สถานรักษาโรคเอสแอล


1,458 ผู้ชม


สถานรักษาโรคเอสแอลอี คนที่เป็นเอสแอลอีแก้กรรมยังไง นิวเบนต์ 250 เอสแอลอี

อยู่เป็นสุขกับโรค เอส แอล อี 

ภาควิชาตจวิทยา
    Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

           เมื่อเห็นชื่อเรื่องผู้อ่านอาจแปลกใจว่าเป็นโรค เอส แอล อี แล้วจะมีความสุขได้อย่างไร ? ขอ ยืนยันว่าเป็นไปได้ ตัวอย่างโรคที่พบบ่อยและผู้ป่วยสามารถอยู่เป็นสุขกับโรคนั้นได้คือ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่ผู้ป่วยเป็นจำนวนมากก็อยู่กับโรคเบาหวานด้วนความสงบสุข เพราะผู้ป่วยเรียนรู้และเข้าใจเรื่องเบาหวานดี รู้ว่าปัจจัยอะไรทำให้โรคกำเริบ และปัจจัยอะไรทำให้โรคสงบ เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์มี 2 ประการ คือ สิ่งแวดล้อม และตัวผู้ป่วย โรคบางโรคปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเด่น โรคบางโรคปัจจัยที่ตัวอยู่ป่วยเป็นปัจจัยหลัก แต่โรคส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสียสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับตัวผู้ป่วย เช่น โรค เอส แอล อี เป็นต้น ถ้าจะอยู่เป็นสุขกับโรค เอส แอล อี ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้โรคกำเริบ และมีปัจจัยอะไรที่ช่วยให้โรคสงบ

โรค เอส แอล อี คืออะไร ?
           โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย โดยมีปัจจัยแวดล้อมบางอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้ความผิดปกติปรากฎชัดขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของผู้ป่วยจะทำร้ายเนื้อเยื่อตัวเองโดยการสร้าง สารเคมีกลุ่มอิมมูโนโกลบูลิน และ/หรือ เซลล์ลิมซ์โฟซัยต์ ไปทำให้เกิดการอักเสบที่หลอดเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของอวัยวะต่าง ๆ เป็นผลให้อวัยวะนั้นเกิดการอักเสบและเสียหน้าที่ อวัยวะที่มีการอักเสบบ่อยในโรคนี้คือ ไขข้อ ผิวหนัง ไต ระบบโลหิตวิทยา หัวใจ ปอด ระบบประสาท เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า โรค เอส แอล อี มีอาการและอาการแสดงได้เกือบทุกอวัยวะ
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี ?
           ผู้ ที่เป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่ก่อน แล้วมีปัจจัยภายนอกบางอย่างเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรค ปัจจัยภายนอกเหล่านี้ได้แก่ แสงแดด ความร้อน ยาบางชนิด เชื้อโรคความเครียดทางจิตใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบางอย่างภายในตัวผู้ป่วยเอง เช่น ฮอร์โมนเพศภายในตัวผู้ป่วย จึงพบเพศหญิงเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า อายุก็เป็นปัจจัยภายในอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค จึงพบโรคนี้บ่อยในช่วงอายุ 15-40 ปี ที่สำคัญคือ แนวโน้มทางพันธุกรรม
โรค เอส แอล อี มีอาการอย่างไร ?
           อาการ จากที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการปวดตามข้อต่าง ๆ เอ็นและกล้ามเนื้อ ข้อต่าง ๆ อาจพบอาการอักเสบแดง ร้อนบริเวณข้อ อาการทางผิวหนัง ที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของโรค คือ ผื่นผิวหนังอักเสบที่แก้มทั้ง 2 ข้าง และดั้งจมูกทำให้ผื่นมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ผื่นผิวหนังอักเสบมีหลายรูปแบบดังนี้ ผื่นแดงราบ ผื่นแดงนูนมีสะเก็ดลอกเป็นขุยตรงกลางผื่นอาจยุบลงกลายเป็นแผลเป็น ผื่นอาจเป็นสีดำสลับขาวเป็นต้น อาการผมร่วงมากผิดปกติพร้อมกับมีหนังศีรษะอักเสบแดงก็เป็นอาหารหนึ่งของโรค อาการบวมที่หน้า ท้อง และขาทั้ง 2 ข้างเป็นเครื่อง บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติของไต อาการซีด เลือดออกตามไรฟัน จุดเลือดออกตามตัวแสดงถึงความผิดปกติของระบบโลหิตวิทยา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชักเพราะมีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี แต่ละรายจะมีอาการแสดงของโรคที่ระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบเดียว หรือมีอาการแสดงของโรคพร้อม ๆ กันหลายระบบ หรือเริ่มมีอาการที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งก่อนแล้วต่อมาเกิดอาการที่อวัยวะ อื่นตามมาภายหลังก็ได้
เมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรค เอส แอล อี ควรทำอย่างไร ?
           ผู้ มีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วและสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรค เอส แอล อี ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะรับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จริงหรือไม่ และถ้าเป็นจริงควรได้รับการประเมินว่าโรคเกิดกับอวัยวะใดบ้าง ? ผู้ ป่วยจำเป็นต้องได้นับการตรวจร่างกายโดยละเอียด พร้อมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ อุจจาระ และถ่ายภาพรังสีทรวงอก
เมื่อทราบว่าเป็นโรค เอส แอล อี ควรปฏิบัติอย่างไร ?    
1. อย่าตกใจ เพราะโรคนี้สามารถรักษาและควบคุมได้ด้วยยา ถ้าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนะอย่างถูกต้อง โรคก็จะหายไปได้
2. รักษาสุขภาพทั่วไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังแต่พอควร หลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพติดทุกชนิด และฝึกหัดทำจิตใจให้สงบจะช่วยให้ควบคุมโรคได้ง่าย
3. ต้อง ปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ให้ปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแล ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้ดูแลรักษาบ่อย ๆ ถ้าต้องการเปลี่ยนแพทย์ผู้ดูแลเนื่องจากเหตุจำเป็นบางประการ ควรขอข้อมูลของการเจ็บป่วยและการดูแลรักษานำติดตัวไปให้แพทย์ผู้ดูแลท่าน ใหม่เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการดูแลรักษาต่อไป
4. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลรักษา เช่น รับประทานยาให้ตรงตามเวลาและขนาดที่กำหนด มาติดต่อกับแพทย์ผู้ดูแลรักษาตามเวลานัดหมาย
5. ควรฝึกหัดทำจิตใจให้สงบเย็น โดยการเข้าฝึกอบรมสมาธิเมื่อมีโอกาส

สิ่งที่ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ไม่ควรปฏิบัติ :
1. ไม่ควรออกแดดจัดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ถ้าจำเป็นต้องออกกลางแจ้งควรใช้ร่มและยาทาป้องกันแสงแดด
2. หลีกเลี่ยงจากสภาพทางฟิสิกส์ที่รุนแรง เช่น อาการเย็นจัด ร้อนจัด การใช้กำลังกายหนัก ๆ
3. หลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ
4. ไม่ควรทดลองรักษาโรคตนเองด้วยยาต่าง ๆ เช่น ยาไทย ยาหม้อ ยาจีน เป็นต้น
เพราะอาจเกิดอาการแพ้ยาแทรกซ้อนทำให้โรคกำเริบ
 
           เมื่อ ผู้ป่วยปฏิบัติตามที่ได้แนะนำมาแล้ว เชื่อว่าท่านจะสามารถอยู่เป็นสุขกับโรค เอส แอล อี ได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ไม่สามารถควบคุมและ หลีกเลี่ยงได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ป่วยอาจยังมีอาการของโรคอยู่บ้าง ผู้ป่วยควรวางจิตใจให้เหมาะสมและรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ อาการของโรคจะไม่รุนแรงและสงบลงได้ในที่สุด

วันนี้ TEXT เยอะมากนะครับ
เป็นข้อมูลของโรค SLE เอาไว้ป้องกัน
หรือรักษาผู้ที่เป็นโรคได้พอสมควรเลย
ข้ามไปอ่านข้างล่างสุดได้เลยนะครับ
(สีเขียว)

 

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE)

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า "โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง")เป็น โรคที่เกิด จากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไปภูมิต้านทาน ชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับ และทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยโรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง

สาเหตุ

ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มี หลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ

1. กรรมพันธุ์

2. ฮอร์โมนเพศหญิง

3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด, โดยเฉพาะเชื้อไวรัส

 

นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้นเช่น

1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต

2. การตั้งครรภ์

3. ยาบางชนิด

อาการ

โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลาย ๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได

เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อ

1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน

2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ

3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด

4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น

5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้

การรักษา

ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

1. ควรเข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อย ๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด

3. ผลของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้องนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตาม ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดี ๆที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก

4. สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุคือ

4.1 จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง

4.2 จากภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

4.3 จากยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์เช่นยาเพร็ดนิโซโลน(prednisolone)ตั้งแต่ขนาดต่ำจน ถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้นเช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ

 

สิ่ง สำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

สาเหตุชักนำที่ทำให้โรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้นหรือกลับเป็นขึ้นใหม่

1. การถูกแสงแดดอาจทำให้เกิดอาการกำเริบทางผิวหนัง และอาจะทำให้มีอาการ ของระบบอื่น ๆ ตามมาได้

2. การมีภาวะติดเชื้อไม่ว่าจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา

3. การตั้งครรภ์ถ้ายังมีอาการของโรค เอส แอล อี อยู่ หรือยังควบคุมอาการไม่ได้ดี ยังไม่ควรตั้งครรภ์ปกติแพทย์จะยอมให้ตั้งครรภ์ได้เมื่ออาการของโรคสงบลง อย่างน้อย 6 เดือน

4. การออกกำลังกายหรือทำงานหนักอย่างหักโหม

5. การถูกกระทบกระเทือนทางอารมณ์อย่างรุนแรง

จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเอส แอล อี

1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด

2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรงควรใส่หมวกปีกกว้างกางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด

3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจเพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา

4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่าง ๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง

5. เนื่องจากผู้ป่วย เอส แอล อีมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระหวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อเช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว

6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรคและผลการรักษาแพทย์จะได้ พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อย ๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของ อาการเจ็บป่วยทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้

8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา

9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง

10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบายควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่นควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุก ครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบเพราะจะเป็น อันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเพราะอาจจะทำให้อาการ ของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อ พ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะ ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

การป้องกัน

เนื่อง จากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดการป้องกันไม่ให้เกิดโรค เอส แอล อีในขณะนี้ยังไม่มีหากท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยเสียแต่ในระยะแรก และได้รับการรักษาที่ถูกต้องการล่าช้าในการรักษาอาจทำให้อาการเป็นรุนแรง ขึ้น เช่น ไตวาย หรือถึงแก่เสียชีวิตได้

ใน ปัจจุบัน ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มีอัตราของความพิการหรือเสียชีวิตลดลงน้อยลง มากเมื่อเทียบกับ เมื่อ 10-20 ปีก่อนทั้งนี้เนื่องจากการที่เราสามารถพบและให้การวินิจฉัยโรค เอส แอล อี ได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ประกอบกับยาและวิธีการรักษาที่ดีขึ้นในอนาคต โดยอาศัยความรู้ ที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะทำให้สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอส อีสามารถแยกแยะผู้ป่วยเป็นกลุ่มปรับปรุงการรักษาให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมและให้การป้องกันไม่ได้เกิดโรค เอส แอล อี ขึ้นได้

ลักษณะทางอาการตามระบบที่สำคัญคือ

อาการทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีไข้อ่อนเพลียเบื่ออาหารปวดศรีษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อจิตใจหดหู่

อาการทางผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีผื่นเกิดที่บริเวณใบหน้าตั้งแต่บริเวณสันจมูกไปที่บริเวณโหนก แก้มทั้ง 2 ข้างเป็นรูปคล้ายผีเสื้อ (butterfly rash) หรือที่เรียกว่า Malar rashนอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีผื่นขึ้นหรือมีอาการคันเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด (photosensitivity) หรือมีผื่นเป็นวง ๆ เป็นแผลเป็นตามหน้าและหลังศรีษะหรือใบหู (discoid lupus) หรือมีอาการปลายมือปลายเท้าขาวซีดเขียวเวลาโดนความเย็นผู้ป่วยบางรายจะมีแผล ในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปากเป็น ๆ หาย ๆ

ผมอาการผมร่วงเป็นอาการที่พบบ่อยในขณะที่โรคเป็นรุนแรง

อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเอส แอล อีส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้ออาจจะเป็นข้อนิ้วมือข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้าอาจมีอาการบวมแดงร้อนร่วมด้วยอาจทำให้ข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างได้ แต่จะไม่ถึงกับทำลายข้อ ดังเช่นในโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหรืออักเสบของกล้าม เนื้อและเส้นเอ็นร่วมด้วย

อาการทางไตไต เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วย เอส แอล อี ผู้ป่วยที่มีไตอักเสบจะมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้างหน้าหนังตาหรือบวมทั้งตัว เราพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมากรายที่มีอาการ รุนแรงขึ้นจะมีความดันโลหิตสูงขึ้น มีปัสสาวะออกน้อยลงหรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อในรายที่เป็นรุนแรงมาก อาจถึงขั้นมีไตวายได้ อาการทางไตเป็นอาการสำคัญที่บอกว่าโรคค่อนข้างเป็นรุนแรง

อาการทางระบบประสาท เมื่อผู้ป่วย เอส แอล อีมีการอักเสบของสมองบางรายมีอาการชักบางรายมีอาการพูดเพ้อเจ้อ เอะอะโวยวายคลุ้มคลั่งคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้บางรายมีการอักเสบ ของเส้นประสาทเฉพาะที่ร่วมด้วยได้

อาการทางระบบโลหิต บางครั้งมีการทำลายเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวหรือเกร็ดเลือดทำให้มีอาการ โลหิตจาง ซีด อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายหน้ามืดจะเป็นลมหรือมีเม็ดเลือดขาวต่ำลงหรือเลือดออก ง่ายได้

อาการทางหัวใจและหลอดเลือด เมื่อมีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่นเหนื่อยง่ายนอนราบไม่ได้บางครั้งมีจังหวะการเต้น ของหัวใจผิดปรกติถ้ามีการอักเสบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆจะมีอาการของการขาดเลือดของอวัยวะนั้น ๆ เกิดขึ้นได้นอกจากนี้ผู้ป่วย เอส แอล อี บางรายอาจมีภาวะเลือด แข็งตัวง่ายทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง ตามอวัยวะต่าง ๆ

อาการทางระบบเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนกลืนลำบากการดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ผิดปกติ บางครั้งมีตับอ่อนอักเสบร่วมด้วยได้

ผู้ ป่วยด้วยโรค เอส แอล อีแต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกระบบ หรือมีอาการรุนแรงเสมอไป ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระบบอวัยวะที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมด้วยบางคน เป็นน้อย มีแต่ ไข้ ปวดข้อมีผื่นขึ้นบางคนมีอาการรุนแรงมีชัก คลุ้มคลั่ง ไตวายหรือปอดอักเสบรุนแรงจนมีเลือดออกในปอดได้ อาการของโรคจะแสดงความรุนแรงแต่บางครั้งอาการก็สงบลงได้เอง

 

Credit : https://www.thai-sle.com

Link  
https://www.si.mahidol.ac.th
https://hiyumaru.exteen.com

อัพเดทล่าสุด