี้ แล้วฉีดพ่นกรง
แล้วนำกรงไปตากแดดหรือใช้ราดบริเวณคอกได้ ส่วนยาฆ่าเชื้ออื่นๆเช่น
เดทตอล หรือ แอลกอฮอล์
ไม่สามารถฆ่าเชื้อพาโวไวรัสได้
สุนัขตัวที่เป็นโรคเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาแล้ว เชื้ออยู่ได้นาน 5- 6 เดือน
ในสิ่งแวดล้อมโดยที่เชื้อไม่ตาย
เพราะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรคนี้ถึงพบได้บ่อย พบได้ตลอดปี
แต่ช่วงฤดูฝนพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเชื้อกระจายได้ง่าย
สาเหตุที่ทำให้โรคนี้ติดต่อและระบาดได้ ทั่วไปคือ
สุนัขจนจัด และ สัตว์อายุมาก ที่เป็นแหล่งอมโรค
คือมีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เนื่องจากทนต่อโรคมากกว่าลูกสุนัข
บางครั้งพบว่าการที่สุนัขบางตัวชอบเลียรองเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้
ทั้งที่ไม่เคยออกนอกบ้านเลย เนื่องจากเจ้าของเดินไปเหยียบย่ำที่ต่างๆ
อาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่
อ้างอิง https://www.thaivet.org

หมาเป็นโรคลําไส้

ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

Dogilike.com :: ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

       ถ้าจะพูดถึง ... โรคที่เป็นอันตรายกับลูกสุนัขทั่วโลก โรคที่ทำให้ลูกสุนัขต้องอาเจียนและถ่ายเป็นเลือดอย่างรุนแรง โรคที่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอะไร 80% ของลูกสุนัขที่ป่วย จะตายภายใน 4-5 วัน หนึ่งในนั้นคงต้องมีชื่อของ “โรคลำไส้อักเสบติดต่อ (Canine Parvovirus)” แน่นอน เหตุใดโรคนี้ถึงสร้างความน่ากลัวได้ถึงเพียงนี้ ร่วมกันหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับ มุมหมอหมา ในวันนี้ครับ


โรคนี้มาจากไหน ?

       โรคลำไส้อักเสบติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Canine Parvovirus type 2 (CPV-2) โดยผ่านทางอุจจาระและอาเจียน เข้าสู่ปากโดยการกินเชื้อไวรัสเข้าไป หรืออาจติดได้จากสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจก็ได้ มีรายงานว่าตัวอ่อนในท้องสามารถติดเชื้อได้จากแม่ผ่านทางรกได้ด้วย เชื้อนี้มีความทนทานมาก สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากกว่า 5 เดือนเลยทีเดียว น้องหมาตัวใหม่อาจติดเชื้อนี้ได้ จากน้องหมาตัวเก่าที่ตายด้วยโรคนี้ ผ่านทางเชื้อที่ยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อม ภาชนะ ของเล่น กรง ที่นอน และอุปกรณ์ต่างๆ


ใครเสี่ยง ?

       อันที่จริงโรคนี้พบได้ในน้องหมาทุกเพศ ทุกพันธุ์ และทุกวัย แต่จากการศึกษาพบว่า น้องหมาที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากที่สุด คือ 

        ลูกหมาอายุ 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน
        - ลูกหมาที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ไม่เพียงพอ หรือยังไม่ได้ทำวัคซีน
        - น้องหมาที่ถูกเลี้ยงรวมกันจำนวนมาก มีพยาธิในลำไส้ มีความเครียด จนภูมิคุ้มกันลดลง
      - น้องหมาบางพันธุ์จะมีความไวเป็นพิเศษ เช่น เยอรมันเชฟเฟิร์ด ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ อเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย ร็อตไวเลอร์ และโดเบอร์แมน
ส่วนน้องหมาพันธุ์พูเดิ้ลและค็อกเกอร์สเปเนียล จะมีความไวน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เป็นโรคนี้นะครับ

       สำหรับน้องหมาที่โตแล้ว อาจจะติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ เพราะมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนหรือจากธรรมชาติแล้ว แต่อาจกลายเป็นตัวแพร่เชื้อไปสู่ลูกหมาได้ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีรายงานว่าเชื้อ CPV-2 ติดคนหรือไม่

Dogilike.com :: ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

จะสังเกตอาการอย่างไร ?

     น้องหมาจะแสดงอาการป่วยภายใน 3-10 วันหลังจากได้รับเชื้อ ส่วนใหญ่อาการจะเริ่มจากซึม เบื่ออาหาร อาจมีไข้ ตามมาด้วยอาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำสีดำ (melena) ไปจนถ่ายเป็นเลือด มีกลิ่นคาว (กลิ่นของเลือดที่หมักหมมในอุจาระ) ร่างกายจะสูญเสียน้ำ อิเล็กโทรไลด์ และพลาสม่าโปรตีนไปมาก อาจทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผนังลำไส้ที่ถูกทำลาย จะทำให้น้องหมาเจ็บปวดท้อง ร้องคราง ตัวงอและสั่น เจ็บเมื่อแตะและสัมผัสตัว ลูกหมาที่อายุน้อยกว่า 3 เดือนอาจมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย


ทราบได้อย่างไรว่าเป็น ?

     การวินิจฉัยนอกจากคุณหมอจะดูจากประวัติ การตรวจร่างกาย และตรวจเลือดแล้ว สิ่งที่ใช้ยืนยันได้ดี คือ การตรวจแอนติเจนจากอุจจาระด้วยวิธี ELISA โดยใช้ Test kit CPV วิธีนี้มีข้อดี คือ ความไวในการตรวจค่อนข้างสูง ใช้เวลาทราบผลไม่เกิน 15 นาที แต่มีความจำเพาะต่ำ เพราะไม่สามารถแยกเชื้อทีเกิดจากการทำวัคซีนและที่ได้รับจากธรรมชาติได้ เพราะฉะนั้น เจ้าของควรแจ้งคุณหมอเรื่องวันที่ได้ทำวัคซีนด้วย หากน้องหมาแสดงอาการป่วยหลังจากฉีดวัคซีนไปไม่เกิน 12 วัน

      ใน ทางตรงกันข้าม บางทีน้องหมาอาจจะป่วยจริงๆ แต่อาจตรวจไม่พบ เนื่องจากคุณหมอเก็บตัวอย่างอุจจาระที่มีเชื้อมาน้อยเกินไป หรือตรวจในช่วงที่มีเชื้อในอุจจาระน้อย จึงตรวจไม่พบเชื้อ (ช่วงที่มีเชื้อในอุจจาระมากที่สุดคือช่วง 4-7 วันหลังจากติดเชื้อ)

Dogilike.com :: ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

เป็นแล้วต้องทำอย่างไร ?

       แน่นอนต้องรักษา เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาอัตราการตายจะสูงถึง 91 % เลยทีเดียว การรักษาจะเป็นไปในลักษณะการประคับประคอง (Supportive treatment) เพราะยังไม่มียาฆ่าไวรัสโดยตรง หลักการ คือ ต้องได้รับสารน้ำเพื่อชดเชยน้ำและอิเล็กโทรไลด์ที่เสียไปจากการอาเจียนและ ท้องเสีย น้ำตาลเด็กโตรสเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำตาล (Hypoglycemia) ซึ่งพบได้ง่ายในลูกสุนัข ยาฆ่าเชื้อ ยาระงับอาเจียน และยาลดกรด-เคลือบกระเพาะ  

       นอกจากนี้ยังมีการรักษาทางเลือก อีกมากมาย ที่เป็นไปในลักษณะของการกระตุ้นหรือเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับการักษาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

        - การป้อน Beta-Glucan ขนาด 0.6 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม วันละ 1 ครั้ง
        - การฉีด Granulocyte colony-stimulating factor เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
        - การฉีด Interferon omega ซึ่งจะได้ผลดีหากฉีดในช่วงแรกๆ และให้ไม่เกิน 3 วัน
        - การฉีด Inactivated cell ของแบคทีเรีย Propionibacterium acnes โดยฉีดเข็มแรก แล้วตามด้วยเข็มที่ 2 ในอีก 48 ชั่วโมงถัดมา จากนั้นอาจให้ฉีดซ้ำเมื่อครบ 1 สัปดาห์

       ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่การหวังผลทางอ้อมเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันใช้ต่อ ต้านเชื้อเท่านั้น ในบ้านเรามีการรักษาด้วย HyperImmune Serum (HIS) ด้วยครับ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในเลือดให้สูงสุด เพื่อใช้ในการเพิ่มภูมิต้านทานแก่ลูกสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มักใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ซึ่งผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ แต่เป็นกรณีศึกษาเฉพาะบุคคลยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร

       มีการทดลองนำยา Oseltamivir (Tamiflu™) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 มาใช้ โดยใช้ป้อนวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน เพื่อลดความสามารถในการผ่านของเชื้อไวรัสเข้าสู่ crypt cells ของลำไส้เล็ก และลดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ไม่ให้สร้าง endotoxin มากขึ้น แต่ยานี้ก็ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง และมีผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้และอาเจียน

Dogilike.com :: ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

รอดหรือไม่ ?

     ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ปริมาณเชื้อที่รับเข้าไป สภาพร่างกายของน้องหมาแต่ละตัว ระดับภูมิคุ้มกันของร่ายกายที่มีอยู่ ลูกหมาที่ป่วยโอกาสรอดชีวิตจะน้อยกว่าน้องหมาโต คุณหมอจะติดตามดูอาการเป็นรายวันต่อวัน น้องหมาอาจต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 3-7 วันหรือมากกว่านั้น  พยากรณ์โรคลำไส้อักเสบติดต่อ (Canine Parvovirus) ในลูกสุนัขจะอยู่ในระดับแย่ถึงแย่ที่สุด (Poor to Grave) หากลูกหมาตัวไหนป่วย เจ้าของอาจต้องเผื่อใจไว้บ้าง อย่างไรก็ดีการดูแลอย่างใกล้ชิดจะทำให้อัตราการตายลดลงเหลือเพียง 4-48 %


ทำอย่างไรไม่ให้เป็น ?

       มีหลักปฏิบัติ 9 ประการ เพื่อกำจัดโรคลำไส้อักเสบติดต่อให้อยู่หมัด ดังนี้ครับ

       1. น้องหมาควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์สมวัย และได้รับการถ่ายพยาธิ 
     2. หลีกเลี่ยงการเลี้ยงที่จะทำให้น้องหมาเครียด เช่น การเลี้ยงรวมกันจำนวนมาก การให้อาหารไม่เพียงพอ หรือเลี้ยงในที่ที่มีเสียงดัง เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงได้
       3. หลีกเลี่ยงการเล่นกับน้องหมาแปลกหน้าที่ไม่ทราบประวัติการทำวัคซีน 
       4. หากมีสมาชิกเข้ามาใหม่ ควรแยกเลี้ยงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนนำมาเลี้ยงรวมกับน้องหมาตัวอื่นๆ  
       5. หากมีน้องหมาที่ป่วยต้องแยกเลี้ยงโดยทันที เพื่อง่ายต่อการดูแลและป้องกันการแพร่เชื้อ
      6. ต้องทำความสะอาดบริเวณพื้น กรง และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสารฟอกขาว (Sodium hypochlorite) โดยผสมอัตราส่วน สารฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 30 ส่วน (หรือสารฟอกขาว 4 ออนซ์ต่อน้ำ 1 แกลลอน) พ่นทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงล้างออก 
       7. ควรล้างมือ และทำความสะอาดเสื้อผ้า รองเท้าด้วย หากไปสัมผัสน้องหมาที่ป่วยมา 
      8. หากน้องหมาหายป่วยแล้ว ก็ควรต้องแยกเลี้ยงต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และก่อนนำมาเลี้ยงรวมกันควรต้องอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายป้องกันเชื้อที่ยังอยู่ตามขนและผิวหนัง
     9. ควร ฉีดวัคซีนให้ลูกสุนัข เริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วให้กระตุ้นซ้ำอีก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2-4 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง จากนั้นให้กระตุ้นซ้ำเป็นประจำทุกๆ ปี


Dogilike.com :: ลำไส้อักเสบติดต่อ โรคร้ายใกล้ตัวสุนัข

       อันที่จริงยังมีเชื้ออีก 2 เชื้อ คือ Coronavirus และ Rotavirus ที่ทำให้น้องหมาเป็นโรคลำไส้อักเสบติดต่อได้เช่นกัน แต่เชื้อเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าได้รับการรักษาได้ทันท่วงที อาการจะคล้ายๆ กัน แนวทางการรักษาก็ไม่ต่างกันครับ

     ถึงตรงนี้เพื่อนๆ คงจะรู้ถึงพิษสงของโรคร้ายที่น่ากลัวโรคนี้กันมากขึ้นแล้วนะครับ โรคลำไส้อักเสบติดต่อ แม้จะติดง่าย ป่วยง่ายและหายยาก แต่หากคิดจะป้องกันทำได้ไม่ยากเลยครับ ลองนำหลักปฏิบัติที่ มุมหมอหมา แนะนำไปลองใช้ดู แล้วกลับมาติดตามอ่านบทความน่ารู้คู่สุขภาพน้องหมาได้ใหม่นะครับ

หมาเป็นโรคลําไส้อักเสบ

น้องหมา(สุนัข)กับโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

ทำความรู้จักโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

       พาร์โวไวรัส (Parvovirus) เป็นโรคลำไส้อักเสบที่เกิดกับน้องหมา(สุนัข) มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสในสุนัข ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงเป็นแบบเฉียบพลัน ลูกสุนัขอายุ 2-6เดือนที่เป็นโรคนี้มีความเสี่ยงสูงทีน้องหมาจะตาย และมีสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น ล็อตไวเลอร์ พิตบูล อัลเซเชียน ลาบาดอร์ มีความไวต่อโรคนี้ หากติดเชื้อพาร์โวไวรัสแล้วจะทำให้มีอาการที่รุนแรง

น้องหมา(สุนัข)กับโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

การติดต่อของโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

       เกิดจากการที่น้องหมากิน หรือเลีย ของเหลวหรือสิ่งขับข่ายจากสุนัขตัวที่เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะขี้หรืออุจจาระ น้องหมาที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสจะไม่แสดงอาการทันที โดยที่เชื้อจะใช้เวลาฟักตัว 3-7 วัน จนเชื้อเพิ่มปริมาณมากสุนัขจึงจะแสดงอาการออกมา

วิธีการตรวจหาโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

       เมื่อพบน้องหมาแสดงอาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ให้พาสุนัขไปตรวจหาโรคโดยใช้ชุด Test Kit ซึ่งมี2 แบบ แบบแรกเป็นแบบตรวจคร่าวๆ หากน้องหมาเคยทำวัคซีนป้องกันโรคพาร์โวไวรัสไปแล้ว จะตรวจเจอเชื้อได้ทั้งที่สุนัขไม่ได้เป็นโรคนี้ เหมาะสำหรับน้องหมาที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน แบบที่สอง เรียกว่าแบบ สแน็ป จะไม่ตรวจจับไวรัสที่มาจากวัคซีน ราคาประมษณ 400บาท หากสุนัขเคยทำวัคซีนมาแล้วก็ควรใช้แบบที่สองในการตรวจ

อาการของสุนัขเมื่อเป็นโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

        – ช่วง 1-2 วันแรก น้องหมาจะมีอาการซึม อ้วกวันละหลายรอบ ไม่กินน้ำกินอาหาร ถ่ายเหลว สุนัขบางตัวจะมีไข้สูง

        – ช่วงวันที่ 3-4 สุนัขยังคงอ้วก และถ่ายเป็นน้ำ สีของอุจจาระจะออกสีเหลืองปนเทา และมีกลิ่นเหม็นคาวมาก
         – หลังจากวันที่ 4 หากอาการทรุดลงน้องหมาจะเริ่มถ่ายโดยมีเลือดปนออกมาด้วย สุนัขบางตัวจะถ่ายเป็นเลือดสดๆออกมาเลย โดยส่วนมากน้องหมาที่อาการทรุดหนักจะตายภายใน3-7วันหลังแสดงอาการ

ข้อควรระวัง

       เมื่อสุนัขท้องเสีย ควรจะหาน้ำเกลือแร่ และน้ำหวานให้น้องหมากินเพื่อป้องกันน้องหมาเกิดอาการช็อกที่เป็นสาเหตูทำให้น้องหมาตายได้

การรักษาสุนัขที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

        โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษาโดยตรง ซึ่งการรักษาน้องหมาที่เป็นโรคนี้มีดังนี้
        1. รักษาตามอาการ เมื่อพาสุนัขที่เป็นโรคพาร์โววัสไปหาหมอ หมอจะให้น้ำเกลือและยาบำรุง และฉีดยาฆ่าเชื้อและยาลดอาเจียนให้
         2. รักษาโดยวิธีฉีดเม็ดเลือดขาวของสุนัขที่เพิ่งทำวัคซีน พร้อมกับการให้น้ำเกลือและยาบำรุง วิธีนี้จะไม่เป็นที่ยอมรับในสัตวแพทย์ทั่วๆไป การรักษาวิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากจากการเล่าของผู้ที่เคยนำน้อง หมาไปรักษามาแล้ว ซึ่งคุณหมอชูศักดิ์ที่อุดรธานีเป็นผู้รักษาโดยวิธีนี้ เบอร์โทรหมอ 081-739-0937
        3. การรักษาโดยให้น้องหมากินฟ้าทะลายโจร โดยทำควบคู่กับวิธีที่1. สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรจะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับสุนัขเพื่อต่อต้านกับ เชื่อพาร์โวไวรัส สามารถให้น้องหมากินแบบแคปซูล หรือจะให้กินแบบนำต้นมาต้มก็ได้ ให้กินวันละ3เวลา หากน้องหมาอ้วกหลังจากกินยาภายใน1ชั่วโมงควรจะให้กินเพิ่ม

วิธีป้องกันโรคลำไส้อักเสบ (พาร์โวไวรัส)

      ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน เมื่อสุนัขมีอายุ 6สัปดาห์ หรือเดือนครึ่งให้ฉีดวัคซีนเข็มแรก และฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 8สัปดาห์ หรือ 2เดือน จากนั้นฉีกเข็มที่สามเมื่อน้องหมาอายุ 12สัปดาห์ หรือ 3เดือน จากนั้นก็ทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกๆ 1 ปี ในช่วงที่น้องหมาฉีดวัคซีน 3 เข็มแรก ไม่ควรพาน้องหมาออกไปเดินเล่นนอกบ้าน ตอนพาไปฉีดยาก็ไม่ควรให้น้องหมาเดินตามพื้นทั้งในและรอบๆ โรงพยาบาลหรือคลินิก เพราะที่โรงพยาบาลหรือคลินิกจะมีเชื้อโรคต่างๆมากมาย ทำให้น้องหมามีความเสี่ยงในการติดเชื้อพาร์โวไวรัส หลังจากที่สุนัขรับวัคซีนเข็มที่สามแล้ว 2 สัปดาห์จึงจะมีภูมิต้านทานเต็มที่ แต่น้องหมาที่ได้รับวัคซีนครบก็มีโอกาสเป็นโรคพาร์โวไวรัสได้เช่นกัน

Link   
https://disease.108dog.com
https://www.dogilike.com
https://www.xn--12cm7c7ag5cm3ap9t.com

อัพเดทล่าสุด