ไข้เลือดออก อาการ ไข้เลือดออกระบาด ไข้เลือดออกอาการ
| ||||||||
| ||||||||
หัวข้อ | ||||||||
| ||||||||
| ||||||||
ไข้เลือดออกระบาด
ระวัง!! "ไข้เลือดออก" ระบาดหนักแล้ว
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
เว็บไซต์ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์ แจ้งว่า สัปดาห์ที่แล้วสัปดาห์เดียว สิงคโปร์พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 401 คน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดในปีนี้ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งไว้ ว่าหากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ 378 คน ขึ้นไปในสัปดาห์เดียวจะประกาศว่าเกิดการระบาด
ทั้งนี้ นอกจากสิงคโปร์แล้ว ประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ไทย มาเลเซียและกัมพูชา ก็กำลังมีปัญหาไข้เลือดออกระบาดเช่นกัน สาเหตุเกิดจากอากาศที่ร้อนขึ้น และฝนตกเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่า ปีนี้อาจเป็นปีที่ไข้เลือดออกระบาดหนักที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผศ.เหลียว หยีซิน ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ศูนย์โรคติดต่อในสิงคโปร์เตือนว่า ช่วงกลางเดือนสิงหาคมและกันยายนอาจเป็นช่วงที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่ สุด เพราะเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ด้านฝ่ายสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมจึงขอให้ประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุง เพราะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาไข้เลือดออกระบาด
ไข้เลือดออก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ เด็งกิ่ว โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ
อาการ พบมากช่วงอายุ 5 – 9 ปี อาการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข้สูง (2 - 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นอย่างเฉียบพลัน เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ คอแดงเล็กน้อย ปวดบริเวณลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มีอาการซึม หน้าแดง ผิวหนังแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้น และจุดเลือดออกเล็กๆ ตามผิวหนัง บางรายอาจมีเลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน
2. ระยะวิกฤต/ช็อก (1 - 2 วัน) ระยะเลือดออก ไข้ลดลงเร็ว กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว เบื่ออาหารมากขึ้น ไม่รับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ เมื่อเข้าสู่ระยะช็อค ชีพจรจะเบาเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่ายมากขึ้น เหงื่อออก ปัสสาวะน้อย บางรายมีอาการอาเจียนเป็นเลือด อาจเสียชีวิตได้ ระยะช็อคจะอยู่ประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง ถ้าไม่เสียชีวิตจะเข้าสู่ระยะที่ 3
3. ระยะฟื้นตัว (2 - 3 วัน) เมื่อพ้นจากระยะที่ 2 จะเข้าสู่ระยะปรกติ คือ ผู้ป่วยจะสบายขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการต่างๆ จะหายไปภายใน 2 - 3 วัน และเริ่มรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้
การดูแลรักษา
รักษาตามอาการ และความรุนแรง ถ้าอาการไม่รุนแรง อาจหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษา ในรายที่รุนแรง รักษาตามอาการ หรือรักษาประคับประคองไม่ให้ทรุดหนัก โดยให้อาหารอ่อนย่อยง่าย นม น้ำผลไม้ และน้ำในรูปเกลือทดแทนถ้าอาเจียนมาก น้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยหรือบ่อยๆ ให้ยาแก้อาเจียน
ข้อห้าม
ไม่ควรให้ยาแอสไพริน ลดไข้รับประทานถ้าไม่จำเป็น เพราะฤทธิ์ยาจะทำให้เส้นเลือดเปราะและแตกง่าย หรืออาจทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคผิดได้ เนื่องจากสับสนกับอาการเหงื่อออกจากฤทธิ์ยาลดไข้ กับอาการตัวเย็นชื้นที่จะเข้าสู่ภาวะช็อค
ข้อควรปฏิบัติ
ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ หรือให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อเป็นการลดไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันการชักจากไข้สูง
ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
Ø มีอาการซึมลง เมื่อไข้ลด
Ø มีเลือดออกผิดปกติ
Ø ปวดท้อง อาเจียนมาก กระหายน้ำตลอดเวลา
Ø มีอาการช็อก: กระสับกระส่าย เอะอะ โวยวาย มือเท้าเย็น ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย ปัสสาวะน้อย
Ø ร้องกวนในเด็กเล็ก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ
การป้องกัน
ยุงลายกัดเวลากลางวัน พบในบ้านและรอบๆ บ้าน สามารถบินในระยะไม่เกิน 50 เมตร ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ควรปฏิบัติดังนี้
1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงลายกัด ให้เด็กนอนกางมุ้งเวลานอนกลางวัน
2. ทำลายยุงตัวแก่ โดยการพ่นหมอกควัน และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่ไปพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย
3. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำขัง ทั้งในบ้านและนอกบ้าน
ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
หมั่นตรวจดูแจกัน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 7 วัน
ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
ใส่ทรายอะเบทลงในจานรองกระถางต้นไม้ และภาชนะที่มีน้ำขัง
เก็บทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้ว เช่น กลบ ฝัง เผา หรือ ทำสิ่งปกคลุมให้มิดชิด
คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง
ใส่ เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองตู้กับข้าว ข้างละ 1 ช้อนโต๊ะ เทน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชันยาเรือ ขี้เถ้าโดยไม่ต้องใส่น้ำ
หมั่น ตรวจดูลูกน้ำยุงลาย ในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในและนอกบ้านทุก 7 วัน ถ้าพบทำลายทันที โดยอาจเทน้ำทิ้ง และ ขัดถูภาชนะ หรือ ช้อนลูกน้ำทิ้ง
ยางรถยนต์เก่า ใส่ดินให้เต็ม ทำเป็นที่ปลูกต้นไม้ เก็บไว้ในที่ร่ม หรือเจาะรูยางรถก่อนทิ้ง เพื่อป้องกันน้ำขัง
ข้อมูลจาก
และ กรมอนามัย
Link
https://guru.sanook.com
https://hilight.kapook.com