ข้อสอบโรคเอสแอลอี


5,273 ผู้ชม


ข้อสอบโรคเอสแอลอี นิว เบนซ์ e250 เอสแอลอี คูเป้ โรคเอสแอลอีและอาหารที่ไม่แสรงกับโรค

1.กลไกการสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะในร่างกายจะเกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่เลือดและถูกทำลายโดยเซลล์ฟาโกไซด์
หลังจากที่ร่างกายได้รับการฉีดวัคซีน
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย
เมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น

2.ลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์บีที่ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อแอนติเจนนั้นๆ เรียกว่า
เซลล์เมมมอรี
เซลล์พลาสมา
เซลล์ทีผู้ช่วย
เซลล์ทีที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม

3.เด็กแรกเกิดแพทย์จะฉีดวัคซีนชนิดใดให้ภายในระยะเวลา1เดือนหลังคลอดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเป็นอันดับแรก
คอตีบ
ไอกรน
บาดทะยัก
วัณโรค

4.การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอครั้งแรกเมื่ออายุเท่าใด
2 เดือน
4 เดือน
1 ปี
2 ปี

5.การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแอนติบอดีโดย ตรงซึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาทันที หมายถึงข้อใดี
การก่อภูมิคุ้มกันด้วยตัวเอง
การก่อภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการฉีดวัคซีน
การก่อภูมิคุ้มกันรับมา
การก่อภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการฝังเข็มใต้ผิวหนัง

6.การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคเป็นวิธีการก่อภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายแบบใด
ภูมิคุ้มกันรับมา
ภูมิคุ้มกันด้วยตัวเอง
ภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการฉีดซีรัม
ภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการฝังเข็มใต้ผิวหนัง

7.เมื่อสมชายถูกงูมีพิษกัดแพทย์จะใช้วิธีใดการรักษาผู้ป่วยเพื่อให้ได้ผลในการต่อต้านเชื้อโรคได้ทันที
ฉีดวัคซีนแก้พิษงู
ทาวัคซีนแก้พิษงู
ฉีดซีรัมแก้พิษงู
ฝั่งเข็มแก้พิษงู

8.เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่างคือโรคในข้อใด
โรคเอดส์
โรคคอพอก
โรคภูมิแพ้
โรคโปลิโอ

9.เป็นกลุ่มอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากเชื้อไวรัสคือโรคในข้อใด
โรคเอดส์
โรคไข้หวัดใหญ่
โรคภูมิแพ้
โรคโปลิโอ

10.เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายผิดปกติโดยร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อตนเอง คือ โรคในข้อใด
โรคไวรัสตับอักเสบ
โรคภูมิแพ้
โรคเอดส์
โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี

โรค เอส แอล อี

โรค เอส แอล อี

โรค เอส แอล อี (SLE) Systemic lupus erythematosus เป็นโรคในกลุ่มออโตอิมมูน คือ โรคความผิดปกติของ ระบบภูมิคุ้มกัน ปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ คือ การต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกาย โดยการทำงานจะผ่านกลไกของเม็ดเลือดขาว แอนติบอดี การอักเสบ เป็นต้น แต่สิ่งที่ผิดปกติคือ ร่างกายกลับให้ระบบภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกายตนเอง ในระบบอวัยวะต่างๆ ซึ่งต่างจากคำว่า “โรคภูมิแพ้” ซึ่งหมายถึง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมไวเกินกว่าปกติ เป็นผลให้เกิดการอักเสบขึ้น เช่น แพ้อากาศ หอบหืด เป็นต้น แต่ไม่มีการต่อต้านเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของตนเอง

โรค เอส แอล อี

โรค เอส แอล อี

ปัจจุบัน ยังไม่มีการค้นพบสาเหตุการเกิดโรคเอส แอล อี ที่แน่ชัด ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันนแ่ แต่จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทั้งทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม มีส่วนและบทบาทร่วมกันในการก่อโรค “ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน แต่พบว่าเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายถึง 9-13 เท่า ในประเทศไทยพบได้ค่อนข้างบ่อย และมักมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะเมื่อมีอาการทางไตร่วมด้วย”

อาการต่างๆ ที่ควรระมัดรัวังว่าอสจจะเป็นโรค เอส แอล อี โรคเอส แอล อี คือ มีผื่น ผมร่วง ปวดข้อ แผลในปาก ซีดบวม ฯลฯสำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ อาศัยเกณฑ์ของสมาคมโรคข้อแห่งสหรัฐอเมริกา (American Rheumatic Association) ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น เอส แอล อี เมื่อมีอาการหรืออาการแสดง อย่างน้อย 4 ข้อ จาก 9 ข้อต่อไปนี้

  • ผื่นแดงที่ใบหน้า บริเวณโหนกแก้ม และสันจมูก ลักษณะคล้ายผีเสื้อ
  • ข้ออักเสบชนิดหลายข้อ และมักเป็นทั้ง 2 ข้างเหมือนๆ กัน
  • แผลในปาก
  • อาการแพ้แสง
  • การอักเสบของเยื่อบุ เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • อาการแสดงในระบบเลือด (เช่น ซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ)
  • อาการแสดงในระบบประสาท (เช่น ชัก ซึม ซึ่งอธิบายจากสาเหตุอื่นมิได้)
  • อาการแสดงในระบบไต (เช่น มีความผิดปกติของปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะ)
  • การตรวจเลือดหา Antinuclear antibody ให้ผลบวก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การวินิจฉัยโรค เอส แอล อี นี้มีการแสดงออกได้ในหลายระบบ แต่ละระบบอาจมีความรุนแรงน้อยมาก ไม่มีอาการ จนถึงความรุนแรงมากถึงชีวิตได้
ผลกระทบจากยารักษา SLE แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ของโรค เอส แอล อี แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วย เอส แอล อี สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เช่นเดียวกับคนทั่วไป โดยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนปกติ ยาที่นำมาใช้ในการรักษา เอส แอล อี ที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่

ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มิให้ทำการต่อต้านเนื้อเยื่อต่างๆ และลดการอักเสบ อันเป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกันได้ ยานี้สามารถทำให้โรค เอส แอล อี สงบได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลดี แต่มีผลข้างเคียงมหาศาล ได้แก่ อ้วนขึ้น  หน้ากลม ผิวหนังบางและแตกง่าย กระดูกผุ  กระเพาะอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร  เบาหวาน เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย ยานี้จึงใช้ในระยะสั้นๆ เพื่อควบคุมโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบ และลดขนาดยาให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ยาอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ ยาที่ออกฤทธิ์ช้า มีคุณสมบัติทำให้โรคเข้าสู่ภาวะสงบได้ ยาออกฤทธิ์ช้า แต่ออกฤทธิ์ได้นาน ยามีผลข้างเคียงน้อยกว่า และไม่รุนแรงเท่า สามารถใช้ยาได้เป็นเวลานาน โดยเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ สเตียรอยด์

การปฏิบัติตวของผู้ป่วย เอส แอล อี
ส่วนสำคัญอีกอย่างที่ไม่แพ้การใช้ยา ได้แก่ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ซึ่งมีความจำเป็น เพราะโรคนี้เป็นเรื้อรัง และยังไม่มียาที่ใช้รักษาได้หายขาดจริงๆ การรักษาต่อเนื่อง และติดตามการรักษาสม่ำเสมอ จึงมีความสำคัญยิ่งยวด และต้องปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ดังนี้

รับประทานยาสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง เนื่องจากสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรคกำเริบอย่างหนึ่ง ได้แก่ การขาดยา
ระวังอาการไม่สบาย หรือการติดเชื้อในร่างกาย ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อในร่างกาย ไม่ว่าระบบใด ทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ นอกจากนี้ ยาสเตียรอยด์ยังมีผลทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะทำให้ความรุนแรงของการติดเชื้อมากกว่าคนธรรมดามาก
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอื่น ที่อาจทำให้โรคกำเริบ เช่น ยาบางชนิด น้ำยาย้อมผม ความเครียด การถูกแดด จึงไม่ควรตากแดดนาน ไม่ซื้อยากินเอง ทำจิตใจให้แจ่มใส
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบร่างกายต่างๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคในระบบนั้นๆ อย่างดี เช่น ไตอักเสบ เม็ดเลือดแดงแตก เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น

โรคเอส แอล อี ถ้าไม่รักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี จะทำให้ไตอักเสบ ไตวาย เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต  ดังนั้น ถ้าสังเกตเห็นความผิดปรกติดังข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์

Link  
https://e-learningsisaket.com
https://kvamsook.com

อัพเดทล่าสุด