โรคลําไส้แปรปรวนมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ โรคลําไส้รั่ว โรคลําไส้เล็กอุดตัน
โรคลําไส้แปรปรวนมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่
ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS Irritable Bowel Syndrome
ภาวะลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ่มากไปทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายบ่อย โดยผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดท้องร่วมกับมีการขับถ่ายที่ผิดปกติไป โดยอาจจะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสียก็ได้ ซึ่งอาการปวดท้องมักจะปวดบีบเกร็งบริเวณท้องน้อยด้านล่าง โดยเฉพาะด้านซ้ายและอาการมักจะดีขึ้นหลังจากถ่ายอุจจาระ ร่วมกับอาจมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ เช่น ถ่ายเป็นน้ำหรืออุจจาระเป็นก้อนแข็ง ถ่ายมีมูก โดยไม่ควรมีสัญญาณอันตราย ได้แก่ น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด มีไข้ หรือคลำได้ก้อน ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง มีแก็ส หรือถ่ายไม่สุดได้ด้วย มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ ยา อาหาร อารมณ์เครียด ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ภาวะนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็งลำไส้ หรือลำไส้อักเสบโรคลำไส้แปรปรวน หรือ Irritable Bowel Syndrome (IBS) พบได้ประมาณร้อยละ 15
สาเหตุ
แม้จะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่ปัจจุบันก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน ซึ่งเชื่อว่าเกิดสาเหตุน่าจะมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่
- การบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ และมักจะตอบสนองไวต่อความเครียด
- การรับรู้ของระบบทางเดินอาหารไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ โดยตัวกระตุ้นที่พบได้บ่อย คือ อาหาร ความเครียด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้มีการบีบตัวของลำไส้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก่อให้เกิดอาการ
- ภาวะหลังการติดเชื้อ เนื่องจากพบผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีอาการลำไส้แปรปรวนตามหลังการติดเชื้อทาง เดินอาหาร ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อทำลายเยื่อบุลำไส้มีผลต่อเส้นประสาทที่ ลำไส้เกิดความไวต่อสิ่งกระตุ้น
- ภาวะจิตใจ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
อาการของภาวะลำไส้แปรปรวน
อาการสำคัญของลำไส้แปรปรวนคือ อาการปวดท้องหรืออาการแน่นท้อง ร่วมการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย อาการปวดท้องมักจะ
- เริ่มเมื่อมีการขับถ่ายบ่อยมากขึ้น หรือขับถ่ายน้อยลง
- อาการปวดท้องจะเริ่มเมื่อมีท้องผู้หรือถ่ายเหลว
- อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดถ่าย
อาการท้องร่วง
- จะมีการถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
- อุจาระเหลว หรือเป็นน้ำ
- มีอาการปวดเบ่ง หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด
อาการท้องผู้
- ถ่ายอุจาระเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- อุจาระแข็ง และแห้ง
- ต้องเบ่งอุจาระ
การวินิจฉัย
อาศัยอาการเป็นหลักซึ่งอาการที่สำคัญได้แก่ อาการปวดท้องหรืออึดอัดท้อง (abdominal pain or discomfort) ซึ่งดีขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของการถ่ายอุจจาระซึ่งเป็นได้ทั้งท้องผูก ท้องเสียหรือท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด มีลมในท้องมาก ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติร่วมด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นนอกระบบทางเดินอาหาร เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกเหนือจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยที่จะวินิจฉัยภาวะนี้จะต้องไม่มีอาการเตือนที่บ่งว่ามีโรคอื่นที่ เกิดจากพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร (organic disease) และจากการตรวจร่างกายต้องไม่พบโรคอื่นที่ก่อให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้ แต่แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมในราย
- ที่มีอาการสัญญาณเตือน
- อายุมากกว่า 50 ปี
- หรือมีประวัติมะเร็งลำไส้ในครอบครัว
- อุจจาระเป็นเลือด
- น้ำหนักลด
- ซีด
- ถ่ายอุจจาระกลางคืน
โดยแพทย์อาจจะทำการตรวจ
- เลือด
- ตรวจค่าไทรอยด์
- ตรวจอุจจาระ
- ตรวจเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่
- หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก
เนื่องจากการวินิจฉัยอาศัยอาการเป็นหลักและไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น เพื่อการศึกษาวิจัยที่ไปในทิศทางเดียวกันจึงมีการตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยขึ้น ล่าสุดได้แก่ Rome II criteria โดยพบว่ามีความแม่นยำสูง หากใช้ criteria นี้ร่วมกับการพิจารณาอาการเตือนดังกล่าวจะมี positive predictive value 98-100% สำหรับการตรวจเพิ่มเติมนั้น จะทำต่อเมื่อให้การรักษาไป 3-6 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้นโดยเลือกวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเป็น หลัก จาก Pathophysiology และอาการที่หลากหลายนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยการรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ๆทั้งในระบบทางเดินอาหาร และนอกระบบทางเดินอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การรักษา
กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) เป็นปัญหาทางเดินระบบอาหารที่พบได้บ่อย ในประเทศไทยจากการสำรวจประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจันทบุรีพบได้ประมาณ5% โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีการดำเนินโรคเป็น ๆ หาย ๆ โดยที่ไม่มีผลกระทบด้านร่างกายมากนักและไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต เนื่องจากอาการที่เรื้อรังจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย และก่อให้เกิดความกังวลเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นโรคมะเร็ง
เมื่อให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยโรคนี้ ควรประเมินว่าปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่มาพบแพทย์คืออะไร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน แต่มาพบแพทย์เพื่อต้องการทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไรหรือมีความวิตกกังวลว่าจะ เป็นโรคร้ายแรง การให้คำแนะนำ หรือการส่งตรวจเพื่อยืนยันให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงโดยไม่จำ เป็นต้องใช้ยาก็อาจเพียงพอสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมากและรบกวนชีวิตประจำวันอาจต้องการการรักษาด้วยยา ร่วมด้วยเพื่อการบรรเทาอาการ
การรักษาทั่วไป
เป็นการแนะนำโรคให้กับผู้ป่วย และสร้างความมั่นใจว่าโรคนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย ใฟ้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ อาหาร และความเครียด การปรับเปลี่ยนอาหาร
การรักษาโดยการใช้ยา (Pharmacologic therapies)
เนื่องจากโรคนี้มีอาการที่หลากหลาย การเลือกยาจึงพิจารณาจากอาการที่เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยเช่น อาการท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง หรือท้องอืดที่เป็นอาการเด่น เป็นต้น รายละเอียดของยาแต่ละชนิดมีดังนี้
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก
ภาวะนี้จะมีอาการท้องผูกมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องผูกเด่นจะใช้ยาเพื่อเพิ่มกากอุ จาระ ยาหล่อลื่น ยาที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย
ภาวะนี้จะมีอาการท้องเสียมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียได้แก่ยา opiate และ opioid analogues เช่น loperamide, diphenoxylate atropine
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง
ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการปวดท้องจะใช้ย่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ และยาต้านความเศร้า
โรคลําไส้รั่ว
ภาวะลำไส้รั่ว
ภาวะลำไส้รั่ว (Womanplus)
ลำไส้รั่วในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงลำไส้ทะลุ เช่นในกรณีที่เป็นแผลในลำไส้ และแผลนั้นเป็นมากจนทำให้ลำไส้ทะลุ ซึ่งในกรณีนี้ผลก็คืออาหารที่รับประทานเข้าไป จะรั่วออกมาในช่องท้องได้ แต่ ลำไส้รั่วในที่นี้ หมายถึงการรั่วซึมของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้เล็ก เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตอย่างผิดธรรมชาติ ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะลำไส้รั่ว ( leaky gut หรือ Increase intestinal permeability)
โดยปกติแล้วสารอาหารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเครต ไขมัน โปรตีน เมื่อย่อยดีแล้วก็จะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็ก เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต เพื่อให้ร่างกายนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ต่อไป โดย ธรรมชาตินั้น เซลล์บุผนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของลำไส้เล็กจ ะทำหน้าที่คอยป้องกัน และจะยินยอมให้เฉพาะสารอาหารที่ย่อยแล้วอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเกลือแร่และวิตามินเท่านั้น ที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหล เวียนโลหิตของร่างกายได้ แต่ในคนที่เซลล์ผนังสำไส้มีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือที่เราเรียกว่า ภาวะลำไส้รั่วนี้ เซลล์จะยอมให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์หลุดผ่านผนังลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ของร่างกายเหล่านี้ เช่น อาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ สารพิษ แบคทีเรีย เป็นต้น
สิ่ง เหล่านี้เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด ก็เปรียบเสมือนสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายก็จะปฏิเสธไม่ตอบรับสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ด้วยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานหนักขึ้น เพื่อมาต่อต้าน ผลที่ตามมาก็คืออาการอันไม่พึงประสงค์ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง แน่นท้อง อ่อนเพลียง่าย ปวดตามข้อและกระดูก ผื่นลมพิษ ภูมิแพ้ หรือบางครั้งอาจจะแสดงอาการของการแพ้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งชัดเจน เช่น กินกุ้งแล้วหายใจไม่ออก เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่อาการอาจจะเล็กน้อยจนเราแทบไม่สังเกตุรู้ เช่น บางคนดื่มนมแล้วแน่นอึดอัดท้อง สักพักก็จะหายอาจจะนึกว่าเป็นธรรมดา แต่จริง ๆ แล้ว ร่างกายอาจจะแพ้บางอย่างในนม เมื่อดื่มนมทีไร ลำไส้ก็จะเกิดภาวะลำไส้รั่ว (โดยเราไม่รู้ตัว) เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
สาเหตุการเกิดภาวะ leaky gut นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีสมมติฐานเช่น การแพ้อาหารโดยที่เราไม่ทราบ (อย่าง ที่บอกว่าอาจจะไม่แสดงอาการ หรืออาการน้อยมากจนไม่ทราบ จะทราบได้โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เช่น เจาะเลือดดูว่า ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่ผิดปกติต่ออาหารชนิดไหนบ้าง) หรืออาจจะเกิดจากภาวะการอักเสบเรื้อรังของลำไส้ การรับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (ที่แพทย์มักจะให้เวลามีอาการปวดข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ) การได้ยารักษามะเร็ง หรือฉายรังสี หรือการดื่มแอลกอฮอล์มากเกิน เป็นต้น ภาวะลำไส้รั่วนี้ สามารถตรวจวินิจฉัยได้ โดยการตรวจพิเศษเพื่อดูการรั่วซึมของผนังลำไส้
ภาวะลำไส้รั่วนี้ อาจจะเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิดที่ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มักจะรักษาไม่หายขาด เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Sydrome) ระบบทางเดินอาหารอักเสบ (Crohn’s disease) ,ภูมิแพ้ ,ข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคต้านภูมิตนเองอื่น ๆ ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังโดยหาสาเหตุไม่ได้ และโรคสารพัดปวดเรื้อรังเป็นต้น สำหรับการรักษา เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่แแพ้ ปรับอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม และอาหารเสริมบางชนิดอาจจะช่วยได้
ถ้า คุณผู้อ่านมีอาการดังที่หมอเล่าให้ฟัง หรือเป็นโรครักษาหายยากทั้งหลายดังเช่นที่กล่าวมา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะมีภาวะลำไส้รั่วนี้ซ่อนเร้นอยู่!!
DID YOU KNOW ภาวะ ลำไส้รั่ว หรือ leaky gut นี้เป็นทฤษฎีความผิดปกติของลำไส้ที่แพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ แต่สำหรับแพทย์แผนปัจจุบันที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แบบผสมผสาน (Integrative medicine) ซึ่งเป็นแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยผสมผสานการรักษาแบบแผนปัจจุบัน และแบบทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประโยชน์กับผู้ป่วย เชื่อว่าภาวะลำไส้รั่วนี้ น่าจะเป็นสาเหตุซ่อนเร้นของโรคหลายชนิดดังข้างต้น
โรคลําไส้เล็กอุดตัน
ชื่อเรื่อง : ลำไส้เล็กอุดตัน
Article : พล.ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์
คนส่วนมากน่าจะเคยปวดท้อง มาบ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของการปวดท้องอาจจะเกิดจากอาหารไม่ย่อย มีก๊าซในลำไส้มาก ท้องเดินจากการกินอาหารที่เราแพ้ ไวรัสลงกระเพาะ ฯลฯ ซึ่งส่วนมากมักมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าท่านมีอาการปวดท้องแบบบีบเค้นจนหน้านิ่วคิ้วขมวด อาการปวดมาเป็นคลื่น คือปวดเพิ่มมากสุดขีดแล้วลดลงเป็นระยะเวลาสั้นๆ และเป็นซ้ำในลักษณะเดิมอีก ร่วมกับมีอาการท้องป่องขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน โดยมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ถ่าย ไม่ผายลม แบบนี้น่าจะเข้าลักษณะลำไส้เล็กอุดตัน
ปกติลำไส้ของเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ช่วยกันทำให้มีการบีบ ตัวของกล้ามเนื้อลำไส้เป็นคลื่น เพื่อดันให้อาหารผ่านไปสู่ส่วนปลาย เมื่อมีการอุดตัน ลำไส้จึงพยายามสู้ด้วยการบีบตัวมากขึ้น จนทำให้มีอาการปวด และเมื่อมีการอุดตันนานขึ้น ลำไส้ก็จะโป่ง เนื่องจากมีการคั่งของน้ำ อาหาร และก๊าซ
หากลำไส้อุดตันไม่ได้รับการรักษา ลำไส้ก็จะยิ่งโป่งมากขึ้น เป็นผลให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงลำไส้ถูกแรงดันในลำไส้บีบให้แฟบ เลือดจึงไหลเข้าไปเลี้ยงลำไส้ได้น้อยลง ถ้าเป็นมากขึ้นอีก ก็อาจจะทำให้ผนังลำไส้โป่งและบางลงจนถึงกับแตกเป็นรูรั่ว เป็นผลให้สิ่งที่อยู่ในลำไส้ ซึ่งมีเชื้อโรคแบคทีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก ออกมาแปดเปื้อนช่องท้อง จนเกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง แล้วลุกลามทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ คือเชื้อโรคและพิษของมันเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ ถ้ารักษาไม่ทัน
นอกจากนี้การที่ลำไส้อุดตันจะทำให้มีการสูญเสียสารเหลวเป็นจำนวนมาก จากการคั่งของน้ำหลั่งในทางเดินอาหาร นับตั้งแต่น้ำลาย น้ำกรดในกระเพาะ น้ำดี น้ำตับอ่อน และน้ำหลั่งของลำไส้ บวกกับการขาดน้ำจากการกิน เนื่องจากอาการปวดท้องและอาเจียน ทำให้ผู้ป่วยขาดน้ำมากเป็นปริมาณหลายลิตร ถ้ามีการสูญเสียน้ำมากขึ้น อาจจะทำให้ความดันเลือดลดลงจนผู้ป่วยช็อกและเสียชีวิตได้
สาเหตุของลำไส้เล็กอุดตัน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้ลำไส้เล็กอุดตันที่พบได้บ่อยมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้
พังผืดในช่องท้อง ในช่องท้องของคนปกติจะเป็นที่อยู่ของลำไส้และอวัยวะอื่นที่มีความสะอาดเรียบ ลื่น ทำให้ลำไส้สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก แต่เมื่อในช่องท้องมีพังผืดเกิดขึ้น โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติภัย หรือการผ่าตัด จะทำให้อวัยวะในช่องท้องติดกันหรือเลื่อนไหลไม่สะดวก และแม้ว่าพังผืดส่วนมากไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่ในบางกรณีอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลำไส้ตีบ บิด งอ จนเกิดการตีบหรือตันของลำไส้ โดยพังผืดจัดว่าเป็นสาเหตุใหญ่ของลำไส้เล็กอุดตัน โดยเฉพาะในช่วงเวลาสองสามปีหลังการผ่าตัดในช่องท้อง
ไส้เลื่อน เป็นโรคที่เกิดจากการที่ผนังช่องท้องมีจุดอ่อน คือโป่งออกมาเป็นช่องจนทำให้ลำไส้เลื่อนไหลออกมา อย่างเช่นที่ขาหนีบ โดยส่วนของลำไส้ที่เลื่อนออกมาอาจถูกบีบรัดจนทำให้เกิดการอุดตัน หรือถ้าเป็นมาก นอกจากจะอุดตันแล้วยังขาดเลือดมาเลี้ยงด้วย ทำให้คนไข้ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ไส้เลื่อนเป็นสาเหตุของลำไส้เล็กอุดตันรองลงมาจากพังผืด
ก้อนเนื้องอก โดยก้อนเนื้องอกในช่องท้องอาจจะเบียดลำไส้เล็ก หรืองอกอยู่ภายในลำไส้เล็กจนเกิดการอุดตัน และอาจจะทำให้เป็นมะเร็งในลำไส้เล็กได้ แต่พบน้อยเมื่อเทียบกับมะเร็งลำไส้ใหญ่
นิ่วจากถุงน้ำดี นิ่วจากถุงน้ำดีอาจจะเลื่อนไหลลงสู่ลำไส้เล็ก แล้วทำให้ลำไส้เล็กอุดตันในส่วนที่ลำไส้มีรูแคบ กรณีอย่างนี้มักเกิดกับคนสูงอายุที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีแบบเรื้อรัง ไม่ได้รักษา หรือไม่ยอมรักษา(ด้วยการผ่าตัด) จนนิ่วมีขนาดใหญ่ และมีการอักเสบของถุงน้ำดี โดยเป็นๆ หายๆ มานาน เมื่อเป็นมากๆ เข้า ถุงน้ำดีก็จะแตกทะลุจนมีทางติดต่อกับลำไส้เล็ก ทำให้นิ่วมีทางที่จะเคลื่อนตัวลงสู่ลำไส้เล็ก แล้วก่อให้เกิดการอุดตัน
โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้อักเสบอาจทำให้ลำไส้เป็นแผลเป็นไปรัดลำไส้ จนทำให้ลำไส้รูเล็กลงจนตีบตันได้
การบิดตัวของลำไส้ ในบางกรณีลำไส้ที่บิดตัวพันตัวเองอาจจะทำให้เกิดการตีบหรือตัน หรือลำไส้อาจกลืนตัวเองจนทำให้อุดตันได้เช่นกัน
การไม่ทำงานของลำไส้เล็ก (ileus อ่านว่า อีเลียส) เป็นความผิดปกติคล้ายการอุดตันของลำไส้อีกอย่างหนึ่ง คือกล้ามเนื้อและหรือเส้นประสาทของลำไส้จะไม่ทำงาน ทำให้สิ่งของหรือก๊าซที่อยู่ภายในลำไส้ไม่มีการเคลื่อนที่ แต่รูของลำไส้ยังเปิดอยู่ ไม่ได้ตีบตัน ความผิดปกตินี้มักเกิดร่วมกับลำไส้ส่วนอื่นด้วย ลำไส้จึงโป่งไปทั่ว และทำให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง ความผิดปกตินี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดช่องท้อง การติดเชื้อ หรือการอักเสบในช่องท้อง ส่วนมากภาวะนี้มักหายได้เองหลังจากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด ดังที่จะได้อธิบายต่อไป
การวินิจฉัย
หลักการรักษาลำไส้เล็กอุดตันคือ ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ รีบไปหาแพทย์ และเมื่อแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกายแล้ว เห็นว่าน่าจะเป็นโรคลำไส้เล็กอุดตันก็จะสั่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ธรรมดาหรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (แต่ส่วนมากการเอกซเรย์ธรรมดาก็บอกได้แล้ว) ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยแล้ว บางทีการตรวจเหล่านี้อาจจะบอกถึงสาเหตุของโรคได้ด้วย เช่น เห็นก้อนเนื้องอกหรือนิ่วที่ไปอุดตันลำไส้ บอกได้ถึงระดับของการอุดตัน ซึ่งช่วยแพทย์ในการตัดสินใจรักษา
การรักษา
หลักการรักษาก็คือ
- การให้น้ำเกลือ เพื่อทดแทนสารเหลวที่ขาดหายไปจากระบบไหลเวียนเลือด เพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำ ทำให้ความดันและสัญญาณชีพกลับมาสู่ภาวะปกติ
- การใส่ท่อระบายทางจมูกลงสู่กระเพาะ เพื่อดูดเอาสารเหลว อาหารเก่า และก๊าซออกจากทางเดินอาหาร เพื่อบรรเทาการคั่งของสารต่างๆ ในลำไส้ โดยสาเหตุที่ทำให้ในลำไส้ของเรามีก๊าซ ซึ่งเป็นอากาศอยู่มาก เนื่องจากทุกครั้งที่เรากลืนน้ำลายจะมีการกลืนอากาศลงไปด้วยเสมอ และเนื่องจากอากาศที่กลืนลงไปมีก๊าซไนโตรเจนอยู่มากเหมือนกับอากาศที่อยู่ รอบตัวเรา ทำให้ความดันของไนโตรเจนระหว่างในลำไส้กับอากาศข้างนอกไม่มีความแตกต่างกัน มันจึงไม่มีแนวโน้มที่จะถูกดูดซึมและกำจัดออกอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ก๊าซ(อากาศ)ที่อุดตันในลำไส้จึงคงอยู่ในลำไส้นานและเพิ่มพูนขึ้น จึงจำเป็นต้องใส่ท่อลงไปดูดอากาศออกจากกระเพาะ เพื่อไม่ให้มันลงไปคั่งเพิ่มพูนขึ้นในลำไส้ ส่วนอากาศที่เหลืออยู่ในลำไส้จะค่อยๆ ถูกดูดซึมให้น้อยลงๆ ทำให้ลำไส้หายโป่ง ได้พักตัว และมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ลดลง (กรณีดังกล่าวจะต่างจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม ที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะถูกดูดซึมแล้วกำจัดออกทางปอดได้รวดเร็วมาก เพราะในอากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยมาก แต่มีอยู่ในลำไส้มากจากการกินน้ำอัดลม)
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการบีบตัวของลำไส้ การรักษาเพียงแค่นี้ก็เพียงพอในกรณีที่ลำไส้มีการตีบตันเพียงบางส่วน เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว ผายลมได้แล้ว ก็เอาท่อทางจมูกออก และให้กินอาหารจากเหลวไปจนถึงอาหารไม่เหลวต่อไป
- การรักษาด้วยการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือในผู้ป่วยที่ลำไส้มีการอุดตันสมบูรณ์ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดการอุดตัน เช่น เลาะพังผืดให้หลุดออก รักษาไส้เลื่อน ตัดก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งออก ผ่าเอานิ่วในลำไส้ออก เป็นต้น แต่ถ้าไม่จำเป็น แพทย์จะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เพราะอาจจะทำให้เกิดพังผืดขึ้น และทำให้ลำไส้ติดกันได้ใหม่
ขอย้ำว่าอาการปวดท้องจากโรคลำไส้อุดตันจำเป็นต้องได้รับความใส่ใจอย่างเร่ง ด่วน อย่าปล่อยไว้จนเป็นมาก ถ้าเป็นมากอาจจะทำให้เกิดการขาดเลือดจนลำไส้ตายได้ในบางกรณี ซึ่งต้องผ่าตัดเอาลำไส้ที่ตายออก เหลือไว้แต่ลำไส้ดี ซึ่งในรายที่มีลำไส้ดีเหลืออยู่จำนวนน้อยก็อาจจะกลายเป็นคนทุพพลภาพ คือมีลำไส้ไม่เพียงพอที่จะดูดซึมสารอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่าง กาย จนทำให้เป็นโรคขาดอาหาร
Link
https://siamhealth.net
https://health.kapook.com
https://www.healthtoday.net