อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคลําไส้อักเสบ


24,564 ผู้ชม


อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคลําไส้อักเสบ อาหารสําหรับโรคลําไส้อักเสบ โรคลําไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด

อาหารสําหรับผู้ป่วยโรคลําไส้อักเสบ

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่


บทนำ

      โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุ ผนังลำไส้เปลี่ยนแปลง และเจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าผู้สูงอายุและผู้มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งจะมี อัตราเสี่ยงมากกว่าคนปกติ หรือผู้ที่มีภาวะโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น อาการโดยส่วนใหญ่ของมะเร็งลำไส้จะ มีท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดสด อุจจาระมีขนาดเล็กลง มีอาการจุกเสียดแน่นบ่อยครั้ง อ่อนเพลียและน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ  การรักษามีทั้งการเคมีบำบัด ฉายรังสี และการผ่าตัด พิจารณาเป็นกรณีไปโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
      เนื่องจากลำไส้เป็นอวัยวะสำคัญในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นต้องดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ การรักษาที่ถูกต้องร่วมกับโภชนบำบัดที่ถูกหลัก สามารถลดการแพร่กระจายและอาการทรมานจากมะเร็งได้

การจัดอาหาร

ข้าวแป้ง
       ยังคงต้องสารอาหารชนิดนี้เป็นหลัก ได้แก่ พวกข้าว แป้ง ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ควรเลือกชนิดที่เป็นพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นหลัก พวกที่มีใยอาหารมาก อาทิ ข้าวกล้อง ยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ป่วย เนื่องจากกลุ่มใยอาหารจะทำหน้าที่ในการดูดซับสารก่อมะเร็งและน้ำดีแล้วขับออกจากร่างกาย ดังนั้นการได้รับใยอาหารที่พอเหมาะ จะช่วยลดโอกาสการรับสารก่อมะเร็ง (carcinogen) ของร่างกายได้  (ควรได้รับใยอาหารไม่ต่ำกว่าวันละ 25 กรัมต่อวัน)  สำหรับผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้อาจเกิดอาการ Dumping s’ Syndrome มีอาการแน่นไม่สบายท้อง ไม่ควรรับคาร์โบไฮเดรตครั้งละมาก ๆ ควรรับประทานทีละน้อย และจัดท่านั่งรับประทานแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนเพื่อลดอาการดังกล่าว

โปรตีน
      ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนวันละ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารในกลุ่มที่ให้โปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่างๆ พบว่าไข่และเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนครบถ้วนที่สุด ส่วนถั่วอาจจะให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายต้องการไม่ครบ มักจะขาดกรดอะมิโนจำเป็นชื่อว่า methionine ดังนั้น หากไม่รับประทานเนื้อสัตว์เลยแล้วรับประทานแต่ธัญพืชแทน ควรรับประทานถั่วเหลืองร่วมด้วย เนื่องจากถั่วเหลืองให้กรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด  แต่หากยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ ควรเลือกชนิดที่ไม่ติดมันเป็นหลัก หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เพราะอาหารแปรรูปเหล่านี้มักใส่สารไนไตรท์ ไนเตรต รวมไปถึงไขมันจำนวนมาก ทำให้กระตุ้นการเกิดมะเร็งมากขึ้น

ไขมัน
      โดยทั่วไปแล้วอาหารประเภทไขมันควรระวังไม่รับประทานมากแม้ในคนปกติ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ยิ่งจำเป็นต้องดูแลเรื่องของไขมัน ควรเลือกใช้ไขมันที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว พบว่าไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ให้ผลดีในผู้ป่วยมะเร็ง กรดไขมันดังกล่าวพบในพวกของน้ำมันปลา ซึ่งการรับประทานเนื้อปลาทะเลจะได้รับไขมันประเภทดังกล่าวอยู่แล้ว ผู้ป่วยไม่ จำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม เพราะหากรับประทานน้ำมันสกัดยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำมันเกินความจำเป็น อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี  แต่ในคนปกติสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ดี ยังมีไขมันอีกประเภทที่ควรระมัดระวัง คือ ไขมันที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่ว่าจะเป็นการปิ้งย่างหรือการทอดน้ำมันซ้ำ ล้วนแต่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสัมผัสกับลำไส้โดยตรง เสี่ยงต่อการทำให้โรคเป็นมากขึ้น หรือในคนปกติก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นมะเร็งได้

ผักและผลไม้
     การได้รับเส้นใยอาหารจากผักและผลไม้มากเป็นสิ่งที่ดี ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคดำเนินมากแล้ว ควรลดปริมาณลงตามความเหมาะสม เนื่องจากบางภาวะที่ระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยเริ่มแปรปรวน การได้รับใยอาหารมากอาจส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องและท้องอืดได้ ควรให้ผู้ป่วยรับ ใยอาหารทีละน้อยแล้วสังเกตอาการ ผักบางชนิดยิ่งทำให้ท้องอืด โดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนเพราะมีสารพวกกำมะถันอยู่มาก เช่น ต้นหอม หัวหอมใหญ่  ดังนั้น หากมีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยหลายงานวิจัยที่พบอาหาร มีผลดีต่อการป้องกันและต่อต้านมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ เพราะมีสาร Isothiocyanate ซึ่งให้ผลดีในการควบคุมมะเร็ง การรับประทานควรล้างให้สะอาด เพราะแม้ผักชนิดนี้จะมีสารพฤษเคมีที่เป็นประโยชน์มากก็จริง แต่ก็เป็นแหล่งตกค้างของสารฆ่าแมลงมากเช่นกัน กรณีการผ่าตัดลำไส้ออกบางส่วน ทำให้ระบบย่อยอาหารได้รับความเสียหายบ้างในช่วงแรก  ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานสูง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้มากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดลมในช่องท้องได้ สำหรับผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้ที่มีเส้นใยสูง เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล  ยกเว้นกรณีเพิ่งได้รับการผ่าตัดควรเลือกชนิดที่ย่อยง่าย เช่น มะละกอสุก ส้ม แก้วมังกร เป็นต้น และหลังจากการรับประทานผลไม้เส้นใยสูงแล้ว ควรเพิ่มการดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้จากเส้นใยอาหาร

อื่นๆ
      พบว่าการได้รับแคลเซียมเสริมจะสามารถป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในลำไส้ได้ นอกจากนั้นยังมีรายงานของการเสริมโฟเลทก็สามารถช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ด้วย ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดพบมากในนม  ดังนั้นการดื่มนมช่วยเสริมสร้างสารดังกล่าวได้ แต่ควรเลือกชนิดพร่องมันเนย

 อาหารสําหรับโรคลําไส้อักเสบ

รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

รักษาอาการลำไส้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดท้อง

ลำไส้เล็กอักเสบ และแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่หายได้ด้วยวิธีธรรมชาติ (Health Plus)
          โรคลำไส้อักเสบส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติต่อไปนี้ช่วยได้
          โรคลำไส้เกิดได้กับคนทุกวัย และนับวันจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น จากรายงานของ the National Association for Colitis and Crohn’s Disease (NACC) ระบุว่า คนอังกฤษทุก 1,000 คนจะป่วยเป็นโรคลำไส้เล็กอักเสบ 1 คน ขณะที่มีคนนับแสนป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          โรคลำ ไส้อักเสบทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในคนอายุระหว่าง 15-40 ปี แม้จะมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษาด้วยการแพทย์แผนใหม่จะใช้วิธีลดการอักเสบ นั่นคือแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวม ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และยาลดอาการท้องเสียและโลหิตจาง ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาอวัยวะ บางส่วนที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารออก อย่างไรก็ตาม การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติก็ช่วยได้เช่นกัน
โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          เกิดจากการอักเสบในระบบย่อยอาหาร ทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ปกติมักพบในลำไส้เล็ก
          ผู้ ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งท้องผูก มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และมักเป็นโลหิตจาง เนื่องจากลำไส้ไม่ดูดซึมสารอาหาร
          โรคลำไส้เล็กอักเสบพบมากในเพศหญิงและคนที่สูบบุหรี่ สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          เกิดจากการที่ผนังลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบ และกลายเป็นแผลเล็ก ๆ
          อาการ บวมหมายถึงการที่ลำไส้ใหญ่ไม่สามารถดูดซึมน้ำจากอุจจาระ จึงทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาการบวมยังเกิดจากการที่ลำไส้ใหญ่ ไม่สามารถเก็บของเสียได้มากเหมือนปกติ คุณจึงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อย อุจจาระอาจมีเลือดและเมือกปนออกมา
          โรคนี้เกิดได้ทั้งหญิงและชาย หลักฐานระบุว่าคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มักอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบท
บำบัดด้วยธรรมชาติ
1.ฝังเข็ม
          จาการวิจัยพบว่า การฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอย่างได้ผล ทำให้สุขภาพดีขึ้น "การฝังเข็มช่วยแก้ปวด ลดการอักเสบ ควบคุมการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ" ริชาร์ด แบล็กเวลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝังเข็มกล่าว "เพราะ การฝังเข็มช่วยแก้ไขความไม่สมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว อาการจะดีขึ้นหลังผ่านการฝังเข็ม 6 ครั้ง แต่อาจจำเป็นต้องบำบัดหลายครั้งและใช้เวลาเป็นเดือน"
2.โภชนาการ
          "การเปลี่ยนแปลงอาหารการกินช่วยได้" เอียน มาร์เบอร์ นักโภชนาการของ Health Plus กล่าว "อาหารบางชนิดทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก จึงเกิดการอักเสบ อย่าทำให้โรคลำอักเสบทั้งสองชนิดนี้มีอาการรุนแรงขึ้น โดยการกินให้น้อย แต่กินบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะร่างกายสามารถย่อยอาหารปริมาณน้อย ๆ ได้ง่ายกว่า อาหารโพรไบโอติกมีประโยชน์ แต่ควรกินในรูปของอาหารเสริมมากกว่าในรูปของเครื่องดื่มที่มีรสหวาน"
          โรคลำไส้เล็กอักเสบ
          หลีกเลี่ยง ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ อาหารที่มีรสเผ็ด กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
          รับประทาน มันฝรั่งปอกเปลือก ปลานึ่ง โดยเฉพาะปลาที่มีน้ำมัน เป็ดไก่ ไข่ ผักเช่น ผักโขมหรือถั่วที่มีเมล็ดกลม (peas)
          โรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่
          หลีกเลี่ยง โฮ ลเกรน ไฟเบอร์ ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าวโพดหวาน ผักที่มีแป้งสูงเช่น พาร์สนิป (parsnip) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง (ruts) และเมล็ดพืชต่าง ๆ คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น บิสะกิด พาสต้า และขนมปัง
          รับประทาน ไฟเบอร์ละลายน้ำ เช่น ผักใบเขียว อโรวคาโด แยม น้ำมันปลาที่อุดมด้วยไขมัน โอเมก้า 3 ข้าวขัดขาวกระเทียม
3.สมุนไพร
          "มีสมุนไพรมากมาย ที่ช่วยรักษาโรคลำไส้เล็กอักเสบและโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ ลดการพึ่งยาสเตียรอยด์" ดี แอตคินสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์สมุนไพร "คอมเฟรย์ (comfrey) ช่วยรักษาและบรรเทาอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อ ชะเอมช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสเตียรอยด์ตามธรรมชาติของตัวเอง โกลเด้นซีล (goldenseal) ซึ่งมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิด้านทาน แพลนทิน (plantain-กล้วยแอฟริกาชนิดหนึ่ง) ช่วยลดการผลิตน้ำเมือก ก่อนใช้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อให้ตรวจวินิจฉัย" ดีแนะให้ใช้ผง slippery elm 1 ช้อนชาผสมกับน้ำเย็น คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปชงกับน้ำร้อนประมาณครึ่งลิตรผสมกับผงลูกจันทน์เทศ คนให้เข้ากัน
          "สมุนไพรช่วยรักษาแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่"
          แจ็กกี้ ฟอร์เรสต์ วัย 43 ปี จากเบอร์วิคเชียร์ ป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่มานาน 10 เดือน เธอพึ่งสมุนไพรในการรักษา
          "ฉันมีอาการท้องเสียและปวดตะคริวที่ท้องมานานกว่าหนึ่งปี ก่อนจะมารู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแผลอักเสบในลำไส้ใหญ่ หมอให้ยาแก้อักเสบและสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาทำให้ฉันมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาหารไม่ย่อย พอไปตรวจก็พบว่ายามีผลกระทบกับตับของฉัน ฉันเลยต้องหยุดทานยาต่อมาฉันได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร เขาแนะให้ฉันทานผง slippery elm ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ กระเทียม คาโมไมล์ ชะเอม และยาร์โรว์ (yarrow) ซึ่งช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่อก่อนฉันเคยชอบกินขนมปังและพาสต้า แต่ตอนนี้ฉันหันมากินอาหารปลอดแป้งสาลี และเปลี่ยนนิสัยการกิน โดยกินน้อย ๆ แต่กินบ่อย ๆ เดี๋ยวนี้ฉันไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบันอีกแล้ว แถมอาการก็ไม่กำเริบเวลากินอะไรที่ไม่ควรกิน"
4.อาหารเสริม
          "อาหารเสริมช่วยรักษาโรคลำไส้ทั้งสองชนิดได้" พอ ล แชมเบอร์เลน ผู้เชี่ยวชาญของ Health Plus กล่าว ทานอาหารเสริมประเภทวิติมนรวม และเกลือแร่เป็นประจำ เพื่อชดเชยสารอาหารที่ขาดไปเนื่องจากระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ทานอาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลา (ไม่นับน้ำมันตับปลา) วันละ 1,000-2,500 มิลลิกรัมทุกวัน จะทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
          การขาดสังกะสีก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ควรทานอาหารเสริมจำพวก zinc picolinate วันละ 25 มิลลิกรัม จะช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างภูมิต้านทาน psyllium husks เป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ควรวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้อควรระวังคือ psyllium husks ดูดซึมน้ำในปริมาณมาก ดังนั้นเวลาทานจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ อาหารเสริมชนิดเม็ดที่มีเอนไซม์ย่อยอาหาร จะช่วยให้ตับอ่อนสามารถย่อยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตได้ดี 
          เบทาอีนไฮโดรคลอไรด์ (betaine hydrochloride) ชนิดเม็ดช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งจะทำให้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ทำงานหนักน้อยลง
5.นวดกดจุดฝ่าเท้า
          "การนวดกระตุ้นในตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้ได้" เรเน่ แทนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดกดจุดฝ่าเท้ากล่าว ให้หาส่วนที่เป็นเนื้อนุ่ม ๆ ของฝ่าเท้า ตั้งอยู่ระหว่างส่วนโค้งและส้นเท้า วางนิ้วมือสองนิ้วบนจุดดังกล่าว จากนั้นให้ใช้นิ้วดังกล่าวเดินไต่ข้ามไปยังนิ้วหัวแม่เท้า ต่อไปยังนิ้วก้อย จากนั้นยกนิ้วข้างหนึ่งขึ้นชั่วครู่ และเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ให้ใช้นิ้วเดินไต่จากด้านหลังไปด้านหน้า โดยเริ่มจากฝ่าเท้าไปยังหลังเท้า ระหว่างจุดกลม ๆ ใต้นิ้วหัวแม่เท้าและส่วนโค้งของฝ่าเท้า ทำท่าละ 3 ครั้ง วันละ 2 เวลา หากอาการรุนแรง เมื่ออาการดีขึ้น ให้ลดเหลือวันละครั้ง

โรคลําไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด

โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung 's disease)

ผู้ป่วยโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung 's disease)

ขอนำเสนอส่วนหนึ่งของอวชที่ทำค่ะ

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด

(Hirschsprung 's disease)

สาเหตุ

เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ไม่มีเซลล์ปมประสาท ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน

อาการ

ในเด็กแรกเกิดอาการท้องอืด ไม่ถ่ายขี้เทา 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาเจียน

ในเด็กโตมีอาการท้องผูกต้องสวนอุจจาระเป็นประจำ มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินจากภาวะ Enterocolitis มีอาการท้องอืดท้องโตมากกว่าเด็กปกติ

การวินิจฉัย

  •  การตรวจร่างกาย
  • การ X-ray
  • ทำBarium enema
  • Rectal biopsy

การรักษา

     การผ่าตัดเปิดcolostomy และปิด colostomy โดยทำผ่าตัด Pull through operation เมื่อน้ำหนักถึง 10 kgs หรือเมื่ออายุ 1 ปี

     ในระยะแรกอาจมีการรักษาแบบ supportive treatment โดยการ Rectal irrigation

การเตรียมด้านร่างกาย ( physical Management)

           1.  ดูแลด้านสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย

            1.1  ดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงพร้อมที่จะผ่าตัดไม่มีภาวะซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย         ถ้าเป็นหวัด  มีน้ำมูก มีไข้สูง  รายงานให้แพทย์ทราบ  ช่วยลดไข้ในรายที่ไข้สูง โดยการ tepid sponge และให้ยาตามแผนการรักษา

             1.2  งดน้ำและอาหารให้ตรงตามเวลา      ในผู้ป่วยเด็กจะดูดนมทุก 4 ชั่วโมงเพราะmetabolism ของเด็กเร็วมากการอดน้ำและอาหารทำให้เด็กหิว กระสับกระส่าย ในทารกควรงดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนทำการผ่าตัด   ในเด็กโตงดน้ำและอาหาร 6 ชั่วโมงขึ้นไป ควรแนะนำผู้ป่วยและญาติให้เห็นความสำคัญของการงดน้ำและอาหาร

                 1.3  เมื่อต้องงดน้ำและอาหารดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และอาหารทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอตามแผนการรักษา

                 1.4    Preoperative antibiotic การผ่าตัดลำไส้ใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดเชื้อโรคที่คั่งค้างอยู่ใน intestinal content

                   1.5     เตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป ปาก  ฟัน  ผม  เล็บ และผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด ในเด็กเล็กเพียงแต่ฟอกและล้างบริเวณที่จะผ่าตัดให้สะอาดก็เพียงพอเตรียม เวชระเบียนผลการตรวจทางห้องทดลอง Film X-ray ให้เรียบร้อย

                     1.6    เตรียมเลือดไว้สำหรับผ่าตัด

                     1.7    การให้ Pre-medication เพื่อช่วยให้เด็กสงบและได้พักผ่อนก่อนทำการผ่าตัด   

                     1.8    การสวนอุจจาระและการเตรียมลำไส้ การผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่จำเป็นต้องสวนล้างก่อนผ่าตัด ในกรณีที่ผ่าตัดลำไส้ส่วนบนอาจให้รับประทานยาหรือซึ่งการสวนล้างควรใช้น้ำ เกลือสำหรับสวนล้างด้วยปริมาณที่มากพอจะทำให้ลำไส้สะอาดมีอุจจาระตกค้างหรือ มีเหลือเพียงเล็กน้อย ใช้สายยางสำหรับสวนอุจจาระซึ่งเป็นสายยางสำหรับสวน rectum โดยใช้ rectal tube และ สายยางสำหรับสวน   colostomy โดยใช้สาย  nasogastric tube  ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของ  colostomy การเตรียมก่อนผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวงดอาหารที่มีกากประมาณ1-2วันก่อนผ่าตัด รวมทั้งให้ยาระบาย  ควรให้ยาปฏิชีวนะรับประทานทางปาก 24-48 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ตัว

                            1.9    ซักประวัติการแพ้ยา

                          1.10หนังสือแสดงความยินยอม ผู้ป่วยอายุไม่ถึง 15 ปีให้บิดามารดาหรือผู้อุปการะเลี้ยงดูเซ็นแสดงความยินยอมไว้เป็นหลักฐาน

                          1.11 แถบป้ายชื่อผู้ป่วยต้องมีสวมติดข้อมือโดยระบุชื่อ นามสกุล อายุ เพศ เลขประจำตัวผู้ป่วย

 การเตรียมด้านจิตใจ (Mental management)

                ผู้ป่วยเด็กที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลและต้องผ่าตัด จะก่อให้เกิดความผิดปกติในทางจิตใจ และอารมณ์ของเด็กและพ่อแม่  ตัวเด็กเองจะเกิดความหวาดกลัวที่เข้ามาอยู่ในสถานที่ซึ่งตนไม่เคยอยู่และมีสิ่งแปลก ๆ น่ากลัว  ต้องห่างบ้าน บางคนบิดามารดาไม่สามารถเฝ้าได้เนื่องจากมีภาระจำเป็น เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และขาดความปลอดภัย พ่อ แม่ จะเกิดความรู้สึกว่าตนมีความผิดที่ทำให้ลูกเจ็บป่วย เกิดความวิตกกังวล ห่วงใย ขาดความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่   พยาบาลมีหน้าที่

                            1  อธิบายให้บิดา-มารดา เข้าใจถึงการดำเนินของโรค ประโยชน์ของการผ่าตัด ผลของการผ่าตัด การปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด และเมื่อเด็กกลับบ้าน

                            2    สร้างความคุ้นเคยเป็นกันเอง   พูดปลอบโยน   ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ คลายความหวาดกลัว หาของเล่นมาให้

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด   (Post Operative Nursing Care)

                1.  การสังเกตและบันทึกภาวะช็อค

                2.  ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความสุขสบาย

                                2.1  ระงับหรือบรรเทาอาการปวด

                                2.2  ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายทั่วไปในระยะแรก ต่อมาแนะนำและดูแลให้ญาติทำให้   นอกจากนี้ควรดูแลความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยให้สะอาด

                                 2.3    ดูแลให้ภายในห้องมีการถ่ายเทอากาศดี ไม่มีกลิ่น และเสียงหรือยุงรบกวน   เป็นต้น

                3.  การรักษาความสมดุลของสารน้ำ สารอาหาร และเกลือแร่ในร่างกาย

                                3.1 สังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออกจากร่างกาย 

                                3.2  สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะที่ร่างกายเสียสมดุล  เกิดภาวะขาดหรือภาวะเกินของสารน้ำ เกลือแร่ และสารอาหาร

                                3.3  ติดตามผลการตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องทดลอง

                                 3.4    ในระยะแรก ๆ หลังผ่าตัดผู้ป่วยยังงดอาหาร และน้ำทางปากอยู่ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำ และเกลือแร่ให้ถูกต้อง  ต่อมาเมื่อลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารเหลว หรือนม โดยครั้งแรกให้จำนวนน้อยก่อน  ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น เมื่อรับประทานอาหารเหลวแล้วไม่เกิดอาการแน่นท้อง  คลื่นไส้ อาจเจียน  จึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน และอาหารธรรมดา  ตามลำดับ  อาหารอ่อนและอาหารธรรมดาที่ให้ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินครบถ้วน มีโปรตีน และแคลอรีสูง และรับประทานให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

                4. การให้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

                5.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการคั่งของสารน้ำ และก๊าชในกระเพาะอาหาร                   

                                5.1  ดูแลให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปากในระยะที่ลำไส้ยังทำงานได้ไม่ปกติ

                                5.2  ดูแลไม่ให้  Nasogastric tube  หักพับงอ  เพื่อให้น้ำย่อยที่คั่งในกระเพาะอาหารไหลออกสะดวก

                                 5.3   ดูแลให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคง  นั่งบนเตียงและนั่งข้างเตียง      โดยระยะแรกพยาบาลสอนและช่วยเหลือ  ต่อมาแนะนำให้ญาติทำให้  พยาบาลทำหน้าที่กระตุ้นให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

                6.  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ

                                6.1  ดูแลความสะอาดทางช่องปากของผู้ป่วย

                                6.2  ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำเพียงพอเพื่อช่วยให้เสมหะใสขึ้น

                7.  การดูแลการคาสายสวนปัสสาวะ

                      ดูแลให้ปัสสาวะไหลทางสายยางได้สะดวกไม่ให้สายยางหักพับงอ

ดูแลให้สายสวนปัสสาวะต่อลงถุงหรือขวดปัสสาวะเป็นระบบปิด และใช้เทคนิคปราศจากเชื้อในการต่อสายสวนปัสสาวะหรือบันทึกสังเกตและบันทึกลักษณะและจำนวนของปัสสาวะ ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะ และผลการตรวจปัสสาวะทางห้องทดลอง

                 8.การดูแลcolostomy

                 ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออกมาปนเปื้อน อาจทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระ

                คำแนะนำการดูแลเมื่อเด็กกลับบ้าน

              1. ดูแลรักษาความสะอาดของผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ใหญ่ทุกครั้งที่มีอุจจาระออก มาโดยใช้น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆชำระล้าง แล้วซับด้วยกระดาษชำระหรือผ้านุ่มๆไม่ควรใช้สำลีแห้งเช็ดเพราะทำให้เกิดการ ระคายเคืองและตกค้างได้  จากนั้นปิดด้วยผ้าที่เนื้อนุ่มและวางผ้าปิด colostomy โดยวางด้านที่มีตะเข็บไว้ด้านบนสายผูกทั้งสองเส้นไว้รอบเอวและผูกเป็นเงื่อน กระตุกตรึงไว้ที่มุมผ้าปิดแผลผ้าปิดสามารถนำไปซักให้สะอาดและนำกลับมาใช้ เช่นเดียวกับผ้าอ้อม(สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)คำแนะนำการทำผ้าปิด colostomyโดย ใช้ผ้าเนื้อนุ่มๆหรือผ้าสำลี ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น นำมาเย็บประกบติดกัน เก็บขอบผ้าและเย็บริมผ้าให้เรียบร้อย แล้วตัดผ้าเป็นเส้นยาวตามความยาวของผ้าหรือความยาวสามารถพันรอบหน้าท้องได้ กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร จำนวน 2 ชิ้น เก็บขอบและเย็บริมให้เรียบน้อย แล้วนำไปเย็บติดกับสีเหลี่ยมผืนผ้าโดยเย็บสายผูกให้ห่างจากด้านบนของผ้า 2 เซนติเมตร อีกชั้นเย็บห่างจากขอบล่างของผ้า 2 เซนติเมตร (สุวรรรณี  สินะสนธิและ พัชรวาลย์  ตันติเศรษฐ,2544)

                2. ทาผิวหนังรอบๆด้วยขี้ผึงวาสลีนหรือซิงค์ออกไซด์ เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง จากการปนเปื้อนของอุจจาระตามแผนการรักษา และเมื่อต้องทำความสะอาดครีมเหล่านี้ออกอย่างนุ่มนวลมุถูแรงๆ หากผิวหนังรอบๆมีการอักเสบเป็นผื่นผ้าอ้อมให้พามาพบแพทย์ได้

                3. อาจเกิดลำไส้อุดตันหลังทำแล้ว 1 สัปดาห์ หรืออีกหลายเดือนได้มักจะเกิดจากมีเยื่อผังผืดรอบcolostomy

                4. อาจมีการปลิ้นตัวcolostomyมักจะปลิ้นทางด้านปลายถ้าหากปลิ้นออกมามากควรพามาพบแพทย์

                5. มีการตีบแคบของ colostomy มักเกิดจากมีเนื้อตายบริเวณรูเปิดหรือถ้ามีการหดรั้งอาจเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยเกินไป

                6. มีการเสียเลือดและผิวหนังบริเวณรอบๆเปื่อยหรือถลอกออก การเสียเลือดน้อยๆแต่นานๆและต่อเนื่องก็อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ จึงควรทำความสะอาดด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม

                7. แนะนำให้รู้จักวิธีสังเกตสี กลิ่น จำนวน ความถี่ห่างของอุจจาระและบอกถึงลักษณะที่ผิดปกติ เพื่อนำเด็กมาพบแพทย์

                8. ให้มาตรวจตามแพทย์นัด

บรรณานุกรมจากที่ทำอวชค่ะ

ขวัญตา เกิดชูชื่น. คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. กรุงเทพฯ :  โครงการตำราภาควิชาพยาบาลศาสตร์              

 คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2543.

คณาจารย์  ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิธีการพยาบาลทางศัลยกรรม.

                 เชียงใหม่  :  นครฟิล์ม อินเตอร์กรุ๊ป, 2539.

คณาจารย์  ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล.    

                เชียงใหม่  :  ธนบรรณการพิมพ์, 2538.

คณาจารย์  ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิยาลัยมหิดล. สรีรวิทยา. กรุงเทพฯ  :  ฤทธิศรีการพิมพ์, 2535.

คณาจารย์  ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิยาลัยมหิดล. สรีรวิทยา. กรุงเทพฯ  :  เท็กซ์ แอน เจอร์นนัลการพิมพ์,

 2542 .

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก 3. นนทบุรี  :  ยุทธรินทร์การพิมพ์, 2545.

ไพบูลย์ สุทธิวรรณ. ตำราศัลยศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2542 .

มาลี สนธิเกษตริน . คู่มือปฏิบัติการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 14 . กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร,2540 .

รุจา ภู่ไพบูลย์ . แนวทางการวางแผนการพยาบาลเด็ก . กรุงเทพฯ : นิติบรรณาการ, 2543 .

ศักดา ภัทรภิญโญกุล. กุมารศัลยศาสตร์. กรุงเทพ : หน่วยจัดทำสิ่งพิมพ์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, 2545.

สุขวัฒน์   วัฒนาธิษฐานและคณะ.กุมารศัลยศาสตร์ .นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, 2547 .

สมคิด จันทร์ส่องแสงและคณะ.การพยาบาลเด็กแรกเกิด.เอกสารประกอบการอบรม  “การพยาบาลเด็ก 

                 แรกเกิด” กลุ่มงานการพยาบาล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.กรุงเทพ ,2547.

Bromilow,David B . TIMS annual . Thailand : MIMS ,1995.

O, neill,James A . Pediatric surgery .United States of Amarica :  Mosby-Year Book ,1998.

Young, Thomus E. Neofex 2000. United States of Amarica : Acorn Publishing , 2000.

Link   
https://www.siamca.com
https://health.kapook.com
https://www.gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด