โรคลําไส้อักเสบในคน อาการ


6,027 ผู้ชม


โรคลําไส้อักเสบในคน อาการ โรคลําไส้แปรปรวนมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ การรักษาโรคลําไส้อักเสบ

โรคลําไส้อักเสบในคน อาการ

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือ เรียกย่อว่าโรคยูซี (Ulcerative colitis หรือ UC) เป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โรคครอน (Crohn’s disease) และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบไม่แน่นอน (Indeterminate colitis)

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่ชัด เจน โรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ โดยจะมีอาการเกี่ยวกับการอุจจาระที่ผิดปกติ ความสำคัญคือ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงกว่าคนทั่วไป

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย โดยประเทศที่พบบ่อย คือ อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย และประเทศในแถบยุโรปเหนือ อย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.2-14.3 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ใน ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 0.34 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี สำหรับในประเทศไทยก็พบได้น้อยเช่นกัน นอกจากนี้พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและมีเศรษฐานะที่ดี มีอัตราการเกิดโรคบ่อยกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและมีเศรษฐานะต่ำ

อนึ่ง ช่วงอายุที่พบบ่อยของโรคนี้มี 2 ช่วง คือ 15-30 ปี และ 60-80 ปี ผู้ ชายและผู้หญิงพบได้เท่าๆ กัน

อะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลที่ชัดเจน แต่เป็นที่ยอมรับว่า น่าเกิดจากผู้ป่วยบางคนมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมบางชนิด

สารพันธุกรรมที่พบว่า อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง และโรคอื่นๆในกลุ่มลำไส้อักเสบ มีอยู่หลายตัว และเกี่ยวข้องกับหลายโครโมโซม (Chromosome, หน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม คนปกติจะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่) เช่น โครโมโซมคู่ที่ 1, 5, 12, 19 เป็นต้น และพบว่าอาจส่งทอดทางพันธุกรรมได้ โดยถ้ามีพ่อ หรือแม่ หรือพี่น้องคนใดคนหนึ่งเป็นโรคในกลุ่มลำไส้อักเสบ โอกาสที่จะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วยมีประมาณ 10% แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคในกลุ่มนี้ โอกาสที่ลูกแต่ละคนจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ด้วย มีถึง 36% การศึกษาในคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน พบ ว่า ถ้ามีแฝดคนหนึ่งเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ประมาณ 6% จะพบแฝดอีกคนเป็นโรคนี้เช่นกัน

โดยปกติเมื่อเรากินอาหาร หรือสิ่งต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของลำไส้จะไม่ตอบสนองต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น (แต่ถ้านำเอาอาหารเหล่านั้นมาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้น/หลอดเลือด จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรง) รวมทั้งไม่ต่อต้านกับเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้เราด้วย แต่ในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานนี้ขึ้น โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันต้านทาน จะตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้น โดยการหลั่งสารเคมีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบแบบเรื้อรัง และทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรังตามมานั่นเอง

มีการศึกษาที่สันนิษฐานว่า การติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรคบางชนิด เช่น Samonella sp, Shigella sp. อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ลำไส้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังขึ้นมาได้ แต่ก็ยังขาดหลักฐาน เนื่อง จากเมื่อเพาะเชื้อจากลำไส้ของผู้ป่วย ก็ไม่พบเชื้อดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงยังสันนิษฐานว่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในลำไส้ (Normal flora) เช่น Bacteroides sp., Escherichia sp. น่าจะเป็นสาเหตุมากกว่า เพราะการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อไปฆ่าเชื้อเหล่านี้ ทำให้อาการของผู้ป่วยบางคนดีขึ้น

ในผู้ที่สูบบุหรี่ จะพบอัตราการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง น้อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งตรงข้ามกับโรคลำไส้อักเสบชนิดที่เรียกว่า โรคครอน ที่การสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรค) แต่ในกรณีที่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแล้วหยุดสูบ กลับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล มากกว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่

พบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง มีประวัติการใช้ยาแก้ปวดใน กลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDs) เช่น Voltaren มากกว่าคนปกติ จึงมีการสันนิษฐานว่า ยากลุ่มนี้อาจเป็นสาเหตุได้ นอกจากนี้ ในผู้ที่ป่วยอยู่แล้ว การใช้ยาในกลุ่มนี้จะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้

ความเครียด หรือมีภาวะกระทบกระเทือนจิตใจรุนแรง เช่น มีคนในครอบ ครัวเสียชีวิต การหย่าร้าง มีหลักฐานว่าทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้นได้

มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยผ่าตัดโรคไส้ติ่งอักเสบมา ก่อน มีอัตราการเป็น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง น้อยกว่าคนที่ไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน หรือผ่าตัดไส้ติ่งออกจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากไส้ติ่งอักเสบ

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีอาการอย่างไร?

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะพบการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่างจาก โรคครอน ที่จะเกิดการอักเสบได้ทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก หรือแม้ แต่หลอดอาหารและปากก็มีการอักเสบได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบ พลัน และอาการจะกำเริบขึ้นเป็นพักๆ มีช่วงที่ปกติ สลับกับช่วงที่มีอาการ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระบ่อย/ท้องเสีย หรือ ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก อุจจาระอาจเหลวเป็นน้ำ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด การที่ผู้ป่วยจะมีอาการใดเด่นชัด ขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบ กล่าวคือ

  • ถ้ามีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง (Proctitis) จะถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดปนมูก อาจเห็นเคลือบอยู่บนผิวของก้อนอุจจาระ หรือปนเปไปกับอุจจาระที่เป็นก้อนปกติ มีอาการปวดเบ่ง คือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่จริงๆแล้ว ไม่ ได้มีอุจจาระอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วยังรู้สึกถ่ายไม่สุด บางครั้งเวลาปวดถ่ายอุจจาระ อาจกลั้นไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้อง การที่ลำไส้ตรงมีการอักเสบ จะทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากลำไส้ตรง เคลื่อนตัวบีบขับก้อนอุจจาระช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการท้องผูก
  • ถ้าการอักเสบเป็นตั้งแต่เหนือลำไส้ตรงขึ้นไป จะถ่ายเป็นเลือดสดที่ปน เปไปกับก้อนอุจจาระ ในรายที่อาการรุนแรง จะถ่ายเป็นน้ำที่มีทั้งเลือด มูก และเนื้ออุจจาระปนกันออกมา การที่ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือลำไส้ตรงอักเสบ จะทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบ่อย โดยมักจะเป็นช่วงกลางคืน หรือหลังกินอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดท้องบริเวณส่วน กลางท้อง เป็นแบบปวดบีบได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะแบ่งย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของอาการ คือ
    1. อาการเล็กน้อย: ถ่ายน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระเล็ก น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีหัวใจเต้นเร็ว มีโลหิตจางเล็กน้อย มีค่าการตกตะกอนของเลือด (ESR) ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    2. อาการปานกลาง: ถ่าย 4-6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระปานกลาง มีไข้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วแต่น้อยกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางปานกลาง มีค่า ESR ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    3. อาการรุนแรง: ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระมาก มีไข้ต่ำ หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางมาก มีค่า ESR สูงเกิน 30

อนึ่ง นอกจากผู้ป่วยจะมีลำไส้ใหญ่อักเสบแล้ว อวัยวะอื่นๆ อาจเกิดการอักเสบร่วมได้ด้วย เช่น

  • การอักเสบของเนื้อเยื่อผนังลูกตาชั้นกลาง (Uveitis) พบได้ประมาณ 3.8% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการปวดตา ตากลัวแสง มองภาพไม่ชัด และอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้
  • การอักเสบของท่อทางเดินน้ำดีภายในและภายนอกตับ (Primary sclerosing cholangitis) พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะนี้อยู่นานประมาณ 5-10 ปี จะลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้ประมาณ 10% จะกลายเป็นโรคมะเร็งของท่อทางเดินน้ำดี
  • การอักเสบของกระดูกสันหลัง (Ankylosing spondylitis) พบได้ประมาณ 2.7% ของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงเอวและก้น มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า และอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปได้
  • การอักเสบของผิวหนัง ที่เรียกว่า Erythema nodosum โดยผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนแดง ปวดตาม แขน และขา และอีกชนิดเรียกว่า Pyoderma nodosum โดยผู้ ป่วยจะมีตุ่มหนอง และแตกออกเป็นแผล บางครั้งมีขนาดใหญ่และหลายๆแผล ยากต่อการรักษา พบภาวะเหล่านี้ได้ประมาณ 1-2%

แพทย์วินิจฉัยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

เมื่อผู้ป่วยมีอาการของอุจจาระผิดปกติเรื้อรังดังกล่าว จะต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคนี้และแยกโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคนี้ โดยเฉพาะการแยกจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคด้วย การตรวจต่างๆ ได้แก่

  1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
    • การตรวจหาสารภูมิต้านทาน/แอนติบอดี/Antibody ชนิดที่เรียกว่า Antineutrophil cytoplasmic antibodies (ANCA) ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะตรวจพบได้ประมาณ 60-80% จึงอาจช่วยแยกจากโรคอื่นๆได้
    • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ และเพื่อการเพาะเชื้อแบคทีเรียก่อโรค (ที่ปกติแล้วไม่ได้อยู่ในลำไส้เรา) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อเหล่านี้
    • การตรวจหาค่าการตกตะกอนของเลือด
    • การตรวจเลือด ดูปริมาณเม็ดเลือดแดง ปริมาณเกล็ดเลือด (ตรวจซีบีซี/CBC) และเกลือแร่ต่างๆในเลือดเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค
  2. การตรวจทางรังสีวินิจฉัย การสวนแป้งทางทวารหนักและเอ๊กซเรย์ (Barium enema) สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้ได้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรก ซ้อน เกิดการพองตัวของลำไส้ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องธรรมดาก็สามารถให้การวินิจฉัยได้
  3. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และตัดชิ้นเนื้อลำไส้ส่วนผิดปกติเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เมื่อการตรวจเบื้องต้นต่างๆดังกล่าวข้างต้นให้ผลว่า ผู้ ป่วยน่าจะเป็นโรคนี้ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะช่วยในการแยกโรคที่สำคัญออกไป คือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง คือ

  1. การให้ยารักษาอาการอักเสบของลำไส้ ยาที่ใช้ คือ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) และยากลุ่มต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory agents) อื่นๆที่ไม่ ใช่ยาในกลุ่มเอนเสดส์ ยาสเตียรอยด์ มีทั้งรูปแบบสวนผ่านทางทวารหนัก รูปแบบกิน และรูปแบบฉีด การให้ยาในรูปแบบใดขึ้นกับความรุนแรงของอาการ สำหรับยาในกลุ่มต้านการอักเสบอื่นๆ มีในรูปแบบสวนทวาร และในรูปแบบกิน เช่น ยา Sulfa salazine และยา Mesalazine

    ในกรณีที่ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ไม่ได้ผล อาจเลือกใช้ยากดระบบภูมิ คุ้มกันต้านทานร่างกาย เช่น ยา Cyclosporine ยา Tacrolimus หรือการใช้ยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน คือ ยา Infliximab แต่ยาในกลุ่มเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ค่อน ข้างรุนแรง เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขึ้นผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น ในบางครั้งแพทย์อาจเลือกรักษาโดยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ส่วนที่อักเสบออกเลยก็ได้เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงเหล่านี้

    สำหรับการรักษาอื่นๆ ยังไม่ถือเป็นวิธีมาตรฐาน เช่น การให้ ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ปกติในลำไส้ใหญ่ และการเปลี่ยนถ่ายเอาเม็ดเลือดขาวออกจากเลือด

  2. การให้ยาเพื่อควบคุมไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบ เมื่อรักษาอาการลำไส้อักเสบได้โดยใช้ยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลำไส้อักเสบกำเริบขึ้นมาอีก การจะใช้ยาตัวไหน ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยใช้ยาในกลุ่มใดได้ผล
  3. การให้ยาช่วยบรรเทาอาการ เช่น ถ้ามีถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย ต้องให้น้ำ เกลือแร่ทดแทน อาจให้โดยการกิน หรือให้ทางหลอดเลือดดำ ถ้าถ่ายเป็นเลือดสดปริมาณมากและบ่อย ก็ต้องให้เลือดทดแทน
  4. การรักษาภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าเกิดลำไส้แตกทะลุ หรือถ่ายเป็นเลือดออกปริมาณมากจนควบคุมไม่ได้ ก็ต้องผ่าตัดลำไส้ส่วนเกิดโรคออก ถ้าเกิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็ต้องรักษาโรคมะเร็งนั้น
  5. การรักษาอาการที่เกิดกับอวัยวะอื่นๆ เช่น ถ้าเกิดการอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลางภายในลูกตา ต้องให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นต้น

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีผลข้างเคียงอย่างไร? รุนแรงไหม?

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่

  • ลำไส้ใหญ่เกิดการพองตัวและเน่า ซึ่งเรียกว่า ภาวะ Toxic megacolon พบได้ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรง โดยลำไส้ใหญ่จะพองตัว หยุดการเคลื่อนไหว และอาจเน่าตาย จนต้องรักษาด้วยการตัดลำไส้ส่วนนี้ทิ้ง มีส่วนน้อยที่ลำไส้ที่พองตัวนี้อาจแตกทะลุ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 15%
  • ลำไส้ใหญ่เกิดการตีบตัน พบได้ประมาณ 5-10% ของผู้ป่วย อาจเกิดจากการที่ลำไส้มีการอักเสบมากและกลายเป็นพังผืดดึงรั้งขึ้นภายในลำไส้ บางครั้งอาจเกิดจากมีก้อนมะเร็งขวางอยู่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้ประมาณ 3-5% ของผู้ป่วย ยิ่งเป็นโรคอักเสบมานาน ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

    ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โดย

    1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังแล้ว จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคและจากยาที่ใช้รักษา
    2. เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ที่ป่วยมานาน 8-10 ปี ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่พร้อมกับตัดชิ้นเนื้อจากหลายๆตำแหน่งที่ผิดปกติ ไปตรวจทุกๆ 1-2 ปี การติดตามโดยใช้อาการ และการตรวจอื่นๆเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้พลาดการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ อีกทั้งอาการของโรคนี้ก็คล้ายคลึงกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
    3. ผู้ป่วยโรคนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ ผู้ที่ดื่มนมสดแล้วไม่มีปัญหาถ่ายอุจจาระเหลวตาม มา ก็สามารถดื่มได้ปกติ อย่างไรก็ตาม ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด การรับประทานอาหารปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ และควรงดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยภาวะกำเริบของโรค และจากการรักษาไม่ได้ผล เช่น อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง เป็นต้น
    4. มีคำแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารบางอย่างที่อาจพิจารณานำไปใช้ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ได้แก่ การกินน้ำมันปลา อาจช่วยลดอาการของโรค การกินอาหารที่เรียกว่าโปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่ มีชีวิตแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ยีสต์, Lactic acid bacteria, Bifidobacteria ซึ่งมีอยู่ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต มีข้อมูลว่าอาจช่วยลดอาการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย อาจช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของลำไส้ไม่ให้ทำงานผิด ปกติ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หรือการกินดอกมัสตาร์ด อาจช่วยรักษาการอักเสบในลำไส้ได้ เป็นต้น

    ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?

    ผู้ที่ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือเลือดปนมูกปนในอุจจาระ หรือถ่ายเป็นเลือดสดๆ ออกมาแม้เพียงครั้งเดียว ควรรีบพบแพทย์เพื่อได้รับการหาสาเหตุ ถ้าการหาสาเหตุในครั้งแรกแล้วรักษาไม่หาย มีอาการกลับ มาอีก ก็ต้องพบแพทย์ต่อเนื่องเพื่อหาสาเหตุให้พบ เนื่องจากสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือด หรือมูกเลือดนั้น มีอยู่มากมาย การหาสาเหตุที่แท้จริงในครั้งแรกไม่พบ ย่อมเป็นไปได้เสมอ

     โรคลําไส้แปรปรวนมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

    โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

    โรคลำไส้แปรปรวน

    โรคลำไส้แปรปรวน [IBS]

    ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่



    1. โรคลำไส้แปรปรวน คือ โรคอะไร

    ตอบ โรคลำ ไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) เป็นภาวะเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งประกอบด้วยอาการหลัก คือ ปวด หรือ อึดอัดท้อง และ มีลักษณะอาการสัมพันธ์กับการถ่าย หรือ อุจจาระที่เปลี่ยนไป (บ่งบอกว่าเป็นการปวดจากลำไส้ใหญ่) ซึ่งไม่พบว่ามีสาเหตุใด ๆ


    2. โรคนี้พบได้มากแค่ไหน คนอื่น ใคร ๆ เป็นโรคนี้กันมากไหม

    ตอบ ภาวะโรคนี้พบได้มากเลยทีเดียว เรียกว่าบางการศึกษาพบว่าเป็นภาวะที่ทำให้ทำงานไม่ได้เป็นภาวะโรคอันดับ 2 รองจากไข้หวัด พบว่ามีถึง10 ถึง 20 % ของประชากรทั่วไปเลย แต่มีเพียงแค่ 15 % ของผู้ที่ปัญหาจากโรคนี้ที่เข้าตรวจ หรือ ปรึกษาแพทย์


    3. โรคนี้หายได้หรือไม่

    ตอบ พบว่ามีการรักษาได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ทำให้อาการดีขึ้น หรือ หายชั่วคราว แต่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ จากลักษณะนี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดในการรักษาทั้งแพทย์ และ ผู้ป่วย การรักษาพบว่าดีขึ้นได้มากขึ้น ถ้าผู้ป่วยทราบว่าลักษณะโรคนี้ ดีขึ้นแต่ไม่หาย และ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโรคร้ายแรงใด ๆ เลย ดังกล่าว


    4. สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

    ตอบ มีหลายทฤษฎี ที่เสนอว่าน่าอธิบาย ภาวะโรคนี้ได้ แม้มีการศึกษาโรคนี้กันมากมาย แต่พบว่าไม่มีทฤษฎีใดอธิบายในคนไข้ได้ทุกคนถูกต้องเหมือนกันหมดได้เลย

    • ทฤษฎีแรก เสนอว่าน่าเกิดจากการบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรือ อาจเรียกว่าตะคริว ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) การบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้ ผู้ป่วยบางรายจึงตอบสนองต่อการให้ยาคลายลำไส้ (antispasmodic) และ ให้ใยอาหาร (fiber)(สารนี้อาจทำให้เกิดการทำให้การบีบตัวของลำไส้เข้าที่ กลับสู่ปกติได้ (regulate contractions)) แต่ดังที่กล่าวแล้ว ภาวะนี้ไม่สามารถอธิบายผู้ป่วยได้ทุกคน
    • จากการพบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดภาวะนี้ตามหลังการติดเชื้อ เช่นเชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียอาหารเป็นพิษ เช่น Salmonella หรือ Campylobacter กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ของโรคนี้ ไม่มีประวัติการติดเชื้อนำ ตามทฤษฎีนี้
    • ผู้ป่วยโรคนี้พบว่ามีหลาย ๆ คนที่มีภาวะทางจิตเวช หรือ ความเครียดร่วมด้วย แต่อาจเป็นผล คือตามที่กล่าวแล้วว่าภาวะนี้พบได้มาก และ ผู้ป่วยไม่สนใจจะมารักษา ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือ จิตเวชมีแนวโน้มจะเข้าปรึกษาแพทย์ได้มากอยู่แล้ว จึงอาจพบผู้ป่วยโรคนี้ที่มีจิตเวชได้มากกว่าปกติก็ได้ ไม่ได้เป็นต้นเหตุที่แท้จริง ส่วนทฤษฎีที่ว่าภาวะเครียด กังวลใจ อาจมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดการปวด หรือ รู้สึกไวขึ้นได้นั่นเอง
    • ภาวะไวต่ออาหาร หรือ ภาวะที่รับอาหารบางอย่างแล้วย่อยไม่ได้ดี (Food intolerances) พบได้เกือบทุกคนในภาวะนี้ จึงเป็นไปได้ว่าโรคนี้อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือ ไวต่ออาหาร (food sensitivity หรือ allergy) พบว่าทฤษฎีนี้ยากที่จะพิสูจน์ และได้รับการศึกษาอย่างมากขณะนี้ การจดดูรายการอาหารที่ ทำให้อาการมากขึ้น และหลีกเลี่ยงซึ่งทำได้ยาก (การรักษานี้เรียกว่า การทานอาหารแบบคัดออกหลีกเลี่ยง elimination diet) แต่การทำวิธีดังกล่าวนอกจากอาจเลือกอาหารได้ผิด และทำได้ยาก ยังทำให้ผู้ป่วยขาดอาหารที่สำคัญบางอย่างไปโดยไม่จำเป็น และ อาจไม่เป็นสาเหตุที่แม้จริงได้ รวมทั้งผู้ป่วยยังเข้าสังคมไม่ได้ดี และ อาหารเองก็มีการปะปนกันดูได้ยากด้วย เช่นนม จะรวมทั้งครีม หรือ อาหารบางอย่างที่ใส่นมโดยไม่รู้ตัวด้วย อาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้กำเริบได้ ได้แก่ อาหารกลุ่มนม (dairy products) ซึ่งมีสาร lactose, อาหารกลุ่มถั่ว และ อาหารกลุ่มผัก cruciferous vegetables (เช่น broccoli, กะหล่ำ cauliflower, brussels sprouts, และ cabbage) ส่วนใหญ่ทำให้เกิดลมในท้อง หรือ ลำไส้เกร็งตัวได้มากขึ้น ทำให้เกิดอาการมากขึ้นได้
    • หลาย ๆ การศึกษาพบว่า IBS อาจเกิดจาก ความไวต่อความรู้สึกของลำไส้มากเกินไป โดยไม่ได้มีโรค หรือ การบีบตัวผิดปกติใด ๆ เลย ( เรียกว่า ลำไส้ไวขึ้น "visceral hyperalgesia") ดังนั้นแม้ลม มีการบีบตัวปกติ อุจจาระ หรือ อาหารปกติ ก็ทำให้เกิดการปวดรุนแรงได้ พบว่าการรักษาซึ่งสนับสนุนทฤษฎีนี้คือ พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งตอบสนองต่อยากลุ่มลดการไวต่อการปวด เช่น ( low doses ของ imipramine หรือ nortriptyline) เป็นต้น


    5. อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง

    ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้

    5.1 ปวดท้อง - มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

    5.2 มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) - ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

    5.3 ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน

    5.4 ท้องผูก - อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

    5.5 อาการลำไส้อื่น ๆ - เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

    5.6 อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ - เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ


    6. จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

    ตอบ มีโรคมากมายที่อาการคล้ายโรคนี้ ได้แก่โรคที่มีปัญหาการย่อยอาหาร (malabsorption), โรคภูมิแพ้ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease เช่น ulcerative colitis และ Crohn's disease) และ โรคลำไส้อักเสบจากโรค microscopic และ eosinophilic colitis (พบได้น้อยมากในเมืองไทย) เนื่องจากไม่มีการตรวจวินิจฉัยใด วินิจฉัยเดียวได้ ผู้ป่วยจะเริ่มการวินิจฉัยจากการเปรียบเทียบอาการกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้ โดยสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารโลก ที่กรุงโรม (Rome หรือ Manning criteria) แต่เกณฑ์นี้ไม่สามารถแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาการรักษาได้ จึงควรได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ ตรวจเพิ่มเพื่อประกอบการรักษาจากแพทย์ร่วมด้วย

    เมื่อเลือกการตรวจใด ๆ แพทย์จะเลือกการตรวจตามข้อมูลที่ได้ ราคาการตรวจ ความเหมาะสมตามอายุของผู้ป่วย แตกต่างกัน ควรปรึกษาร่วมกันคิดกับแพทย์ของท่าน เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไป

    การซักประวัติ - การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน จะประกอบด้วย ลักษณะอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ ความรุนแรงของอาการลำไส้ รวมทั้งประวัติว่าอาการสัมพันธ์กับอาหาร หรือ ยาด้วยหรือไม่ รวมทั้งจะซักปัญหาความเครียด และ โรคทางจิตเวชในทุกรายที่เป็นภาวะนี้ ดังที่กล่าวแล้ว

    การตรวจร่างกาย - มักไม่พบความผิดปกติใด ๆ การตรวจก็เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายโรคนี้

    การตรวจพิเศษ - แพทย์ส่วนใหญ่จะสั่งตรวจเลือด โดยมักพบว่าปกติทุกอย่าง รวมทั้งแยกโรคร้ายแรงอื่น ๆ โดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย ตัวอย่างเช่นอาจเช็คไทรอยด์ อุจจาระ รวมทั้งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หรือ ลำใส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) ซึ่งมักในคนที่สงสัยภาวะมะเร็ง หรือ ทำในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี (อ่านเพิ่มเติมในเรื่อง การตรวจค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่)

    การรักษา โรคลำไส้แปรปรวน (IRRITABLE BOWEL SYNDROME)

    มีวิธีการรักษา และ ยารักษามากมาย บางครั้งต้องอาจใช้ยาหลายกลุ่มเข้ารักษาร่วมกัน เนื่องจากโรคนี้มีหลายกลุ่มย่อย และ การตอบสนองต่อยาก็แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องใช้วิธีปรับยาหลายครั้งจึงดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับความเข้าใจโรคดังกล่าวด้วยว่าโรคนี้ไม่ร้ายแรง (หลังจากตรวจค้นหา จนแน่ใจ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือ บางคนแค่ประวัติตรวจร่างกายก็แน่ใจได้ว่าไม่ได้มีโรคร้ายแรงโดยตรวจเพิ่ม เติมแค่เล็กน้อย) รวมทั้งต้องติดตามการรักษาอธิบายอาการอย่างละเอียด ระหว่างผู้ป่วย และ แพทย์ที่รักษาด้วย จึงทำให้ผลการรักษาดีขึ้น

    การติดตามการรักษา - ในการรักษาขั้นแรก อาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยต้องรายงานอาการ นิสัยความเป็นอยู่ และ การรับประทานของผู้ป่วย รวมทั้งต้องทราบประวัติทุกอย่างที่อาจมีผลต่อลำใส้ บางรายอาจจับจุดได้ว่าแก้ไขได้ง่าย เช่นอาจแพ้อาหารบางอย่าง หรือ ย่อยอาหารกลุ่มนมไม่ได้ (lactose intolerance) รวมทั้งการแก้ความเครียด โรคซึมเศร้าอาจทำให้อาการดีขึ้นได้มาก ควรมีสมุดบันทึกเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียดจะช่วยในการรักษาได้มาก

    การเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน - จากทฤษฎี ที่อธิบายแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจมีปัญหาการย่อย แพ้อาหาร ควรหลีกเลี่ยงกลุ่มอาหาร เช่นอาหารที่ทำให้เกิดลม มันมาก กลุ่มนม อาหารย่อยยาก ผัก หรือ เนื้อบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละคน หรือ บางคนอาจไม่เกี่ยวกับอาหารใด ๆ เลยก็ได้ ควรมีบันทึกอาหาร แต่ละมื้ออย่างละเอียด และ ดูร่วมกับอาการ อาจทำให้ค้นหาอาหารที่ทำให้เกิดอาการได้ชัดเจนขึ้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลองหยุดอาหารกลุ่มนมดูในช่วงแรก เพราะ พบคนที่มีปัญหาย่อยอาหารกลุ่มนม (lactose intolerance) พบได้บ่อยมาก (กินนมแล้วท้องเสีย กินแล้วอืด หรือ กินนมช่วยระบาย) การงดนมก็ควรทดแทนด้วยการกิน calcium ทดแทนด้วย เพื่อบำรุงกระดูก

    อาหารบางอย่างจะมีการย่อยแค่บางส่วน จนเมื่อถึงลำไส้ใหญ่จึงจะใช้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ช่วยย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง และ ปวดบีบได้ อาหารดังกล่าวได้แก่ legumes (คืออาหารประเภทถั่ว beans) และ อาหารกลุ่มกระหล่ำ บลอคคาลี่ cruciferous vegetables เช่น cabbage, brussels sprouts, cauliflower, และ broccoli บางรายอาจมีปัญหากับอาหาร หัวหอม onions, celery, แคลลอท carrots, เลซิน raisins, กล้วย bananas, แอปปริคอท apricots, พรุน prunes, sprouts, และ wheat.

    พยายามกินอาหารที่มีไฟเบอร์ (fiber) มากขึ้น - มักดีในผู้ป่วยกลุ่มที่ปวดท้อง แบบท้องผูก บางรายแม้ปวดแบบท้องเสียการกินไฟเบอร์ กลับทำให้ลำไส้ได้ฝึกบีบตัวดีขึ้นได้ การกินผักผลไม้อาจเกิดข้อเสียดังที่กล่าวแล้วในบางคนที่มีปัญหาการย่อย หรือ ไวต่อลม บางครั้งอาจต้องพิจารณาให้ fiber ทางการแพทย์ เช่น psyllium [Metamucil] หรือ methylcellulose [Citrucel] โดยเริ่มจากขนาดน้อย ไปหาขนาดมาก สาเหตุที่ fiber ทำให้ดีขึ้นยังไม่เข้าใจเหตุผลนัก อาจจากทำให้ลำใส้ได้ฝึกบีบตัวตามที่กล่าวแล้ว ก็ได้

    การช่วยเหลือ ความเครียด หรือ แก้ปัญหาซึมเศร้า จิตเวช ตามที่กล่าวแล้วว่า ความเครียด และ ความกังวลใจ อาจทำให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้ในบางราย ผู้ป่วยควรนึกคิด และ ปรึกษาปัญหาในกลุ่มนี้กับแพทย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อช่วยแพทย์ในการพิจารณาให้การรักษา

    • ผู้ป่วยบางคนอาจดีขึ้นเมื่อปรึกษากับจิตแพทย์ ร่วมกับให้ หรือ ไม่ให้ยากลุ่มนี้ รวมทั้งการให้ยานอนหลับ หรือ สอนการทำ biofeedback เป็นต้น
    • บางรายอาจดีขึ้นหลังเข้ากลุ่มปรึกษาทางจิตเวช
    • ผู้ป่วยหลายรายดีขึ้น หลังออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือดีขึ้นจากการเดิน เพราะช่วยในการทำงานของลำไส้ได้ด้วย

    ยารักษา แม้มียารักษาหลายอย่าง แต่ไม่สามารถทำให้โรคนี้หายขาดได้ ส่วนใหญ่เพื่อทำให้ดีขึ้น หรือ หายไปชั่วคราวเท่านั้น ยารักษาจะขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นกลุ่มใด ระหว่างท้องเสียเด่น ท้องผูกเด่น หรือ ปวดท้องเด่น ควรลองการเปลี่ยนอาหาร เพิ่มไฟเบอร์ใยอาหาร ก่อนทานยา

    การรักษาโรคลําไส้อักเสบ

    รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

    ปวดท้อง

    ลำไส้เล็กอักเสบ และแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ (Health Plus)
              โรคลำไส้อักเสบส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติต่อไปนี้ช่วยได้
              โรคลำไส้เกิดได้กับคนทุกวัย และนับวันจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น จากรายงานของ the National Association for Colitis and Crohn’s Disease (NACC) ระบุว่า คนอังกฤษทุก 1,000 คนจะป่วยเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบ 1 คน ขณะที่มีคนนับแสนป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
              โรคลำ ไส้อักเสบทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-40 ปี แม้จะมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาด้วยการแพทย์แผนใหม่จะใช้วิธีลดการอักเสบ นั่นคือแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวม ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และยาลดอาการท้องเสียและโลหิตจาง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะ บางส่วนที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารออก อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยได้เช่นกัน
    โรคลำไส้เล็กอักเสบ
              เกิดจากการอักเสบในระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ปกติมักพบในลำไส้เล็ก
              ผู้ ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งท้องผูก มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และมักเป็นโลหิตจาง เนื่องจากลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร
              โรคลำไส้เล็กอักเสบพบมากในเพศหญิงและคนที่สูบบุหรี่ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
    โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
              เกิดจากการที่ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และกลายเป็นแผลเล็ก ๆ
              อาการ บวมหมายถึงการที่ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซึมน้ำจากอุจจาระ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาการบวมยังเกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถเก็บของเสียได้มากเหมือนปกติ คุณจึงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย อุจจาระอาจมีเลือดและเมือกปนออกมา
              โรคนี้เกิดได้ทั้งหญิงและชาย หลักฐานระบุว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท
    บำบัดด้วยธรรมชาติ
    1.ฝังเข็ม
              จาการวิจัยพบว่า การฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอย่างได้ผล ทำให้สุขภาพดีขึ้น "การฝังเข็มช่วยแก้ปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ" ริชาร์ด แบล็กเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มกล่าว "เพราะ การฝังเข็มช่วยแก้ไขความไม่สมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว อาการจะดีขึ้นหลังผ่านการฝังเข็ม 6 ครั้ง แต่อาจจำเป็นต้องบำบัดหลายครั้งและใช้เวลาเป็นเดือน"
    2.โภชนาการ
              "การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินช่วยได้" เอียน มาร์เบอร์ นักโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารบางชนิดทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดการอักเสบ อย่าทำให้โรคลำอักเสบทั้งสองชนิดนี้มีอาการรุนแรงขึ้น โดยการกินให้น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะร่างกายสามารถย่อยอาหารปริมาณน้อย ๆ ได้ง่ายกว่า อาหารโพรไบโอติกมีประโยชน์ แต่ควรกินในรูปของอาหารเสริมมากกว่าในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน"
              โรคลำไส้เล็กอักเสบ
              หลีกเลี่ยง ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารที่มีรสเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
              รับประทาน มันฝรั่งปอกเปลือก ปลานึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีน้ำมัน เป็ดไก่ ไข่ ผักเช่น ผักโขมหรือถั่วที่มีเมล็ดกลม (peas)
              โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
              หลีกเลี่ยง โฮ ลเกรน ไฟเบอร์ ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูงเช่น พาร์สนิป (parsnip) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง (ruts) และเมล็ดพืชต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น บิสะกิด พาสต้า และขนมปัง
              รับประทาน ไฟเบอร์ละลายน้ำ เช่น ผักใบเขียว อโรวคาโด แยม น้ำมันปลาที่อุดมด้วยไขมัน โอเมก้า 3 ข้าวขัดขาวกระเทียม
    3.สมุนไพร
              "มีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบและโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ ลดการพึ่งยาสเตียรอยด์" ดี แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพร "คอมเฟรย์ (comfrey) ช่วยรักษาและบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ชะเอมช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติของตัวเอง โกลเด้นซีล (goldenseal) ซึ่งมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิด้านทาน แพลนทิน (plantain-กล้วยแอฟริกาชนิดหนึ่ง) ช่วยลดการผลิตน้ำเมือก ก่อนใช้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อให้ตรวจวินิจฉัย" ดีแนะให้ใช้ผง slippery elm 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเย็น คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปชงกับน้ำร้อนประมาณครึ่งลิตรผสมกับผงลูกจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน
              "สมุนไพรช่วยรักษาแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่"
              แจ็กกี้ ฟอร์เรสต์ วัย 43 ปี จากเบอร์วิคเชียร์ ป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่มานาน 10 เดือน เธอพึ่งสมุนไพรในการรักษา
              "ฉันมีอาการท้องเสียและปวดตะคริวที่ท้องมานานกว่าหนึ่งปี ก่อนจะมารู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ หมอให้ยาแก้อักเสบและสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาทำให้ฉันมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาหารไม่ย่อย พอไปตรวจก็พบว่ายามีผลกระทบกับตับของฉัน ฉันเลยต้องหยุดทานยาต่อมาฉันได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร เขาแนะให้ฉันทานผง slippery elm ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ กระเทียม คาโมไมล์ ชะเอม และยาร์โรว์ (yarrow) ซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่อก่อนฉันเคยชอบกินขนมปังและพาสต้า แต่ตอนนี้ฉันหันมากินอาหารปลอดแป้งสาลี และเปลี่ยนนิสัยการกิน โดยกินน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีกแล้ว แถมอาการก็ไม่กำเริบเวลากินอะไรที่ไม่ควรกิน"
    4.อาหารเสริม
              "อาหารเสริมช่วยรักษาโรคลำไส้ทั้งสองชนิดได้" พอ ล แชมเบอร์เลน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว ทานอาหารเสริมประเภทวิติมนรวม และเกลือแร่เป็นประจำ เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดไปเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา (ไม่นับน้ำมันตับปลา) วันละ 1,000-2,500 มิลลิกรัมทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
              การขาดสังกะสีก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ควรทานอาหารเสริมจำพวก zinc picolinate วันละ 25 มิลลิกรัม จะช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน psyllium husks เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ควรวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้อควรระวังคือ psyllium husks ดูดซึมน้ำในปริมาณมาก ดังนั้นเวลาทานจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อาหารเสริมชนิดเม็ดที่มีเอนไซม์ย่อยอาหาร จะช่วยให้ตับอ่อนสามารถย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตได้ดี 
              เบทาอีนไฮโดรคลอไรด์ (betaine hydrochloride) ชนิดเม็ดช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งจะทำให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานหนักน้อยลง
    5.นวดกดจุดฝ่าเท้า
              "การนวดกระตุ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ได้" เรเน่ แทนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้ากล่าว ให้หาส่วนที่เป็นเนื้อนุ่ม ๆ ของฝ่าเท้า ตั้งอยู่ระหว่างส่วนโค้งและส้นเท้า วางนิ้วมือสองนิ้วบนจุดดังกล่าว จากนั้นให้ใช้นิ้วดังกล่าวเดินไต่ข้ามไปยังนิ้วหัวแม่เท้า ต่อไปยังนิ้วก้อย จากนั้นยกนิ้วข้างหนึ่งขึ้นชั่วครู่ และเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ให้ใช้นิ้วเดินไต่จากด้านหลังไปด้านหน้า โดยเริ่มจากฝ่าเท้าไปยังหลังเท้า ระหว่างจุดกลม ๆ ใต้นิ้วหัวแม่เท้าและส่วนโค้งของฝ่าเท้า ทำท่าละ 3 ครั้ง วันละ 2 เวลา หากอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้น ให้ลดเหลือวันละครั้ง

    Link   
    https://haamor.com
    https://www.praram9.com
    https://health.kapook.com

    อัพเดทล่าสุด