วิธีรักษาโรคไข้เลือดออก


2,312 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคไข้เลือดออก วรรณกรรมโรคไข้เลือดออก วัคซีนไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

(Denque Fever/ Denque Hemorrhaqic Fever)

                ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งพบมากในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มีไข้ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกายโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ


                หลังจากถูกยุงลายกัดประมาณกี่วันจึงจะแสดงอาการของไข้เลือดออก?


                ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคจะเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและรอบๆ บ้านดูดกินเลือดคนเป็นอาหารและกัดเฉพาะเวลากลางวันประมาณ 4 – 6 วัน หลังจากถูกกัดอาการของโรคจะปรากฏให้เห็น  
บางรายอาจเร็วหรือ   ช้ากว่านี้   เร็วที่สุด 3วัน   ช้าที่สุด 14วัน

                จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไข้เลือดออก?       


  1. มีไข้แต่อาการไม่รุนแรงลักษณะไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามตัว สามารถมองเห็นได้
  2. มีไข้สูงและมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยดังนี้

2.1.  ระยะไข้:ไข้สูง 39 c – 40 c บางรายอาจถึงชักได้ไข้ลอยอยู่ 2 – 7 วัน หน้าจะแดง   และตาอาจจะแดงด้วย  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอมีส่วนน้อยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ

2.2.  ระยะเลือดออก: จะพบในวันที่ 3– 4 ของโรค  ไข้จะลดลงตัวเย็น ผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะซึมลง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล    เลือดออกตามไรฟันท้องอืด  ตับโต  เบื่ออาหาร  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร   ซึ่งผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดเก่าๆหรือถ่ายอุจจาระสีดำ อาการอาจรุนแรงถึงช็อก หมดสติ


2.3.    ระยะพักฟื้น:   จะฟื้นไข้เร็วและจะหายภายใน   2 – 3 วัน     รวมระยะเวลาของโรคประมาณ      7 -10 วัน


การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก 

                ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะในระยะแรกขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้การรักษาเป็นแบบตามอาการและประคับประคอง โดยปฏิบัติดังนี้
  1. ระยะที่มีไข้สูงควรเช็ดตัวลดไข้ในรายที่เคยมีประวัติชัก  หรือปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว  อาจจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ โดยใช้ยาพาราเซตาเธกเธญเธฅ ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน  เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  2. ให้น้ำชดเชยเพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่  ในรายที่อาเจียน  ควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ  และดื่มน้ำบ่อยๆ
  3. ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด   ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ  เพื่อตรวจดูระดับของความเข้มข้นเลือดและเกล็ดเลือด  ถ้าเกล็ดเลือดต่ำ  เลือดจะออกง่าย   ทำให้มีเลือดออกตามจุดต่างๆ  ของร่ายกาย   ระยะที่เกิดอาการช็อกส่วนใหญ่จะประมาณวันที่3 ของโรค (เวลาที่เกิดอาการช็อกแตกต่างกันไปแล้วแต่ระยะเวลาของไข้)    อาการนำของช็อกได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน/  ถ่ายเป็นเลือด  ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย   มือเท้าเย็น  พร้อมๆกับไข้ลดลง    ถ้าพบอาการเหล่านี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แต่หากเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นในเวลา   5 – 7 วัน
  4. ผู้ป่วยอาจยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติแม้ว่าอาการจะดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตามจึงควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงต่อไปอีก 3 – 5 วัน
  5. หากผู้ป่วยมีอาการปกติ    สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้
  6. ถ้าคนในบ้านมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วย

จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร การป้องกันทำได้2 วิธี คือ
  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด   ซึ่งยุงลายนี้จะกัดในเวลากลางวันควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดป้องกันยุงเข้ามาในบ้านหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น  ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป    ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ดังนั้นส่วนใหญ่สถานที่เพาะพันธุ์ยุงลายจะเป็นภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วย รองขาตู้กันมด  แจกันดอกไม้  ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย
  • ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิด
  • ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำไว้ใช้เพื่อทำลายไข่ยุง(ซึ่งสามารถรับได้ที่สถานีอนามัย)
  • ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็นเพราะอาจมีน้ำขังได้
  • พ่นละอองยาทำลายยุงลาย

โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุม
โดยสถานพยาบาลทุกแห่งจะรายงานการพบโรคให้กองควบคุมโรคติดต่อ   กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการควบคุมโรค  ด้วยการพ่นสารเคมี  เพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่
ซึ่งจะดำเนินการให้หลังจากได้รับแจ้งจากสถานพยาบาลว่า  มีผู้ป่วยบริเวณนั้น
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย สามารถสอบถามได้ที่

สถานพยาบาล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นวัตกรรม ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 2


นวัตกรรม ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารสุข ชำนาญการ

         อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทเรื่องการดูแลสุขภาพในหมู่บ้าน งานหลักทั้งหมด 14 กลุ่ม งานอาสาสมัครสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหินซ้อน มีบทบาทตามภาระงานที่มีการจัดแบ่งงาน จามความถนัดของตนเองครบทั้งหมด 14 กลุ่ม แต่เวลาไหนมีการรณรงค์ จะดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี ในการทำงานในหมู่บ้านและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหมู่บ้าน เดิม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน ให้มีการทำงานตามบทบาทของแต่ละบุคคล พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุข น้อยเกินไป ในการทำงานเกิดความท้อถอยและรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงาน ในปี 2554 ได้ปรับเปลี่ยนให้มีการทำงานทั้งตำบลในแต่ละหมู่บ้านพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีในการทำงานและแสดงความพร้อมเพียงกัน

ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link นี้ https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxuYXdhdHRha3VtMjAxMnxneDo1NDJhMmE0N2Q3ZWIwNTc4


วัคซีนไข้เลือดออก

มหิดลเผยวัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์สำเร็จแล้ว!
มหิดลเผยวัคซีนไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์สำเร็จแล้ว!

  ม.มหิดล เผยวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ สำเร็จแล้ว ปลอดภัยได้ผลดี เชื่อลดผู้ป่วยได้มากกว่า 90% เตรียมจ่อป้อนอุตสาหกรรม แต่ยังขาดโรงงานผลิตวัคซีน พร้อมกระตุ้นรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ คาด 1 ปีเสร็จ ระบุคุ้มค่าการลงทุนแน่นอน เพราะอนาคตเนื่องจากปัญหาโลคร้อนและการขยายตัวของเมืองใหญ่ จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกรุนแรงอย่างมาก
        นพ.สุธี ยกส้าน
หัวหน้าหน่วยงานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานวิจัยการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกให้เป็นวัคซีนต้นแบบของเชื้อไวรัสเด่งกี่ทั้ง 4 สายพันธุ์ ซึ่งเริ่มมีการทดลองมาตั้งแต่ปี 2524 ทำให้ได้วัคซีนต้นแบบชุดแรก และสามารถส่งออกพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ขณะที่ได้มีการพัฒนางานวิจัยวัคซีนต้นแบบชุดที่ 2 ซึ่งประกอบด้วย เชื้อไวรัสเด่งกี่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งเชื้อที่ใช้ในการทดลองเป็นเชื้อเป็นที่ผ่านกระบวนการทดลองในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และในอาสาสมัครทดลองที่เป็นมนุษย์ เพื่อพัฒนาไปสู่ระกับอุตสาหกรรมประสบผลสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ พบว่า วัคซีนได้ผลดี มีความปลอดภัยสูง ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชุดนี้ถือว่าดีกว่าวัคซีนชุดแรก
 
        “ในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจะฉีด 1-2 เข็ม และต้องฉีดทุกๆ 8 ปี ควรฉีดในเด็กก่อนวัยเรียน หรือประมาณ 3 ขวบ ซึ่งช่วงที่เด็กเป็นโรคไข้เลือดออกสูงสุดอยู่ที่ระหว่าง 3-9 ปี โดยใช้ปริมาณวัคซีนขนาด 0.5 ซีซี ส่วนผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนปริมาณ 1 ซีซี หากมีการฉีดวัคซีนแล้ว จะช่วยให้ผู้ป่วยลดลงเกินกว่า 90% ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตรียมเทคโนโลยีการผลิต 2 วิธี วิธีแรกเพาะเลี้ยงในขวดพลาสติกพิเศษ สามารถผสมเป็นวัคซีนได้ถึง 1-2 แสนโดส ส่วนวิธีที่ 2 เป็นการเพาะเลี้ยงด้วยวิธีไบโอรีแอกเตอร์ (Bioreactor) หรือการเพาะเชื้อในขวดหมัก ซึ่งจะผลิตได้ครั้งละจำนวนมากหลายล้านโดส” นพ.สุธี กล่าว
        “ผมได้รายงานผลความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนให้กับ ศ.คลินิก นพ.ปิยสะกล สกลสัตยาทรคณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลไปแล้ว โดยวัคซีนพร้อมที่จะป้อนในระดับอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่า ประเทศไทยขาดโรงงานผลิตวัคซีนที่ใช้เซลล์ อีกทั้งโรงงานที่มีอยู่ในประเทศยังไม่มีแห่งใดที่ได้รับมาตรฐานการผลิตที่ดีหรือจีเอ็มพี ซึ่งนี่คือ ความล้าหลังของไทย ที่สำคัญปัญหานี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะวัคซีนไข้เลือดออกเท่านั้น แต่เป็นปัญหากับงานวิจัยวัคซีนใหม่ๆ ทุกชนิด ที่มีการคิดค้นพัฒนา ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการแต่ก็ต้องขึ้นหิ้งไปเลย เพราะไม่มีโรงงานในระดับอุตสาหกรรม ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงพยายามสร้างโรงงานวัคซีน ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบแต่ยังไม่มีเงิน จึงอยากจะกระตุ้นให้รัฐบาลอนุมัติงบในการสร้างโรงงานวัคซีนจำนวน 80-100 ล้านบาท ซึ่งไม่มากและคุ้มค่ากับการลงทุน โดยตามแผนวัคซีนชาติได้มีการนำเสนอไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ โรงงานจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 8 เดือนและตรวจรับรองคุณภาพอีกประมาณ 4 เดือน ไม่เกิน 1 ปี ก็จะมีโรงงานวัคซีนเกิดขึ้น” นพ.สุธี กล่าว
       
       นพ.สุธี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียดนาม อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย มีโรงงานวัคซีนเกิดขึ้นนานแล้ว อีกทั้งยังรับจ้างผลิตวัคซีนส่งขายในต่างประเทศ ขณะที่ฟิลิปปินส์โรงงานวัคซีนกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งหากประเทศไทยไม่มีโรงงานวัคซีนเป็นของตัวเอง ก็จะทำให้การยกระดับศักยภาพการผลิตยากลำบาก นักวิจัยในประเทศอาจต้องหนีไปให้ต่างประเทศเป็นผู้ผลิตก็เป็นได้
     
        นพ.สุธี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ปัญหาโลกร้อนจะทำให้พื้นที่ในการแพร่ระบาดขยายเพิ่มขึ้น และการที่เมืองใหญ่ๆ จะมีการขยายขนาดทำให้คนกระจุกตัวในเมืองมากขึ้น เช่น ในอนาคต 10-15 ปี กทม.จะมีประชาชนหนาแน่น 15-20 ล้านคน จะทำให้ยุงลายสามารถแพร่เชื้อได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เฉลี่ยประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออกปีละ 4 หมื่นถึง 1 แสนคน และจะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการอีก 3 เท่า ของผู้ป่วยทั้งหมด
       
       “มั่นใจได้ว่า จะยังไม่มีเชื้อไวรัสเด่งกี่ไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในช่วงนี้แน่นอน เพราะเชื้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่สมมติหากเกิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้น ก็ไม่ต้อง ตกใจเพราะเทคโนโลยีที่เรามีสามารถต่อยอดพัฒนาวัคซีนได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ปี หากเรายืนได้ด้วยตัวเองมีนวัตกรรม เทคโนโลยีของตัวเองไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่มีปัญหา” นพ.สุธีกล่าว

Link

https://www.gotoknow.org

https://www.ryt9.com

https://blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด