โรคลําไส้อักเสบควรกินอาหารแบบไหน


129,114 ผู้ชม


โรคลําไส้อักเสบควรกินอาหารแบบไหน โรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลําไส้อุดตัน อาการ

โรคลําไส้อักเสบควรกินอาหารแบบไหน

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ สัญญาณประท้วงของร่างกาย


        วิถี ชีวิตที่เร่งรีบจนขาดความพิถีพิถันในการบริโภค ของคนในปัจจุบันโดยเฉพาะคนที่ทำงานในออฟฟิศ อันเป็นบ่อเกิดของโรคภัยต่างๆ มากมายตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า เคยมีสถิติว่า 90% ของคนเมืองมักมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคยอดฮิตอย่าง โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบ ท้องผูก ที่ดึงเอาความสุขของชีวิตไปไม่น้อย เพราะลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เป็นอวัยวะสำคัญของกระบวนการย่อย การอักเสบของลำไส้เล็กเป็นอาการที่เกิดร่วมกับโรคกระเพาะอาหาร ส่วนสำหรับคราวนี้ขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เสียก่อน

        โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้ได้รับเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาของระบบย่อยอาหาร มักพบบ่อยในช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการ คือ ผนังลำไส้บวม อักเสบ ทำให้มีเลือดออกทางทวารหนัก เกิดอาการปวดท้องและมีอาการท้องเดินกะทันหันเนื่องจากลำไส้บีบตัว คนที่เป็นโรคนี้มักมีปัญหากับการถ่ายอุจจาระ คือถ่ายบ่อยไม่เป็นเวลา เจ็บทุกครั้งที่ถ่าย เมื่อเรื้อรังนานเข้าทำให้เป็นโลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดมาก อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยโรคนี้มีอาการอักเสบรุนแรง ต้องผ่าตัดเอาลำไส้บางส่วนออก แล้วจึงรักษาลำไส้ในส่วนที่เหลือต่อไป ความน่ากลัวของลำไส้ใหญ่อักเสบยังไม่หมดเพียงเท่านี้ การเกิดแผลและการเสียดสีบริเวณที่อักเสบนานๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคร้ายอันดับต้นที่คร่าชีวิตคนกินดีอยู่ดีมานักต่อนัก
        การสังเกตเบื้องต้นช่วยค้นพบโรคได้ด้วยตัวเอง ลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ค่อยๆ เป็นทีละน้อย อาการบ่งชี้เริ่มแรกคือ ปวดอุจจาระบ่อย ถ่ายไม่เป็นเวลา วันหนึ่งๆอาจเข้าห้องน้ำนับสิบครั้ง แต่อาจถ่ายออกมาไม่ออกบ้าง อาการแบบนี้อาจเรื้อรังอยู่หลายปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปรับพฤติกรรม ก็จะทำให้มีเลือดออกมากับอุจจาระ ท้องเสียกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าปล่อยไว้เรื้อรังไปเรื่อยๆแผลที่เกิดในลำไส้จะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นและมี โอกาสหายน้อยลง ดังนั้นคนที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์
        แม้สาเหตุที่แท้จริงของการอักเสบนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ เชื่อว่าพฤติกรรมที่สร้างปัญหาให้ลำไส้ใหญ่คือ การกินอาหารที่มีไฟเบอร์น้อย อาหารรสจัด กินไม่เป็นเวลา และความเครียด ซึ่งทำให้การย่อยอาหารที่กระเพาะและลำไส้เล็กแปรปรวน ลำไส้ใหญ่เกร็งตัว ถูกกระตุ้นมากกว่าปกติเพื่อดูดซึมน้ำและถ่ายอุจจาระออกมา อีกทั้งอาหารที่แข็งและย่อยยากยังสร้างความระคายเคืองให้กับผนังลำไส้อีก ด้วย ดังนั้นการอักเสบของลำไส้ใหญ่เป็นคล้ายกับการประท้วงว่าคุณใส่ใจร่างกายตัว เองน้อยเกินไป

    คนที่เป็นลำไส้ใหญ่อักเสบต้องใส่ใจอาหาร ควรกินหรือไม่ควรกินอะไรบ้าง  

     สิ่งที่ควรกิน ผลไม้สุกนื้อนิ่ม เช่น มะละกอ กล้วยสุก และผักใบเขียว เช่นคะน้า กวางตุ้งต้มสุก เพื่อให้ได้โฟเลตและใยอาหารที่ละลายน้ำได้
     สิ่งที่ควรกิน ฟักทอง แครอทต้มสุก เพื่อให้ได้วิตามินเอและเบต้าแคโรทีน
     สิ่งที่ควรกิน ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เพื่อให้ได้วิตามินดีและบี 12
     สิ่งที่ควรกิน อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ปลา กุ้ง หอย ผักกูด ผักโขม เพื่อชดเชยการสูญเสียเลือด
     สิ่งที่ควรงด ผักผลไม้ดิบที่ย่อยยาก ถั่วและธัญพืชเปลือกแข็ง
     สิ่งที่ควรงด ผลไม้รสจัด มีความเป็นกรดสูง เช่น สับปะรด
     สิ่งที่ควรงด อาหารไขมันสูง และนม เนย
     สิ่งที่ควรงด อาหารรสจัดทุกชนิด
         ปรับเปลี่ยนชีวิตเพื่อพิชิตโรค โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาหายในคราวเดียว แต่จะดีขึ้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน มีการศึกษาว่า การ กินอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ที่ปรุงสุก จะช่วยบรรเทาการอักเสบได้เป็นอย่างดี และอาหารที่ให้สารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 12 โฟเลต แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี อย่างหลากหลายและเพียงพอช่วยสร้างความแข็งแรงแก่ผนังลำไส้และปรับระบบการ ย่อยอาหารให้คงที่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก สร้างความระคายเคืองให้กับลำไส้อันได้แก่ รำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช ข้าวโพดหวาน แม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่ควรกินเมื่อลำไส้ของเราปรับตัวดีขึ้นแล้ว

          ในคนที่เป็นลำไส้ใหญ่อักเสบมักพบว่ามีโลหิตจางด้วย เนื่องจากมีเลือดออกบริเวณที่อักเสบตลอดเวลา จึงควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินซี เพื่อให้ร่างกายดูดซึมเหล็กมาใช้ได้อย่างเต็มที่ สิ่งสุดท้ายอย่าลืมหาวิธีคลายเครียดพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้ความเร่งรีบของชีวิตช่วงชิงสุขภาพที่ดีไปจากคุณอีกเลย

โรคลําไส้อักเสบเรื้อรัง

โรคอุบัติใหม่ “ลำไส้อักเสบเรื้อรัง” อันตรายถึงชีวิต!! ตรวจพบก่อนรักษาได้

อาการปวดท้องเป็นอาการที่คนไทยส่วนมากมักเคยเป็น โดยเกิดจากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำเท่านั้นจึงจะทราบว่าอาการปวดท้องที่แท้จริง แล้วเกิดจากสาเหตุใด ล่าสุดในประเทศไทยเรามีผู้ป่วยในกลุ่มอาการอักเสบเรื้อรังในลำไส้เพิ่มขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีอาการปวดท้องเช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้กลายเป็นโรคมะเร็ง หรืออาจร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิตในที่สุด!!
ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ความรู้ว่า “กลุ่มอาการอักเสบเรื้อรังในลำไส้” หรือ “ไอบีดี” (IBD; Inflammatory Bowel Disease) คือ โรคในกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่โดยไม่ ทราบสาเหตุ ปัจจุบันพบว่ามีอุบัติการณ์ผู้ป่วยสูงขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ทั้งที่ในอดีตกลุ่มอาการไอบีดีเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นเฉพาะกับคนในตะวันตกและ ตะวันออกกลางเท่านั้น ซึ่งโรคไอบีดีเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงวัย 20-40 ปี ปัจจุบันเรายังไม่รู้สาเหตุของการเกิด ทำให้กลุ่มอาการของโรคไอบีดีแตกต่างจากกลุ่มลำไส้อักเสบชนิดเฉียบพลันซึ่ง เกิดจากการติดเชื้อ
โรคในกลุ่มไอบีดี แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Crohn‘s Disease ที่เกิดได้ทุกตำแหน่งในระบบทางเดินอาหาร และ Ulcerative Colitis ที่เกิดเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่ เดิมทีโรคกลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกันมากในชาวตะวันตกและแถบตะวัน ออกกลาง จึงเชื่อว่าอาจมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของพันธุกรรม ส่วนสาเหตุหลักจริง ๆ ยังไม่ทราบ และยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ แต่จากการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังในกลุ่มผู้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์พบว่าในประเทศไทยหรือใน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ก็มีผู้ป่วยอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งได้รับการ วินิจฉัยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี จึงเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะลักษณะแสดงออกของโรคที่แตกต่างกัน
สำหรับอาการผิดปกติเบื้องต้นที่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากกลุ่มอาการลำไส้ อักเสบเรื้อรัง คือท้องเสียเรื้อรัง มีมูกเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง น้ำหนักลด หรือผู้ป่วยบางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่บ่งชี้ของโรคไอบีดีเป็นลักษณะอาการทั่วไปของผู้มีปัญหาในระบบ ทางเดินอาหาร อาจมีแค่อาการเดียวหรือหลาย ๆ อาการร่วมกันได้ แต่ข้อสังเกตคือ
เมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าวต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจอุจจาระหรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างละเอียด

อย่างไรก็ตามสมัยก่อนประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยในกลุ่มอาการลำไส้อักเสบ เรื้อรังหรือไอบีดีมากนัก ทำให้แพทย์มีประสบการณ์ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาน้อย หลายครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าลำไส้ติดเชื้อ ซึ่งไม่ตรงกับกลุ่มอาการหรือแม้จะทราบว่าเป็นโรคไอบีดีก็ยังไม่มีการรักษา ที่เหมาะสมรองรับ ทั้งที่โรคนี้หากเป็นมากหรือมีอาการอักเสบเรื้อรังมีโอกาสถึงขึ้นเสียชีวิต หรืออาจเป็นมะเร็งลำไส้ได้ถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน
  
การรักษาโรคไอบีดีโดยทั่วไปถ้าหากต้องการให้ได้ผลเต็มที่มีเป้าหมายสูงสุด อยู่ที่ Remission หมายถึง การควบคุมอาการของโรคให้สงบลงด้วยการให้ยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด แต่ส่วนใหญ่จะให้ยากิน สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องไปตลอดแม้อาการจะดี ขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากการกินยามีผลโดยตรงต่อการควบคุมอาการของโรคไม่ให้ย้อนกลับมา ผู้ป่วยที่เป็นโรคไอบีดี แล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะจะทำให้ท้องเสีย ถ่ายบ่อย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคไอบีดี จะรักษาไม่หายขาด ต้องดูแลรักษาตัวเองโดยการควบคุมอาการของโรค คือ การทานยาแล้วทุกอย่างจะเป็นปกติ ถ้าขาดยาอาการของโรคก็จะกลับมาอีกและต้องคอยหมั่นมาตามนัดของแพทย์
ส่วนในรายที่การรักษาด้วยยาอย่างเดียวแล้วยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ บางครั้งแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อผลการรักษาที่ดีที่ สุด โดย ผู้ป่วยกลุ่มที่เป็น Ulcerative Colitis การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีปัญหาออกจะช่วยรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบเรื้อรังหนักมากแล้ว เท่านั้น ส่วนผู้ป่วยกลุ่ม Crohn’s Disease จะไม่นิยมผ่าตัด เนื่องจากหลังผ่าตัดแล้วอาการของโรคก็ยังสามารถลุกลามขึ้นใหม่ในตำแหน่งอื่น ๆ ได้อีก ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมมาตั้งแต่ต้น ทำให้ผนังลำไส้กลายเป็นพังผืด ส่งผลให้เกิดการตีบตันก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด
ทั้งนี้โรคในกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นโรคที่เพิ่งเริ่มได้รับความ สนใจอย่างจริงจังในประเทศไทย ประกอบกับลักษณะพิเศษของโรคที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างจาก อาการในระบบโรคทางเดินอาหารอื่นๆ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุและมีผลแทรกซ้อนตามมามากมาย ตลอดจนการวินิจฉัย การรักษา และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลักษณะของโรคต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของ แพทย์ ที่สำคัญทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เตรียมเปิด “ไอบีดี คลินิก” ขึ้นเพื่อรักษาให้คำแนะนำและเป็นศูนย์การศึกษาวิจัยพร้อมเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ได้มาตรฐาน สำหรับกลุ่มอาการของไอบีดีโดยเฉพาะ ซึ่งการเปิดคลินิกเฉพาะทางของไอบีดี มีความสำคัญเพราะโรคนี้หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและมีแผนการรักษา ที่ชัดเจน ผลการรักษาก็จะดี
สุดท้ายหากใครมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง มีมูกเลือดปนในอุจจาระ และน้ำหนักลด เป็นระยะเวลาเกิน 2 สัปดาห์ อย่านิ่งนอนใจควรรีบไปตรวจวินิจฉัยเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อความปลอดภัยและจะได้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานอีกต่อไป...

.........................................

เคล็ดลับสุขภาพดี - แนะคุณแม่เลี้ยงลูกด้วย “อาหารใจ” สร้างเด็กดี

12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ ที่ลูก ๆ ทุกคนพึงรำลึกถึงบุญคุณของแม่ด้วยการเป็นลูกที่ดีและเป็นพ่อแม่ที่ดีในอนาคต เพราะการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยทำให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมี คุณภาพทั้งกายและใจ วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมี เทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยอาหารใจ 8 ประการ เพื่อการเติบโตเป็นเด็กที่ดีมาฝากคุณแม่ทั้งมือเก่าและมือใหม่กันด้วย
โดย พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว จิตแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลมนารมย์ แนะนำหลักในการเลี้ยงดูลูกที่พ่อแม่ยุคใหม่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของ อาหารใจที่ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตและ บุคลิกภาพที่ดี โดยแม่จะต้องคำนึงถึงหลักการเลี้ยงลูก 8 ประการดังนี้ 1. ให้ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง คือความรักที่ทำให้เด็กรู้สึกดี เช่น รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความมั่นใจในตัวเอง สามารถรักตอบคนอื่นเป็น มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส พ่อแม่ควรแสดงออกซึ่งความรักต่อเด็กด้วยการโอบกอด การลูบศีรษะ เพราะถ้าไม่แสดงออกเลยเด็กจะเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่รัก พ่อแม่ห่างเหิน ไม่สนใจตนเอง ทำให้เด็กรู้สึกขาดแคลนทางจิตใจ และสิ่งสำคัญอย่าตามใจแบบไร้ขอบเขตจนกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ เพราะจะทำให้เข้ากับคนอื่นยาก
2. ทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข หมายถึงการสร้างบรรยากาศที่ดีในบ้าน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยไม่หวาดกลัว 3. ให้ความเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย เพื่อตอบสนองความต้องการได้เหมาะสม ทำให้เด็กมีความสุขที่ได้รับการตอบสนองและเข้าใจ เพราะเด็กแต่ละช่วงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง 4. พยายามเลี้ยงดูอบรมลูกด้วยตนเองให้มากที่สุด เพราะจะทำให้เกิดความผูกพันซึ่งกันและกัน ใกล้ชิด อบอุ่น 5. ควรช่วยให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ข้อนี้เด็กจะมีความมั่นใจในตนเองได้ เช่น เมื่อลูกทำดีควรให้คำชมเชย เขาจะได้มั่นใจว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องและเมื่อเด็กทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ควร ตำหนิรุนแรงควรบอกว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรเพราะอะไร และสิ่งที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร นอกจากนั้นพ่อแม่ควรพูดเพราะ ๆ และสุภาพกับเด็ก
6. ควรให้เด็กมีอิสระและตัดสินใจเองตามวัย ด้วยการฝึกให้ลูกทดลองทำอะไรด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดประสบการณ์และฝึกการแก้ ปัญหาโดยมีพ่อแม่คอยให้คำปรึกษา 7. ส่งเสริมให้เด็กเห็นความสำคัญของตนเองไม่น้อยกว่าผู้อื่น เช่น ลูกสอบได้ที่ 1 ควรชื่นชมและมีรางวัลให้ และ 8. ส่งเสริมให้เด็กคิดแบบมีหลักการและเหตุผล เวลาจะให้เด็กทำอะไรหรือไม่ให้ทำอะไรควรบอกเหตุผลให้เข้าใจง่าย ๆ สั้น ๆ เช่น เล่นของมีคม อย่าเล่นเพราะเป็นอันตรายพลาดโดนมือแล้วจะเจ็บมาก
ถึงแม้ว่างานเลี้ยงลูกจะเป็นงานที่หนักต้องลงทุนทั้งแรงกายและแรงใจ แต่เชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ คนสามารถทำได้เพราะความรักความห่วงใยที่มีให้ลูกน้อยอย่างเต็มเปี่ยมหาที่ เปรียบมิได้ รวมทั้งกำลังใจจากลูก ๆ ก็จะเป็นเกราะป้องกันสุขภาพใจที่ดีให้กันและกัน เมื่อสุขภาพใจดีแล้ว สุขภาพกายก็จะแข็งแรงไม่แพ้กัน.

.........................................

สรรหามาบอก

-ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญแพทย์และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2555 ’OB&GYN:UPDATE & PRACTICAL 2012“ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2555 ณ อาคารแพทยพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ โดยการประชุมมุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพสตรีไทยเพื่อสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2256-4288, 08-9105-5933
-คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและศูนย์วิจัยโรคเมลิออยด์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการประกวดคลิปโรคเมลิออยด์ชิงเงินรางวัลรวม 600,000 บาท ในหัวข้อ ’เมลิออยด์โรคติดเชื้อที่คนไทยต้องรู้“ เพื่อนำไปสู่การรณรงค์และลดอัตราการตาย เพียงแค่ส่งคลิปความยาวไม่เกิน 10 นาที สื่อให้ผู้ชมจำชื่อโรค       เมลิออยด์และทราบว่าเป็นโรคติดเชื้อรวมทั้งทราบวิธีป้องกัน ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.facebook.com/melioid หรือโทร. 0-2306-9115 ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ตุลาคม 2555
-คลินิกความสูงในเด็กโรงพยาบาลรามคำแหง ขอเชิญคุณพ่อคุณแม่ที่มีบุตรสาวอายุ 7 ขวบขึ้นไป และผู้ที่สนใจร่วมสัมมนาในหัวข้อ ’ลูกเป็นสาวก่อนวัย...ทำอย่างไรดี? โดย พญ.ยอดพร หิรัญรัศ กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ ใน วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00-12.00 น. ห้องประชุมอาคาร C ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหงไม่เสียค่าใช้จ่าย! สำรองที่นั่งด่วน ที่คลินิกเด็ก อาคาร C ชั้น 2 หรือโทร. 0-2743-9999 ต่อ 2999 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ram-hosp.co.th
-โรงพยาบาลธนบุรี 2 ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านจูงมือคุณแม่มาตรวจสุขภาพพร้อมกัน 2 คน ด้วยโปรแกรมพิเศษ 15 รายการในช่วงเทศกาลวันแม่ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2555 ในราคาพิเศษ สอบถามโทร. 0-2448-3845-58
-องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญร่วมสมทบทุนซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษาโรงพยาบาลทหารผ่านศึก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2246-5124

โรคลําไส้อุดตัน อาการ

ชื่อเรื่อง : ลำไส้เล็กอุดตัน
Article : พล.ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
      คนส่วนมากน่าจะเคยปวดท้อง มาบ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของการปวดท้องอาจจะเกิดจากอาหารไม่ย่อย มีก๊าซในลำไส้มาก ท้องเดินจากการกินอาหารที่เราแพ้ ไวรัสลงกระเพาะ ฯลฯ ซึ่งส่วนมากมักมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าท่านมีอาการปวดท้องแบบบีบเค้นจนหน้านิ่วคิ้วขมวด อาการปวดมาเป็นคลื่น คือปวดเพิ่มมากสุดขีดแล้วลดลงเป็นระยะเวลาสั้นๆ และเป็นซ้ำในลักษณะเดิมอีก ร่วมกับมีอาการท้องป่องขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน โดยมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ถ่าย ไม่ผายลม แบบนี้น่าจะเข้าลักษณะลำไส้เล็กอุดตัน

      ปกติลำไส้ของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ช่วยกันทำให้มีการบีบ ตัวของกล้ามเนื้อลำไส้เป็นคลื่น เพื่อดันให้อาหารผ่านไปสู่ส่วนปลาย เมื่อมีการอุดตัน ลำไส้จึงพยายามสู้ด้วยการบีบตัวมากขึ้น จนทำให้มีอาการปวด และเมื่อมีการอุดตันนานขึ้น ลำไส้ก็จะโป่ง เนื่องจากมีการคั่งของน้ำ อาหาร และก๊าซ ลำไส้เล็กอุดตัน
      หากลำไส้อุดตันไม่ได้รับการรักษา ลำไส้ก็จะยิ่งโป่งมากขึ้น เป็นผลให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงลำไส้ถูกแรงดันในลำไส้บีบให้แฟบ เลือดจึงไหลเข้าไปเลี้ยงลำไส้ได้น้อยลง ถ้าเป็นมากขึ้นอีก ก็อาจจะทำให้ผนังลำไส้โป่งและบางลงจนถึงกับแตกเป็นรูรั่ว เป็นผลให้สิ่งที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งมีเชื้อโรคแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ออกมาแปดเปื้อนช่องท้อง จนเกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง แล้วลุกลามทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ คือเชื้อโรคและพิษของมันเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ ถ้ารักษาไม่ทัน
นอกจากนี้การที่ลำไส้อุดตันจะทำให้มีการสูญเสียสารเหลวเป็นจำนวนมาก จากการคั่งของน้ำหลั่งในทางเดินอาหาร นับตั้งแต่น้ำลาย น้ำกรดในกระเพาะ น้ำดี น้ำตับอ่อน และน้ำหลั่งของลำไส้ บวกกับการขาดน้ำจากการกิน เนื่องจากอาการปวดท้องและอาเจียน ทำให้ผู้ป่วยขาดน้ำมากเป็นปริมาณหลายลิตร ถ้ามีการสูญเสียน้ำมากขึ้น อาจจะทำให้ความดันเลือดลดลงจนผู้ป่วยช็อกและเสียชีวิตได้
สาเหตุของลำไส้เล็กอุดตัน
      สำหรับสาเหตุที่ทำให้ลำไส้เล็กอุดตันที่พบได้บ่อยมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้
      พังผืดในช่องท้อง ในช่องท้องของคนปกติจะเป็นที่อยู่ของลำไส้และอวัยวะอื่นที่มีความสะอาดเรียบ ลื่น ทำให้ลำไส้สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก แต่เมื่อในช่องท้องมีพังผืดเกิดขึ้น โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติภัย หรือการผ่าตัด จะทำให้อวัยวะในช่องท้องติดกันหรือเลื่อนไหลไม่สะดวก และแม้ว่าพังผืดส่วนมากไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่ในบางกรณีอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลำไส้ตีบ บิด งอ จนเกิดการตีบหรือตันของลำไส้ โดยพังผืดจัดว่าเป็นสาเหตุใหญ่ของลำไส้เล็กอุดตัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาสองสามปีหลังการผ่าตัดในช่องท้อง
      ไส้เลื่อน เป็นโรคที่เกิดจากการที่ผนังช่องท้องมีจุดอ่อน คือโป่งออกมาเป็นช่องจนทำให้ลำไส้เลื่อนไหลออกมา อย่างเช่นที่ขาหนีบ โดยส่วนของลำไส้ที่เลื่อนออกมาอาจถูกบีบรัดจนทำให้เกิดการอุดตัน หรือถ้าเป็นมาก นอกจากจะอุดตันแล้วยังขาดเลือดมาเลี้ยงด้วย ทำให้คนไข้ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ไส้เลื่อนเป็นสาเหตุของลำไส้เล็กอุดตันรองลงมาจากพังผืด
      ก้อนเนื้องอก โดยก้อนเนื้องอกในช่องท้องอาจจะเบียดลำไส้เล็ก หรืองอกอยู่ภายในลำไส้เล็กจนเกิดการอุดตัน และอาจจะทำให้เป็นมะเร็งในลำไส้เล็กได้ แต่พบน้อยเมื่อเทียบกับมะเร็งลำไส้ใหญ่
      นิ่วจากถุงน้ำดี นิ่วจากถุงน้ำดีอาจจะเลื่อนไหลลงสู่ลำไส้เล็ก แล้วทำให้ลำไส้เล็กอุดตันในส่วนที่ลำไส้มีรูแคบ กรณีอย่างนี้มักเกิดกับคนสูงอายุที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีแบบเรื้อรัง ไม่ได้รักษา หรือไม่ยอมรักษา(ด้วยการผ่าตัด) จนนิ่วมีขนาดใหญ่ และมีการอักเสบของถุงน้ำดี โดยเป็นๆ หายๆ มานาน เมื่อเป็นมากๆ เข้า ถุงน้ำดีก็จะแตกทะลุจนมีทางติดต่อกับลำไส้เล็ก ทำให้นิ่วมีทางที่จะเคลื่อนตัวลงสู่ลำไส้เล็ก แล้วก่อให้เกิดการอุดตัน
      โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้อักเสบอาจทำให้ลำไส้เป็นแผลเป็นไปรัดลำไส้ จนทำให้ลำไส้รูเล็กลงจนตีบตันได้
      การบิดตัวของลำไส้ ในบางกรณีลำไส้ที่บิดตัวพันตัวเองอาจจะทำให้เกิดการตีบหรือตัน หรือลำไส้อาจกลืนตัวเองจนทำให้อุดตันได้เช่นกัน
      การไม่ทำงานของลำไส้เล็ก (ileus อ่านว่า อีเลียส) เป็นความผิดปกติคล้ายการอุดตันของลำไส้อีกอย่างหนึ่ง คือกล้ามเนื้อและหรือเส้นประสาทของลำไส้จะไม่ทำงาน ทำให้สิ่งของหรือก๊าซที่อยู่ภายในลำไส้ไม่มีการเคลื่อนที่ แต่รูของลำไส้ยังเปิดอยู่ ไม่ได้ตีบตัน ความผิดปกตินี้มักเกิดร่วมกับลำไส้ส่วนอื่นด้วย ลำไส้จึงโป่งไปทั่ว และทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง ความผิดปกตินี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดช่องท้อง การติดเชื้อ หรือการอักเสบในช่องท้อง ส่วนมากภาวะนี้มักหายได้เองหลังจากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด ดังที่จะได้อธิบายต่อไป

การวินิจฉัย
      หลักการรักษาลำไส้เล็กอุดตันคือ ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ รีบไปหาแพทย์ และเมื่อแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว เห็นว่าน่าจะเป็นโรคลำไส้เล็กอุดตันก็จะสั่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาหรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (แต่ส่วนมากการเอกซเรย์ธรรมดาก็บอกได้แล้ว) ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยแล้ว บางทีการตรวจเหล่านี้อาจจะบอกถึงสาเหตุของโรคได้ด้วย เช่น เห็นก้อนเนื้องอกหรือนิ่วที่ไปอุดตันลำไส้ บอกได้ถึงระดับของการอุดตัน ซึ่งช่วยแพทย์ในการตัดสินใจรักษา

การรักษา
      หลักการรักษาก็คือ
      - การให้น้ำเกลือ เพื่อทดแทนสารเหลวที่ขาดหายไปจากระบบไหลเวียนเลือด เพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำ ทำให้ความดันและสัญญาณชีพกลับมาสู่ภาวะปกติ
      - การใส่ท่อระบายทางจมูกลงสู่กระเพาะ เพื่อดูดเอาสารเหลว อาหารเก่า และก๊าซออกจากทางเดินอาหาร เพื่อบรรเทาการคั่งของสารต่างๆ ในลำไส้ โดยสาเหตุที่ทำให้ในลำไส้ของเรามีก๊าซ ซึ่งเป็นอากาศอยู่มาก เนื่องจากทุกครั้งที่เรากลืนน้ำลายจะมีการกลืนอากาศลงไปด้วยเสมอ และเนื่องจากอากาศที่กลืนลงไปมีก๊าซไนโตรเจนอยู่มากเหมือนกับอากาศที่อยู่ รอบตัวเรา ทำให้ความดันของไนโตรเจนระหว่างในลำไส้กับอากาศข้างนอกไม่มีความแตกต่างกัน มันจึงไม่มีแนวโน้มที่จะถูกดูดซึมและกำจัดออกอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ก๊าซ(อากาศ)ที่อุดตันในลำไส้จึงคงอยู่ในลำไส้นานและเพิ่มพูนขึ้น จึงจำเป็นต้องใส่ท่อลงไปดูดอากาศออกจากกระเพาะ เพื่อไม่ให้มันลงไปคั่งเพิ่มพูนขึ้นในลำไส้ ส่วนอากาศที่เหลืออยู่ในลำไส้จะค่อยๆ ถูกดูดซึมให้น้อยลงๆ ทำให้ลำไส้หายโป่ง ได้พักตัว และมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ลดลง (กรณีดังกล่าวจะต่างจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม ที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกดูดซึมแล้วกำจัดออกทางปอดได้รวดเร็วมาก เพราะในอากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยมาก แต่มีอยู่ในลำไส้มากจากการกินน้ำอัดลม)
     - การรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการบีบตัวของลำไส้ การรักษาเพียงแค่นี้ก็เพียงพอในกรณีที่ลำไส้มีการตีบตันเพียงบางส่วน เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ผายลมได้แล้ว ก็เอาท่อทางจมูกออก และให้กินอาหารจากเหลวไปจนถึงอาหารไม่เหลวต่อไป
      - การรักษาด้วยการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือในผู้ป่วยที่ลำไส้มีการอุดตันสมบูรณ์ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดการอุดตัน เช่น เลาะพังผืดให้หลุดออก รักษาไส้เลื่อน ตัดก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งออก ผ่าเอานิ่วในลำไส้ออก เป็นต้น แต่ถ้าไม่จำเป็น แพทย์จะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เพราะอาจจะทำให้เกิดพังผืดขึ้น และทำให้ลำไส้ติดกันได้ใหม่

      ขอย้ำว่าอาการปวดท้องจากโรคลำไส้อุดตันจำเป็นต้องได้รับความใส่ใจอย่างเร่ง ด่วน อย่าปล่อยไว้จนเป็นมาก ถ้าเป็นมากอาจจะทำให้เกิดการขาดเลือดจนลำไส้ตายได้ในบางกรณี ซึ่งต้องผ่าตัดเอาลำไส้ที่ตายออก เหลือไว้แต่ลำไส้ดี ซึ่งในรายที่มีลำไส้ดีเหลืออยู่จำนวนน้อยก็อาจจะกลายเป็นคนทุพพลภาพ คือมีลำไส้ไม่เพียงพอที่จะดูดซึมสารอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่าง กาย จนทำให้เป็นโรคขาดอาหาร

Link   
https://women.thaiza.com/
https://www.dailynews.co.th
https://www.healthtoday.net

อัพเดทล่าสุด