โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจโตอย่างไร


2,640 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจโตอย่างไร สาเหตุโรคหัวใจโต โรคหัวใจโต สถิติ

หัวใจโต article

คำ ถามที่ผู้ป่วยถามเกี่ยวกับ "หัวใจโต" ได้ยินกันเสมอในหมู่อายุรแพทย์ และ แพทย์โรคหัวใจ เป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มี “โรคหัวใจโต” มีแต่ “ภาวะหัวใจโต” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ หัวใจก็เป็นอวัยวะเช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ เมื่อต้องทำงาน หนักมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาอื่นๆ ก็อาจทำให้ขนาดหัวใจโตขึ้น ดังนั้น หัวใจที่โตขึ้นจึงไม่ใช่ “โรค” แต่เป็นผลตามมา เนื่องจากโรคอื่นๆ

หัวใจโต โตจากอะไร

ขนาด หัวใจที่โตกว่าปกตินั้น อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพคนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อหัวใจก็เช่นกัน หากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือ ลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือด คั่งค้างในห้องหัวใจมากคล้ายลูกโป่งใส่น้ำ ทำให้ขนาดโตขึ้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจ ที่เป็นดาราประจำก็ คือ ความดัน โลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนา กว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

รู้ได้อย่างไรว่าหัวใจโต

ภาวะ หัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และ อาการจาก หัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มากกว่าที่จะ บอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็นคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ เอกซเรย์ทรวงอก (ปอดและหัวใจ) หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือ เคยมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ให้เห็นจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่อย่างไรก็ตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความว่า แม้คลื่นไฟฟ้า หัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต หรือ ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจบอกว่าโต แต่จริงๆแล้วไม่โตก็ได้ เอกซเรย์ ทรวงอกบอกขนาด หัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็ผิดพลาดได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจกับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์ แต่จริงๆแล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย

ใน ทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็ เป็นได้ ต้องเข้าใจว่า การตรวจเหล่านี้ ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการให้ความเห็นและรักษา กรุณาอย่าคิดว่าแพทย์สั่งตรวจมากๆเพราะไม่เก่งหรือเพราะต้องการค่าแพทย์มากๆ

ตรวจวิธีไหน ดีที่สุด

ไม่ มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากในปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง หรือ คลื่นอัลตราซาวน์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocardiography) หลักการคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียงเสียง ความถี่สูง ทะลุผ่านอวัยวะต่างๆที่จะตรวจเมื่อผ่านส่วนต่างๆคลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อน กลับ ความสามารถในการสะท้อนกลับขึ้นอยู่กับชนิดของ เนื้อเยื่อที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้สัญญาณการ สะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะบันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหากตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ เห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจ เห็นกล้ามเนื้อหัวใจ และ ความ สามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงให้รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชนิดนี้ไม่เห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และเห็นภาพไม่ชัดนักในผู้ป่วยที่อ้วนหรือมีโรคปอด (ยกเว้นการตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)

ใครบ้างควรตรวจ เอคโค่

ผู้ ที่มีอาการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถ    ในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้นแล้วผู้ที่เอกซเรย์พบว่าขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจ จะพิจารณาเป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน หากพบว่า หัวใจโตจากเอกซเรย์ก็ควรตรวจละเอียดเช่นกัน เนื่องจาก ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการ

เป็นแล้วรักษาอย่างไร

การ รักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ หรือรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น แม้ว่าการรักษาอาจ ไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจากเอกเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้โตขึ้นเรื่อยๆได้

โรคหัวใจโตมีสาเหตุมาจากอะไร

   
            หัวใจปกติของคนเรามีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของหัวใจ แต่หากหัวใจที่โตกว่าปกติ มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ อันเนื่องมาจากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้

            อีกสาเหตุหนึ่งคือ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น หัวใจโตไม่ใช่โรค แต่มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติ  โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม เป็นต้น             

            เมื่อโรคหัวใจในผู้ป่วยกำเริบถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะหัวใจโต ซึ่งจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  หัวใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ภาวะหัวใจโต จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่จะแสดงออกตามอาการของโรคที่เป็นต้นเหตุ  ซึ่งสาเหตุต่างๆ มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง เมื่อหัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในคนปกติการสูบฉีดโลหิต จะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่หากคนที่ใช้กำลังมาก เครียดมาก หรือมีโรคหัวใจแทรกซ้อน ความแรงในการสูบฉีดโลหิตก็จะแรงมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดแดงทำงานหนักจากการที่หัวใจสูบฉีดด้วยความแรงตลอดเวลา จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงยืดขยายตัวมาก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในสภาวะปกติ หัวใจก็จะขยายมากขึ้นเป็นลำดับ
  • โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคนี้มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ค่อนข้างจะยากจน มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อก็ลามลงไปที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  • โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด
  • โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคหัวใจแทรกซ้อน จะพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกายมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความ รุนแรงของโรค นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องด้วย
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม จะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติไม่เท่ากันในแต่ละส่วนระหว่างห้องหัวใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  • โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องเรื้อรัง

            ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจโต  ควรได้รับการตรวจความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติ จะได้รีบรักษาได้ทันท่วงที 

โรคหัวใจโต สถิติ

“กลางดึกคืนหนึ่ง รู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก เหมือนหัวใจจะหยุดเต้น รีบคว้ายามากิน ยาไปกระตุ้นหัวใจให้เกิดการทำงานใหม่ ทำให้รอดตายมาได้”

คุณไพศาล วิชชากรธัญศิริ อายุ ๗๐ ปี เล่าถึงประสบการณ์เฉียดตาย ขณะที่มีอายุ ๕๐ กว่าๆ ด้วยความที่เป็นโรคหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ ต้องพกยาไว้ใกล้ตัวตลอด จนกระทั่งมีเพื่อนแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน สุขภาพจึงเริ่มดีขึ้น…
เริ่มแรกขี่จักรยาน  

เพราะ ภาระหน้าที่การงานที่ต้องดูแล ทำให้ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง โรคที่เป็นอยู่ก็เพียงแค่ไปหาหมอตามนัด แต่ไม่มีเวลาใส่ใจเท่าที่ควร เมื่อมีเหตุการณ์เฉียดตายจึงเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย

เริ่ม รู้สึกว่าตัวเองต้องมีสุขภาพแข็งแรง ช่วงอายุประมาณ ๕๐ ปี เพราะป่วยเป็นโรคหัวใจโต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วงนั้นต้องทำงานอาการจึงแย่ลง มีอาการขัดๆ แน่นๆ ที่หน้าอกอยู่เรื่อย บางครั้งเวลาเครียดอาการก็จะแย่ลง ต้องรีบไปโรงพยาบาล

กลางดึกคืนหนึ่ง รู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก เหมือนหัวใจจะหยุดเต้น รีบคว้ายามากิน ทำให้รอดตายมาได้ 

เริ่ม “เดิน” ออกกำลังกาย แต่ด้วยอายุที่มากทำให้เดินช้าเหงื่อก็เลยไม่ออก จึงเดินเร็ว พอเดินมากๆ จะปวดหลังและหัวเข่า หลังจากนั้นเพื่อนๆ ได้แนะนำให้ลองขี่จักรยาน เพราะมีเพื่อนบางคนป่วยเป็นหลายโรค พอเพื่อนแนะนำเลยซื้อจักรยานมาขี่และชวนภรรยากับลูกชายมาด้วย ซึ่งส่วนมากจะไปขี่จักรยานกันที่สนามจันทร์ ขี่จักรยานต่อเนื่องมา ๑๒ ปี สุขภาพร่างกายก็แข็งแรงขึ้น 

ระหว่างนั้นมีขาดช่วงไป ๒ ปีกว่า เพราะมีช่วงหนึ่งที่สนามจันทร์คืนวัง จึงเกิดความขี้เกียจไปประมาณ ๒ ปี ผลลัพธ์ของความขี้เกียจทำให้หัวใจโตขึ้น ความหนาเพิ่มขึ้น ๙ มิลลิเมตร หรือเกือบ ๑ เซนติเมตร แต่โรคหลอดเลือดตีบกลับดีขึ้น...

ออกกำลังกายไม่สามารถซื้อด้วยเงินได้

ตลอด ระยะเวลาที่ขี่จักรยานมากว่า ๑๒ ปี คุณไพศาลสุขภาพแข็งแรงขึ้นมาก แม้จะไม่หายขาดจากโรคที่เป็น แต่ก็สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ไม่เหนื่อยง่าย สามารถทำงาน และเดินขึ้นลงบันไดโดยไม่เหนื่อย ซึ่งในแต่ละวันคุณไพศาลจะขี่จักรยานช่วงเช้าและกลับมาทำงานตามปกติ

ช่วง เช้าของทุกวัน จะขี่จักรยานวันละ ๑ ชั่วโมง ขี่ได้ประมาณ ๒ ปี อาการแน่นหน้าอกก็หายไป แต่ก่อนบางครั้งต้องทุบหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการ ปัจจุบันไม่มีอาการแล้ว

อีกทั้งโรคหลอดเลือดตีบก็หายดีแล้ว แต่โรคหัวใจโตไม่หาย ตอนนี้หนาเกือบ ๑ เซนติเมตร ผลพวงจากการออกกำลังกายเกือบทุกเช้าก็ทำให้สุขภาพดีขึ้นมาก ซึ่งถ้ามีเวลาว่างไม่ติดธุระ ก็จะไปกับประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดนครปฐม (คุณธวัชชัย เอกธุระประคัลภ์) และกลุ่มประมาณ ๑๐ คัน ขี่ไปตามชนบทได้อากาศดี ทำให้หัวใจไม่แข็งตัว ถ้าหัวใจหนาแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ออกกำลังกาย หัวใจจะเต้นช้าและแข็งตัว

ดังนั้น จึงต้องออกกำลังกายเพื่อให้รู้สึกเหนื่อย และไปกระตุ้นให้หัวใจทำงาน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งตัว และหากเป็นวันอาทิตย์ก็จะขี่จักรยานไปกลับประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร หรืออาจมากกว่านั้น ผมเคยทำสถิติสูงสุด ๒๑๖ กิโล ภายใน ๑ วันพอดี ถ้าหากตอนนั้นไม่ได้ขี่จักรยาน ไม่เกิน ๖๐ คงกลายเป็นผง เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว

ตอนนี้สุขภาพจึงดีขึ้นมาก ฤดูหนาวหรือฝน จะป่วยเป็นไข้หวัด ๒-๓ วันก็หาย ไม่ป่วยนานเหมือนเมื่อก่อนที่พอป่วยครั้งหนึ่งเกือบเดือน...

ชวนคนรอบข้างมาขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ

คุณ ไพศาลจะไปขี่จักรยานกับภรรยาเป็นประจำ ส่วนลูกชายก็ขี่เป็นครั้งคราว และวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนจะหยุดให้ลูกน้องชวนกันไปขี่จักรยาน

จังหวัด นครปฐมมีกลุ่มขี่จักรยานหลายกลุ่ม หากเป็นวัยรุ่นจะใช้ความเร็วสูง แต่กลุ่มสูงอายุส่วนมากอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ก็จะขี่จักรยานเพื่อสุขภาพ ไม่ได้ขี่เพื่อแข่งขัน และกลุ่มที่ไปด้วยกันก็มีความสามัคคีกัน เพราะว่าไม่ต้องแข่งขันกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

อีกทั้งกลุ่มวัยทำ งานจะขี่จักรยานในช่วงเช้า ประมาณตี ๕.๐๐-๕.๓๐น. แยกขี่เป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะมีหลายกลุ่ม บางกลุ่มว่างตอนเย็น บางกลุ่มว่างตอนเช้า หากมีกิจกรรมก็จะมารวมตัวกันโดยให้ความร่วมมือทุกกลุ่ม เป็นพลังและเสน่ห์ของการขี่จักรยาน

การขี่จักรยานเป็นสิ่งที่ผม ภาคภูมิใจ พบใครก็ชอบเล่าให้ฟัง และมีหลายๆ คนสนใจหันมาขี่จักรยานเพิ่มมากขึ้น มีความสุขและมีสุขภาพก็ดีขึ้นทุกคน เพราะการขี่จักรยานจะได้ทั้งบรรยากาศ เพื่อนใหม่ๆ และสุขภาพที่ดีตามมา หากไปซื้อเครื่องออกกำลังกายมาไว้ที่บ้าน จะน่าเบื่อ การขี่จักรยานไปเรื่อยๆ ได้คุยกันบ้างอะไรบ้าง เหนื่อยก็พัก เช้าๆ มีกาแฟ บางทีก็มีน้ำเต้าหู้ โจ๊ก แวะระหว่างทาง กินอะไรเสร็จก็ขี่จักรยานกลับบ้านอย่างสบายใจ

การขี่จักรยาน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องอายุ (ขี่ได้ทุกวัย) ไม่มีข้อห้ามสำหรับเพศ (ขี่ได้ทุกเพศ) สำคัญอยู่ที่ความตั้งใจออกกำลังกายเพื่อการได้มาซึ่งสุขภาพดี 

Link   
https://www.thaiheartweb.com
https://www.sukapapdeedee.com
https://www.doctor.or.th

อัพเดทล่าสุด