ไข้เลือดออก การ รักษา


1,627 ผู้ชม


ไข้เลือดออก การ รักษา ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ ไข้เลือดออก คือ

ไข้เลือดออก การ รักษา

โรคไข้เลือดออก

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง

การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเอง ถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้แต่ก็มีบางคน

แต่ผู้ป่วยร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้

  1. ให้ผู้ป่วยพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี
  2. ระหว่างที่มีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขนขา และพักบริเวณรักแร้ แผ่นอก แผ่นหลัง ขาหนีบสลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นก็หยุดและห่มผ้าบางๆ ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชักได้ โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติชักตั้งแต่เด็ก
  3. ให้รับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้ ควรจะให้แต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้อื่น เช่นแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาหัวสิงห์ ยาไอบรูเฤน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แอสไพรินยังทำให้เกิดโรค Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เฉพาะเมื่อเวลาไข้สูงเท่านั้นโดยให้ไข้ต่ำกว่า 39 องศา การให้ยาลดไข้มากไปอาจจะมีพิษต่อตับ การดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอก็ช่วยให้ไข้ต่ำลงได้บ้าง
  4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม
  5. อาหารควรจะเป็นอาหารอ่อน ยอยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนแนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีดำหรือแดง
  6. ควรจะหลีกเลี่ยงยาอื่นโดยไม่จำเป็น
  • ถ้าอาเจียนมากอาจจะพิจารณาให้ยา domperidone แบ่งให้ 3 เวลาควรให้ช่วงสั้น
  • หากผู้ป่วยใช้ยากันชักก็ให้ใช้ต่อ
  • steroidไม่ควรให้
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ

  1. จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบ และป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา ช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ไข้ลง ประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
  • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง มีเลือดออก เช่นเลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
  • อาเจียนมากตลอดเวลา
  • ปวดท้องมาก
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ต้องนั่ง
  • ผู้ป่วยซึมไม่ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
  • กระหายน้ำตลอดเวลา
  • กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่นพูดไม่รู้เรื่อง
  • ตัวเย็น เหงื่ออก ตัวลาย
  • ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง

ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดตรวจทุกวัน หรืออาจจะนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ

  1. เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วัน และทำการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เม็ดเลือดขาวต่ำลงพร้อมกับเกร็ดเลือดต่ำลง และมีความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากกระแส เลือด และอาจจะช็อคได้
  2. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไป ด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtouniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง

ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่

ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่

ไข้เลือดออกมาก โดยความเข้าใจของเรา ๆ มักจะพบว่าเป็นกับเด็ก ๆ แต่ในความเป็นจริง ผู้ใหญ่ ก็เป็นได้

        เข้า-ออกโรงพยาบาล   ช่วงนี้ พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกมาก   โดยความเข้าใจของเรา ๆ มักจะพบว่าเป็นกับเด็ก ๆ    แต่ในความเป็นจริง  ผู้ใหญ่ ก็เป็นได้  และค่อนข้างจะหนัก เพราะเชื้อไข้เลือดออกปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง  และด้วยการวินิจฉัยโรค และการหาสมมุติฐานของโรคที่ไม่รัดกุมพอ  อาจมีการให้ยารักษาที่มีตัวยาบางอย่างไปกระตุ้นอาการป่วย  ให้ทรุดหนัก  และถึงชีวิตได้  ( ผมยืนยันได้เพราะมีหลานเสียชีวิตเนื่องมาจากสาเหตุ และการให้ยารักษาที่ผิดพลาด )  ที่พบผู้ป่วยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งไปรักษากับคลินิกเอกชน  จนเกือบจะพลาดเพราะการวินิจฉัย  และไม่ได้ตรวจเลือดของผู้ป่วย  นักเรียนได้เข้าห้อง  ICU 3 วัน  โชคเธอดี  ที่ได้รับการเยียวยาอย่างถูกวิธี  ปัจจุบัน เธอไปพักฟื้นที่ห้องพักผู้ป่วยประกันสังคม  ( ทำไมนักเรียนไปอยู่ที่ห้องประกันสังคมได้เพราะ ครอบครัวของเธอฐานะยากจน  เธอต้องไปทำงานที่ 7-eleven จึงได้สิทธิการรักษาตนเอง ) เธอโชคดี  ที่ออกจากห้อง ICU แล้ว และกำลังจะได้กลับบ้าน  โดยผู้ที่มาดูและเธอโดยตลอดคือ แม่ – พ่อ ของเธอ  ได้ไปคุยกับเธอบ้าง  เพราะวันแรกๆ ดูมีกังวล  เพราะกำลังจะสอบปลายภาค  และสอบ A –net และ O-net ก้อได้บอกเธอไปว่า  รักษาตนเองก่อน  เรื่องที่เรียนโรงเรียนจะดูแลให้ภายหลัง  วันนี้เธอโชคดีที่ได้รับการดูแลจาก หมอ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ดูแลคนไข้ ที่เอาใจใส่อย่างดี    
            กับนักเรียนคนนี้ที่ป่วย  ทำให้ได้แง่คิดว่าผู้ใหญ่มัวแต่ระวังเด็กไม่ให้ยุงกัด จะได้ไม่เป็นไข้เลือดออก    แต่กลับกันผู้ใหญ่โดนยุงกัดมาก ๆ เลยเป็นไข้เลือดออกซะเลย  และด้วยความที่หายาทานเองได้  ไปทานยาที่บางตัวแทนที่จะหายจากโรค   กลายเป็นผู้ใหญ่หายไปจากโลกซะเอง
            ที่กล่าวถึงตอนแรกไม่ได้หมายความว่า  คลินิกไม่ดี  เดี๋ยวหมอ  ว่าเราแย่เลย  ตรงนี้ขอให้แง่คิดว่าความรอบคอบและการมีประสบการณ์ที่จะช่วยผู้มารับการรักษา อยู่รอดและปลอดภัย

รคไข้เลือดออก คือ อะไร

  
               โรคไข้เลือดออก คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสซึ่งแพร่ระบาดโดยยุง โรคนี้เป็นโรคที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว ร่างกายจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้ป่วยซ้ำได้อีก แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากเชื้อไวรัสของไข้เลือดออกมีหลายสายพันธุ์ หากถูกกัดจากยุงลายที่มีเชื้อของไช้เลือดออกสายพันธุ์อื่น ก็สามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกซ้ำได้อีก

                ยุงลายตัวเมีย จำเป็นต้องใช้เลือดเพื่อช่วยในขบวนการวางไข่ของมัน เพราะว่าในเลือดจะมีโปรตีนที่จำเป็นกับการสร้างไข่ของยุง ไม่ว่าเลือดนั้นจะมาจากคนหรือสัตว์ก็ตาม ยุงที่ได้รับเลือดจากอาหารหนึ่งมื้อ ( หรือ การกัดหนึ่งครั้ง ) มันจะสามารถวางไข่ได้ถึง 250 ฟอง ต่อครั้ง เมื่อยุงกัดคน มันจะเข็มหรือปากของมันแทงผ่านเข้ามาทางรูขุมขน และใช้น้ำลายที่มีฤทธิ์ช่วยทำให้เลือดไม่แข็งตัว และจากน้ำลายของยุงนี้เอง ที่เชื้อไวรัสของไข้เลือดออก สามารถแพร่มาจากยุงสู่คนได้ โดยที่ยุงลายจำเป็นต้องไปกัดคนที่ติดเชื้อมาก่อน แล้วไปจึงไปกัดคนอื่นเพื่อแพร่เชื้อต่อๆไป

                เพราะว่าโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องมียุงเป็นพาหะ การแพร่ระบาดของโรคจึงมักเกิดในที่มียุงชุกชุม เช่น ในบริเวณที่มีน้ำนิ่งหรือ บริเวณที่มีขยะให้ยุงได้มีโอกาสฝักตัวได้ หรือ ในฤดูฝน

                มีการประมาณการว่า คนทั่วโลกเป็นไข้เลือดออก กันมากขึ้นปีละ 50 – 100 ล้านคนต่อปี แต่อย่างไรก็ดี หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นโรคที่อันตรายนัก ความอันตรายของไข้เลือดออก เกิดจากปัญหาของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และ บางครั้งการวินิจฉัยก็เป็นเรื่องยาก เพราะอาการเริ่มต้นของไข้เลือดออก ก็คล้ายๆกับอาการของโรคหวัดอื่นๆทั่วไป  บางครั้งกว่าจะได้รับการเจาะเลือดและตรวจอย่างละเอียด อาการของโรคก็รุกรามไปมากเสียแล้ว เพราะฉะนั้นหากสงสัยว่า บุตรหลานของท่านมีโอกาสที่จะป่วยเป็นไข้เลือดออกก็อย่ารอช้า ให้รีบพบแพทย์ทันที

โรคไข้เลือดออก คือ อะไร

Link  
www.siamhealth.ne
https://www.gotoknow.org/
https://www.sukapapdeedee.com

อัพเดทล่าสุด