การป้องกันโรคเอสแอลอี (sle)


12,720 ผู้ชม


การป้องกันโรคเอสแอลอี (sle) เอสแอลอีผู้ป่วย การรักษาโรคเอสแอลอี

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus: SLE ) กับหญิงตั้งครรภ์


          คนปกติจะมีระบบป้องกันตนเองในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆนั่นคือระบบภูมิคุ้มกัน  คือเมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย  ระบบภูมิคุ้มกันจะทำการต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นและทำการจดจำเชื้อโรคเอาไว้ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเชื้อโรคนั้นๆ  เพื่อที่หากมีเชื้อโรคชนิดเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ทำให้ไม่ป่วยเป็นโรคเดิมอีกหรือเป็นไม่รุนแรงเหมือนครั้งแรก


          แต่ในผู้ป่วย SLE นั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ  ซึ่งไม่สามารถจดจำเนื้อเยื่อของร่างกายตัวเองได้ ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง  ทำให้เนื้อเยื่อนั้นเกิดการอักเสบและถูกทำลาย เนื้อเยื่อที่มักเกิดอาการได้แก่ ข้อต่อต่างๆ  เช่นข้อเข่า ข้อนิ้วมือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน อาการที่เกิดกับผิวหนังได้แก่ มีผื่นขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด  เช่นผื่นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มและจมูกทำให้มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อเรียก นอกจากนี้  SLE ยังส่งผลถึงอวัยวะสำคัญของร่างกาย ได้แก่ ไตมีการอักเสบไตเสื่อม  ความดันสูง มีการอักเสบของหลอดเลือด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ


          ผู้ป่วย SLE รักษาไม่หายแต่สามารถมีคุณภาพีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ  ผู้ป่วยต้องทราบว่าโรคนี้จะมีบางช่วงที่ปราศจากอาการ บางช่วงก็มีระยะที่เกิดโรคกำเริบ  ผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรคกำเริบและรู้วิธีรักษา สาเหตุของ SLE ที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุ์กรรม  สิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ความเครียด ยาบางชนิด การติดเชื้อบางชนิด  เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรค อาการทางระบบประสาท ชัก เป็นอัมพาต เป็นต้น


          ปัญหาที่สำคัญของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็น SLE นั่นคือ  ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานซึ่งส่งผลต่อกระบวนการแข็งตัวของเลือด ซึ่งส่งผลให้มีการเกิดปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสูงขึ้น  และส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ เช่น  เกิดลิ่มเลือดทั้งในหลอดเลือดดำและในหลอดเลือดแดงของแม่ มีการแท้งบุตร  มีการเสื่อมสภาพของรก ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์  และความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์


          หญิงตั้งครรภ์ที่เป็น SLE นั้นควรจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด  และการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุดจะอยู่ในระหว่างที่โรคสงบ  แพทย์จะสั่งยาที่มีขนาดต่ำๆให้เพื่อควบคุมโรคให้สงบไปจนตลอดการตั้งครรภ์  ยากลุ่มสเตียรอยด์นั้นสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์  แต่ทั้งนี้ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น  เนื่องจากยังมีอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาต่อมารดาได้ เช่นน้ำหนักตัวเพิ่ม  เป็นเบาหวานและกระดูกพรุนขณะตั้งครรภ์ การใช้ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  ควรละเว้นหากสามารถทำได้ แม้ว่าจะไม่ทำให้ทารกเกิดความพิการ  แต่อาจทำให้เกิดภาวะที่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยซึ่งเกิดจากผลของยาต่อไตของทารก และอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจของทารกในครรภ์ได้  และยังอาจทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกเนื่องจากยาจะส่งผลต่อการทำงานของเกร็ดเลือด


          ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจาก  SLE ในหญิงตั้งครรภ์แพทย์อาจจะให้ยาต้านเกร็ดเลือด ในขนาดต่ำๆไว้  โดยอาจเริ่มเมื่อสิ้นสุดระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์  เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด  และจะให้เมื่อหลังคลอดทันทีซึ่งเป็นระยะที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด


          การดูแลครรภ์ในผู้ที่เป็น SLE นั้น  ควรมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด มีการประมาณอายุครรภ์อย่างถูกต้องแม่นยำ  ควรได้มีการตรวจอัลตร้าซาวด์โดยละเอียดในระยะไตรมาสที่สองและสามของการตั้งครรภ์  เพื่อประเมินสภาพของทารก การไหลของเลือดผ่านสายสะดือ  และหากพบว่ามีปมที่สายสะดือของทารกอาจบอกให้ทราบว่าทารกอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง  การประเมินสภาพของทารกควรกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อประเมินความเสี่ยงต่างๆ  และการเจริญเติบโตของทารกว่าเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่  นอกจากนี้การประเมินอาการต่างๆขอมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน

ประสบการณ์ผู้ป่วย SLE

 
 
ภาพจาก delhi.click.in
โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus - SLE) หรือโรคลูปัส เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงกลับมาทำร้ายตนเอง ภูมิต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย
 
แต่โปรตีนชนิดนี้ในผู้ป่วยโรคลูปัสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยโรคลูปัสเอง ขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อก็จะเกิดข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง
 
นางสาวประภาศวี อินคล้าย อายุ 36 ปี ป่วยเป็นโรค SLE เคยป่วยเป็นมาลาเรียเรื้อรังถึง 17 ปี คือตั้งแต่อายุ 14-31 ปี คิดเป็นจำนวนครั้งถึง 20 ครั้ง เนื่องจากมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้อยู่แล้วจึงได้รับยาเป็นจำนวนมากทั้งที่เกี่ยวกับภูมิแพ้และมาลาเรีย อาการแรกที่เป็นคือ บวม ปวดตามข้อ หมดแรง เหนื่อย และปวดหลังอย่างรุนแรง
 
จากอาการปวดหลังอย่างรุนแรงนี้ แพทย์วินิจฉัยว่าไตมีปัญหาคือมีปัญหาบกพร่องที่ไตสูง รับประทานยารักษไต 1 เดือนอาการบวมไม่ลดลง ตรวจเพิ่มเติมจึงพบว่าเป็น SLE ที่เนื้อเยื่อในข้อ คือร่างกายทำลายเนื้อเยื่อในข้อของตัวเอง แพทย์รักษาโดยการให้กิน STEROID PREDNISOLONE วันละ 6 เม็ดเป็นเวลา 4 เดือน แต่ตัวกลับบวมมากขึ้น ผมร่วง เสียวฟัน ปวดตามกระดูกอย่างรุนแรง
 
จึงตัดสินใจเปลี่ยนหมอและเปลี่ยนกลุ่มยารักษาโดยให้กินยากดภูมิ รักษาอยู่ 1 ปี 8 เดือนร่วมกับยาแก้อักเสบ ข้อ - กระดูก ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น ร่างกายอ่อนเพลียมาก ไม่มีแรง หมอบอกว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้และจะมีอายุอยู่ได้แค่ 40 ปี
 
จึงเปลี่ยนไปรักษาหมอธิเบตใช้ยาจีนอยู่ 15 เดือนอาการดีขึ้น อาการบวมและปวดทุเลาลงแต่อาการปวดยังมีอยู่ คุณหมอบอกว่าคงไม่สามารถรักษาให้ดีไปกว่านี้ได้แล้ว
 
ต่อมาได้ทราบถึงคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวบีบเย็นที่สามารถใช้ทำ ออยล์พูลลิ่ง เพื่อรักษาโรคได้ จึงทดลองทำดูโดยทำวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น เดือนแรกที่ทำมีอาการเหมือนร่างกายขับพิษที่ตกค้างออกมา ใน 2 อาทิตย์แรกมีอาการปวดหนักขึ้นกว่าเดิมและบวมไปทั้งตัว หลังจาก 2 อาทิตย์ไปแล้วอาการปวดและบวมดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับ เดือนที่ 2 เริ่มรับประทานน้ำมันมะพร้าวด้วยและหยุดยาทุกชนิด รับประทานวันละ 3 ครั้ง เช้า - กลางวัน - เย็น ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ทำออยล์พูลลิ่ง 5 เวลาแต่ยังมีอาการไล่พิษอยู่ หนาวมาก แต่พอผ่านไปอีก 2 อาทิตย์อาการดีขึ้นเป็นลำดับ เดือนที่ 3 มีอาการปวดแสบปวดร้อน แต่พอหลัง 2 อาทิตย์ไปแล้วอาการก็ดีขึ้นเช่นเดิม
 
ทุกกวันนี้สุขภาพดีขึ้นมาก มีกำลังดี อ่อนเพลียน้อยลง ฝ้าที่เคยเป็นอย่างหนักเป็นรูปปีกผีเสื้อดำหนาก็จางไปเกือบหมด ไม่มีอาการปวดเหลืออยู่ อาการบวมตามข้อลดลงเรื่อยๆจนเกือบเป็นปกติ ไม่มีความทุกข์ทรมานอย่างที่เคยเป็นมาแต่ระวังเข้มงวดเรื่องอาหาร นอกจากทานน้ำมันมะพร้าวแล้วจะรับประทานผักผลไม้มากๆ ทำจิตใจให้ผ่องใสมีกำลังใจดี และไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นไข้หวัดจะรับประทานน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ 2 ชั่วโมง ถึงแม้เป็นไข้หวัดใหญ่ก็หายภายใน 1 วัน

การรักษาโรค “SLE” ด้วยวิถีทางโภชนาการ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

        - อาหารรสหวาน,ผลไม้รสหวานมาก,เลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว
        - แป้งขาว เช่น ขนมปัง,เส้นก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซาลาเปา,ปาท่องโก๋
        - อาหารรสจัด,เค็มจัด,เผ็ดจัด,เปรี้ยวจัดและมีรสมันจัด
        - อาหารที่มีกลูเตนสูง,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ด,ข้าวบาร์เลย์,ข้าวไรน์
        - แอลกอฮอล์,คาเฟอีน (ชา,กาแฟ) ของหมักดอง
        - อาหารทะเล กุ้ง ปู และหอย (ควรงดเด็ดขาด)
        - เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว ให้เน้นทานเนื้อปลา
        - ลดในสิ่งที่ตัวเองแพ้ เช่น น้ำผึ้ง,ข้าวโพด
        - อาหารที่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี น้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย รำข้าว (น้ำมันพวกนี้มี OMEGA 6 สูงทำให้เกิดการอักเสบ) และไขมันทรานส์ (ตัวร้ายที่สุด)
        - ผู้ป่วยราว 20 % จะแพ้อาหาร (NIGHT SHADE) เช่น มะเขือเทศ,มะเขือ,มันฝรั่ง,พริกไทย,พริกใบยาสูบ(บุหรี่),ถั่ว,ข้าวโพด,งา
        - อาหารที่มีนมวัวผสม นมวัวมีโปรตีนเคซีน ร่างกายย่อยยาก
        - หลีกเลี่ยงสารเคมีโดยการสัมผัส,สูดดม และงดทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส,วัตถุกันเสีย

อาหารที่ควรรับประทาน

    - น้ำมันมะพร้าว+กระเทียมเป็น SUPER ANTIOXIDANT ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูงเรียกว่ากรดอัลฟ่าไลไปอิด ดูรายละเอียด
    - การดื่มน้ำให้ถูกต้องและพอสำหรับร่างกาย คลิกเพื่อดูรายละเอียด
    - น้ำเอนไซม์มี 2 ชนิด 1.ได้จากผักสด+ผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยย่อยอาหาร
    - ข้าวกล้อง มีอิโนซิตอส ลดการอักเสบ (เลี่ยงข้าวขาว)
    - ผักตำลึง,ใบบัวบก,ย่านาง คั้นเป็นเครื่องดี่มมีฤทธิ์เย็นและมีเอนไซม์ย่อยแป้ง
    - มะละกอดิบ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน
    - ผักสด+ผลไม้ ทานสดมีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต
    - เน้นอาหารจากธรรมชาติ RAW FOOD ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด
    - วิตามินและเกลือแร่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
    - อาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น
    - สาหร่ายทะเลช่วยส่งเสริมการทำงานไทรอยด์ (เพิ่มภูมิต้านทาน)


การรักษา SLE ด้วยโภชนาการและการปฏิบัติตอนเช้าและก่อนนอน
1) ตื่นเช้าทำ OIL PULLING 15-20 นาที
2) ตามด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว
3) รับประทานสิ่งต่างๆเหล่านี้วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร
    - น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เพราะมีสารเคมี) 
    - กระเทียมสด หรือกระเทียมอัดเม็ด (อิมมิวนีท็อป 2000)         
    - เลซิติน (ไวทัล-เอ็ม)                                                                             
    - น้ำมันตับปลา                                                                        
    - บริวเวอร์ยีสต์                                                                       
    - ขมิ้นชัน                                                                              
    - N-ACETYLCYSTEIN (NAC LONG),(MUCIL)
    - Evening Primrose Oil (EPO)
4) อาหารแต่ละมื้อให้ดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และทานอาหารที่ควรรับประทาน อย่าลืมการดื่มน้ำที่ถูกต้อง
5) ออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
6) พักผ่อนให้สบาย ฝึกมองโลกในแง่บวก จิตแจ่มใส ผ่อนคลาย
7) เพิ่มอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักผลไม้, แตงกวา, ฟัก, ถั่วต้ม+เห็ดหูหนูขาว หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำใบบัวบก, ย่านาง, เก็กฮวย, จับเลี้ยง, น้ำถั่วเขียว เพื่อดับร้อนในร่างกาย ดื่มแทนน้ำทุกวันจะดีมาก ไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อย

อาการของ โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี
โรคเอสแอลอี SLE หรือ โรคพุ่มพวง
          โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายอาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ โดยอาการที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า เกิดแผลในปาก ผมร่วงมีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็นขึ้นมาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้
           อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยในขณะโรคกำเริบ
          อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก
ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะเป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็นผมร่วง มีแผลในปาก
          อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ
เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้างร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ
          อาการทางไต
ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง
           อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้
          อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ
          อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด
อาการที่พบบ่อย คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาการแสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ


          อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการได้รับยาสเตียรอยด์
          อาการทางระบบทางเดินอาหาร
ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์
 การรักษา โรคเอสแอลอี
         ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่การปฏิบัติตัวที่ดี การเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด และช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ การรักษาด้วยยายากลุ่ม NSAIDS และยาต้านมาลาเรีย (คลอโรควีนและไฮดรอกซีคลอโรควีน) ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการอย่างโรคตามทางผิวหนัง มีผื่นที่หน้า ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ โดยที่ผลการตรวจทางปัสสาวะปกติ อย่างไรก็ตามในกรณียาเหล่านี้ควบคุมอาการไม่ได้ อาจให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดต่ำๆ (prednisolone < 10 มิลลิกรัม /วัน) ร่วมด้วย เมื่อควบคุมโรคได้จึงค่อยลดยาลง
          ยาสเตียรอยด์ เช่น prednisolone เป็นยาหลักที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากโรคลูปัสแพทย์จะปรับขนาดของยาตามอาการและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ถ้าไม่ได้ผลอาจต้องให้ยากดระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ร่วมด้วย
 ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อป่วยเป็น โรคเอสแอลอี 

          1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
          2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด
          3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะทำให้อาการกำเริบได้ ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา
          4.เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่างๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
          5.เนื่องจากผู้ป่วยเอสแอลอี มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้ว
          6.ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรค และผลการรักษาแพทย์จะได้พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
          7.ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อยๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของอาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้
          8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา
          9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
          10.ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่

          11.ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด เพราะอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น­ๆ
แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เมื่อพ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์


Link 

https://www.perfectwomaninstitute.com

https://www.doctor.or.th

https://www.naturalmind.co.th

https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด