อาการของโรคเอสแอลอี อาหารผู้ป่วย โรค เอสแอลอี นิว เบนซ์ e250 เอสแอลอี คูเป้
อาการทางข้อและกล้ามเนื้อในผู้ป่วย เอส แอล อี
บทนำข้อ ไม่ใช่จะเป็นแต่เพียงส่วนหรืออวัยวะที่อยู่ ระหว่างกระดูก 2 ชิ้น แต่เป็นอวัยวะที่ถูกออกแบบสร้างมาอย่างมหัศจรรย์ เป็นอวัยวะที่มีทั้ง ความมั่นคงและความคล่องแคล่วเวลาใช้งาน ในขณะที่เรามีการเคลื่อนไหว กระดูกอ่อนและส่วนอื่น ๆ ของข้อต้องรับแรงกดดันและเสียดสีจากน้ำหนักตัวและแรงหมุนที่เกิดจากการ เคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อ และกระดูกรอบข้อ แต่โครงสร้างต่าง ๆ ในข้ออันประกอบด้วย กระดูกอ่อน เยื่อบุข้อ และผนังหุ้มข้อ ก็สามารถที่จะปรับตัวกับภาระหน้าที่อันนี้ได้อย่างดี โดยมีน้ำในข้อทำ หน้าที่เสมือนเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ในข้อเป็นไปอย่างราบรื่น น้ำในข้อนี้ปกติมีอยู่จำนวนไม่มาก ส่วนประกอบส่วน ใหญ่ก็คล้ายกับน้ำเลือด และเกิดขึ้นจากการกรองออกมาจากน้ำเลือดเอง เนื่องจากมีการกรองจากน้ำ เลือด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในน้ำเลือด ย่อมจะส่งผลถึงน้ำในข้อด้วย เช่นในกรณีที่มีเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าไปในระบบ เลือด ก็สามารถกระจายมาสู่ข้อทำให้เกิดข้ออักเสบจากการติดเชื้อได้ ที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โรคหลายโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันของร่างกาย มักจะส่งผลมาทำให้ เกิดการอักเสบของข้อได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ โรคไรเตอร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคลูปัส
ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี หรือที่เรียกว่า โรคลูปัส มักจะมีอาการต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ ลักษณะที่พบบ่อยที่สุดคือ ผู้ป่วยหญิงสาวมีอาการผื่นที่โหนกแก้มและดั้งจมูกเป็นรูปปีกผีเสื้อบนใบหน้า มีผมร่วงและปวดข้อ ดังนั้นอาการปวดข้อจึงเป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด อาการปวดข้อนี้อาจจะเป็นเพียงอาการปวด แต่บางครั้งจะมีการอักเสบของข้อ คือมี ปวด บวมและร้อนของข้อข้อที่ปวดหรืออักเสบมักเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ หรือข้อเข่า เป็นได้ทั้ง 2 ข้าง ซ้ายและขวาเหมือน ๆ กัน หรือเกิดพร้อมกันทั้งสองข้างก็ได้ ลักษณะนี้จะคล้ายกับอาการที่พบในโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ จนผู้ป่วยบางรายได้รับการวินิจฉัยผิด อาการปวดหรืออักเสบของข้อในผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ส่วนมากจะไม่นำไปสู่การเกิดความพิการ หรือการบิดเบี้ยวผิดรูปร่างของข้อ จะไม่มีการกัดกร่อนของข้อหรือข้อเสื่อมเหมือนที่พบในโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ มีบ้างบางรายที่มีข้อบิดเบี้ยวไปบ้าง แต่มักจะสามารถดัดกลับเป็นรูปเดิมได้เองโดยไม่มีความเจ็บปวด
สำหรับผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่ได้รับการรักษาถูกต้อง อาการปวดข้อ หรือข้ออักเสบมักจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อไรก็ตามที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดข้อขึ้นมาอีก นั่นอาจหมายถึงว่าโรค เอส แอล อี อาจจะกำลังกำเริบขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าผู้ป่วย เอส แอล อี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลาหนึ่งหรือบางรายไม่เคยได้รับ ยาสเตียรอยด์ก็ได้ มีอาการปวดหรืออักเสบของข้อเพียงข้อเดียว อาจจะเกิดภาวะข้ออักเสบจากการติด เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคชนิดอื่น หรือจะเป็นภาวะกระดูกกร่อนหรือหัวกระดูกยุบ ซึ่งเกิดจากตัวโรค เอส แอล อี เองหรือจากการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ก็ได้ ข้อที่เกิดภาวะกระดูกยุบได้บ่อย ได้แก่ ข้อสะโพก และข้อเข่า ข้อไหล่พบได้บางครั้งแต่ไม่บ่อยนัก ผลข้างเคียงอีกอันหนึ่งจากการรักษาโรค เอส แอล อี ด้วยยาสเตียรอยด์คือยานี้จะทำให้เจริญอาหาร รับประทานอร่อย ทำให้รับประทานจุ รับประทานบ่อย ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น อ้วนขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดข้อ เวลาลุกนั่ง ยืนนาน ๆ เดินมาก ๆ โดยเฉพาะตอนเดินขึ้นหรือเดินลงบันได ข้อที่ปวดมักเป็นข้อที่ต้องรับน้ำหนักของร่างกาย เช่น ข้อเข่า ซึ่งอาการนี้เป็นอาการที่เกิดจากภาวะข้อเสื่อมนั่นเอง ภาวะกระดูกพรุนที่ เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นระยะเวลานานก็อาจจะทำให้มีปวดใน กระดูกได้ ดังนั้นถ้ามีอาการปวดหรือบวมข้อ ไม่ว่าข้อเดียวหรือหลายข้อควรรีบไปพบแพทย์
ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี บางครั้งมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ พบได้บ่อยถึงร้อยละ 17-45 ซึ่งอาการนี้อาจเกิดจาก กล้ามเนื้ออักเสบ ทำให้มีกล้ามเนื้อส่วนใกล้ลำตัวอ่อนแรงหรือเป็นผลจากการที่ได้รับการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์หรือยาอื่น ๆ ทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
นอกจากนี้ในผู้ป่วยโรค เอส แอล อี บางราย อาจมีอาการปวดกระจายไปตามตำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ตามตำแหน่งของ กล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด และเส้นเอ็น ปวดแบบเรื้องรังเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ประกอบกับมีความผิดปกติของการนอนหลับ ทำให้ตื่นเช้าไม่สดชื่น มีแต่ความอ่อนเพลียและฝืดตึงของร่างกายได้ โดยไม่ได้เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด หรือเส้นเอ็น กลุ่มอาการนี้พบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยโรค เอส แอล อี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่มีอาการทางข้อการรักษาอาการปวดข้อ หรือข้ออักเสบในระยะแรกผู้ป่วยควรได้รับการพัก ซึ่งการพักในที่นี้หมายรวมถึงการพักทั้งตัว คือทั้งร่ายกายและจิตใจ เพื่อลดความเครียดที่มีต่อข้อที่อักเสบ เพราะผู้ป่วยมักมีความวิตกกังวลกับโรคของตัวเอง กังวลเกี่ยวกับอนาคตซึ่งไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไร กังวลกับผู้อยู่ใกล้เคียง เช่นครอบครัวของตน และการพักข้อ โดยเฉพาะข้อที่อักเสบ เพื่อลดการอักเสบของข้อและเพื่อป้องกันการผิดรูปที่อาจเกิดขึ้นจนกว่าอาการจะดีขึ้น
ความเย็น
ในขณะที่เริ่มมีการอักเสบ การประคบด้วยความเย็นจะช่วยลดอาการอักเสบและบวมได้ดี เพราะความเย็นจะช่วยลดการทำงานของเอ็นไซม์ในข้อที่อักเสบ ควรประคบด้วยถุงเย็นประมาณ 20 นาที จะช่วยลดความเจ็บปวดบริเวณข้อได้มาก
ความร้อน
ในกรณีข้อเกิดอักเสบขึ้นมาแล้วและมีอาการบวมและปวดมาก ความร้อนจะทำให้ปลายประสาทลดความไวต่อความเจ็บปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนัง การให้ความร้อนบริเวณผิวหนัง เช่น การใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือถุงร้อนทำให้หลอดเลือดที่ผิวขยายตัวซึ่งอาจลดการบวมของข้อที่อักเสบได้
หลังจากที่ไม่มีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้
1. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
2. เลือกบริหารร่างกายที่ไม่ต้องออกแรงมาก และต้องไม่ทำให้รู้สึกปวด ควรเป็นการบริหารร่างกายชนิดเกร็งกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ต้องเคลื่อนไหวข้อมาก แต่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
3. อย่าฝืนใช้ท่าทางหรือออกกำลังที่อาจทำให้ข้อผิดรูปทรง
4. อย่ายกของหนัก เช่น การหิ้วกระเป๋า ควรสะพายไว้บนไหล่หรือคล้องแขนไว้แทนการถือด้วยมือ เคลื่อนย้ายของหนักโดยการเลื่อนแทนการยก เป็นต้น
5. อย่าใช้ของเล็ก ๆ ที่ต้องจับให้แน่นเป็นเวลานาน เช่น การถักไหมพรมหรือใช้ช้อนขนาดเล็กมากขณะรับประทานอาหาร
6. อย่าทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเวลานาน เช่น ถือหนังสือที่มีน้ำหนักมาก หรือนั่งเก้าอี้เป็นเวลานาน ๆ
7. อย่าละเลยอาการเจ็บ เพราะนั่นเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่เกิดขึ้น
มีอาหารอะไรบ้างที่เป็นของแสลงหรือควรงดในขณะมีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบจากโรค เอส แอล อีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบในผู้ป่วยโรค เอส แอล อี เกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดการอักเสบของข้อขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่มีกรดยูริคในเลือดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ทำให้เกิดข้ออักเสบขึ้น กรดยูริคในเลือดนี้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากอาหารบางชนิดที่ทานเข้า ไป ดังนั้นการจำกัดอาหารบางชนิดที่มีสารพิวรีนที่ทำให้เกิดกรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื้อเป็ด, ไก่, นก เป็นต้น จะช่วยควบคุมความเข้มข้นของกรดยูริคในเลือดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้โอกาสเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ลดลง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเอส แอล อี ไม่จำเป็นต้องจำกัดอาหารเหล่านี้ ควรทานอาหารให้ครบทุกหมู่ แต่อาหารที่รับประทานเข้าไปควรผ่านการต้มหรือปรุง จนสุกและสะอาด ผักหรือผลไม้สดก็ควรได้รับการล้างจนสะอาด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ถูก ปรุงจนสุก เช่น ส้มตำ ยำประเภทต่าง ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากอาหาร
ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่ไม่มีอาการปวดข้อมาก่อน แต่เริ่มมีอาการปวดข้อขึ้นมา จะเป็นจากสาเหตุอะไรได้บ้างถึงแม้อาการปวดข้อในผู้ป่วยโรคเอส แอล อี พบได้ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่มีอาการปวดข้อมาก่อน อาการปวดข้อที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากโรค เอส แอล อี ที่กำเริบขึ้น ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น โดนแสงแดด ตรากตรำทำงานหนัก เครียด ขาดการพักผ่อน หรือมีภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้โรคกำเริบขึ้น แล้วในขณะที่โรคกำเริบขึ้นก็อาจมีอาการปวดข้อเพิ่มขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อในข้อที่ปวดหรืออักเสบ เนื่องจากผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติอยู่แล้วประกอบกับอาจจะได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และยาสเตียรอยด์ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือแม้กระทั่งเชื้อรา อาการปวดข้อโดยเฉพาะข้อสะโพกหรือข้อเข่า อาจเกิดจากภาวะหัวกระดูกยุบจากตัวโรค เอส แอล อี เองหรือจากการได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ๆ เป็นระยะเวลานาน หรือเกิดจากภาวะข้อเสื่อมก็ได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยโรค เอส แอล อี เริ่มมีอาการปวดข้อ หรือมีข้ออักเสบเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ที่ดูแลหรือให้การรักษาท่านอยู่ ไม่ควรรอจนถึงวันนัด
อาหารผู้ป่วย โรค เอสแอลอี
อาหาร
สิ่งต่าง ๆ ที่คนเรารับประทานเข้าไปตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่เสียชีวิตจะส่งผลต่อสุขภาพ
ของคนเรา ดังคำภาษาอังกฤษที่ว่า “you are what you eat” การรับประทานอาหารที่
ถูกต้องช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี สำหรับต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค จะช่วย
ปรับภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปให้ดีขึ้น สำหรับโรค เอส แอล อี มีผู้ป่วย ญาติ และผู้ที่สนใจถามเสมอว่า
• เมื่อป่วยเป็นโรค เอส แอล อี แล้วต้องหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง
• มีอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วทำให้โรคนี้ดีขึ้น
จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วโรคกำเริบขึ้น
ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยง แตกต่างจากโรคเก๊าท์ ที่เรารู้แน่ว่า การรับประทานอาหารประเภท เป็ด
ไก่ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก ทำให้โรคเก๊าท์กำเริบขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน ไม่มีอาหารชนิดใด
ที่รับประทานแล้วช่วยให้โรคดีขึ้นอย่างชัดเจน จะมีก็เพียง ไขมันจากปลาที่เป็นพวก
โอเมก้า-3 ที่ดูเหมือนจะช่วยลดอาการปวดข้อ และทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอาการดีขึ้น
ดังนั้นผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จึงควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ด้วยสัดส่วนอาหารที่
เหมาะสมกับน้ำหนักของร่างกายและส่วนสูง อาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรค เอส แอล อี
รับประทาน เพื่อให้มีสุขภาพดี มีความคล้ายคลึงกับอาหารที่แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพ
ที่ดีทั่ว ๆ ไป คือ
• รับประทานอาหารพวกพืช เช่น ข้าว ผัก, ผลไม้
• รับประทานอาหารไขมันต่ำ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย
• รับประทานน้ำมาก ๆ ยกเว้นผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม
• รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เนื่องจากผู้ป่วยโรค เอส แอล อี มีแนวโน้มจะมีภาวะ
กระดูกพรุน ร่วมกับการรับประทานยาสเตียรอยด์ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มาก
• รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งผู้ป่วยที่มีไตอักเสบ
• รับประทานน้ำตาลแต่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่รับประทานยาสเตียรอยด์
มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานแทรกซ้อนได้
• จำกัดปริมาณการรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์จะมีความอยากอาหารมาก รับประทานจุ น้ำหนักขึ้นได้ง่าย อ้วนง่าย
ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการกินอย่างมาก พยายามควบคุมตัวเองให้รับประทานแต่พอเหมาะ ผู้ป่วย
ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ นอกจากจะอยากอาหาร รับประทานจุแล้วยาสเตียรอยด์ยังทำให้ผู้ป่วย
เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้ระยะยาวเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจ
ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องพยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู น้ำมัน เนย แต่น้อย
และมีการเจาะเลือด ตรวจปริมาณไขมันในเลือดเป็นระย ๆ ร่วมไปกับการออกกำลังสม่ำเสมอ
และควบคุมน้ำหนักตัวไว้ไม่ให้อ้วน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละกิโลกรัม จะเป็นอันตรายต่อข้อของ
ผู้ป่วยได้ ในกรณีที่มีน้ำหนักเกินมากหรืออ้วนมากจะทำอย่างไร วิธีการลดน้ำหนักที่ปลอดภัย
ควรปฏิบัติดังนี้
• ดื่มน้ำเปล่า 2-3 แก้วก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ
• เลือกทานเฉพาะผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน เนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ
เช่น มันหมู ขาหมู หนังเป็ด หนังไก่ เครื่องในสัตว์
• พยายามรับประทานอาหารประเภทข้าว แป้ง และน้ำตาลให้น้อยที่สุด
• ควรรับประทานให้หายหิวเท่านั้น ไม่ควรรับประทานจนรู้สึกอิ่ม
• ห้ามรับประทานอาหารจุกจิก ควรทานเป็นมื้อ ๆ
• งดทานน้ำหวาน น้ำผลไม้กล่องหรือกระป๋อง น้ำอัดลม ขนมเค้ก ไอศกรีม และขนมหวานทุกชนิด
• ควรชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงและเตือนตัวเองถ้าน้ำหนักยังไม่ลดหรือเริ่มเพิ่มขึ้น
น้ำหนักตัวที่มากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวมาตรฐานถือว่าอ้วน
น้ำหนักตัวมาตรฐานสามารถคำนวณได้ดังนี้
น้ำหนักตัวมาตรฐาน ( กิโลกรัม ) = ( ความสูงเป็นเซนติเมตร -100)- 10%
ของน้ำหนักตัว ( กิโลกรัม )
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อเนื่องกันสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน
ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรมีเหงื่อออก มีอาการหายใจหอบเล็กน้อย หัวใจเต้นแรง
และเร็วขึ้นกว่าปกติพอสมควรบางครั้งผู้ป่วยโรค เอส แอล อี จะได้รับคำแนะนำให้รับประทาน
อาหารมังสวิรัต หรืออาหารชีวจิต อาหารมังสวิรัตอาจช่วยให้ลดน้ำหนักได้ ทำให้ร่างกายได้
สารอาหารประเภทโปรตีนลดลง อาจทำให้ลดอาการปวดข้อ หรือลดการอักเสบของไตลง
แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัตมักจะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น
ธาตุเหล็ก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ขาดโปรตีน ทำให้การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอช้าลง
ขาดวิตะมีนบางอย่างทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติได้ ดังนั้นถ้าต้องการทาน
แบบมังสวิรัตหรือชีวจิต ก็ทำได้ แต่ไม่ควรทานอาหารแบบนี้ทุก ๆ วัน อาจจะรับประทาน
สลับกันไปมาระหว่างการทานอาหารปกติกับการทานแบบมังสวิรัตหรือชีวจิต ในปัจจุบัน
มีการเสนอขายอาหารเสริมที่บรรยายสรรพคุณว่าช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ภูมิ
เช่นโรค เอส แอล อี ได้ ขอให้พิจารณาให้ดี อย่าเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อเสียทั้งหมด
เพราะอาหารเสริมเหล่านี้มีราคาแพง และรับประทานไปแล้วอาจไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ
อาหารเสริมที่พอจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยโรค เอส แอล อี ที่มีการวิจัยที่เชื่อถือได้ คือ
น้ำมันปลา เช่น จากปลาทู ปลาทูน่า ปลาหิมะ ซึ่งจะมีไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3 ซึ่งช่วย
ลดการอักเสบของข้อได้ เนื้อปลาจะมีไขมันต่ำกว่าเนื้อวัว ดังนั้นจึงน่าจะหันมารับประทาน
เนื้อปลาให้มากไว้ แทนเนื้อสัตว์อื่นอย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้โอเมก้า-3
ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันอีกด้วย ยาหรืออาหารเสริม
อีกชนิดหนึ่งที่มักมีผู้ไปซื้อมาจากต่างประเทศ มาฝากผู้ป่วยที่ปวดข้อ คือยากลูโคซามีน
(glucosamine) อาจจะร่วมกับยา คอนโดอิติน (chondroitin) ยาชนิดนี้ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาขายเป็นอาหารเสริม จึงซื้อหาได้ง่าย ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในการรักษา
ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมเท่านั้น ไม่ใช่จะเป็นประโยชน์ในโรคข้อชนิดอื่น ในโรค เอส แอล อี
ดูเหมือนไม่มีประโยชน์อะไร
https://www.thai-sle.com
https://www.thai-sle.com