การสังเกตอาการไข้เลือดออกในเด็ก


1,805 ผู้ชม


การสังเกตอาการไข้เลือดออกในเด็ก ไข้เลือดออกในเด็ก ไข้เลือดออกในเด็กเล็ก

การสังเกตอาการไข้เลือดออกในเด็ก

วิธีสังเกตุ..อาการไข้เลือดออกแบบง่ายๆในเด็ก

ไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร 

fever dengue ยุง mosquito , ยุงลาย petachiae

ปกติ คนที่โดนยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดครั้งแรก อย่างมากจะเกิดเป็นไข้ เดงกิ่ว(Dengue Fever ) ซึ่งอาการไม่รุนแรง ไม่มีช้อค แต่ถ้า ในปีถัดๆ มาโดนยุงที่มีเชื้อกัดอีก อาจจะทำให้เกิดปฏิกริยาเป็นไข้เลือดออกได้ เพราะฉะนั้นเด็กเล็กๆโดยเฉพาะต่ำกว่าขวบจึงไม่ค่อยเป็นไข้เลือดออก ครับ 
อาการไข้เลือดออก จะเริ่มด้วยไข้สูงๆ มากๆๆ ประมาณ สามสี่วัน อาจจะมีตาแดงๆ ท้องอื่ด ปวดท้อง อาเจียน(มักมีปวดท้องอาเจียนร่วมด้วยเกือบทุกคน) ไข้จะสูงลอยกินยาไม่ค่อยลดง่ายๆ
 
บางคนอาจจะมีจุดเลือดออกตามตัวให้เห็นหรือ มีเลือดกำเดาออก อาเจียรเป็นเลือดสีกาแฟดำ ให้เห็น(มักจะเป็นตอนวันท้ายที่เป็นมากแล้ว)
 
ไข้จะสูงอยู่ สี่วันหลังจากนั้น จะเข้าระยะไข้ลด ระยะนี้เป็นช่วงที่น่ากลัว ความดันจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ช็อค ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้ทัน อาจจะเสียชีวิตได้
 
ที่ว่าไข้เลือดออกตัวร้อนตัวเย็น ไม่ใช่เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็นนะครับ หมายถึงร้อนจัดๆๆไม่ค่อยลด สี่วันก่อน ลดลง ตอนวันที่สี่ ย่างเข้าวันที่ห้า ตอนหนักนี่แหละครับ  

ไข้เลือดออก ในเด็ก

ไข้เลือดออก ในเด็ก

ไข้เลือดออกในเด็กไข้เลือด ออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่มียุงลายเป็นตัวแพร่เชื้อไม่มียารักษาเฉพาะ รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ ให้น้ำเกลือในรายที่อ่อนเพลีย อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ และในรายที่เป็นรุนแรงจะมีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้มีเลือดออกและอาจต้องให้เลือดทดแทน

อาการของไข้เลือดออก
 มี ไข้สูงลอย 2-7 วัน ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามตัว การรับประทานยาลดไข้มีจุดประสงค์ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น ลดอาการปวดศีรษะและป้องกันการชักจากไข้สูงในเด็ก ฉะนั้นไข้จึงแค่ลดต่ำลงและจะหายตามระยะเวลาของโรค

การดูแลเบื้องต้น
 - เช็ดตัวลดไข้ในผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง
 - การรับประทานยาลดไข้ ควรเป็นยาในกลุ่มพาราเซตามอล เช่น เทมปร้า คาลปอล ไทลีนอล ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่ม แอสไพริน หรือบรูเฟนหรือยาลดไข้สูงอื่นๆ
 - ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่ายรสไม่จัด และควรงดอาหารหรือน้ำที่มีสีแดง ดำ น้ำตาล เพราะในผู้ป่วยไข้เลือดออกต้องคอยสังเกตว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือ เปล่า โดยสังเกตจากอาเจียนหรือถ่าย ถ้ารับประทานอาหารที่มีสีคล้ายเลือดจะทำให้สังเกตได้ยากว่าเห็นเลือดหรือ อาหารที่ทานเข้าไป
 - หากผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ให้ดื่มนม น้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้

อาการที่ควรรีบมาพบแพทย์
 - เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนมาก กินไม่ได้ ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง ง่วงซึม กระสับกระส่าย
 - มีอาการแสดงสภาวะช็อค เช่น ชีพจรเบาเร็ว มือเท้าเย็นกระสับกระส่าย
 - มีเลือดออกจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
 - ปวดท้องอย่างรุนแรง อาการทั่วไปแย่ลง

ระยะไข้ลด หมายถึง อุณหภูมิในตัวผู้ป่วยลดลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นระยะอันตรายของโรค ผู้ป่วยอาจช็อค หรือมีเลือดออกได้ เป็นระยะที่ต้องดูแลใกล้ชิด อาจต้องวัดความดันโลหิตทุก 1-2 ชั่วโมง หรือต้องสังเกตว่ามีเลือดออกหรือเปล่า
ระยะช็อค ในระยะไข้ลดเกิดจาก เกิดจากไข้เลือดออก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดมีผลให้น้ำที่อยู่ในเส้นเลือดรั่ว ออกจากเส้นเลือด เลือดในเส้นเลือดจึงมีความเข้มข้นสูง การไหลเวียนของเลือดไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดี จึงเกิดภาวะช็อคได้

 การเจาะเลือด เพื่อตรวจดูระดับของเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด เพื่อจะใช้เป็นตัวพิจารณาเพิ่มหรือลดอัตราเร็วของน้ำเกลือ ชนิดของน้ำเกลือหรือเลือดที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับ  ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่จำเป็นทุกรายที่จะเลือดออกมาก  ผู้ป่วยที่เป็นไม่รุนแรงจะมีเลือดออกไม่มาก เช่น เลือดออกที่ผิวหนังเป็นจุดแดง หรือมีเลือดกำเดาไหล ส่วนผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงหรือมีระยะถึงช็อคอยู่นานๆ อาจมีเลือดออกมากจนต้องได้รับเลือดทดแทน

อาการปวดท้อง สาเหตุเพราะใน ระยะแรกๆ ที่มีไข้สูงผู้ป่วยอาจทานได้น้อย มีคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้น้ำย่อยทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงมีอาการเหมือนโรคกระเพาะ

อาการ แน่นท้อง ท้องอืดโต สาเหตุเพราะผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีตับและม้ามโต ทำให้มีอาการท้องอืดโตได้และผู้ป่วยไข้เลือดออกมีการรั่วของน้ำจากหลอดเลือด เข้าไปอยู่ในช่องท้องและช่องปอดทำให้ท้องอืด แน่นท้อง แน่นหน้าอกได้ เมื่อโรคหายอาการต่างๆ จะหายไปเอง

การป้องกัน
 -กำจัดยุงลาย โแหล่งน้ำที่เป็นที่เพาะพันธุ์ยุง
 - ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
 - ถ้ามีไข้ 2-3 วัน แล้วไข้ไม่ลด ควรไปพบแพทย์
 - ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เฝ้าระวังอาการผิดปกติที่ต้องนำผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์ทันที

  โรคไข้เลือดออก



โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 - 10 ปี โรคนี้มักระบาดในฤดูฝน ความรุนแรงของโรค และอาจทำให้ตายได้ คือ ระยะช็อค และเลือดออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ระยะไข้ลด ดังนั้น ผู้ปกครองหรือพ่อแม่ต้องเอาใจใส่ และมีความรู้ในการดูแลบุตรหลานของท่านอย่างดี
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ เด็งกี่ กับ ชิกุนคุนยา โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก และออกหากินในเวลากลางวัน ยุงลายชนิดนี้ ชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ ที่อยู่ใต้ตุ่มน้ำ กระป๋อง กะลา และหลุมที่มีน้ำขัง หรือจานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ เราพบว่า ไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรง หรือช็อคจะเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่
อาการและอาการแสดง
ระยะที่ 1: ระยะไข้สูง
ไข้สูงตลอดเวลา (39 - 40 องศาเซลเซียส)
หน้าแดง ตาแดง ไอ เจ็บคอ
ปวดศีรษะ กระหายน้ำ
ซึม เบื่ออาหาร และอาจปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือชายโครงขวา มีผื่นแดงขึ้น (ไม่คัน) ในวันที่ 3 ของไข้ ตามแขนขา ลำตัว รักแร้ เพดานปาก กระพุ้งแก้มและลิ้นไก่ ผื่นนี้อาจมีจุดเลือดออกเป็นจุดแดงเล็กๆ
**ระยะที่ 1 ใช้เวลา 4 - 7 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรง ไข้ก็จะค่อยๆ ลดลง และเด็กจะแจ่มใสขึ้น
ระยะที่ 2 : ระยะช็อคและมีเลือดออก
จะเกิดขึ้นในช่วงไข้ลด ประมาณวันที่ 3 - 7 ของโรค
พบอาการปวดท้องมากขึ้น กดเจ็บเล็กน้อยตรงใต้ชายโครงขวา
ตัวเย็น ซึม เหงื่อออกตามตัว
ปัสสาวะน้อย
ผู้ป่วยกระวนกระวาย และอาจมีจุดแดงๆ เหมือนมีเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรือสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระสีดำ
**ระยะนี้ ใช้เวลา 24 - 72 ชั่วโมง ถ้าแพทย์สามารถแก้ไขได้ทัน ผู้ป่วยจะดีขึ้น และเข้าสู่ระยะที่ 3
ระยะที่ 3 : ระยะฟื้นตัว
เด็กจะเริ่มอยากอาหาร ร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็วจนเข้าสู่ภาวะปกติ ตลอดระยะเวลาของโรค มักไม่เกิน 9 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรงจะใช้เวลาเพียง 3 - 4 วัน ผู้ป่วยอาการจะดีขึ้นได้เอง
การป้องกัน
1. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น - ปิดฝาตุ่ม - ใส่ยาฆ่าแมลงในน้ำหล่อขาตู้กับข้าว - ทำลายกระป๋อง กะลา หรือยางรถที่มีน้ำขังอยู่
2 เด็กที่นอนกลางวันควรนอนกางมุ้ง หรือมีมุ้งครอบ
การดูแล
1 ระยะไข้สูง ควรเช็ดตัวลดไข้, ให้ดื่มน้ำมากๆ
2 ห้ามไม่ให้ยาลดไข้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น ควรให้พาราเซตามอลเท่านั้น
3 ดูแลให้อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อน พวกข้าวต้ม นม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้
4 ให้ดื่มน้ำมากๆ
5 เฝ้าดูแลอาการอย่างใกล้ชิด
ถ้าพบอาการต่อไปนี้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
- ปวดท้องกระสับกระส่าย ซึมมาก - ปวดท้องบริเวณยอดอก หรือลิ้นปี่ - อาเจียนมากขึ้น รับประทานอาหาร, น้ำไม่ได้ หรือได้น้อยมาก - มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
ขอย้ำ

**ผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีอาการรุนแรงที่สุด ในวันที่ไข้เริ่มลดลง ต่างจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นในวันที่ไข้ลดลง**

**ขณะนี้ยังไม่วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก**

Link  
https://www.oknation.net
https://www.oknation.net
https://www.thaiparents.com

อัพเดทล่าสุด