อาการโรคลําไส้แปรปรวน


5,794 ผู้ชม


อาการโรคลําไส้แปรปรวน อาการโรคลําไส้อักเสบในคน อาหารสําหรับโรคลําไส้อักเสบ

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังมีอาการอย่างไร?

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะพบการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่างจาก โรคครอน ที่จะเกิดการอักเสบได้ทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก หรือแม้ แต่หลอดอาหารและปากก็มีการอักเสบได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบ พลัน และอาการจะกำเริบขึ้นเป็นพักๆ มีช่วงที่ปกติ สลับกับช่วงที่มีอาการ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระบ่อย/ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก อุจจาระอาจเหลวเป็นน้ำ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด
การที่ผู้ป่วยจะมีอาการใดเด่นชัด ขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบ
กล่าวคือ

  • ถ้ามีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง (Proctitis) จะถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดปนมูก อาจเห็นเคลือบอยู่บนผิวของก้อนอุจจาระ หรือปนเปไปกับอุจจาระที่เป็นก้อนปกติ มีอาการปวดเบ่ง คือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่จริงๆแล้ว ไม่ ได้มีอุจจาระอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วยังรู้สึกถ่ายไม่สุด บางครั้งเวลาปวดถ่ายอุจจาระ อาจกลั้นไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้อง
    การที่ลำไส้ตรงมีการอักเสบ จะทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากลำไส้ตรง
    เคลื่อนตัวบีบขับก้อนอุจจาระช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการท้องผูก
  • ถ้าการอักเสบเป็นตั้งแต่เหนือลำไส้ตรงขึ้นไป จะถ่ายเป็นเลือดสดที่ปน เปไปกับก้อนอุจจาระ ในรายที่อาการรุนแรง จะถ่ายเป็นน้ำที่มีทั้งเลือด มูก และเนื้ออุจจาระปนกันออกมา การที่ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือลำไส้ตรงอักเสบ จะทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบ่อย โดยมักจะเป็นช่วงกลางคืน หรือหลังกินอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดท้องบริเวณส่วน กลางท้อง เป็นแบบปวดบีบได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะแบ่งย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของอาการ คือ
    1. อาการเล็กน้อย: ถ่ายน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระเล็ก น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีหัวใจเต้นเร็ว มีโลหิตจางเล็กน้อย มีค่าการตกตะกอนของเลือด (ESR) ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    2. อาการปานกลาง: ถ่าย 4-6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระปานกลาง มีไข้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วแต่น้อยกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางปานกลาง มีค่า ESR ขึ้นสูงไม่เกิน 30
    3. อาการรุนแรง: ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระมาก มีไข้ต่ำ หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางมาก มีค่า ESR สูงเกิน 30

อนึ่ง นอกจากผู้ป่วยจะมีลำไส้ใหญ่อักเสบแล้ว อวัยวะอื่นๆ อาจเกิดการอักเสบร่วมได้ด้วย เช่น

  • การอักเสบของเนื้อเยื่อผนังลูกตาชั้นกลาง (Uveitis) พบได้ประมาณ 3.8% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการปวดตา ตากลัวแสง มองภาพไม่ชัด และอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้
  • การอักเสบของท่อทางเดินน้ำดีภายในและภายนอกตับ (Primary sclerosing cholangitis) พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะนี้อยู่นานประมาณ 5-10 ปี จะลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้ประมาณ 10% จะกลายเป็นโรคมะเร็งของท่อทางเดินน้ำดี
  • การอักเสบของกระดูกสันหลัง (Ankylosing spondylitis) พบได้ประมาณ 2.7% ของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงเอวและก้น มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า และอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปได้
  • การอักเสบของผิวหนัง ที่เรียกว่า Erythema nodosum โดยผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนแดง ปวดตาม
    แขน และขา และอีกชนิดเรียกว่า Pyoderma nodosum โดยผู้ ป่วยจะมีตุ่มหนอง
    และแตกออกเป็นแผล บางครั้งมีขนาดใหญ่และหลายๆแผล ยากต่อการรักษา พบภาวะเหล่านี้ได้ประมาณ 1-2%


โรคลำไส้แปรปรวน คืออะไร
         นพ.ณัฏฐากร วิริยานุภาพ แพทย์อายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ได้ให้ความรู้ว่า โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) คือ โรคของลำไส้ที่บีบตัวผิดปกติ โดยตรวจไม่พบก้อนเนื้องอกด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ จึงลงความเห็นว่าเป็น โรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร และพบมากในคนวัยทำงานที่มีอายุ 30-50 ปี ซึ่งในปัจจุบันขยายผลไปยังกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น
 เช็คอาการเตือน โรคลำไส้แปรปรวน จากร่างกายด้วยตัวเอง
 
        การสังเกตความผิดปกติในเรื่องระบบขับถ่ายของตัวเราเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้รู้ว่าระบบภายในร่างกายมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่าง โรคลำไส้แปรปรวน จะมีสัญญาณเตือนออกมาในรูปแบบของระบบการขับถ่ายที่ผิดปกติ และมักมีอาการเด่นชัด ดังนี้
          มีอาการปวดท้อง โดยอาจจะปวดบริเวณกลางท้อง หรือปวดบริเวณท้องน้อย แต่โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้าย ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง
          มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
          มีอาการท้องโตขึ้น เหมือนมีลมอยู่ในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมบ่อย
          มีอาการถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรืออาจมีท้องผูกสลับท้องเสีย บางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด
          การขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือเป็นมูกร่วมด้วย แต่จะไม่มีเลือด อาการมักจะเป็นๆ หายๆ มากน้อยสลับกันและมีอาการเกิน 3 เดือน
 รู้ทันสาเหตุ ห่างไกล โรคลำไส้แปรปรวน
         การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างหนึ่งคือ การรู้เท่าทันต้นตอสาเหตุของโรค หากเรารู้จุดเริ่มต้นของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร ก็จะได้ไม่ต้องเผชิญกับเส้นทางเดียวกับโรคนี้ และเป็นหนทางที่จะทำให้รับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ดีที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรค แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มี 3 อย่างได้แก่
          1.เกิดจากการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียขึ้นได้
          2.เกิดจากระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว กาแฟ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวลเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องเสียได้
          3.เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของลำไส้ โดยปกติแล้วประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้ และสมอง จะทำงานสอดคล้องกัน แต่หากสารที่ควบคุมการทำงานของลำไส้เกิดความผิดปกติก็จะส่งผลให้การทำงานของลำไส้แปรปรวนได้
 2 แนวทางรับมือ โรคลำไส้แปรปรวน

         หากใครที่กำลังเผชิญกับสภาวะ ลำไส้แปรปรวน ไม่ควรกังวล แต่จะต้องกล้าเผชิญพร้อมรับมือ และจัดการกับโรคที่กำลังสร้างความรำคาญให้ชีวิตอยู่นั้นให้ได้ ด้วยการรักษาที่ถูกต้อง และหมั่นดูแลร่างกาย จิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ โดยวิธีการที่จะควบคุมกับโรคนี้มีดังนี้
          วิธีแรกคือ การกินยา (ตามคำแนะนำของแพทย์) โดยยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่รักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เช่น กลุ่มคนที่มีอาการปวดท้อง อาจจะกินยาที่ช่วยคลายการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการปวดเกร็ง กลุ่มคนที่มีอาการท้องอืด มีลมในท้อง อาจจะกินยาลดแก๊สในกระเพาะ หรือยาขับลม ส่วนกลุ่มคนที่มีอาการท้องผูก อาจจะกินยาที่ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ หรือยาระบายอ่อนๆ ซึ่งการรักษาจะต้องรักษาตามอาการเพราะยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาครอบคลุมอาการทุกอย่างได้
          นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว วิธีที่สำคัญอีกอย่างที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคคือ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีโอกาสเป็นๆ หายๆ และส่วนใหญ่จะมีอาการที่เป็นมานานแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง
 ตามใจปาก โรคลำไส้แปรปรวน ถามหา
         เคยได้ยินกันบ้างไหมว่า กินอะไรร่างกายก็ได้อย่างนั้น ดังนั้นการปฏิบัติตัวในเรื่องการกินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากกินผิดไม่ใช่แค่โรคลำไส้แปรปรวนเท่านั้น ยังก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาเพราะการกินนั่นเอง
 แยกแยะอาการยาก รบกวนการดำเนินชีวิต

        ลักษณะอาการของ โรคลำไส้แปรปรวน จะคล้ายคลึงกับอาการท้องเสียจึงมักแยกแยะลำบาก ทำให้บางครั้งเกิดการปล่อยปละละเลย ไม่ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าท้องเสียกินยาเอง นอนพักผ่อนเดี๋ยวก็หาย แต่ผลกลับกัน บางรายอาจจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และเป็นมานาน ทำให้สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานใจจนเกิดความวิตกกังวลว่า ทำไมไม่หายสักทีผลที่ตามมาคือเป็นโรคเครียด ซึ่งโรคเครียดนี่แหละที่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ โรคลำไส้แปรปรวนกำเริบขึ้นมาอีก

ต้นเหตุของลำไส้อักเสบ
        
        

          ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกินก็มีส่วน คือพบว่าการกินอาหารไขมันสูง , กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber)ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD)ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใดเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบแต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล


          อาการ มักถ่ายเป็นก้อนเหมือนปกติครั้งหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจะมีปวดบิดในในท้องต้องถ่ายอีกมักถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ อาจจะถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะหลังอาหาร บางครั้งอาจมีมูกปนแต่ไม่มีเลือดหรือหนอง บางรายมีอาการท้องเดินเมื่อเครียด หรือตื่นเต้น หรือหลังทานอาหารรสจัก มันจัด หรือทานอาหารบางอย่างเฉพาะ บางรายท้องเดินระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง


          การปฎิบัติตัว ควรทานอาหารหรือสารที่มีกากหรือเส้นใย( Fiber)มากจะช่วยลดอาการปวดท้องและท้องผูกได้ดีโดยอาจเป็นเส้นใยธรรมชาติเช่น เปลือกข้าวสาลี(weat bran) ผักและผลไม้ ควรได้รับเส้นใยอย่างน้อย 20-30 กรัมต่อวัน เส้นใยจะลดการบีบตัวหรือเกร็งของลำไส้รวมทั้งลดความดันภายในช่องลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องน้อยลง


          นอกจากนี้ เส้นใยยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นและไม่แข็ง ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นจะเร่งให้มีการขนส่งอุจจาระผ่านลำไส้เร็วขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นและง่ายขึ้น การดื่มน้ำมากๆและการออกกำลังกายจะช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้การใช้เวลาที่เพียงพอ และไม่เร่งรีบในการถ่ายอุจจาระรวมทั้งการฝึกลักษณะนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้เหมาะสม ควรทานอาหารที่ละน้อย ไม่กินอิ่มจนเกินไปหลีกเลี่ยงอาหารไขมันเนื่องจากไขมันจะเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการการบีบตัวของลำไส้นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอกอออล์ทุกชนิด ,กาแฟ ของดอง , น้ำอัดลม และยาที่ทำให้มีอาการท้องผูกมากขึ้นความเครียดหรือความวิตกกังวลเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้อาการมากขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบายและให้มีการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ การปรับตัวการดำเนินชีวิตดังกล่าวควรทำไปตลอดซึ่งนอกจากทำให้อาการลดลงแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการใหม่อีกด้วยค่ะ

Link 

https://www.oknation.net

https://www.surachetclinic.com

https://www.praram9.com

https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด