การป้องกันไข้เลือดออก


2,203 ผู้ชม


การป้องกันไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออก

การป้องกันไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง เท่าที่ผ่านมาการควบคุมยังได้ผลไม่ดี เนื่องจากเน้นเรื่องการทำลายยุงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุงต้องทำเป็นบริเวณกว้าง การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืน ควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ การควบคุมสามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น ดังนั้นการควบคุมที่ดีต้องบูรณาการเอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่างๆ( การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ทางชีวภาพ การใช้สารเคมี)

การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management

การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์

  • แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
  • ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
  • ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
  • มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซ็นติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
  • ตรวจรอบๆบ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
  • ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
  • ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
  • หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิแอ่งน้ำ

การป้องกันส่วนบุคคล

  • ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และการเกงขายาว เด็ดนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
  • การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
  • การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่นๆ
  • นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง

การควบคุมยุงโดยทางชีวะ

  • เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
  • การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบ บินของสิงคโป แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำ ธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง

การใช้สารเคมีในการควบคุม

  • การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
  • Temephos 1% sand granules โดยการใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่อัตรายต่อคน
  • การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเซียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก

  • เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออก
  • แจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง
  • ให้สมาชิกในครอบครัว ป้องกันการถูกยุงกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
  • สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้จัดการเสีย
  • เฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก
  • ให้ผู้ป่วยนอนในมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

imagesCACYTI32

จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง เท่าที่ผ่านมาการควบคุมยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากเน้นเรื่องการทำลายยุงซึ่ง สิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุงต้องทำเป็นบริเวณกว้าง การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืน ควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ การควบคุมสามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น ดังนั้นการควบคุมที่ดีต้องบูรณาการเอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่างๆ (การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ทางชีวภาพ การใช้สารเคมี)

การควบคุมสิ่งแวดล้อม

การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไมให้่ยุงมีการขยายพันธุ์

  • แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
  • ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
  • ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วนถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
  • มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่ พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
  • ตรวจรอบๆบ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำ บนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
  • ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
  • ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
  • หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ

การป้องกันส่วนบุคคล

  • ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาว และการเกงขายาว เด็กผู้หญิงก็ควรใส่กางเกง
  • การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
  • การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่ๆ
  • นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง

การควบคุมยุงโดยทางชีวะ

  • เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
  • การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์
    แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง

การใช้สารเคมีในการควบคุม

  • การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความ ชุกของยุงมากกว่าปกติ
  • Temephos 1% sand granules โดยการใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่อัตรายต่อคน
  • การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศแถบเอเซียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก

  • เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออก
  • แจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง
  • ให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
  • สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้จัดการเสีย
  • เฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก ข้อมูล โรคไข้เลือดออก

กระแสพระราชดำรัสในหลวง
ไข้เลือดออก


บทความและภาพประกอบโดย
นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ 
          ยุงลายกัดคน(ป่วย..เป็นไข้)เลือดออกตาย 
          แต่แพทย์ผู้รักษาเป็นจำเลย... ?
 
          หน้าห้องไอซียู... แม่ของเด็กหญิง เดินไปมาอย่างกระสับกระส่าย นางบ่นกับญาติว่า
          "ทำไม ไปหาหมอไม่รู้กี่ครั้ง หมอไม่รู้ว่าเป็นไข้เลือดออก มารู้ ก็จวนแย่แล้ว"
          "ถ้าลูกชั้นเป็นอะไร ฉันจะฟ้องหมอ ฟ้องโรงพยาบาล..."
          นางเอ่ยถึงชื่อคลินิก และโรงพยาบาล ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าลูกสาวเป็นโรคไข้เลือดออก ...

          โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่สร้างความสับสนให้กับทั้งแพทย์และคนไข้มากที่สุด ด้วยอาการที่เริ่มต้นด้วยลักษณะเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงไข้หวัดใหญ่ หรืออาจมีอาการไข้อย่างเดียวนำมาก่อน โดยไม่มีการออกอาการเฉพาะใดๆ ในวันแรกๆ หมอทั้งร้อยคน หากตรวจวินิจฉัยตามตำราย่อมแยกออกแทบไม่ได้ ต้องอาศัยการติดตาม ตัวคนไข้ว่าหากรักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น นัดตรวจ ติดตามดูอาการอื่นๆ ที่จะปรากฏร่วมเช่น คลื่นไส้อาเจียน จนถึงปวดท้อง (ซึ่งก็คล้ายกับไข้หวัดลงกระเพาะลำไส้ อยู่ดี) ในระยะนี้ บางทีก็จะชวนสงสัยได้ยาก แม้รัดแขนก็อาจไม่สามารถบ่งได้ว่าเป็นไข้เลือดออก
 

ไข้เลือดออก


          กว่าจะมีอาการ "จำเพาะ" ของกลุ่มไวรัสนี้ก็เช่น เกร็ดเลือดต่ำ มีจุดเลือดออก หรือมีเลือดออกที่ต่างๆ ในร่างกาย ก็เป็นระยะท้ายๆ ที่มักมีอาการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก แต่ยังโชคดีที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็น ไข้เด็งกี่ (Dengue Fever) แล้วกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยไม่เข้าสู่สภาวะช็อก ที่เรียกว่า เด็งกี่ช็อกซินโดรม (Dengue Shock Syndrome- DSS) ที่เป็นเหตุให้เสียชีวิต ทำให้แพทย์ต้องเฝ้าใกล้ชิดในไอซียู แก้ปัญหาช็อกและต่อสู้กับกลไกเลือดออกไม่ หยุด ด้วยการที่สมดุลน้ำเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมถึงให้เกร็ดเลือด (ซึ่งหาได้ยาก-แม้ กาชาดเองหรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกรุงเทพ ที่จะพอเหมาะเข้ากันได้กับคนไข้ ซ้ำยังต้องใช้ปริมาณมหาศาล และอาจหาไม่ได้เลยในรพ.ต่างจังหวัด) 
          ขณะช็อกคนไข้ต้องการน้ำเพื่อพยุงความดัน แต่หากกระบวนการช๊อกหยุด น้ำที่ให้เพื่อแก้อาการช๊อกเป็นลิตรๆ ที่กู้ให้หัวใจไม่ล้มเหลวตายในระหว่างช๊อก จะพร้อมใจกันกลับเข้าเส้นเลือดจนท่วมท้นปอดหัวใจ
          โดย เฉพาะในเด็กเล็ก เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่าย (แม้จะมีแพทย์จะเฝ้าอยู่ข้างเตียง ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ทัน)ไม่รวมถึงการมีเลือดออกในสมองและอวัยวะต่างๆ ที่ถึงจะให้เกร็ดเลือดไปก็อาจไม่ทำงาน โดยโรคเอง ด้วยซ้ำ ทั้งนี้รวมถึงในระดับโรงเรียนแพทย์ ไม่ว่า จุฬาฯ ศิริราชฯ หรือรามาฯ เอง ก็เคยมีเสียชีวิตในลักษณะนี้มาแล้วทั้งสิ้น 
          ปัญหาของโรคนี้ ในสังคมเมื่อเกิดขึ้นแล้วคือ 
 1."ทำไมหมอไม่บอกตั้งแต่แรกว่าเป็นไข้เลือดออก" การวินิจฉัยช่วงแรกเป็นได้ยาก อาการไม่โดยเฉพาะ เนื่องจาก ไปยืมอาการของโรคอื่นๆ เช่นไข้หวัด มาปะปนกันไปหมด หมอผู้เชี่ยวชาญเอง ก็ลำบากที่จะตัดสินใจว่าเป็นโรคนี้ในวันแรกๆของการป่วยโดยเฉพาะ ซึ่งอาการส่วนใหญ่อาจกลายไปเป็นโรคอื่นๆ ทำให้กว่าหมอจะให้การวินิจฉัย ได้ก็เมื่อมีอาการเฉพาะปรากฎ เป็นข้อจำกัดของโรค (ซึ่งหลายครั้ง คนไข้ก็จะแย่แล้ว...)  
 2. "การวินิจฉัยวันแรกๆโดยเจาะเลือดไม่ได้หรือ" ขอเรียนว่ายากครับ โรคที่เกี่ยวกับไข้หวัดธรรมดาที่เกิดจากไวรัส กับไวรัสเด็งกี่นั้นเป็นกลุ่มแบบพี่น้องกัน ถึงแม้เจาะเลือดธรรมดาที่ทำกันทั่วไปนั้น อาจแยกจากกันไม่ได้ การดูเกร็ดเลือดระยะแรกก็อาจไม่ต่ำ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็น (ทั้งที่อีก1-2วันถึงออกอาการว่าเป็น) การเจาะเลือดที่เฉพาะกว่าคือการตรวจ ภูมิต่อไวรัส เด็งกี่ เรียกว่าเด็งกี่ไตเตอร์ ซึ่งทำได้เฉพาะใน โรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ ใช้เวลาหลายวัน บางทีผลกลับมา ซึ่งคนไข้กว่า90%หายจากอาการก่อนแล้ว ยกเว้นกรณีอาการร้ายแรง หรือ ช๊อก จึงจะทันได้ใช้ประโยชน์ 

ไข้เลือดออก


 3. "คนไข้ที่เป็นแล้วต้องเลือดออก ช็อกถึงตายทุกคนหรือไม่" อันนี้ตอบได้ว่าไม่มาก แต่มีความสำคัญ ตัวเลขจากกรมควบคุมโรค ดูย้อนหลังเป็นดังนี้ครับ

 ปี - พศ.

  ป่วย (คน)

  ตาย (คน)         

 อัตราป่วยเสียชีวิต (%)

 2550

  62,999      

  90 

 0.14% 

 2549

  42,456      

    59   

 0.14% 

 2548 

  44,725      

 82 

0.18%

 2547

  37,316      

 49 

 0.13% 

 2546

   62,526      

 78 

0.13%


          สังเกตว่าในประเทศไทย ในรอบ 4 ปี มีป่วยเพิ่มขึ้นและตายเพิ่มขึ้น การเสียชีวิตจะมาหลังอาการช็อก เป็นส่วนใหญ่ นั่นแปลว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ช็อกและตาย ประมาณ 0.13-0.18% หรือ 1-2 ต่อ 1,000 คนป่วย ซึ่งนับว่ามาก โดยต้องไม่ลืมว่าส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ช็อกนี้ แพทย์ต้อง "เฝ้า" ปรับสมดุลของสารน้ำ และเลือดจนกลับมาปกติ และความน่าทึ่งของโรคนี้คือ ยามช็อกนั้น...
          เด็กๆ หรือผู้ป่วยเหนื่อยแน่น ซึม ทุรนทุราย ราวมีเพียงเส้นบางๆขั้นชีวิตกับมัจจุราช แต่ตอนหาย "เด็กกลับสดใสร่าเริงในวันถัดกันราวกับไม่เคยป่วยมาก่อน"
 
 4. "คนไทย..ป่วยกันมากน้อยเพียงใด" จากข้อมูลเบื้องต้น เห็นว่า ปี 2550 นั้นมีคนป่วย 62,699 คนจาก 60ล้านคน เป็นสัดส่วน 1ต่อ 1,000 คน ประชากร ซึ่งถือว่าเยอะมาก แสดงว่ามีคนป่วยด้วยไข้เลือดออก เฉลี่ยถึงวันละ 170 คน หากในความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะเดือนระบาดหนักๆ นั้น อาจมากถึง 2 เท่าทีเดียว

ไข้เลือดออก


 5. "ปีนี้สถานะการณ์ไข้เลือดออกจะเป็นอย่างไร" ขอให้ลองดูข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคอีกครั้งจะพบว่า ปีนี้เริ่มมาต้นปี ถึง 10 พฤษภาคม 2551 (19 สัปดาห์) ป่วยไปแล้ว 13,943 ราย ตายไปแล้ว 16 ราย มากกว่าทุกปีที่มีสถิติมาเทียบ และมากกว่าปีก่อน 1.7 เท่า (2550 มกราคม - พฤษภาคม ป่วย 8,094 และตาย 9 คน ที่เดือนเดียวกัน) นั่นแปลว่า สถานการณ์ปีนี้รุนแรงมาก ตั้งแต่ต้นปี ทั้งที่ยังไม่เข้าวาระ "ระบาดทางคลินิก" ซึ่งจะรุนแรงในช่วง พฤษภาคม - สิงหาคม ของทุกปี  
          มีความเชื่อกันว่ายุงลายทำให้โรคระบาดมากขึ้นเพราะสิ่งแวดล้อมโลก เช่นภาวะ โรคร้อน ฤดูกาล ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง สับสน หากหยุดยั้งไม่ได้ การเจ็บป่วยโรคนี้ในปีนี้อาจเป็นถึง เกือบ 2 เท่า คนตายอาจต้องมากตามไปด้วย แปลว่า ต้องมีครอบครัวผู้ได้รับความเสียใจมากขึ้น และแพทย์ก็จะต้องถูกเป็นจำเลยมากขึ้น...จากพฤติกรรมของยุง และสิ่งแวดล้อมอย่างไม่ต้องสงสัย...
          ที่น่าสังเกตคือวงรอบความรุนแรง คล้ายเป็น 4 ปีครั้ง เพราะการนำโรคจาก "ยุงลาย" ที่ทุกท่านทราบดี  
 6. "โศกนาฏกรรม จากยุงลาย" ยุงลายนั้นทำให้เกิดโศกนาฏกรรม ใน 3 ระดับคือ 
          1. ระดับครอบครัวที่ต้องสูญเสียบุตรหลาน ปีนี้คาดว่าลูกหลานน่ารักของท่าน อาจกว่าร้อยคนต้องถูกส่งไปสังเวยโศกนาฏกรรมนี้ ขณะที่อีกกว่า 6 หมื่นคนต้องเจ็บป่วย หยุดงานไปจนถึงนอนโรงพยาบาล ขาดรายได้ ขาดเรียน ขาดงาน...ตีมูลค่าความเสียหายไม่ได้
          2. ระดับรัฐ ต้องเสียค่ารักษาจากงบประมาณของรัฐ อีกหลายสิบล้านบาท เพิ่มภาระงาน โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมอ พยาบาล และซ้ำร้าย เป็นโรคที่มีกลไกเข้าใจยาก  ผู้ที่สูญเสียที่มิได้เตรียมใจย่อมเป็นทุกข์ ก่อให้เกิดประโยค ตอนต้นของบทความนี้ และในยุคที่การฟ้องร้องมากมาย
          3. ระดับที่ คือความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ที่ไม่เข้าใจกัน ความผิดหวังที่รับไม่ได้ในกรณีเสียชีวิตของบุตรหลาน การฟ้องร้องที่จะเกิด จากยุงที่เป็นฆาตกรหลักที่ลอยนวล อาจเปลี่ยนเป็นแพทย์ผู้รักษาโรคต้องถูกพิจารณาเป็นจำเลยหากคนไข้เสียชีวิต เช่นเดียวกับฆาตกร โดยที่สังคมและชุมชนรอบๆ ตัวผู้ป่วยอาจยังไม่เคย หรือละเลยในการกำจัดยุงลายด้วยซ้ำไป ...

          ลักษณะโรคที่เป็นเช่นนี้ ญาติผู้ป่วยย่อม โกรธ เสียใจ ผิดหวัง นำไปสู่กระบวนการดังกล่าวได้โดยง่าย สัมพันธภาพผู้ป่วยและแพทย์ภาครัฐที่เปราะบาง ยอมหวั่นไหว สัญชาติญาณ การรักตน รักครอบครัว กลัวการฟ้องร้อง อาจทำให้แพทย์ต้องรั่วออกจากระบบที่ขาดแคลนกว่า 2,000 คน ไปอีกหรือไม่ กระทรวงสาธารณสุขเจ้าภาพจะเตรียมแก้ไขปัญหาเพื่อคุ้มครองประชาชนอย่างไร?? กองทุนต่างๆ การไกล่เกลี่ย เยียวยา สังคม และดูแลบุคลากรของท่าน พร้อมหรือไม่...
          หากถามว่าควรจะแก้ไขได้อย่างไร? ต้องย้อนกลับไปดูกระแสพระราชดำรัสว่า 
          "โครงการปราบยุงลายคั่งค้างมานานแล้ว และอันตรายยังมีอยู่มาก อยากให้ปราบปรามอย่างจริงจัง อันตรายจากโรคไข้เลือดออกจะได้ทุเลาลง"
          พระราชทาน ณ วังไกลกังวล 24 สิงหาคม 2542 แสดงความห่วงใยของในหลวง ในสถานการณ์และแสดงแนวทางการแก้ไขชัดเจน...

ไข้เลือดออก

          ส่วนวิธีการทั้งหลาย นั้นผมขออนุญาตไม่กล่าวถึงในที่นี้ครับ เพราะมีการรณรงค์ทั่วไปหมดแล้ว ท่านหาอ่านได้ไม่ยาก และหากต้องการความรู้เพิ่มเติม และสถิติการป่วยและตายทุกสัปดาห์ อ่านได้จาก https://dhf.ddc.moph.go.th/ ครับ 
          ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยคุณหมอ กิตติ ปรมัตถผล ท่านทำไว้ดีมาก และแนวทางการรักษานั้นก็โหลดสามารถดูได้ที่ https://dhf.ddc.moph.go.th/project/student/Pagiranaka.zip

 บทสรุปคือ

          "อย่าปล่อยให้ฆาตกร (ร้อยศพ) ลอยนวล"
          ก่อนโศกนาฏกรรมบทใหม่จะเริ่มบรรเลง 
          ท้ายสุดบุคคลในครอบครัวที่ท่านรัก...ประชาชน และบุคคลากรการแพทย์กลับต้องเป็นผู้สูญเสีย...
          เริ่มจัดการ "ยุงลาย" ในบ้านท่าน..เสียแต่วันนี้เถอะครับ

          ด้วยความปรารถนาดี
          นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ
          ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  

Link  
https://www.siamhealth.net
https://office.bangkok.go.th
https://hilight.kapook.com

อัพเดทล่าสุด