สาเหตุของโรคไข้เลือดออก


2,596 ผู้ชม


สาเหตุของโรคไข้เลือดออก อบรมสัมมนาการตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก อาการเป็นไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก
          

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ D1 D2 D3  และ D4      ปัจจุบันยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่   เนื่องจากการระบาดแต่ละปีจะมีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งเด่นขึ้นมา  ซึ่งบางครั้งสายพันธุ์ที่ระบาดปีนี้อาจหายไปหลายปีแล้ว ทำให้รู้สึกว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่  แต่อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดความรุนแรงได้เท่าเทียมกัน
ตัวนำและตัวแพร่กระจายโรค  :  เชื้อไวรัสเดงกี่จะแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยมียุงลายเป็นตัวพาหะ ยุงลายจะวางไข่ในน้ำนิ่งและสะอาด  และกัดคนในเวลากลางวัน   พบยุงลายชุกชุมในฤดูฝน  ยุงลายตัวเมียเท่านั้นจะดูดเลือดคนที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่อยู่ในกระแสเลือด (ในช่วงที่มีไข้สูง)  เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในตัวยุง  ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 8-10 วัน  โดยไวรัสจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารจากนั้นก็เข้าสู่ต่อมน้ำลาย เตรียมพร้อมที่จะปล่อยเชื้อไวรัสให้กับคนที่ถูกกัดครั้งต่อไปได้ตลอดอายุของยุงตัวเมีย  ซึ่งอยู่ได้นานประมาณ 30-45 วัน  ยุงตัวเมียหลังจากดูดเลือดคนแล้ว จะวางไข่ตามผิวภายในของภาชนะเหนือระดับน้ำเล็กน้อย   อาศัยความชื้นจากน้ำที่ขังอยู่ และความมืด  ไข่จะฟักตัวเป็นลูกน้ำภายใน 2 วัน จากลูกน้ำเป็นตัวโม่ง 6-8 วัน  จากตัวโม่งกินเวลา 1-2 วัน  ก็จะเป็นยุงตัวเต็มวัยบินออกไปหาอาหารและผสมพันธุ์  ส่วนใหญ่จะพบยุงลายอยู่ภายในบ้านและรอบ ๆ บ้าน   มีระยะบินไม่เกิน 50 เมตร ไข่ยุงลายที่ติดอยู่กับขอบผิวภาชนะ  มีความทนต่อความแห้งแล้งเป็นเวลานานถึง 1 ปี เมื่อเข้าฤดูฝนมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็จะฟักตัวเป็นยุงได้ในระยะเวลา 9-12 วัน 
ระยะฟักตัวของโรคไข้เลือดออก : หลังจากได้รับเชื้อเดงกี่จากยุงกัด ใช้เวลา 5-8 วันจึงจะเริ่มมีอาการของโรค 

โรคไข้เลือดออก


               

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไปนี้


               

อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก


                เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific
          ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1          
               
               

        สาเหตุไข้เลือดออก


                โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

หมออนามัย แนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก


หมออนามัย แนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ


โรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ พบมากในเด็กวัยเรียน   สถานการณ์ของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอด ต่างจากอัตราป่วยตายลดลงอย่างมาก แสดงว่า พัฒนาการด้านการรักษาพยาบาลดีขึ้น แต่ประชาชนยังขาดความร่วมมือต่อการป้องกันควบคุมโรค


สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus)มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4  ทั้งนี้ 4  serotype มี Antigen บางส่วนร่วมกัน  ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต  และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้นๆ ไม่ถาวร ประมาณ 6-12 เดือน     หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ    ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก (DHF)  ความสัมพันธ์ระหว่างการระบาดของโรคกับการเปลี่ยนแปลง Serotype โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นของ DEN-4 ในการระบาดของปี พ.ศ. 2520    การเพิ่มขึ้นของ  DEN – 1 ในปี พ.ศ. 2523   การเพิ่มขึ้นของ DEN -3  ในการระบาดในปี พ.ศ. 2530 – 2531  และตั้งแต่ ปี 2548 – 2550 พบเชื้อ DEN-1 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น   ปัจจุบัน พบ DEN-1 เริ่มลดลง และ DEN-2, DEN-3,DEN-4 มีสัดส่วนมากขึ้น  สรุปได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกเดงกี คือ มีไวรัสเดงกีชุกชุมมากกว่า1 ชนิด  การติดเชื้อซ้ำด้วย DEN-2 มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดเป็น DHF โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อครั้งที่ 2 ภายหลังการติดเชื้อครั้งแรกด้วย DEN-1

การติดต่อ โรคไข้เลือดออกติดต่อถึงกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes  aegypti)เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยในระยะไข้สูง และฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน จากนั้นเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนปกติ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้  สำหรับเชื้อไวรัสเดงกีนี้จะอยู่ในตัวยุงนั้นตลอดชีวิตของยุง คือ ประมาณ 45 วัน

อาการ    หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ ดังนี้

1.ไข้สูงเฉียบพลัน (38.5 –40 องศาเซลเซียส) ประมาณ 2-7วัน หน้าแดง ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร อาเจียน ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกไม่ไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกจากโรคหัดและไข้หวัด

2. มีอาการเลือดออก เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย (tourniquet test ให้ผลบวก ตั้งแต่ 2-3 วันแรก) มีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามแขนขา ลำตัว รักแร้ มีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาจมีอาเจียนและอุจจาระสีดำ

3. มีตับโต กดเจ็บ   ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย

4. มีภาวะช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมา ออกไปยังช่องปอด/ช่องท้อง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับไข้ลดลงอย่างรวดเร็วอาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว  pulse pressure แคบ  ส่วนใหญ่ จะรู้สติ พูดรู้เรื่อง กระหายน้ำ อาจมีอาการปวดท้องกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ถ้ารักษาไม่ทัน จะมีอาการ ปากเขียว ผิวสีม่วง ๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 -24 ชั่วโมง ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว


การรักษา ไม่มีการรักษาที่เฉพาะและไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาแบบประคับประคอง ตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ให้น้ำให้เพียงพอ และพักผ่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์   เมื่อผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีไข้สูง 4-5 วัน (พบร้อยละ 70)  ซึ่งวันที่เป็นระยะวิกฤต/ช็อกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำกว่าเดิม จึงพึงระลึกเสมอว่าวันที่ 3 ของโรค เป็นวันที่เร็วที่สุดที่ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีโอกาสช็อกได้  และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีสติดีสามารถพูดจาโต้ตอบได้
จะดูเหมือนผู้ป่วยที่มีแต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น
ให้รีบนำผู้ป่วยส่งต่อโรงพยาบาลระดับสูงทันที

การป้องกันโรค โรคไข้เลือดออก สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว การป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญ จึงต้องไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะในผู้ป่วย โดยการลดจำนวนยุงตัวเต็มวัย และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ซึ่งจะต้องทำให้ครอบคลุม   ทุกครัวเรือน ต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี   มีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้

 1. วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  คือ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อลดจำนวนยุงตัวเต็มวัยและแหล่งเพาะพันธุ์ให้ได้มากที่สุด โดยมีข้อแนะนำสำหรับสถานศึกษา ได้แก่ ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา ทุก 7 วัน ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของยุง  การแพร่เชื้อ และวิธีป้องกัน

1.1 ทางกายภาพ  ได้แก่ การปิดภาชนะกักเก็บน้ำด้วยฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่  อาจจะใช้ผ้ามุ้งผ้ายางหรือพลาสติกปิดและมัดไว้ ภาชนะที่ยังไม่ใช้ประโยชน์ควรจะคว่ำมิให้รองรับน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สิ่งของเหลือใช้    เช่น  กะลา กระป๋องควรเผาหรือฝัง แจกันดอกไม้สดควรเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน วิธีการเหล่านี้ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดทั้งปี

1.2 ทางชีวภาพ  คือ การปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บกักน้ำ เช่น โอ่งตุ่ม 2-4 ตัว หมั่นดูแลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  วิธีนี้ง่ายประหยัดและปลอดภัย  1.3 ทางเคมี  โดยใส่ทรายมีฟอส ในภาชนะเก็บน้ำใช้  ควรใช้เฉพาะภาชนะที่ไม่สามารถปิดหรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ 

2. วิธีการลดยุงตัวเต็มวัย มีดังนี้

2.1 ใช้ไม้ตียุง ใช้น้ำผสมน้ำสบู่หรือผงซักฟอก ฉีดพ่นให้ถูกตัวยุง 

2.2 การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีควบคุมป้องกันยุงที่ให้ผลดี แต่ให้ผลระยะสั้น ราคาแพง  ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้  เพราะเคมีภัณฑ์ อาจเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงควรใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น

 3. การป้องกันยุงกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง ใช้สมุนไพร/พัดลมไล่ยุง ใส่เสื้อให้มิดชิด หลีกเลี่ยงที่มืด ทึบ อับ ชื้น 

แผนยุทธศาสตร์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  ปี 2555

1.) วัตถุประสงค์     เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกให้ลดน้อยลง

2.) ตัวชี้วัด และเป้าหมาย เมื่อสิ้นสุดปี 2555 ระดับตำบล

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (DF+DHF+DSS) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  

2. อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.13

3. ควบคุมลูกน้ำในเขตตำบล (ร้อยละ 80 ของเขตตำบลหินซ้อน  มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  HI< 10)

4.  ควบคุมลูกน้ำในโรงเรียน   (ร้อยละ 80 ของโรงเรียน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  CI= 0)

5. ควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่มีผู้ป่วยเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ได้จบไปแล้วมากกว่า 28 วัน)

หมายเหตุ  เกณฑ์และตัวชี้วัดงานควบคุมโรคป้องกันโรคไข้เลือดออก ระดับตำบลหินซ้อน  คือ

1.       เกณฑ์ตัวชี้วัดการควบคุมการระบาด

 -    ความทันเวลาของการได้รับแจ้งเมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

-    ความครบถ้วนของการสอบสวนผู้ป่วยรายแรก (Index Case) ระดับหมู่บ้าน

2.       เกณฑ์ตัวชี้วัดการควบคุมพาหะนำโรค

 -   ความพร้อมของทีมควบคุมพาหะนำโรคระดับตำบล

-   ความทันเวลาในการควบคุมแหล่งแพร่โรค

-  ความครอบคลุมในการควบคุมแหล่งแพร่โรค

 3.) ยุทธศาสตร์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เริ่มที่ลูกน้ำ และการควบคุมการระบาด  โดยมีขอบเขตในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องตามผลการประชุม The strategic plan for prevention and control of Dengue in Asia-Pacific (2007-2015) ดังนี้

1.  การเพิ่มความเข้มแข็งในการพยากรณ์การระบาด และการค้นหาผู้ป่วยอย่างฉับไว มีแนวทางในการดำเนินงานเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเตือนภัยการระบาดโดยใช้ความร่วมมือจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน   ผู้นำชุมชนและผู้ปฏิบัติในการดำเนินงาน มีการเฝ้าระวังทาง กีฏวิทยาและ Dengue serotype

2.   ปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถานพยาบาลในการรักษา DSS/DHF และจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยผ่านสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติทางแพทย์และมีแนวทางมาตรฐานการปฏิบัติ

3.    สนับสนุน การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกผ่านกระบวนการกำจัดยุงลายพาหะนำโรคแบบบูรนาการ     มีแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่ การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยผ่านนโยบายสาธารณะ พัฒนาคู่มือ  และเผยแพร่
รวมทั้งผลักดันให้ชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เน้นโครงการบ้านสะอาดน่าอยู่ รณรงค์กำจัดภาชนะที่มีศักยภาพในการขังน้ำอันจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้เมื่อมีฝนตกหรือน้ำท่วมขัง  รวมทั้งสนับสนุนให้องค์การบริหารงานส่วนตำบลหินซ้อนเกิดความตระหนักในการเก็บกวาดล้างวัสดุ และกองขยะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

4.    สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมทั้งการปรับนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น มีการกำกับดูแลและเฝ้าระวังพาหะนำโรคใน โรงเรียน วัด บ้านและชุมชน
รวมทั้งแหล่งอื่นๆ สร้างเครือข่ายสำหรับผู้ประกอบการยางรถยนต์และประสานให้มีการกำจัด หรือ Recycle ยางรถยนต์ ซึ่งเป็น Key Container ที่สำคัญ

การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ล่วงหน้าก่อนช่วงระบาด เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อไวรัสในหน้าแล้ง ก่อนฤดูฝนจะเริ่มต้น ประมาณเดือนมีนาคม

เป็นการดำเนินงานระยะที่ 1 (Phase 1)   ที่สำคัญที่สุดในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก   ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี (เดือนมีนาคม - ตุลาคม) รวม 6 เดือน   คือ การลดโรคไข้เลือดออกให้น้อยที่สุด หากเกิดการระบาดแล้ว การควบคุมป้องกันไข้เลือดออกจะทำได้ยากและสูญเสียงบประมาณเพิ่มมากขึ้น พื้นที่เป้าหมาย   คือ หมู่บ้าน ชุมชน มีขั้นตอนที่ต้องพิจารณา   ดังนี้

ขั้นที่1.วิเคราะห์ต้นตอการระบาดสืบค้นแหล่งรังโรคและพื้นที่เสี่ยง ต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก   เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการจัดการ

ขั้นที่ 2. กำจัดศักยภาพของแหล่งแพร่โรค  - กำจัดภาชนะเสี่ยงสำคัญ   - จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ - กวาดล้างลูกน้ำยุงลายให้ลดลงต่ำที่สุด HI =0 CI =0

ขั้นที่ 3. ระงับการแพร่เชื้อ - เฝ้าระวังไข้ ค้นหาผู้ป่วย ส่งตรวจวินิจฉัย     และควบคุมป้องกันยุงลายพาหะนำโรค ป้องกันไม่ให้ยุงกัด 

 2. การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกช่วงระบาด  ระยะที่ 2 (Phase 2)   ตั้งแต่เดือนเมษายน – พฤษภาคม   เป็นการ ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการเร่งรัดในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน  วัด บ้าน ชุมชนต่างๆ แหล่งท่องเที่ยว   ระบบการรายงาน ที่รวดเร็ว    ความทันเวลาในการควบคุมโรค มาตรฐานการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

 3. การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก การระบาดของโรคให้เกิดน้อยที่สุด ระยะที่ 3 (Phase 3)   ตั้งแต้เดือนมิถุนายน– กันยายน   เป็นช่วงที่ต้องมีควบคุมการระบาดของโรคให้เกิดน้อยที่สุด (น้อยกว่าค่า Target line)    ต้องระงับการแพร่เชื้อ   เฝ้าระวังโรค ค้นหาผู้ป่วย ส่งตรวจวินิจฉัย และควบคุมป้องกันยุงพาหะนำโรค     ระบบการรายงาน ที่รวดเร็ว    การสอบสวนโรค    ความทันเวลาในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก มาตรฐานการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่   ประเมินผลการดำเนินงาน ได้แก่การประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย  การประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับตำบล

แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออกระบาด 

      เมื่อเกิดมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดในชุมชนหรือหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้โรคไข้เลือดออกสงบโดยเร็วที่สุด  ไม่ให้ระบาดติดต่อไปยังชุมชนอื่น หากเริ่มดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกช้า โรคจะแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินกำลังที่จะควบคุม โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคม ของทุกปี  แต่ทั้งนีสภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ช่วงเวลาที่โรคไข้เลือดออกระบาดมีความแตกต่างกัน
     สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ การระบาด  เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค  คือ การเฝ้าระวังโรค (Disease Surveillance) ที่รวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน เพื่อให้รู้การเกิดโรคได้โดยรวดเร็ว    การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา (Vector Surveillance) สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงประเภทแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญ (Key Container) ของยุงลาย   การเฝ้าระวังเกี่ยวกับผู้ป่วยและติดเชื้อ โดยศึกษาแนวโน้มของโรค ชนิดของ serotype   แนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้

แนวทางการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 1. ประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่ามีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนนั้น พร้อมกับให้      สุขศึกษาแก่ประชาชน ให้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ให้ความรู้วิธีปฏิบัติเมื่อเด็กป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก  และวิธีการควบคุมป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่อาจมีหลงเหลือ
อยู่ในชุมชนให้หมดไป   การกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และบริเวณรอบบ้านผู้ป่วยควรดำเนินการในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคหลังการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก ควรมีค่า HI < 10

 2.ใช้มาตรการเร่งด่วน เพื่อควบคุมป้องกันการระบาด คือ
การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย วิธีการนี้จะลดจำนวนยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกในชุมชน หากพ่นสารเคมีต้องครอบคลุมพื้นที่ จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคลงได้ ทั้งนี้ทีมควบคุมป้องกันโรคต้องมีความพร้อมในการควบคุมป้องกันยุงลายพาหะนำโรค อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วย โดยจะสามารถปฏิบัติการได้ทันทีดำเนินการ ควบคุมป้องกันแหล่งแพร่โรคภายใน 24ชั่วโมง เมื่อได้รับการยืนยันจาการสอบสวนผู้ป่วยโดย  ว่าเป็นพื้นที่นี้เป็นแหล่งแพร่โรค   ลักษณะการพ่นสารเคมีควรปฏิบัติตามการกระจายของผู้ป่วย ดังนี้

 2.1 หากเกิดมีผู้ป่วย ควรดำเนินการควบคุมป้องกันโรค แหล่งแพร่โรค (หมู่บ้านหรือชุมชน) โดยพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วย และพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย100 เมตรควรพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน  

 2.2 หากเกิดมีผู้ป่วยกระจายทั่วไปในชุมชนหรือหมู่บ้าน ควรพ่นสารเคมีทุกหลังคาเรือนในชุมชน และควรพ่นสารเคมีให้มีบริเวณกั้นกลาง (Barrier Zone) ที่ปลอดยุงรอบชุมชนนั้นด้วย หากมีหมู่บ้านอื่นอยู่ข้างเคียงก็ควรพิจารณาพ่นสารเคมีเพิ่มเติมให้แก่หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงนั้นด้วย

 3. รายงานโรคไข้เลือดออก (DF/DHF/DSS) ทั้งรายที่สงสัยและที่ได้รับการยืนยันทันที เพื่อการควบคุมป้องกันโรค w-hgnvfvvd

  4. พัฒนาทีมเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับตำบล ให้สามารถดำเนินการควบคุมป้องกันโรคอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและทันเวลา

  5.ให้สถานพยาบาลทุกแห่ง เตรียมพร้อมทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อรองรับการระบาด

   6.ประสานความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพขององค์การบริหารงานส่วนตำบลหินซ้อน และเครือข่ายในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก     Passive Surveillance เน้นคุณภาพการรายงานที่ถูกต้อง ทันเวลา        การวิเคราะห์รายงาน จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ที่ศูนย์ควบคุมโรคระดับอำเภอ จังหวัด และเขต     พัฒนาการใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อการเตือนภัยในทุกระดับ (การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ 3 ระยะ การใช้ Target line, Base line และ Median ) รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์และการเตือนภัยทางระบาดวิทยา       Active Surveillance     การเฝ้าระวังผู้ป่วยมีไข้ระดับ Fever Alert โดยให้ทีมควบคุมป้องกันโรคระดับพื้นที่เข้าดำเนินการสอบสวนและควบคุม (กำจัดทำลายแหล่ง)  โรคในพื้นที่ผิดปกติ   Serological Surveillance       สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยส่งตรวจ โดยเฉพาะในช่วงฤดูก่อนการระบาด เพื่อประเมินสถานการณ์การระบาดของโรค     Vector Surveillance    กำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรคโดยให้มีการลดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกชุมชน และทุกหมู่บ้าน    จัดระบบการสุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคของพื้นที่

2. การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและการระบาด

  1. การสอบสวนโรคเพื่อหาแหล่งโรค ในพื้นที่ระบาดและดำเนินการควบคุมป้องกันการแพร่โรค     พัฒนาศักยภาพของ SRRTในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ระบาด และดำเนินการควบคุมป้องกันโรคได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ   การพัฒนาทีมปฏิบัติการควบคุมป้องกันการระบาดในพื้นที่ โดยการสอบสวน ทำลายแหล่งยุงลาย โดยเน้นการใช้บุคลากรที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข ร่วมกับบุคลากรท้องถิ่น


 2.  พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และชุมชนในการควบคุมป้องกันโรค พัฒนาศักยภาพชุมชนแบบเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เทคนิคประชาคมและใช้บทสรุปของประชาคม ในการควบคุมป้องกันโรค   สนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยดำเนินการบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายยั่งยืนโดยใช้การประกวดและการรณรงค์เพื่อการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในระดับครัวเรือน โดยใช้มาตรการทางกายภาพ ชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น  สนับสนุนกิจกรรมการควบคุมป้องกันโรคในโรงเรียน  โดยเฉพาะโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ชุมชน และบ้าน ประสานงานและสนับสนุนหน่วยงาน และองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการด้านกฎหมายในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก


3.  การพัฒนาระบบบริหารจัดการในพื้นที่ ผลักดันให้เป็นนโยบายระดับจังหวัด เพื่ออำนาจการสั่งการผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด/ นายอำเภอจัดประชุมเครือข่ายระดับตำบล  องค์การบริหารงานส่วนตำบล เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยง ทิศทาง บทบาทและเกณฑ์การติดตามประเมินผล ให้มีการดำเนินงานแบบ Partnership จัดระบบการควบคุมคุณภาพและประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยใช้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index, Container Index) และการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก  สรุปวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขของ War room เครือข่ายระดับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากระบบการวิเคราะห์รายงาน การประชาสัมพันธ์ และแจ้งข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักและการให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ผ่านหอกระจายข่าว และสื่อท้องถิ่น


 1.   การควบคุมป้องกันยุงลายพาหะนำโรค กรณีเกิดการระบาดในพื้นที่ จะร่วมดำเนินการกับทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการควบคุมป้องกันยุงลายพาหะนำโรค ภาคีเครือข่ายต่างๆในการค้นหาและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะนำโรค ติดตามประเมินผลและดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องจนกว่าการระบาดจะยุติ


  2.  การสร้างภาคีเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
เป็นผู้นำในการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ชุมชน เป็นผู้นำในการให้ความรู้เรื่อง การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ชุมชน เป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการควบคุมป้องกันไข้เลือดออกแก่ ชุมชน ร่วมสร้างภาคีเครือข่ายในชุมชนต่างๆเพื่อการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก


                  ในการ ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก กิจกรรม
  ร่วมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จัดทำบัตรเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประชาคมหมู่บ้านร่วมดำเนินงานการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เช่น โครงการธนาคารขยะ โครงการบ้านสะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก การใช้สัญลักษณ์ธงสี ปักหน้าบ้านแสดงสถานะของการพบลูกน้ำในครัวเรือน มีกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพครบวงจรบริการประชาชน แสดงสถานะทางสุขภาพด้วยโรคต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่   การใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้บริการทางสุขภาพแก่ประชาชน ทั้งโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์โดยรถยนต์ครอบคลุมพื้นที่
มีหนังสือขอความร่วมมือควบคุมป้องกันโรค จาก องค์การบริหารส่วนตำบล ถึงทุกครัวเรือน แจกเอกสาร  แผ่นพับทุกครัวเรือน รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จัดนิทรรศการโรคไข้เลือดออก อย่างน้อยทุก 3 เดือนครั้ง จัดประชุม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกเดือนเพื่อสรุปผลและวางแผน อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือสำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งทุก 7 วัน ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบล ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพ่นสารเคมี/ใส่ทรายมีฟอส

     กิจกรรมต่อเนื่อง
       ประชุมวางแผนควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก- พ่นสารเคมี (ULV ติดรถยนต์) ทุก3เดือนวางแผนการสำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งทุกๆ 7 วัน อย่างต่อเนื่องประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อแสถานการณ์โรคและวางแผนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรค ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ และทำ Big Cleaning Day เดือนละ 1 ครั้ง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชน ร่วมเฝ้าระวังสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทุก 7 วัน พ่นสารเคมีพื้นที่เสี่ยง  พื้นที่ระบาดประชุม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทุกเดือน  รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จัดตั้งแกนนำเครือข่ายการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก   ป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณทางแยกในตำบลหินซ้อน แจกเอกสารแผ่นพับติดโปสเตอร์ตามบ้านเรือน ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์


  
อาการของผู้ที่ติดเชื้อโรคไข้เลือดออก 
       

          หลังจากได้รับเชื้อจากยุงที่เป็นพาหะแล้วประมาณ 5 - 8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนถึงช็อก และ ถึงเสียชีวิตได้

          โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อน และ การเกิดหลัง ดังนี้

          ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ไข้อาจสูงถึง 40 –41 องศาเซลเซียส
ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติการชักมาก่อน หรือ ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ( Flushed face ) อาจตรวจพบคอแดง (injected pharynx ) ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล หรืออาการไอ ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคจากหัดในระยะแรก และโรคระบบทางเดินหายใจได้ เด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา


          ในระยะไข้นี้ อาการทางระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย คือ เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งในระยะแรกจะปวดโดยทั่วไป และอาจปวดที่ชายโครงขวาในระยะที่มีตับโต ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2 – 7 วันประมาณร้อยละ 15 อาจมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน และบางรายไข้จะเป็นแบบ biphasicได้ อาจพบมีผื่นแบบ erythma หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้

          อาการเลือดออก : อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดที่ ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่า เส้นเลือดเปราะ แตกง่ายการทำ torniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2 –3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน

          ในรายที่รุนแรง อาจมีอาเจียน แล ะถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (malena ) อาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับภาวะช็อก ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3- 4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ตับจะนุ่มและกดเจ็บ

           ตับโต ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3 – 4 นับ แต่เริ่มป่วยตับจะนุ่มและกดเจ็บ


           ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือ ช็อก: มักจะเกิดช่วงไข้จะลด เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ซึ่งจะพบทุกรายในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24 – 28 ชั่วโมง


          ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีจะมีอาการรุนแรง มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น
เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้อง มากเกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลามีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน ) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน ) ผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็วความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ตรวจพบ pulse pressure แคบเท่ากับ หรือ น้อยกว่า 20 มม.ปรอท (ค่าปกติ 30 - 40 มม.ปรอท) โดยมีความดัน diastolic เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (BP 110/90 , 100/80 มม.ปรอท ) ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่อยู่ในภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีภาวะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจบ่นกระหายน้ำ

         
บางรายอาจมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นอย่างกระทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดเป็นภาวะทางศัลยกรรม (acute abdomen ) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง รอบปากเขียว ผิวสีม่วงๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและ/หรือวัดความดันไม่ได้ (profound shock )ภาวะรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีภาวะช็อก หากว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาช็อกอย่างทันท่วงทีและถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ระยะ profound shock
ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

          ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดลง ผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อย ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของชีพจร และความดันเลือด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด เนื่องจากมีการั่วของพลาสมาออกไป แต่รั่วไม่มาก จึงไม่ทำให้เกิดภาวะช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อให้การรักษาในระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว


 

 
 



 
 
 
ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti)


 
 



 
 
 
ยุงลายสวน (Aedes albopictus)

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

 


                     
วิธีรักษาผู้ป่วย โรคไข้เลือดออก เบื้องต้น 
       

          ขณะนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัส ที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไข้เลือดออก และไม่มีวัคซีนป้องกัน การรักษาโรคนี้ เป็นแบบการรักษาตามอาการ และประคับประคอง ซึ่งจะได้ผลดี ถ้าให้การวินิจฉัยโรค ได้ตั้งแต่ระยะแรก

การรักษา มีหลักปฏิบัติดังนี้

          - ในระยะไข้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในรายที่ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว อาจให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาพวกแอสไพริน เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน และเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว เฉพาะเวลาที่ไข้สูงเท่านั้น เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ไข้ก็อาจขึ้นสูงได้อีก จนกว่าเชื้อไวรัสจะหมดจากกระแสเลือด ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันขึ้น (Antibody) ขึ้นมาเอง

          - ให้ผู้ป่วยได้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ และขาดเกลือโซเดียมด้วย ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้ หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) ในรายที่อาเจียน ควรให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ และดื่มบ่อย ๆ

          - จะต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ภาวะช็อก มักจะเกิดพร้อมกับไข้ลดลง หรือภายใน 24 - 48 ชั่วโมง หลังจากไข้ลด มักเกิดประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย ควรแนะนำให้พ่อแม่ ทราบอาการนำของช็อก ซึ่งอาจจะมีอาการซึม เบื่ออาการ ไม่รับประทานข้าว หรือดื่มน้ำติดต่อกันหลายวัน อาจมีอาการ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา หรือมีอาการปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น แนะนำให้รีบส่งโรงพยาบาลทันที ที่มีอาการเหล่านี้ 

          - เมื่อผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเลือดดูปริมาณเกล็ดเลือด และ ปริมาณเม็ดเลือดต่อน้ำเลือด หรือเรียกว่า ฮีมาโตคริต Hct และอาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริตเป็นระยะ ๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และฮีมาโตคริตเริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน้ำเลือด รั่วออกจากเส้นเลือด และอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย


          - โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วย เข้ารักษาในโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะแรกที่ยังมีไข้ สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้ยาไปรับประทาน และแนะนำให้ผู้ปกครอง เฝ้าสังเกตอาการตามข้อ 3 หรือแพทย์นัด ให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เป็นระยะ ๆ โดยตรวจดูการเปลี่ยนแปลง ตามข้อ 4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการ หรือแสดงอาการช็อก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ถึงแม้อาการไม่มาก ก็ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย และถือว่าเป็นเรื่องรีบด่วนในการรักษา


          - ต้องให้คำแนะนำอาการอันตราย หรืออาการก่อนช็อกแก่ผู้ปกครอง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

Link 

https://www.inf.ku.ac.th/

https://www.tm.mahidol.ac.th

https://www.thaigoodview.com

https://guru.sanook.com

https://www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด