โรคไข้เลือดออก การติดต่อ


9,162 ผู้ชม


โรคไข้เลือดออก การติดต่อ โรคไข้เลือดออก แบบสอบถาม โรคไข้เลือดออกแนวทางการรักษารพ.

ไข้เลือดออก  (Dengue hemorrhagic fever)


 

สาเหตุของโรค

      เกิดจากไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อตรั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อค หรือเสียชีวิต โรคนี้พบมาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

 

การติดต่อ

    โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงหลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวันแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ
แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น โดยทั่วไปโรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากเด็กมักอยู่ในบ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ และยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี

 
 

อาการ

         ในการติดเชื้อไวรัสแดงกีครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80-90%) จะไม่แสดงอาการ ผู้มีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนังได้ แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาจเป็นไข้เลือดออก ซึ้งมีอาการสำคัญแบ่งแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ

        1. ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เด็กบางคนอาจชัก เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา ระยะนี้จะเป็นอยู่ราว 2-7 วัน

        2. ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็นชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง

        3.ระยะพักฟื้น อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว


           
 

การวินิจฉัย

      
          เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก คือมีไข้สูง มีเลือดออกง่าย (ทดสอบโดยการรัดแขนแล้วพบจุดเลือดออกตามร่างกาย เช่น เลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน) เจ็บชายโครงขวาเนื่องจากตับโต ช็อคตรวจเลือดพบเกล็ดเลือดต่ำ เลือดข้นขึ้นและอาจตรวจน้ำเหลืองหรือเพาะเชื้อไวรัสจากเลือด เพื่อยืนยันการวินิจฉัยอย่างไรก็ตาม ในระยะ 1-2 วันของไข้ อาจมีอาการไม่ชัดเจน ผลเลือดอาจจะยังปกติ จึงต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและเจาะเลือดซ้ำถ้าอาการไม่ดีขึ้น

 

การรักษา

        เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสเดงกีการรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซทตามอลในช่วงที่มีไข้สูง ห้ามให้ยาแอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ยาแก้คลื่นใส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันภาวะช็อคได้ ระยะที่เกิดช็อคส่วนใหญ่จะเกิดพร้อมๆกับช่วงที่ไข้ลดลง ผู้ปกครองควรทราบอาการก่อนที่จะช็อค คือ อาจมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลงมีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆกับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเป็นดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

การป้องกัน


             
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน

  •              
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆบ้าน

  •              
  • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุง 7 วัน เช่น แจกัน

  •              
  • กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง

  •              
  • เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ

  •              
  • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำ
                    (Temephos)ในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้

  •              
  • ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าว

  •             

         
       

 โรคไข้เลือดออก แบบสอบถาม

การสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค
เรื่อง โรคไข้เลือดออก

     

คำชี้แจง
      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด


     

1. ข้อใดคือพาหะนำโรคไข้เลือกออก


    ก.  ยุงดำ
    ข.  
    ยุงลาย
    ค.  
    ยุงเท้าช้าง
    ง.  
    ยุงก้นปล้อง
2. ข้อใดคืออาการ
            ในการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกครั้งแรก

     
    ก.  ช็อก
    ข.  
    จะค่อยๆมีอาการเลือดออก
    ค. 
    จะมีไข้สูงลอย เหมือนไข้หวัดใหญ่
    ง.   
    ถูกทุกข้อ
3. การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกควรทำอย่างไร
     

    ก.  ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
    ข. 
    เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
    ค.  
    เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
    ง.  
    ถูกทุกข้อ

4. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดใด
     

    ก.  ยาแอสไพริน
    ข.
    พาราเซทตามอล
    ค.  
    ยาพวกไอบรูโพรเฟน
    ง.  
    ถูกทั้งข้อ ก และ ค

5. ถ้าผู้ป่วยอ่อนเพลีย
            ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง ตัวลาย แสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ระยะใด

          

    ก.  ระยะไข้สูง
    ข.
    ระยะไข้สูง
    ค.  
    ระยะฟื้น
    ง.  
    ผิดทุกข้อ

6. ผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกควรงดเว้นอาหารหรือเครื่องดื่มในข้อใด
     

    ก.  นม
    ข.
    ข้าวต้ม
    ค.  
    ช็อคโกแลต
    ง.  
    ไอศครีม

7. อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณใด
     

    ก.  ผิวหนัง
    ข.
    ช่องปาก
    ค.  
    กระเพาะอาหาร
    ง.  
    เล็บมือ เล็บเท้า

8. วัสดุในข้อใดเป็นที่อาศัยของพาหะของโรคไข้เลือดออก
     

    ก.  กระป๋อง
    ข.
    ยางรถยนต์เก่า
    ค.  
    กะลา
    ง.  
    ถูกทุกข้อ

9. ข้อใดไม่ใช่วิธีการกำจัดพาหะของโรคไข้เลือกออก     

           

    ก.  ใส่น้ำตาลที่จานรองขาตู้
    ข.
    ใส่ทรายอะเบทในน้ำขัง
    ค.  
    การพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภาย
    ง.  
    ใส่น้ำส้มสายชูจานรองกระถางต้นไม้

10. ข้อใดไม่เป็นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือกออก
     

    ก. ควรนอนในมุ้งหรือในห้องติดมุ้งลวดที่ปลอดยุงลาย
    ข.
    ควรเล่นในที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
    ค.
    ควรมีแสงสว่างส่องได้ทั่วถึง  มีลมพัดผ่านได้สะดวก
    ง.
    ไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน


     
 

จัดทำโดยครูประเทียน  กันทะเขียว
โรงเรียนเจ้าพระยาพิทยาคม

โรคไข้เลือดออก  (Denque Fever/ Denque Hemorrhaqic Fever)

                ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งพบมากในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น  ทำให้มีไข้ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกายโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่


                หลังจากถูกยุงลายกัดประมาณกี่วันจึงจะแสดงอาการของไข้เลือดออก?

                ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคจะเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและรอบๆ บ้านดูดกินเลือดคนเป็นอาหารและกัดเฉพาะเวลากลางวันประมาณ 4 – 6 วัน หลังจากถูกกัดอาการของโรคจะปรากฏให้เห็น  
บางรายอาจเร็วหรือ   ช้ากว่านี้   เร็วที่สุด 3วัน   ช้าที่สุด 14 วัน


                จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไข้เลือดออก?       
  1. มีไข้แต่อาการไม่รุนแรงลักษณะไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามตัว สามารถมองเห็นได้
  2. มีไข้สูงและมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยดังนี้

2.1.  ระยะไข้:ไข้สูง 39 c – 40 c บางรายอาจถึงชักได้ไข้ลอยอยู่ 2 – 7 วัน หน้าจะแดง   และตาอาจจะแดงด้วย  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอมีส่วนน้อยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ


2.2.  ระยะเลือดออก: จะพบในวันที่ 3 – 4 ของโรค  ไข้จะลดลงตัวเย็น ผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะซึมลง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล    เลือดออกตามไรฟันท้องอืด  ตับโต  เบื่ออาหาร  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร   ซึ่งผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดเก่าๆหรือถ่ายอุจจาระสีดำ อาการอาจรุนแรงถึงช็อก หมดสติ

2.3.    ระยะพักฟื้น:   จะฟื้นไข้เร็วและจะหายภายใน   2 – 3 วัน     รวมระยะเวลาของโรคประมาณ      7 -10 วัน

การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก 

                ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะในระยะแรกขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้การรักษาเป็นแบบตามอาการและประคับประคอง โดยปฏิบัติดังนี้

  1. ระยะที่มีไข้สูงควรเช็ดตัวลดไข้ในรายที่เคยมีประวัติชัก  หรือปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว  อาจจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ โดยใช้ยาพาราเซตาเธกเธญเธฅ ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน  เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  2. ให้น้ำชดเชยเพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากมีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่  ในรายที่อาเจียน  ควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ  และดื่มน้ำบ่อยๆ
  3. ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด   ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ  เพื่อตรวจดูระดับของความเข้มข้นเลือดและเกล็ดเลือด  ถ้าเกล็ดเลือดต่ำ  เลือดจะออกง่าย   ทำให้มีเลือดออกตามจุดต่างๆ  ของร่ายกาย   ระยะที่เกิดอาการช็อกส่วนใหญ่จะประมาณวันที่3 ของโรค (เวลาที่เกิดอาการช็อกแตกต่างกันไปแล้วแต่ระยะเวลาของไข้)    อาการนำของช็อกได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน/  ถ่ายเป็นเลือด  ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย   มือเท้าเย็น  พร้อมๆกับไข้ลดลง    ถ้าพบอาการเหล่านี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แต่หากเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นในเวลา   5 – 7 วัน
  4. ผู้ป่วยอาจยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติแม้ว่าอาการจะดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตามจึงควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงต่อไปอีก 3 – 5 วัน
  5. หากผู้ป่วยมีอาการปกติ    สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้
  6. ถ้าคนในบ้านมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วย

จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร

การป้องกันทำได้  2 วิธี คือ
  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด   ซึ่งยุงลายนี้จะกัดในเวลากลางวันควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดป้องกันยุงเข้ามาในบ้านหลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น  ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ
  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไปยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ดังนั้นส่วนใหญ่สถานที่เพาะพันธุ์ยุงลายจะเป็นภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วย รองขาตู้กันมด  แจกันดอกไม้  ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย
  • ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิด
  • ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำไว้ใช้เพื่อทำลายไข่ยุง(ซึ่งสามารถรับได้ที่สถานีอนามัย)
  • ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็นเพราะอาจมีน้ำขังได้
  • พ่นละอองยาทำลายยุงลาย

โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุม
โดยสถานพยาบาลทุกแห่งจะรายงานการพบโรคให้กองควบคุมโรคติดต่อ   กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการควบคุมโรค  ด้วยการพ่นสารเคมี  เพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่
ซึ่งจะดำเนินการให้หลังจากได้รับแจ้งจากสถานพยาบาลว่า  มีผู้ป่วยบริเวณนั้น
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย สามารถสอบถามได้ที่


สถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Link 

https://www.inf.ku.ac.th/

https://www.tm.mahidol.ac.th

https://www.thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด