โรคหัวใจโตอันตรายไหม


13,473 ผู้ชม


โรคหัวใจโตอันตรายไหม สาเหตุของโรคหัวใจโต โรคหัวใจโต มีอายุได้นานเท่าไหร่

โรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด
   

หัวใจโต (enlarged heart) อันตรายแค่ไหน



หัวใจโต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ...
         หัวใจ โต (enlarged heart)หมายถึง ขนาดของหัวใจที่ตรวจพบว่าโตขึ้น โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ หลายชนิด ขนาดหัวใจที่โตกว่าปกติ...

อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น ในกรณีความดันโลหิตสูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของหัวใจโตขึ้นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น


สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้หัวใจโตมีหลายประการ ได้แก่

  1. ความดันโลหิตสูง ขณะ ที่หัวใจสูบฉีดโลหิตผ่านหลอดเลือดแดงแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย แรงที่เกิดขึ้นในการทำให้เลือดไหลเวียนอยู่นี้จะมีผลต่อผนังหลอดเลือดแดง ด้วย แรงมากระทำมากผนังหลอดเลือดแดงก็ต้องยืดขยายมากไปด้วย หาก หัวใจสูบฉีดโลหิตด้วยความแรงที่สูงกว่าปกติตลอดเวลา ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะตกอยู่ในสภาพที่หลอดเลือดแดงรับบทหนักตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตที่สูงกลับไปสู่ปกติ
  2. โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ส่วน ใหญ่มักจะเกิดในสภาพสังคมที่ค่อนข้างจะยากจน สาเหตุการเกิดเนื่องจากมีการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อหรือปฏิกิริยาจากการติดเชื้อก็ลงไปจู่โจมที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดการทำลายเกิดขึ้นแล้วเกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  3. โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ใน ประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม จนถึงเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
  4. โรคเบาหวาน โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเบาหวานพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกาย มาก บ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความรุนแรง และความเรื้อรังของโรค นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องไปเรื่อยๆ
  5. โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าการเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ลักษณะ สำคัญของโรค พบการหนาตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่เป็นการหนาตัวที่เกิดขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละบริเวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายและบริเวณผนังกั้นกลาง ระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  6. โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องและเป็นไปในลักษณะเรื้อรัง นอก จากนี้สารอะเซตัลดีไฮด์ที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและ เซลล์เนื้อเยื่อปลายทาง ผลที่สำคัญประการหนึ่งเป็นความผิดปกติของไมโตคอนเดรียที่อยู่ในเซลล์กล้าม เนื้อหัวใจ

อาการ

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าหัวใจโตอาจ ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด หากจะมีอาการ ก็มักจะเป็นอาการอันเนื่องจากโรคที่เป็นต้นเหตุ และอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

ภาวะหัวใจโตไม่ถือเป็นโรค แต่ เป็นภาวะหนึ่งของโรคหัวใจ หมายความว่าโรคหัวใจชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้นแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปล่อยให้หัวใจโตแล้ว จะเป็นสัญญาณเตือนว่าวันข้างหน้าโรคหัวใจเหล่านี้จะทำให้การทำงานของหัวใจ ล้มเหลว เข้าสู่โรคหัวใจระยะสุดท้ายและมีโอกาสเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

สามารถให้การวินิจฉัยได้จาก การซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยละเอียด ซึ่งจะบอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายอาจจะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของหัวใจโตได้เช่นกัน

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกช่วยในการวินิจฉัยได้มาก ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก หรือผู้ป่วยที่เคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อควรระวังคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ การที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติมิได้หมายความว่าหัวใจไม่โต ในทางตรงข้ามแม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกว่าหัวใจโต แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่โตก็ได้

ภาพรังสีทรวงอกบอก ขนาดของหัวใจได้ดีพอสมควร แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง บ่อยครั้งที่แพทย์อาจพิจารณาสั่งการตรวจพิเศษหลายอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้ความเห็นและรักษา

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอัลตราซาวน์ บางครั้งเรียกว่าการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (echocardiography) ซึ่ง ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโตหรือไม่ การตรวจชนิดนี้นังช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ เห็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

การรักษา

หลักการรักษาภาวะหัวใจโต เป็น การให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ บางรายอาจได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ สำหรับผู้ที่หัวใจวายต้องได้รับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นยังควรให้ความสำคัญกับเรื่องโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม การออกกำลังกายที่เพียงพอ ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว อาจจะไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจน แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจโตขึ้นเรื่อยๆ ได้

โรคหัวใจโตมีสาเหตุมาจากอะไร

หัวใจปกติของคนเรามีขนาด เท่ากำปั้นของเจ้าของหัวใจ แต่หากหัวใจที่โตกว่าปกติ มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ อันเนื่องมาจากต้องทำงานหนัก บีบตัวมากๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนา ขึ้นได้

            อีกสาเหตุหนึ่งคือ กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น หัวใจโตไม่ใช่โรค แต่มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่หนากว่าปกติ  โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม เป็นต้น             

            เมื่อโรคหัวใจในผู้ป่วยกำเริบถึงจุดหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะหัวใจโต ซึ่งจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  หัวใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้  ภาวะหัวใจโต จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่จะแสดงออกตามอาการของโรคที่เป็นต้นเหตุ  ซึ่งสาเหตุต่างๆ มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูง เมื่อหัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในคนปกติการสูบฉีดโลหิต จะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่หากคนที่ใช้กำลังมาก เครียดมาก หรือมีโรคหัวใจแทรกซ้อน ความแรงในการสูบฉีดโลหิตก็จะแรงมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดแดงทำงานหนักจากการที่หัวใจสูบฉีดด้วยความแรงตลอดเวลา จะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงยืดขยายตัวมาก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในสภาวะปกติ หัวใจก็จะขยายมากขึ้นเป็นลำดับ
  • โรคลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคนี้มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่ค่อนข้างจะยากจน มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หลังจากนั้นเชื้อก็ลามลงไปที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบ เกิดลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่วตามมา
  • โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุเกิดจากการตีบแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด
  • โรคเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโรคหัวใจแทรกซ้อน จะพบความผิดปกติของหลอดเลือดทั่วร่างกายมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับความ รุนแรงของโรค นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องด้วย
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม จะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติไม่เท่ากันในแต่ละส่วนระหว่างห้องหัวใจ ทำให้เกิดการอุดกั้นเลือดที่ไหลออกจากหัวใจขณะที่บีบตัว
  • โรคหัวใจจากแอลกอฮอล์ พบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจบกพร่องเรื้อรัง

            ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจโต  ควรได้รับการตรวจความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติ จะได้รีบรักษาได้ทันท่วงที 

การป้องกัน ก็จะเหมือนกับการดูแลป้องกันโรคหัวใจ
1.หยุดสูบบุหรี่
หาก ท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจาก การสูบบุหรี่มือสอง
บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
2.การออกกำลังกาย
ทุก ท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่นจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออก กำลังกายทำให้หัวใจแข็งแรง ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น ลดระดับความดันโลหิต ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์
การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออก กำลังกายแบบแอร์โรบิค {aerobic} การรับประทานอาหารคุณภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดโรคหัวใจ การหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำร้ายหัวใจ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดไหน มักจะได้รับคำแนะนำจากคนทั่วไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความเป็นจริงคนที่เป็นโรคหัวใจก็มีความหนักเบาไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่มีโรคหัวใจก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนการออกกำลังกาย หลายท่านที่เป็นโรคหัวใจมักจะหาอาหาร หรือยาเพื่อบำรุงหัวใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มียาหรืออาหารที่บำรุงหัวใจ อาหารจะมีบทบาทในแง่ไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่หัวใจ เช่นอาหารไขมันต่ำ เกลือต่ำ อาหารผักและผลไม้จะมีพวกสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือด แข็ง(อ่านอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจที่นี่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ต้องแสวงหาอาหารหรือยาที่บำรุงหัวใจ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้หัวใจท่านแข็งแรง
ผู้ป่วยโรค หัวใจวายเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ร่างกายอย่างพอเพียงโดย เฉพาะเวลาออกกำลังกาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ บทความที่จะนำเสนอนี้จะเป็นแนวทางในการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
3.การรับประทานอาหารสุขภาพ
หลักการรับประทานอาหารสุขภาพง่ายมีดังนี้
-หลีก เลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ,Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน
-ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
-รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid 
4.รักษาน้ำหนัก
คน อ้วนจะทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค
5.มั่นตรวจสุขภาพ
ท่าน ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาล
 
สะท้อนความคิดเห็น โรคหัวใจโตเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอลล์ รวมทั้งความตึงเครียดต่างๆที่เกิดขึ้น จะส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนัก เราอาจจะไม่รู้ตัวถ้าไม่สังเกตตัวเอง อาจปล่อยมันไป อาการก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมาก็อาจจะส่งผลต่อการเสี่ยงชีวิตได้ ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพ และเอาใจใส่เสมอ รวมทั้งการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความเครียดได้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ก็จะทำให้เราลดอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโตได้
 แหล่งข้อมูล : https://www.hbwellness.info/health/896

Link   
https://www.108health.com
https://www.sukapapdeedee.com
https://www.hbwellness.info/health/896

อัพเดทล่าสุด