อาการโรคลําไส้แปรปรวน


3,078 ผู้ชม


อาการโรคลําไส้แปรปรวน อาการของโรคลําไส้อักเสบ อาการโรคลําไส้อักเสบ

โรคลำไส้แปรปรวน [IBS]

ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ หรือ อืดแน่นท้อง จากลำไส้ใหญ่

             อาการของโรคนี้มีอะไรบ้าง

ตอบ IBS มักพบตั้งแต่อายุยังน้อย โดยผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้ตามที่กล่าวอาจเกิดจากผู้หญิงเองอยากพบ เข้าปรึกษาแพทย์มากกว่าผู้ชายก็ได้ ในบางประเทศเช่นอินเดียพบว่าพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการมีดังนี้

1. ปวดท้อง - มักเป็นลักษณะบีบ (crampy) มีความรุนแรงไม่เท่ากัน และมักอยู่ในส่วนของลำไส้ด้านล่างด้านซ้าย แต่ลักษณะการปวดอาจเป็นแบบอื่นเช่นตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มีความรุนแรงต่าง ๆกัน รวมทั้งตำแหน่งอาจอยู่ที่ใดก็ได้ด้วย ไม่เหมือนกันในแต่ละคน บางคนพบว่าเมื่อเครียด หรือ ทานอาหารบางอย่างอาจทำให้แย่ลงมากขึ้นได้ บางรายการถ่ายทำให้อาการหาย หรือ ลดลงไปได้ บางรายปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน

2. มีลักษณะการถ่ายผิดไป (Altered bowel habits) - ถือเป็นลักษณะพิเศษ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะโรคนี้เลย ได้แก่ มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสีย และ ท้องผูกก็ได้ โรคนี้อาจแบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือ ท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)

3. ท้องเสีย มักเกิดในช่วงเวลาทำงาน (daytime) และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหารมากกว่าเวลาอื่น ภาวะท้องเสียมักมีอาการร่วมคือ การต้องรีบอยากเข้าถ่าย (urgency) และมักมีอาการรู้สึกถ่ายไม่หมดร่วมด้วย (incomplete evacuation) ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยพบว่ามีมูกเวลาถ่าย ได้ด้วย การท้องเสียหลังเข้านอนหลับสนิทแล้วพบน้อยมาก ๆ ถ้ามีการปลุกตื่นอยากถ่ายอย่างนี้ ควรหาสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ก่อน

4. ท้องผูก - อาจกว่าจะหายเป็นวัน หรือเป็นเดือน โดยถ่ายแข็ง หรือ คล้ายลูกกระสุน (pellet-shaped) บางรายอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้เกิดภาวะเบ่งมากตามมา หรือ นั่งถ่ายอยู่นานไม่ออก ร่วมด้วยได้ บางรายเกิดการใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ โดยไม่จำเป็นร่วมด้วย

5. อาการลำไส้อื่น ๆ - เช่นอืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก หรืออิ่มเร็ว คลื่นไส้ได้ด้วย

6. อาการอื่นที่ไม่ใช่อาการกลุ่มลำไส้ - เช่นอยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

                โรคลำไส้แปรปรวน คืออะไร

          นพ.ณัฏฐากร วิริยานุภาพ แพทย์อายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ได้ให้ความรู้ว่า โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) คือ โรคของลำไส้ที่บีบตัวผิดปกติ โดยตรวจไม่พบก้อนเนื้องอกด้วยการส่องกล้องตรวจลำไส้ จึงลงความเห็นว่าเป็น โรคลำไส้แปรปรวน ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินอาหาร และพบมากในคนวัยทำงานที่มีอายุ 30-50 ปี ซึ่งในปัจจุบันขยายผลไปยังกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้น

 เช็คอาการเตือน โรคลำไส้แปรปรวน จากร่างกายด้วยตัวเอง
 
         การสังเกตความผิดปกติในเรื่องระบบขับถ่ายของตัวเราเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้รู้ว่าระบบภายในร่างกายมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่าง โรคลำไส้แปรปรวน จะมีสัญญาณเตือนออกมาในรูปแบบของระบบการขับถ่ายที่ผิดปกติ และมักมีอาการเด่นชัด ดังนี้
          มีอาการปวดท้อง โดยอาจจะปวดบริเวณกลางท้อง หรือปวดบริเวณท้องน้อย แต่โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้าย ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง
          มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
          มีอาการท้องโตขึ้น เหมือนมีลมอยู่ในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมบ่อย
          มีอาการถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรืออาจมีท้องผูกสลับท้องเสีย บางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด
          การขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือเป็นมูกร่วมด้วย แต่จะไม่มีเลือด อาการมักจะเป็นๆ หายๆ มากน้อยสลับกันและมีอาการเกิน 3 เดือน

 รู้ทันสาเหตุ ห่างไกล โรคลำไส้แปรปรวน

          การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างหนึ่งคือ การรู้เท่าทันต้นตอสาเหตุของโรค หากเรารู้จุดเริ่มต้นของโรคนี้ว่าเกิดจากอะไร ก็จะได้ไม่ต้องเผชิญกับเส้นทางเดียวกับโรคนี้ และเป็นหนทางที่จะทำให้รับมือกับโรคภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ดีที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรค แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มี 3 อย่างได้แก่

          1.เกิดจากการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียขึ้นได้

          2.เกิดจากระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ได้แก่ อาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว กาแฟ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวลเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องเสียได้

          3.เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของลำไส้ โดยปกติแล้วประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้ และสมอง จะทำงานสอดคล้องกัน แต่หากสารที่ควบคุมการทำงานของลำไส้เกิดความผิดปกติก็จะส่งผลให้การทำงานของลำไส้แปรปรวนได้

 2 แนวทางรับมือ โรคลำไส้แปรปรวน

          หากใครที่กำลังเผชิญกับสภาวะ ลำไส้แปรปรวน ไม่ควรกังวล แต่จะต้องกล้าเผชิญพร้อมรับมือ และจัดการกับโรคที่กำลังสร้างความรำคาญให้ชีวิตอยู่นั้นให้ได้ ด้วยการรักษาที่ถูกต้อง และหมั่นดูแลร่างกาย จิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ โดยวิธีการที่จะควบคุมกับโรคนี้มีดังนี้

          วิธีแรกคือ การกินยา (ตามคำแนะนำของแพทย์) โดยยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่รักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เช่น กลุ่มคนที่มีอาการปวดท้อง อาจจะกินยาที่ช่วยคลายการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการปวดเกร็ง กลุ่มคนที่มีอาการท้องอืด มีลมในท้อง อาจจะกินยาลดแก๊สในกระเพาะ หรือยาขับลม ส่วนกลุ่มคนที่มีอาการท้องผูก อาจจะกินยาที่ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ หรือยาระบายอ่อนๆ ซึ่งการรักษาจะต้องรักษาตามอาการเพราะยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาครอบคลุมอาการทุกอย่างได้

          นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว วิธีที่สำคัญอีกอย่างที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคคือ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีโอกาสเป็นๆ หายๆ และส่วนใหญ่จะมีอาการที่เป็นมานานแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง

 ตามใจปาก โรคลำไส้แปรปรวน ถามหา

          เคยได้ยินกันบ้างไหมว่า กินอะไรร่างกายก็ได้อย่างนั้น ดังนั้นการปฏิบัติตัวในเรื่องการกินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากกินผิดไม่ใช่แค่โรคลำไส้แปรปรวนเท่านั้น ยังก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาเพราะการกินนั่นเอง

 แยกแยะอาการยาก รบกวนการดำเนินชีวิต

          ลักษณะอาการของ โรคลำไส้แปรปรวน จะคล้ายคลึงกับอาการท้องเสียจึงมักแยกแยะลำบาก ทำให้บางครั้งเกิดการปล่อยปละละเลย ไม่ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าท้องเสียกินยาเอง นอนพักผ่อนเดี๋ยวก็หาย แต่ผลกลับกัน บางรายอาจจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และเป็นมานาน ทำให้สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานใจจนเกิดความวิตกกังวลว่า ทำไมไม่หายสักที ผลที่ตามมาคือเป็นโรคเครียด ซึ่งโรคเครียดนี่แหละที่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ โรคลำไส้แปรปรวนกำเริบขึ้นมาอีก

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง จะพบการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งต่างจาก โรคครอน ที่จะเกิดการอักเสบได้ทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก หรือแม้ แต่หลอดอาหารและปากก็มีการอักเสบได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบ พลัน และอาการจะกำเริบขึ้นเป็นพักๆ มีช่วงที่ปกติ สลับกับช่วงที่มีอาการ ได้แก่ ถ่ายอุจจาระบ่อย/ท้องเสีย หรือ ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก อุจจาระอาจเหลวเป็นน้ำ ปวดเบ่ง ถ่ายไม่สุด การที่ผู้ป่วยจะมีอาการใดเด่นชัด ขึ้นกับตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่มีการอักเสบ กล่าวคือ

    ถ้ามีการอักเสบเฉพาะที่ลำไส้ตรง (Proctitis) จะถ่ายเป็นเลือดสด หรือเลือดปนมูก อาจเห็นเคลือบอยู่บนผิวของก้อนอุจจาระ หรือปนเปไปกับอุจจาระที่เป็นก้อนปกติ มีอาการปวดเบ่ง คือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่จริงๆแล้ว ไม่ ได้มีอุจจาระอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วยังรู้สึกถ่ายไม่สุด บางครั้งเวลาปวดถ่ายอุจจาระ อาจกลั้นไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดท้อง การที่ลำไส้ตรงมีการอักเสบ จะทำให้ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากลำไส้ตรง เคลื่อนตัวบีบขับก้อนอุจจาระช้ากว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการท้องผูก
    ถ้าการอักเสบเป็นตั้งแต่เหนือลำไส้ตรงขึ้นไป จะถ่ายเป็นเลือดสดที่ปน เปไปกับก้อนอุจจาระ ในรายที่อาการรุนแรง จะถ่ายเป็นน้ำที่มีทั้งเลือด มูก และเนื้ออุจจาระปนกันออกมา การที่ลำไส้ส่วนที่อยู่เหนือลำไส้ตรงอักเสบ จะทำให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบ่อย โดยมักจะเป็นช่วงกลางคืน หรือหลังกินอาหาร ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดท้องบริเวณส่วน กลางท้อง เป็นแบบปวดบีบได้ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะแบ่งย่อยออกเป็นอีก 3 กลุ่ม ตามความรุนแรงของอาการ คือ
        อาการเล็กน้อย: ถ่ายน้อยกว่า 4 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระเล็ก น้อย ไม่มีไข้ ไม่มีหัวใจเต้นเร็ว มีโลหิตจางเล็กน้อย มีค่าการตกตะกอนของเลือด (ESR) ขึ้นสูงไม่เกิน 30
        อาการปานกลาง: ถ่าย 4-6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระปานกลาง มีไข้ต่ำกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หัวใจเต้นเร็วแต่น้อยกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางปานกลาง มีค่า ESR ขึ้นสูงไม่เกิน 30
        อาการรุนแรง: ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน มีเลือดปนในอุจจาระมาก มีไข้ต่ำ หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีโลหิตจางมาก มีค่า ESR สูงเกิน 30

อนึ่ง นอกจากผู้ป่วยจะมีลำไส้ใหญ่อักเสบแล้ว อวัยวะอื่นๆ อาจเกิดการอักเสบร่วมได้ด้วย เช่น

    การอักเสบของเนื้อเยื่อผนังลูกตาชั้นกลาง (Uveitis) พบได้ประมาณ 3.8% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการปวดตา ตากลัวแสง มองภาพไม่ชัด และอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้
    การอักเสบของท่อทางเดินน้ำดีภายในและภายนอกตับ (Primary sclerosing cholangitis) พบได้ประมาณ 3% ของผู้ป่วย โดยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้อง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะนี้อยู่นานประมาณ 5-10 ปี จะลงเอยด้วยการเป็นโรคตับแข็งและตับวายได้ประมาณ 10% จะกลายเป็นโรคมะเร็งของท่อทางเดินน้ำดี
    การอักเสบของกระดูกสันหลัง (Ankylosing spondylitis) พบได้ประมาณ 2.7% ของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงเอวและก้น มีอาการข้อแข็งในตอนเช้า และอาจทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปได้
    การอักเสบของผิวหนัง ที่เรียกว่า Erythema nodosum โดยผู้ป่วยจะมีตุ่มนูนแดง ปวดตามแขน และขา และอีกชนิดเรียกว่า Pyoderma nodosum โดยผู้ ป่วยจะมีตุ่มหนอง และแตกออกเป็นแผล บางครั้งมีขนาดใหญ่และหลายๆแผล ยากต่อการรักษา พบภาวะเหล่านี้ได้ประมาณ 1-2%

Link 

https://www.oknation.net

https://www.surachetclinic.com

https://www.praram9.com

https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด