โรคลําไส้อักเสบ สาเหตุ


2,532 ผู้ชม


โรคลําไส้อักเสบ สาเหตุ โรคลําไส้อักเสบเกิดจาก โรคลําไส้อักเสบ การป้องกัน

ต้นเหตุของลำไส้อักเสบ

             


          ส่วนใหญ่การอักเสบของลำไส้จากการติดเชื้ออะมีบาหรือที่เรียกว่าบิดมีตัว ในเรื่องของอาหารการกิน ก็มีส่วน คือพบว่าการกินอาหารไขมันสูง , กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น( High fat,low fiber) ส่วนการอักเสบชนิดเป็นแผลเรื้อรังของลำไส้ เรียกรวมกันว่า Inflammatory Bowel Disease (IBD) ซึ่งกลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นอยู่ประจำนานอยู่เป็นแรมปี หรือตลอดชีวิต โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและทำงานได้เป็นปกติ เป็นโรคที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใดเกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ โดยหาความผิดปกติทางด้านร่างกายไม่พบแต่พบว่าสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เช่น เครียด คิดมาก วิตกกังวล
          อาการ มักถ่ายเป็นก้อนเหมือนปกติครั้งหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจะมีปวดบิดในในท้องต้องถ่ายอีกมักถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำ อาจจะถ่ายเหลวหรือเป็นน้ำอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะหลังอาหาร บางครั้งอาจมีมูกปนแต่ไม่มีเลือดหรือหนอง บางรายมีอาการท้องเดินเมื่อเครียด หรือตื่นเต้น หรือหลังทานอาหารรสจัก มันจัด หรือ ทานอาหารบางอย่างเฉพาะ บางรายท้องเดินระยะหนึ่งแล้วจะมีอาการท้องผูก อุจจาระแข็ง
          การปฎิบัติตัว ควรทานอาหารหรือสารที่มีกากหรือเส้นใย( Fiber)มากจะช่วยลดอาการปวดท้องและท้องผูกได้ดีโดยอาจเป็นเส้นใยธรรมชาติเช่น เปลือกข้าวสาลี(weat bran) ผักและผลไม้ ควรได้รับเส้นใยอย่างน้อย 20-30 กรัมต่อวัน เส้นใยจะลดการบีบตัวหรือเกร็งของลำไส้รวมทั้งลดความดันภายในช่องลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องน้อยลง
          นอกจากนี้ เส้นใยยังช่วยดูดน้ำไว้ในตัวอุจจาระ ทำให้ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นและไม่แข็ง ปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นจะเร่งให้มีการขนส่งอุจจาระผ่านลำไส้เร็วขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นและง่ายขึ้น การดื่มน้ำมากๆและการออกกำลังกายจะช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้การใช้เวลาที่เพียงพอ และไม่เร่งรีบในการถ่ายอุจจาระรวมทั้งการฝึกลักษณะนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้เหมาะสม ควรทานอาหารที่ละน้อย ไม่กินอิ่มจนเกินไปหลีกเลี่ยงอาหารไขมันเนื่องจากไขมันจะเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงของการการบีบตัวของลำไส้นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอกอออล์ทุกชนิด ,กาแฟ ของดอง , น้ำอัดลม และยาที่ทำให้มีอาการท้องผูกมากขึ้นความเครียดหรือความวิตกกังวลเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้อาการมากขึ้น จึงควรผ่อนคลายความเครียดทำจิตใจให้สบายและให้มีการพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ การปรับตัวการดำเนินชีวิตดังกล่าวควรทำไปตลอดซึ่งนอกจากทำให้อาการลดลงแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการใหม่อีกด้วยค่ะ

ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative colitis)

    โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือ เรียกย่อว่าโรคยูซี (Ulcerative colitis หรือ UC) เป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เรียกว่า โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease) ซึ่งโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โรคครอน (Crohn’s disease) และ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบแบบไม่แน่นอน (Indeterminate colitis)

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่ชัด เจน โรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้ใหญ่ โดยจะมีอาการเกี่ยวกับการอุจจาระที่ผิดปกติ ความสำคัญคือ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงกว่าคนทั่วไป

           โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
   พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย โดยประเทศที่พบบ่อย คือ อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย และประเทศในแถบยุโรปเหนือ อย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 2.2-14.3 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี ใน ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น พบอัตราการเกิดโรคประมาณ 0.34 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี สำหรับในประเทศไทยก็พบได้น้อยเช่นกัน นอกจากนี้พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและมีเศรษฐานะที่ดี มีอัตราการเกิดโรคบ่อยกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและมีเศรษฐานะต่ำ
   
      อนึ่ง ช่วงอายุที่พบบ่อยของโรคนี้มี 2 ช่วง คือ 15-30 ปี และ 60-80 ปี ผู้ ชายและผู้หญิงพบได้เท่าๆ กัน


 

ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังอย่างไร?

 

ดูแลตนเองและป้องกันโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง โดย

    1. ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังแล้ว จะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากตัวโรคและจากยาที่ใช้รักษา
    2.  เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มานาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ที่ป่วยมานาน 8-10 ปี ต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่พร้อมกับตัดชิ้นเนื้อจากหลายๆตำแหน่งที่ผิดปกติไปตรวจทุกๆ 1-2 ปี การติดตามโดยใช้อาการ และการตรวจอื่นๆเพียงอย่างเดียวนั้น อาจทำให้พลาดการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ อีกทั้งอาการของโรคนี้ก็คล้ายคลึงกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
    3. ผู้ป่วยโรคนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องงดอาหารชนิดใดเป็นพิเศษ ผู้ที่ดื่มนมสดแล้วไม่มีปัญหาถ่ายอุจจาระเหลวตามมา ก็สามารถดื่มได้ปกติ อย่างไรก็ตาม ควรงดอาหารที่ไม่ดีต่อระบบการย่อยอาหาร เช่น อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด การรับประทานอาหารปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ และควรงดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยภาวะกำเริบของโรค และจากการรักษาไม่ได้ผล เช่น อาหารดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารค้างคืน อาหารหมักดอง เป็นต้น
    4. มีคำแนะนำเกี่ยวกับการกินอาหารบางอย่างที่อาจพิจารณานำไปใช้ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ได้แก่ การกินน้ำมันปลา อาจช่วยลดอาการของโรค การกินอาหารที่เรียกว่าโปรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ยีสต์, Lactic acid bacteria, Bifidobacteria ซึ่งมีอยู่ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต มีข้อมูลว่าอาจช่วยลดอาการถ่ายเหลว ถ่ายบ่อย อาจช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของลำไส้ไม่ให้ทำงานผิด ปกติ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ หรือการกินดอกมัสตาร์ด อาจช่วยรักษาการอักเสบในลำไส้ได้ เป็นต้น

Link 

https://www.oknation.net

https://www.surachetclinic.com

https://www.praram9.com

https://health.kapook.com

อัพเดทล่าสุด