การเกิดโรคไข้เลือดออก การติดต่อโรคไข้เลือดออก การควบคุมโรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ
ไข้เลือดออก
ยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น
และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย อาการของ ไข้เลือดออก
อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อกชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
ไข้เลือดออก
แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง
โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
1.ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2.ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
3.ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้ การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง


การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์





















โรคไข้เลือดออก
อย่า! ให้คนที่รักจากไป เพราะไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย (Aedes aegyti) ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไวรัสเดงกี่จะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่งๆ ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ
อาการผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกมีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อน - หลัง ดังนี้
1. ไข้สูงลอย 2 - 7 วัน
ผู้ป่วยทุกรายจะมีอาการไข้สูงแบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 - 41 องศาเซลเซียส บางรายอาจถึงชักได้ ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ผิวหนังแดงบริเวณคอหน้าอก และลำตัว เด็กบางคนอาจบ่นปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัวพร้อม ๆ กับมีไข้สูง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาการ อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุด คือ จุดเลือดออกที่ผิวหนัง ตามแขนขา รักแร้ และลำตัวบางรายมีเลือดกำเดาออก เลือดออกที่ใต้เยื่อบุตา เลือดออกตามไรฟัน อาการเลือดออกที่รุนแรง คือ เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดสีน้ำตาล หรือถ่ายดำ อาการเลือดออกมักจะเริ่มเกิดขึ้นประมาณวันที่ 2 - 3 นับแต่เริ่มป่วย จุดเลือดออกตามผิวหนังมักหายไปภายใน 3 - 4 วัน
3. ตับโต กดเจ็บตับมักจะโตและคลำได้ใต้ชายโครงขวา อาจจะกดเจ็บ มักจะตรวจพบได้ประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มป่วย
4. มีภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว / ภาวะช็อก
ในรายที่อาการรุนแรงผู้ป่วยจะมีการช็อก ซึ่งมักจะเริ่มประมาณวันที่ 3 - 4 นับแต่เริ่มมีไข้ผู้ป่วยจะช็อกก่อนไข้จะลงหรือภายในระยะ 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ระยะช็อกนี้จะเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถ้าให้การรักษาไม่ทันผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
ในระยะหลัง ๆ มานี้เริ่มพบผู้ป่วยที่มีการทางสมองคล้ายสมองอักเสบ หรืออาการภาวะของตับล้มเหลว หรือมีความผิดปกติของไตร่วมด้วยในผู้ป่วยบางรายหลังจากไข้หายแล้ว 24 - 48 ชั่วโมง อาการช็อกก็จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เริ่มรับประทานอาหารได้มากขึ้น อาจจะมีผื่นแดงตามแขนขา และวงขาว ๆ ตรงกลางได้ (Convalescent rash)
วิธีรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น
ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออกและไม่มีวัคซีนป้องกันการรักษาโรคนี้เป็นแบบการรักษาตามอาการและประคับประคอง ซึ่งจะได้ผลดีถ้าให้การวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก
การรักษา มีหลักปฏิบัติดังนี้
ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราวเวลาที่ไข้สูงเท่านั้นเนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody)
ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร
และอาเจียนทำให้ขาดน้ำและขาดเกลือโซเดียมด้วย
ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส)
ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ
ระยะช็อกจะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อกมักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย
อาการอันตรายให้รีบส่งโรงพยาบาลทันทีที่มีอาการเหล่านี้
มีอาการซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น
เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลแพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตและอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลงและฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัดให้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลงตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการหรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มากก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา
การป้องกัน
1. ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ซึ่งทำได้หลายวิธี
- ควรกรุหน้าต่าง ประตู และช่องมด้วยมุ้งลวดตรวจตราซ่อมแซมฝาบ้าน ฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาในบ้าน
- เวลาเข้า - ออกควรใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลาดก่อน เพื่อไล่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่ตามที่ต่าง ๆ
- เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก ๆ
- ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอ
- ยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน และมักเป็นช่วงที่คนหลับ ดังนั้นเวลาหลับควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมส่วยเบ่า ๆ ก็ช่วยไล่ยุงได้หรือถ้าหากที่บ้านมียุงมากจริง ๆ ก็ต้องพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้าสวมใส่สักหน่อย ซึ่งควรใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เปล่าเปลือยและเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด
2.กำจัดยุงและลูกน้ำ
- ปิดฝาภาชนะขังน้ำ
- คว่ำทำลายภาชนะขังน้ำที่ไม่ใช้งาน
- ปรับสภาพน้ำโดยใส่เกลือหรือปูนแดง หรือน้ำส้มสายชูในจานรองขาตู้กันมด
- หมั่นขัดล้างเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะต่าง ๆ
- หมั่นตักลูกน้ำออกจากภาชนะ
- ใช้สารกำจัดลูกน้ำ เช่น ทรายอะเบท
- ใช้สารเคลือบผิวน้ำ (Oil surfactant)
- ใช้ผลิตภัณฑ์เคมีกระป๋องแบบฉีดพ่น
- ใช้ปลาหางนกยูงหรือปลาอื่น
- ใช้ไม้ตียุงไฟฟ้า/ใช้มือตี
ที่มา สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- การควบคุมโรคไข้เลือดออก
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
ในเดือนสิงหาคม 2554 พบการระบาดของไข้เลือดออกในชุมชนมหาวิทยาลัยและชุมชนสามเหลี่ยม พบผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และจากการติดตามเฝ้าระวังไข้เลือดออกในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น บ้านพัก หอพักต่าง ๆ รวามทั้งสถานที่ทำงาน ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกที่เป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น รายล่าสุดที่พบป่วยเป็นไข้เลือดออก ป่วยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ขณะนี้กำลังดำเนินการควบคุมโรค กำจัดยุงตัวแก่เต็มวัยและแหล่งเพาะพันธ์ลุกน้ำยุงลาย บุคลากร นักศึกษา ประชาชน และผู้รับบริการสามารถป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก ได้อย่างง่าย ๆ โดยเริ่มต้นจากการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่ทำงาน บ้านพัก โรงเรียน เพื่อตัดวงจรการเกิดโรคไข้เลือดออ
วิธีป้องกันโรค
1. กำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งยุงลายนั้นจะไข่ในน้ำใสค่อนข้างสะอาด (ไม่ไข่ในน้ำ เน่า) ที่ขังนิ่ง เพียงแค่ทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆ บ้านทุก 7 วัน ก็จะสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ โดยการกำจัดลูกน้ำสามารถทำได้ดังนี้
- ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
- ตรวจดูแจกัน และเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
- ใส่ปลาที่กินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ลงในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
- เก็บหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขังที่ไม่ใช้แล้ว
- คว่ำภาชนะไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง
- ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในน้ำจานรองตู้กับข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่
- ใส่ทรายอะเบต (abate) ชนิด 1% ลงในภาชนะ ในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร และควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน
2. ป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ยุงลายจะหากินในเวลากลางวัน ดังนั้น เมื่อต้องนอนกลางวันจึงควรกางมุ้งหรือจะหาอะไรคลุม
อย่าให้ยุงกัดได้ และควรอยู่ในที่มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทสะดวก
การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
Link
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
https://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/disease/dhf.html
https://th.wikipedia.org/wiki/โรคไข้เลือดออก,
https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf.htm
https://donyaihom-sao.com/news/news_detail.php?news_id=00026